สะตอมีคุณค่าทางอาหารสูง

สะตอเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นตามป่าดงดิบทางภาคใต้ของ ประเทศไทยเรื่อยไปจนถึงมาเลเซียและเกาะชวา ในภาคใต้และภาคตะวันออกสามารถปลูกสะตอได้ดีเพราะมีสภาพดินฟ้าอากาศและความชุ่มชื้นที่เหมาะสม สะตอเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและเป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไปทั้งในหมู่คนใต้เองและคนภาคอื่น ๆ เมล็ดสะตอ 100 กรัม จะให้คุณค่าทางอาหารดังนี้คือ โปรตีน 8.0 กรัม ไขมัน 8.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11.4 กรัม แคลเซียม 76 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 83 มิลลิกรัม เหล็ก 0.7 มิลลิกรัม ไวตามินเอ 734 หน่วยสากล (IU) ไวตามินบี 1 ไวตามินบี 2 และไนอาซีน

ลักษณะทั่วไป

สะตอเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นค่อนข้างตรง เปลือกหนา ค่อนข้างเรียบสีนํ้าตาลปนเทา แผ่กิ่งก้านกระจายออกรอบทิศ ถ้ามีการตัดแต่งกิ่งใน ระยะตอนเริ่มปลูกโดยการตัดออกจะมีกิ่งก้านไม่สูงนัก ใบสะตอเป็นพวกใบประกอบย่อย ก้านหนึ่งมีใบย่อยมากมาย ดอกของสะตอก็ออกเป็นช่อ ตรงปลายกิ่งด้านนอกพุ่ม ช่อหนึ่งมี 3-16 ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ส่วนของฝักเกิดจากรังไข่ที่ผสมเจริญแล้วเติบโตตรงกลางปุ่มดอกดอกหนึ่งจะมีตั้งแต่ 3-24 ฝัก เมล็ดจะเรียงอยู่ในฝักตามแนวนอน

พันธุ์

สะตอโดยทั่วไปที่นิยมปลูกในบ้านรามี 2 พันธุ์คือ สะตอดาน และสะตอข้าว ซึ่งมีลักษณะของลำต้น และพุ่มใบจะคล้ายคลึงกัน

1.  สะตอดาน ลักษณะฝักแบนตรงไม่บิดเบี้ยว ฝักยาวประมาณ 1 ฟุต กว้างประมาณ 2 นิ้ว ในหนึ่งฝักมีประมาณ 10-20 เมล็ด แต่ละช่อจะมี 8-15 ฝัก

กลิ่นฉุนจัด เนื้อเมล็ดแน่น

2.  สะตอข้าว ลักษณะฝักบิดเป็นเกลียว ขนาดของฝักใกล้เคียงกับสะตอดาน แต่กลิ่นไม่ฉุนเท่าและเนื้อเมล็ดไม่ค่อยแน่น แต่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากกว่า

นอกจากสะตอ 2 พันธุ์ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีสะตออีกชนิดหนึ่งเป็นสะตอป่า มักพบตามป่าลึก ๆ หรือบนภูเขาเรียกว่า “สะตอตอแหล” ซึ่งไม่เป็นที่นิยมบริโภค เพราะฝักและเมล็ดแข็ง

สภาพที่เหมาะสม

สะตอมีถี่นกำเนิดอยู่ในป่าดงดิบ จึงต้องการความชุ่มชื้นพอสมควรเพราะ ปริมาณนํ้าฝนมีส่วนสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของสะตอมาก บริเวณที่จะปลูกสะตอ ควรมีฝนตกอย่างน้อย 1,500-2,000 มิลลิเมตร/ปี สะตอขึ้นได้ดีในดินร่วนหรือ ดินเหนียวปนทราย ทั้งในที่ราบและที่เนิน ยิ่งถ้าเป็นป่าเปิดใหม่ที่อุดมด้วยอินทรีย์วัตถุและมีความชุ่มชื้นสูงสะตอจะขึ้นได้งามมาก ถ้าดินที่จะปลูกเป็นดินเหนียวจัด หรือทรายจัดควรเพิ่มอินทรีย์วัตถุลงไปในดิน และแก้ความเป็นกรดด่างของดินเสียก่อน สิ่งที่ควรคำนึงถึงอีกประการหนึ่งในการเลือกพื้นที่ปลูกสะตอคือ ควรเป็นพื้นที่ที่มีเนื้อดินหนาประมาณ 2-3 เมตร และไม่มีลูกรังดานหรือหินดานข้างล่าง เพราะเมื่อรากสะตอกระทบหินดาน ต้นจะตายในไม่ช้า

