พริกขี้หนูสรรพคุณทางยา


ชื่ออื่น ดีปลี (ปัตตานี) ดีปลีขี้นก (ภาคใต้) พริกขี้นก (สุพรรณบุร) ปะแก้ว (นครราชสีมา) พริก (ภาคกลาง, เหนือ) พริกแด้ พริกแต้ พริกนก (ภาคเหนือ) มะระตี้ (สุรินทร์) หมักเพ็ด (อีสาน) ลัวะเจีย (แต้จิ๋ว) ล่าเจียว (จีนกลาง) Bird Chilli
ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum frutescens L.
(C. minimum Roxb.)
วงศ์ Solanaceae
ลักษณะต้น เป็นไม้พุ่มเล็ก สูง 45-75 ซม. ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม ใบ กลมรีปลายแหลม ดอกสีขาวขนาด 1 ซม. ออกเป็นกลุ่ม 1-3 ดอกตรง ซอกใบ มีกลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน ขึ้นสลับกับกลีบดอก เกสร ตัวเมีย 1 อัน รังไข่มี 2 หรือ 3 ห้อง ก้านผลอาจยาวถึง 3.5 ซม. ชูขึ้น หรือห้อยลง ผลสุกมีสีแดงหรือแดงปนน้ำตาล ผิวลื่นมัน ภายในกลวง มี แกนกลาง บนแกนมีเมล็ดสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย แต่ละเมล็ดมีลักษณะแบนกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มม. มีรสเผ็ดและกระตุ้นให้จามได้ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ชอบดินร่วนชุย เป็นพืชเศรษฐกิจ ปลูกเอาผลขายได้
ส่วนที่ใช้ ผล (ทั่วๆ ไปเรียก เม็ด)
สรรพคุณ
ผล ปรุงรสอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้อาเจียน บิด หิด กลาก ปวดบวม (เนื่องจากความเย็นจัด)
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในคนที่มีอาการเจ็บคอ คอแห้ง ไอ ร้อนอุ้งมืออุ้งเท้า หรือคนที่เป็นโรคตา
ตำรับยาและวิธีใช้
1. บิด ใช้พริกสด 1 เม็ด หรือกว่านั้นกิน
2. ปวดบวม (เนื่องจากความเย็นจัด) ใช้ผงพริกแห้งทำเป็นขี้ผึ้ง หรือละลายแอลกอฮอส์ทา
รายงานทางคลีนิค
1. ปวดเอวและน่อง ใช้ผงพริกขี้หนูและวาสลิน (1 : 1) หรือผง พริก วาสลิน แป้งหมี่ (2:3:1) เติมเหล้าเหลืองจำนวนพอควรคนให้ เป็นครีม เวลาใช้ให้ทาลงบนกระดาษแก้วปิดบริเวณที่ปวด ใช้พลาสเตอร์ปิดโดยรอบ ผลจากการรักษาผู้ป่วย 65 ราย พบว่าได้ผลดี 25 ราย สังเกต เห็นผลดีขึ้น 23 ราย อาการแสดงภายนอกหายไป 1 ราย อีก 16 รายไม่ได้ผล หลังจากพอกยา 15-30 นาที ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนบริเวณที่พอก หลังจากพอกยา 1 ชม. บางรายจะรู้สึกร้อนยิ่งขึ้นจนคล้ายไฟดูด (ความรู้สึกแสบร้อนนดำรงอยู่นาน 2-24 ชม. หรืออาจนานถึง 48 ชม.) ทำให้เหงื่อออก การเคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น และรู้สึกหายปวด จากการตรวจสอบพบว่าบริเวณที่พอกยามีความรู้สึกร้อนและการไหลเวียนของโลหิตเพิ่มขึ้น มีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่เป็นผดและตุ่มพอง
2. บวมฟกช้ำ ใช้พริกขี้หนูแก่จัดสีแดงตากแห้ง บดเป้นผงแล้ว เทลงไปในวาสลินที่เคี่ยวจนเหลว ในอัตราส่วน 1 : 5 กวนให้เข้ากัน เคี่ยว จนกระทั่งได้กลิ่นพริก ใช้สำหรับทาถูแถ้อาการเคล็ด ถูกชน ฟกช้ำดำเขียว และปวดข้อ โดยทาตรงบริเวณที่เป็นวันละครั้งหรือสองวันต่อครั้ง ในการรักษาผู้ป่วย 12 ราย พบว่าหายขาด 7 ราย, อาการลดน้อยลง 3 ราย, ผลการรักษาไม่ชัดเจน 2 ราย สำหรับรายที่ได้ผลโดยทั่วไปทายา 4-9 ครั้ง
ผลทางเภสัชวิทยา
1. ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร แคปซายซิน (capsaicin) ทำให้ เจริญอาหาร กินอาหารได้มากขึ้น ในการทดลองกับสุนัข พริกสามารถ กระตุ้นทำให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ในการทดลอง ให้คนกินอาหารที่ปรุงแต่งด้วยพริก พบว่าการหลั่งน้ำลายและน้ำย่อยไดแอสเทส (diastase) เพิ่มมากขึ้น แต่ถ้ากินมากจะทำให้กระเพาะ อาหารและลำไส้อักเสบ ท้องร่วงและอาเจียน ถ้ากรอกเข้ากระเพาะอาหารโดยตรงจะทำให้เกิดอาการบวมและเลือดไหลไม่หยุด น้ำสกัดจากพริกจะลดการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโฆลีน และฮีสตามีนได้ ส่วนแคปซายซินจะเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูตะเภาที่ทดลองนอกร่างกาย แต่เมื่อให้แคปซายซินซ้ำอีกครั้งในขนาดเท่ากัน จะมีผลน้อยมากหรือไม่มีผลเลย
2. ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและฆ่าแมลง แคปซายซินมีผลยับ
ยั้งเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ Bacillus subtilis แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Ba¬cillus aureus และเชื้อ Bacillus coli กิ่งและใบไม่มีผลในการต่อต้านเชื้อโรคมากนัก เพียงแต่มีผลยับยั้งเชื้อ Bacillus tuberculosis ได้เล็กน้อย นอกจากนี้สารสกัดจากพริกโดยการต้มด้วยน้ำ 10-20% มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง
3. สารสกัดจากพริก เมื่อทาลงบนผิวหนังจะทำให้หลอดเลือด บริเวณนั้นขยายตัว และการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น เชื่อว่าสารนี้สามารถกระตุ้นปลายประสาททำให้รู้สึกอุ่น มักนิยมผสมในยาหม่องและน้ำมันมวย ถ้าใช้จำนวนมากเกินไปอาจระคายเคืองได้
4. ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต มีรายงานการทดลองจากนัก วิทยาศาสตร์หลายกลุ่ม ซึ่งเสนอผลการทดลองที่ขัดแย้งกัน คือ
น้ำสกัดจากพริกเมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำของแมวที่วางยาสลบ จะลดความดันโลหิตได้ชั่วขณะ เมื่อทดลองกับหัวใจกระต่ายที่ตัดออกจาก ตัวจะลดความแรงในการบีบตัว ซึ่งต่อมาจะกลับสู่ภาวะปกติได้ และลดการไหลของเลือดที่บริเวณขาหลังของหนูขาว
แคปซายซิน ( สารสกัดจากพริก) สามารถกระตุ้นหัวใจห้องบนของหนูตะเภาที่ทดลองนอกร่างกาย ทั้งอัตราความเร็วและความแรง คล้ายกับฤทธิ์ของแอดรีนาลิน (adrenaline) แต่เมื่อฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำของแมวและสุนัข ทำให้ความดันโลหิตลด หัวใจเต้นช้า และหายใจขัด อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อตัดเส้นประสาทเวกัสออก (vagotomy)
แคปซายซิน จะเพิ่มความดันโลหิตในแมวที่ตัดหัวออก (decapi-tated cat) เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำของแมวที่วางยาสลบทำให้ความดันโลหิตในปอดสูงขึ้น ตลอดจนทำให้ความแรงในการบีบตัวของหัวใจลดลง แล้วกลับแรงขึ้น แต่เมื่อฉีดเข้าบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง จะทำให้หลอดเลือดนั้นหดตัว ฤทธิ์ของแคปซายซินต่อหัวใจห้องบนของหนูตะเภานั้นจะเพิ่มทั้งความเร็วและความแรงในการเต้น
5. ฤทธิ์อื่นๆ มีรายงานว่าหลังจากการกินอาหารที่ใช้พริกขี้หนู แก่จัดสีแดงเป็นเครื่องปรุงแต่งนาน 3 สัปดาห์ ทำให้สารกลุ่มคอร์ติโซน (free hydrogenated cortisone) ในพลาสมาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปริมาณที่ขับออกทางปัสสาวะก็เพิ่มขึ้น สารสกัดจากพริกเมื่อฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรมีฤทธิ์กดประสาททำให้เดินเซเล็กน้อย และชักตายเมื่อฉีดเข้าหลอดเลือด มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาวที่ทดลองนอกร่างกาย มีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป
ความเป็นพิษ
เมื่อฉีดแคปซายซินในปริมาณสูงเข้าใต้ผิวหนังทำให้เกิดการสะสม เป็นพิษถึงตายได้ ปริมาณของแคปซายซินที่ทำให้หนูขาวตาย 50% (LD50) เมื่อฉีดเข้าหน้าท้องหนูขาวที่เพิ่งหย่านมหรือในหนูขาวตัวโตเต็มวัยและ หนูถีบจักรอยู่ในช่วง 6.5-13.2 มก. ต่อกก.น้ำหนักตัว แต่ถ้าให้กินพบว่าพิษของแคปซายซินลดลงกว่าการฉีดถึง 25 เท่า อาจเป็นเพราะการกินนั้นร่างกายดูดซึมแคปซายซินได้น้อยกว่าการฉีด
สารเคมีที่พบ
ผล มี capsaicin (decanoic acid vanillylamide), dihydrocap-saicin, nordihydrocapsaicin, homocapsaicin, homodihydrocapsaicin  nonoyl vanillylamide, decoyl vanillylamide, cryptoxanthin capsanthin, capsorubin, carotene, วิตามินบี 1, วิตามิน ซี, citric acid, tartaric acid, malic acid
เมล็ด มี solanine, solanidine อาจพบ solamargine, solasodine และ solasoninef
ที่มา:สำลี  ใจดี, สุนทรี  วิทยานารถไพศาล, รพีพล  ภโววาท, จิราพร  ลิ้มปานานนท์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, วิทิต  วัณนาวิบูล