ฟิโลเดนดรอน

Common name : Philodendron

Scientific name : Philodendron spp.

Family : Araceae

ฟิโลเดนดรอน (Philodendron) อยู่ในตระกูล Arum หรือวงศ์ Araceae พบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในหมู่เกาะอินเดียตะวันตก คำว่า Philodendron มาจากคำว่า Phileo แปลว่า รัก ชอบ และ dendron แปลว่าต้นไม้ ซึ่งมีความหมายว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบขึ้นอยู่กับต้นไม้ตามนิสัยชอบเลื้อยพันต้นไม้ไหญ่อยู่เป็นถิ่นกำเนิด Philodendron อยู่ในตระกูล Arum จึงทำให้ดอกมีรูปร่างเป็นกาบและมีปลีเหมือนพวกไม้ในตร ะกูล Arum ทั่ว ๆ ไป Philodendron จึงเป็นไม้ใบหรือไม้ประดับที่ดูรูปทรงของต้น และใบมากกว่าดูดอก ตามธรรมชาติชอบขึ้นอยู่กับต้นไม้ใหญ่มีรากอากาศงอกออกยาว ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบเลื้อย ชอบไต่ตามสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง โดยใช้รากอากาศ (aerial roots) เกาะพยุงต้น ลักษณะของใบมีรูปร่างแปลก ๆ แต่ส่วนมากมีใบเป็นรูปหัวใจ บางชนิดใบยาวรี หรือบางชนิดใบมีรูปลักษณะคล้ายลูกศร ความยาวของใบนั้นอาจมีความยาวตั้งแต่ 3 นิ้วถึง 3 ฟุต ส่วนมากมีสีเขียวสด บางชนิดมีสีชมพู ทองแดงอยู่ใต้ใบด้วย ใบอ่อนบางชนิดมีสีชมพู หรือสีแดงอ่อนเมื่อใบแก่ก็เปลี่ยนเป็นสีเขียว หรือบางชนิดมีใบคล้ายใบลั่นทม เส้นใบสีแดง หรือชมพู พื้นใบมีสีเขียวอ่อน บางชนิดใบมีแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ หรือบางชนิดก็ไม่มีลำต้นขึ้นสูงจากพื้นดิน

Philodendron เป็นพันธุ์ไม้ประดับที่นิยมกันมากในการตกแต่งบ้านภายใน เป็นไม้ในร่ม ถูกแดดจัดไม่ได้ นิยมปลูกเป็นไม้กระถางพันธุ์ ไม้ในบ้าน ในอาคาร หรือนอกอาคารตามโคนร่มต้นไม้ บางชนิดสามารถนำมาพักแช่น้ำ เปล่า ๆ อยู่ในภาชนะที่ใส่น้ำไว้เป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น P. oxycardium ในการที่นำมาพักแช่น้ำไว้นาน ๆ นั้นควรใส่ถ่านหุงข้าวลงไปในภาชนะนั้นด้วย 2-3 ก้อนเล็ก ๆ

พันธุ์

Philodendron มีมากมายหลากชนิด ในปี พ.ศ. 1830 มีผู้รวบรวมพันธุ์ไว้ได้ถึง 220 ชนิด (species) ต่อมามีการจำแนกพันธุ์ใหม่โดยแยก Philodendon ออกไปเป็นพวก Monstera เสียพวกหนึ่ง จึงทำให้เหลือประมาณ 190 ชนิด ที่ รวบรวมไว้เป็นพวก Philodendron

Monstera กับ Philodendron เป็นพันธุ์ไม้ใบด้วยกันที่คล้ายคลึงกันแยกออกจากกันได้ยาก พันธุ์ไม้ที่อยู่ใกล้เคียงและคล้ายกันมากในพวก Philodendron นี้ก็มี Monstera, Pothos Syngonium, Scindapsus (พลูด่าง) และ Phaphidophora จนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังสับสนและปนเปกันอยู่มากเหมือนกัน ยากที่จะชี้ให้ชัดได้ว่าต้นไหนอยู่ในสกุล Philodendron หรือ Monstera หรือ Scindapsus

ปัจจุบันในเมืองไทยมีผู้สั่ง Philodendron เข้ามาปลูกกันเสียมากมายหลายพันธุ์ด้วยกัน ปรากฎว่าส่วนใหญ่เลี้ยงได้งามขึ้นเจริญเติบโตได้ดี

1. Philodendron andreanum มีถิ่นกำเนิด ในโคลัมเบีย เป็นพวกไม้เถาเลื้อย ใบสีเขียวแก่ เป็นเลื่อมสีน้ำตาลอ่อน เส้นใบและขอบใบสีขาวครีม ใบยาว 3 ฟุต ปลายแหลม นิยมปลูกกันมากในเมืองไทย

2. P. bipinnatifidum มีถิ่นกำเนิดจากประเทศบราซิลตอนใต้ ลำต้นสั้น เจริญเติบโตช้ามาก ใบฉีกลึก และมีสีเขียวเป็นมัน เห็นเส้นใบได้ชัด ใบยาวประมาณ 2 ฟุต ในเมืองไทยมีปลูกกัน