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์สะตอทำได้ 3 วิธี คือเพาะเมล็ด ติดตา และตัดกิ่งปักชำ

1.  การเพาะเมล็ด วิธีนี้แม้จะทำได้ง่ายแต่ก็มีโอกาสที่กลายพันธุ์ได้เช่นกัน เมื่อเลือกฝักที่แก่เต็มที่แล้วลอกเยื่อหุ้มเมล็ดออกให้เหลือแต่เมล็ดที่มีสีเขียว แช่น้ำ ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำขึ้นมาสะเด็ดน้ำให้แห้ง แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำขึ้นมาสะเด็ดน้ำให้แห้ง ใช้ยาป้องกันมดและแมลงเช่น เซฟวิน 85 % หรือคาร์บาริล 85 % อัตรา 1 ช้อน ต่อ 100 เมล็ด คลุกเคล้าเพื่อป้องกันแมลงก่อนนำไปเพาะ

การเพาะกล้า ควรเพาะในเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม เพื่อที่จะได้นำลงปลูกในฤดูฝนปีต่อไป ประมาณเดือนพฤษภาคม จะช่วยประหยัดการรดนํ้าและการดูแลรักษามาก

การเพาะเมล็ด สามารถเพาะได้ทั้งในถุงพลาสติก และเพาะในแปลงเพาะ ถ้าเพาะในถุงพลาสติก ควรใช้ถุงขนาดปากกว้าง 4 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว หรือขนาด กว้าง 6 นิ้ว ยาว 1 ฟุต เจาะรูที่ก้นถุง 2-3 รู เพื่อระบายนํ้า ใส่ดินที่ผสมปุ๋ยคอก อัตรา 2 ต่อ 1 ประมาณค่อนถุง ตั้งถุงที่ใส่ดินแล้วเรียงเป็นแถว ทำร่มเงาให้ เอา เมล็ดลงเพาะโดยกดด้านข้างให้ลึกลงไปประมาณ 1 นิ้ว แล้วโรยดินผสมกลบบาง ๆ รดนํ้าให้ชุ่ม แล้วรดทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 7-10 วัน เมล็ดจะงอกเมื่อ สะตอมีใบจริงออกแล้วรดนํ้าวันละครั้งก็พอและค่อย ๆ เอาร่มเงาออกทีละน้อยเพื่อให้สะตอมีความทนทานต่อแดด เมื่อสะตอมีอายุเข้าเดือนที่สอง ควรให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ต้นละ 1/2-1 ช้อนแกง ใส่ให้ห่างจากโคนต้นมากที่สุดเสร็จแล้วพรวนดิน รดน้ำ หลังจากนั้นก็ใส่ปุ๋ยสูตรเดิมนี้ให้อีกทุกระยะ 2 เดือน เมื่อต้นสะตอมีอายุ 10 เดือน ก็ย้ายไปปลูกได้

ถ้าจะทำการเพาะเมล็ดในแปลง ควรทำแปลงขนาด 1×4 เมตร ขุดดิน ตากแดดประมาณ 7-10 วัน ย่อยดินให้ละเอียดแล้วใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 4 ปีบ คลุกดิน ให้ทั่วแล้วฝังเมล็ดสะตอให้ลึกลงไป 1 เซ็นติเมตร ใช้ระยะห่าง 20 เซ็นติเมตร การดูแลรักษาให้นํ้าทำเหมือนกับการเพาะในถุงพลาสติก แต่การใส่ปุ๋ยควรใส่แบบโรย เป็นแถวระยะกึ่งกลางของแต่ละต้น เมื่อต้นกล้าอายุ 10 เดือนก็รดนํ้าในแปลงให้ ชุ่มแล้วขุดไปปลูกได้เลย

