สรรพคุณของพลู


ชื่ออื่น พลูจีน เปล้าอ้วน ซีเกะ (นราธิวาส) กื่อเจี่ย (แต้จิ๋ว) จวี้เจี้ยง
(จีนกลาง) Betle
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper betle L.
วงศ์ Piperaceae
ลักษณะต้น เป็นไม้เถาเขียวตลอดปี รากงอกตรงข้อใช้ยึดเกาะ ใบออก สลับกัน มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบคล้ายรูปหัวใจ ฐานใบมักเฉียง ใบยาว 10- 15 ซม. กว้าง 4-10 ซม. ดอกเล็กสีขาว ไม่มีก้าน ออกเป็นกลุ่มเรียงบนก้านช่อดอกยาว 5-15 ซม.
ส่วนที่ใช้ ใบ น้ำมันจากใบ
สรรพคุณ
ใบ เป็นยากระตุ้นน้ำลาย ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ปวดท้อง (ที่มีอาการเย็นบริเวณท้อง) ปวดท้องเพราะพยาธิ เป็นยาฆ่าเชื้อและแก้ลมพิษ น้ำมันจากใบ ทำให้ผิวหนังร้อนแดง แก้คัดจมูก และใช้ทำเป็น ยาอมกลั้วคอแก้เจ็บคอ
ตำรับยาและวิธีใช้
1. ใช้ใบสด 3-5 กรัม ต้มน้ำกินสําหรับอาการปวดท้อง
2. แก้ลมพิษ ใช้ใบสดตำผสมเหล้าทา
ผลทางเภสัชวิทยา
1. น้ำมันพลู ที่ความเข้มข้นต่างๆ กันสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียต่างๆ ได้ เช่น ในความเข้นข้น
1 : 5,000 ยับยั้งการเจริญของเชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis
1 : 4,000 ยับยั้งการเจริญของเชื้ออหิวาต์ Vibrio cholerae
1 : 3,000 ยับยั้งการเจริญของเชื้อทัยฟอยด์ Salmonella typhosum และเชื้อบbดไม่มีตัว Shigella fiexneri
1 : 2,000 ยับยั้งการเจริญของ Escherichia coli และ Microccccus pyogenes var. aureus
น้ำมันพลูมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ เช่น Micrococcus pyogenes var. albus, M. pyogenes var. aureus, Ba¬cillus subtilis, B. megaterium, Diplococcus pneumoniae, Escherichia coli ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา เช่น Aspergillus niger, A. oryzae และ Fusarium oxysporum ฤทธิ์เหล่านี้เข้าใจว่าเกิดจากสารชาวิคอล (chavicol)
2. มีฤทธิ์ฆ่าสัตว์เซลเดียว (Protozoa caudatum) ในหลอด ทดลอง นอกจากนี้มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิไส้เดือน มีการทดลองกับไส้เดือนดิน พบว่าน้ำมันพลูมีฤทธิ์แรงเท่ากับน้ำมันชีโนโพเดียม (chenopodium oil) สามารถฆ่าไส้เดือนดินได้ และยังใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้อีกด้วย
3. ฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต เมื่อใช้ปริมาณน้อยกับสุนัขที่ วางยาสลบ ทำให้ความดันโลหิตลดลงชั่วคราวถึงแม้ว่าทำการตัดเส้นประสาท เวกัส (vagotomy) หรือให้ยาอะโทรปีน (atropine) แก่สุนัขแล้ว ฤทธิ์ก็ยังคงมีอยู่ ถ้าใช้ปริมาณมากฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตจะอยู่เป็นเวลานาน และการหายใจจะถูกกระตุ้นก่อนแล้วจะหยุดลงทันทีทันใด
4. มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบและการคลายตัวตลอดจนการเต้นของหัวใจ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
5. ฤทธิ์ต่อมดลูกและลำไส้ มีฤทธิ์ทำให้มดลูกและลำไส้ของหนู ขาว และกระต่ายที่ทดลองนอกร่างกายคลายตัว และยับยั้งการบีบตัวที่เกิดจากการใช้อะเซทิลโฆลีน (acetylcholine) หรือแบเรี่ยม คลอไรด์ (barium chloride) ด้วย
เมื่อฉีดน้ำมันพลูเข้าหลอดเลือดดำจะทำให้ลำไส้เล็กคลายตัว นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางของหนูขาวและหนูถีบจักร
น้ำมันพลู มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อของกระต่าย และหนูตะเภา ถ้าฉีดเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนังจะทำให้อักเสบได้
สารเคมีที่พบ
ใบ มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ 0.72-2.4% ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้ chavicol 7.2-16.7%, chavibetol 2.7-6.2% , allylpyrocatechol 0-9.6%, carvacrol 2.2-5.6%, eugenol 26.8-42.5% , p-cymene 1.2-2.5% , cineole 2.4-4.8% , eugenol methyl ether 4.2-15.8%, caryophyllene 3.0-9.8% , cadinene 2.4-8.8% นอกจากนี้ยังพบกรด อะมิโน, วิตามิน ซี, fluoride และ arakene (ฤทธิ์คล้าย cocaine)
ราก มี ß-sitosterol
หมายเหตุ
ชาวเอเซียและอัฟริกานิยมใช้ใบพลูเคี้ยวกับหมากและปูน นับ เป็นยาเสพติดชนิดอ่อนๆ เช่นเดียวกับบุหรี่
ที่มา:สำลี  ใจดี, สุนทรี  วิทยานารถไพศาล, รพีพล  ภโววาท, จิราพร  ลิ้มปานานนท์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, วิทิต  วัณนาวิบูล