3. P. calophyllum มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล ลำต้นเตี้ย ใบรูปหัวใจ หรือใบเหมือนใบหน้าวัว สีเขียวสด และเขียวอ่อนเป็นมัน

4. P. cannifolium มีถิ่นกำเนิดในบราซิล เช่นกัน ไม่ใช่ไม้เถาเลื้อย ใบรูปไม้พาย ใบเต็ม ไม่มีเว้าหรือรอยฉีก สีเขียวสดเป็นทางตามเส้นใบ

5. P. cordatum ชื่อทางการค้ามักรวมเป็น P. oxycardium มีถิ่นกำเนิดในบราซิล เป็นไม้เถาเลื้อย มีใบขนาดเล็กหรือขนาดกลางสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปหัวใจยาว เนื้อใบหนาและแน่นกว่า P. oxycardium ใบเต็มไม่มีรอยเว้า หรือรอยฉีก

6. P. dubium หรือ p. radiatum มีถิ่นกำเนิดในกัวเตมาลา เป็นพันธุ์ไม้เถาชนิดเลื้อย ใบสีเขียวแก่ มีรอยฉีกลึกทั้งสองข้างใบ ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน ไม้เลื้อย

7. P. crubescens มีถิ่นกำเนิดในโคลัมเบีย เป็นไม้ขนาดกลาง ในรูปลูกศร สีเขียวเป็นมัน ใต้ใบสีทองแดง เป็นไม้เถาเลื้อยใบเต็ม

8. P. giganteum จากหมู่เกาะอินเดียตะวันตก ต้นขึ้นตั้งตรง ใบใหญ่มนรูปหัวใจ มีใบสีเขียวสด เป็นมัน มีเส้นใบเห็นได้ชัด

9. P. gloriosum ถิ่นกำเนิดในโคลัมเบีย ในรูปหัวใจขนาดใหญ่ ใบอ่อนมีขนละเอียด ใบสีเขียวแก่ มีเส้นใบสีชมพู เป็นไม้เลื้อย ใบไม่มีฉีก

10. P. gloriosum ถิ่นกำเนิดในบราซิล ใบสีเขียวสดรูปลูกศร เป็นพวกเลื้อย ใบเต็มไม่มีรอยฉีก รูปลูกศร มีลายเส้นใบสีนวล หลังใบสีแดงอมน้ำตาล ชนิด variegatum มีใบด่างเขียวสลับขาวเหลือง มีปลูกกันในเมืองไทย

11. P. Imbe จาก Ris de Janeiro เป็น เถาเลื้อยใบเต็มไม่ฉีก ใบสีเขียว ใต้ใบสีแดง ชนิด variegatum ใบใหญ่ด่างสีเขียวอ่อนสลับ สีขาวครีม

12. P. lacerum จากอินเดียตะวันตก ใบมีขนาดใหญ่รูปหัวใจ สีเขียวอ่อน ใบฉีกลึกถึงเส้นกลางใบ เป็นพวกเลื้อย

13. P. lacinatum จากบราซิล เป็นพวกเลื้อย ใบฉีก สีเขียวอ่อน

14. P. mamcei จากเอกัวดอร์ ไม้เลื้อย ใบรูปหัวใจขนาดใหญ่ มีด่างสีขาวบนพื้นใบน่าดู งามมาก

15. P. micans จากโคลัมเบีย เป็นพวกเลื้อย ใบเล็กรูปหัวใจสีเขียว ใต้ใบเล็กสีแดง

16. P. nobile จากเวเนซูล่าและกิอาน่า ใบใหญ่

17. P. oxycardium ถิ่นกำเนิดหมู่เกาะอินเดียตะวันตก เป็นพวกเลื้อย ลำต้นเล็กยาว ในรูปหัวใจขนาดใหญ่ สีเขียวแก่ ชนิดด่างมีสีขาวหินอ่อนปนสีเทาสลับบนใบ

18. P. panduracforme เป็นชนิดที่มีผู้นิยมปลูกกันมาก บางทีเรียกว่า Horsehead Philodendron เพราะมีลักษณะใบของมันคล้ายหน้าม้า ในลักษณะคล้ายใบมะเดื่อหยาบ สีเขียวแก่ เป็นพวกเถาเลื้อย มีถิ่นกำเนิดในบรา­ซิลตอนใต้

19. p. sagittifolium เป็นพวกเถาเลื้อย เจริญเติบโตได้ดีทั่วๆไป ใบรูปลูกศร สีเขียวอ่อนเป็นมัน

20. p. selloum ลำต้นสั้นมากเกือบไม่มี ถิ่นกำเนิดในพาราไกวและบราซิล ใบใหญ่สีเขียว มีแฉกและรอยฉีก

21. P. socliroi ถิ่นกำเนิดจากโคลัมเบีย เป็นพวกเถาเลื้อย ใบรูปหัวใจใหญ่ สีขาวนวล

22. P. squamiferum จากกิอาน่า ใบมี 2 แฉก สีเขียวสดเป็นมัน ก้านใบใหญ่ มีขนสีแดงปกคลุมเต็มก้านใบ นิยมปลูกกันมากในเมืองไทยเหมือนกัน

