ประโยชน์ของว่านน้ำ

ว่านน้ำ ลักษณะ เป็นไม้นํ้าชนิดหนึ่งชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ มีนํ้าขังหรือนํ้าขึ้นลงถึงลำต้นแข็งเป็นข้อๆ สีแดงเรื่อๆ ชอนยาวไปตามดินเลน รากเล็กเป็นฝอย ใบเล็กและยาวแบนคล้ายใบว่านหางช้าง แต่เล็กกว่ามาก เป็นแผงเหมือนแบบว่านหางช้างเหมือนกัน มีกลิ่นหอมแรงโดยมากมีผู้ปลูกไว้ทำยาและพกหัวติดตัวไว้เวลาจะดื่มนํ้าในลำห้วยลำธาร ใช้หัวว่านน้ำแกว่งนํ้าก่อนแล้วจึงดื่มกับน้ำที่ผ่านว่านมีพิษได้ ว่านนํ้านี้มีขึ้นทั่วไปตามลำคลองสวนที่มีนํ้าไม่แห้ง ประโยชน์ทางยา รากว่านนํ้ากินมากทำให้อาเจียน แต่มีกลิ่นหอม กินแต่น้อยเป็นยาแก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดและแก้ธาตุเสีย ชาวอินเดียใช้ปรุงยาระบายและคุมธาตุไปด้วยในตัว ทั้งเป็นยาเบื่อ แมลงต่างๆ เช่นแมลงวันเป็นต้น แพทย์โบราณชาวตะวันออกนิยมใช้ว่านนํ้าเป็นยาทั่วไปทุกประเทศตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาจนบัดนี้ แม้ชาวตะวันตก เช่น ชาวกรีกก็เคยใช้ในครั้งกระโน้น ถึงปัจจุบันแพทย์ชาวยุโรปที่อยู่ในอินเดีย และชาวอินเดียเองก็ยังนิยมใช้ว่านนํ้าเป็นยาแก้ไข้มาเลเรียคู่กันไปกับชิงโคนาโดยใช้รากว่านนํ้า นอกจากนี้ยังเอาไปผสมรวมกับยาขมต่าง ๆ หรือยาแก้ปวดท้องทำให้ระงับอาการปวดท้องได้ทันที ชาวอินเดียใช้ฉีกรากออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เคี้ยว 2-3 นาที แก้หวัดและคอเจ็บ ในว่านนี้มีรสขม และใช้เป็นยาแก้บิดของเด็ก คือ มูกเลือดและแก้หวัดลงคอ ด้อย่างดี รากว่านนํ้าโขลกให้แหลก หนัก 60 กรัม ต้มในนํ้าเดือด 500 ซี.ซี. กินมื้อละ 2 ช้อนโต๊ะวันละ 3 ครั้ง แก้ปวดท้องและจุกแน่น ใช้รากฝนกับเหล้าเจือน้ำเล็กน้อย ทาหน้าอกเด็กเป็นยาดูดพิษแก้ความอักเสบของหลอดลมและปอด เอารากว่านนํ้าตากแห้งแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ อมเป็นยาแก้ไอ ดีกว่ายาพวกเม็ดแก้ไออื่นๆ มากทั้งมีกลิ่นหอม เวลาหายใจด้วย รากว่านนํ้านี้ทำให้คลื่นเหียรยิ่งกว่าอิปิแคคของฝรั่ง เป็นยาแก้เส้นกระตุก แก้ปวดท้องแก้ลม บำรุงหัวใจและเบื่อแมลงวัน ถ้าต้องการทำให้อาเจียรกินเพียง 2 กรัมก็พอไม่ควรให้เกินกว่านั้น ใช้เป็นยาแก้หืด กินเพียง 1 กรัม ถึง 1.5กรัม ต่อไปก็ให้ลดลงเหลือ0.5 กรัม ทุก 2 หรือ 3 ชั่วโมง จนอาการหืดหอบทุเลา เป็นยาขับเสมหะในโรคหืดอย่างดีมาก รากว่านนํ้าเผาไฟจนเป็นถ่านทำผงกินมื้อละ 0.5 ถึง 1.5 กรัม เป็นยาถอนพิษของสลอด แก้โรคลงท้อง ปวดท้องของเด็ก ทางมหาสารคามใช้ใบของว่านนี้สด ตำละเอียดผสมนํ้าสุมหัวเด็ก แก้ปวดหัวได้ บางตำหรับว่าถ้าตำพอกแก้ปวดกล้ามและข้อโดยตำรวมกับชุมเห็ดเทศ แก้โรคผิวหนังทำเป็นยาชงขนาด 1 ใน 10 กินได้ 15 ถึง 30ซี.ซี. ทำเป็นทิงเจอร์ขนาด 1 ใน 5 กินได้ 2 ถึง 4 ซี.ซี. ผงขนาดใช้ 1 ถึง 4 กรัม ชื่อที่เรียกกันว่า ว่านนํ้า, ว่านน้ำจืด, ฮางคาวน้ำ, หัวงอ, หัวชะงอ, ว่านน้ำขาว วิธีปลูก ใช้รากหรือหัวปลูกริมนํ้า ถ้าจะปลูกลงในกระถางต้องใส่ดินลงไปประมาณ 1 ส่วนสี่ของกระถาง ใส่น้ำให้คงที่อยู่เสมอนำหัวและต้นดำลงไปในดิน ตั้งไว้ให้ถูกแดดรำไร เป็นไม้สวยงามเจริญตา ประดับบ้านได้ต้นหนึ่ง