23. P. tripartitum จากอเมริกาใต้ ใบเล็ก มี 3 แฉก เป็นไม้เถาเลื้อย

24. P. verrucosum จากอีเควดอร์ เป็นชนิดหนึ่งที่สวยงามมาก เป็นพวกไม้เถาเลื้อย มีในรูปหัวใจขนาดใหญ่คล้ายต้นกระดาษ พื้นสีเขียวสด มีเส้นใบขึ้นเด่นชัด ก้านใบมีขนสีแดง

25. PC werdlandii เป็นชนิดที่มาจากคอสตาริโก ไม้เลื้อย มีรูปร่างคล้ายเฟิร์นรังนก (Bird’s nest ferns) ลำต้นสั้นมาก ในรูปใบพายสีเขียวอ่อนตรงกลางใบ และสีแก่ขึ้นตามขอบนอกใบ ลักษณะใบคล้าย ๆ ใบลั่นทม ในเมือง ไทยมีปลูกกันบางตามเรือนต้นไม้

นอกจากนี้ยังมี Philodendron ลูกผสมอีกมากมาย เช่น P. alleni, p. berryi, p. borin- guensis, p. evansii, p. florida, p. lyrette, P. mandaianum, p. arlando, p. rubescens, P. rubram, p. tricolor, p. wendatum ฯลฯ

การขยายพันธุ์

ใช้เมล็ดเพาะก็งอกได้ดีในกระบะทรายผสมมอสและขี้เถ้าแกลบ นอกจากเพาะเมล็ดแล้วใช้การตอนยอดออกมา การตอนคงทำแบบธรรมดาทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นวิธีที่แน่นอนที่สุดว่าจะได้ต้นไม้ การตอนช่วยทำให้ต้นที่สูงชลูดแตกหน่อใหม่ขึ้นได้ และได้ต้นใหม่ที่งดงาม นอกจากการตอนแล้ว วิธีปักชำยอดเป็นวิธีที่ง่าย และทำกันมาก อาจตัดยอดมาปักชำหรือตัดต้นมาปักชำ โดยตัดเป็นท่อนสั้น ๆ ขนาด 3-5 นิ้ว ก็ได้ จะแตกรากภายใน 4 สัปดาห์ ในการขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ดก็ตาม ตอนก็ตาม หรือปักชำก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดก็คือความชุ่มชื้น ซึ่งพวก Philodendron ทุกชนิดต้องการความชุ่มชื้นสูง และเจริญเติบโตได้ดีในที่มีความชื้นสูงมากด้วย

การบำรุงรักษา

Philodendron ชอบดินที่มีการระบายน้ำได้ดี และความชื้นสูง ในการปลูกลงในกระถางนั้น ดินปลูกควรมีดินร่วนผสมกับใบไม้ผุ อิฐหัก ถ่าน และทราย ถ้าหากปลูกลงในพื้นดินนั้น ก็พิจารณาเลือกที่ให้เหมาะแก่การเจริญเติบ โตในเรื่องแสงสว่าง เพราะพวกนี้ไม่ต้องการถูกแสงแดดโดยตรง ชอบขึ้นในที่ร่มรำไรมาก

ปัญหาในการดูแลรักษาพวก Philodendron โดยเฉพาะพวกที่เป็นเถาเลื้อยนั้น ถ้าหากนำมาปลูกลงในกระถางแล้ว ก็ควรมีหลักปักไว้ให้มันเลื้อยไต่คลุมหลักที่ปักไว้ในกระถางด้วยหลักที่ปักในกระถางนี้ต้องแน่นหนาไม่ล้มง่าย ๆ อาจใช้หลักไม้ธรรมดา และโดนหลักใช้ไม้ตีกับหลักขวางเป็นรูปกากะบาด เพื่อให้ตั้งอยู่ก้นกระถางได้มั่นคงไม่ล้มง่าย ๆ ก็ได้ หลักนั้นควรเป็นหลักที่เก็บหรือมีความชื้นบ้างยิ่งดี เช่นอาจใช้หลักไม้หุ้มด้วยกาบมะพร้าว เช่นเดียวกับหลักปลูกแวนด้า หรืออาจใช้หลักออสมันด้าอย่างในประเทศ ใช้ลวดตาข่ายกรงไก่ห่อออสมันด้า หรือสแฟคนั่มมอสล้อมรอบหลักไม้ระแนงอีกทีหนึ่ง หรือถ้าหากจะใช้ลวดตาข่ายกรงไก่ห่อออสมันด้าแต่เพียงอย่างเดียว แล้ววางหลักนั้นลงในกระถางก็ใช้ได้

ประโยชน์

1. ปลูกประดับจัดสวนภายใน

2. ปลูกเป็นไม้กระถางประดับภายในอาคาร

3. ใช้ใบจัดโต๊ะอาหารบุฟเฟ่ จัดสวนหลังหีบศพ ฯลฯ