2.  การติดตา วิธีนี้ป้องกันการกลายพันธุ์ของสะตอได้ดี และได้ผลผลิตรวดเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด ต้นตอที่จะนำมาใช้ในการนี้ถ้าใช้ต้นเหรียงจะได้ผลดีเพราะ ต้นเหรียงมีการเจริญเติบโตแข็งแรงดี และทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศต่าง ๆ ได้ดี ก่อนอื่นต้องเพาะต้นเหรียงเสียก่อน เมื่อต้นเติบโตอายุได้ประมาณ 8 เดือน จึงนำเอาสะตอไปติด ประมาณ 20 วัน ก็สามารถเปิดตาได้ เมื่อตาติดดีแล้วจึงตัดต้นเดิมของต้นเหรียงเหนือตาออกให้เหลือประมาณ 2 นิ้วก็ใช้ได้

3.  การตัดกิ่งปักชำ เลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไปตัดออกเป็นท่อนยาวประมาณ 10-12 นิ้ว ตัดตอนปลายเป็นรูปปากฉลาม อีกด้านหนึ่งตัดให้เรียบเสมอกัน นำมาปักชำไว้ในกะบะทรายหรือขี้เถ้าแกลบ โดยหันด้านที่มีตาอยู่เหนือสุดขึ้นบน ทำร่มเงาบังให้ด้วย และคอยรดนํ้าให้ชุ่ม สะตอจะแตกราก แตกกิ่งได้รวดเร็ว สะตอที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้มีข้อเสียคือ ไม่มีรากแก้ว ฉะนั้นจึงอาจโยกหรือล้มได้ง่าย แต่ก็มีข้อดีคือได้ผลเร็วกว่า วิธีปลูกด้วยเมล็ดประมาณ 2 ปี

การปลูก

สะตอเป็นไม้ที่มีพุ่มกว้าง จึงควรเว้นระยะห่างประมาณ 12×12 เมตร และขุดหลุมปลูกเช่นดียวกับไม้ผลทั่วไปคือให้มีความกว้าง ยาว และลึก ด้านละ 1 เมตร ขุดดินชั้นบนและชั้นล่างไว้ข้างละด้านของปากหลุม หาปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกรองก้นหลุม ประมาณ ½  ปีบ และผสมปุ๋ยร๊อคฟอสเฟตลงไปด้วยจะช่วยให้สะตอเจริญเติบโต ตั้งตัวได้เร็วขึ้น เวลาจะเอาต้นกล้าลงไป กลบดินโดยรอบเหยียบบริเวณโคนต้นให้แน่น ใช้ไม้ปักให้แนบลำต้นแล้วผูกเชือกกันลมโบก รดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา

ในระยะที่ปลูกใหม่ ๆ ควรหาเศษหญ้าคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นของดิน และถ้าแล้งจัดควรรดน้ำให้บ้าง ควรพรวนดิน กำจัดวัชพืซ และใส่ปุ๋ยอย่างน้อย ปีละครั้ง อาจใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1-2 บุ้งกี๋ต่อต้น หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12

2 กิโลกรัมต่อต้น เมื่อต้นสูงได้ 3 เมตร ควรตัดยอดจะทำให้สะตอแตกพุ่มเร็ว ควรปล่อยให้กิ่งแขนงแตกออกแล้วตัดแต่งกิ่งให้ได้สมดุลย์ให้กิ่งกระจายออกไปรอบต้นสม่ำเสมอกันจะทำให้ทรงพุ่มสวยงาม ออกช่อเร็วและสะดวกในการเก็บฝัก

สะตอพันธุ์เบาบางพันธุ์ถ้าดูแลรักษาดี ๆ จะเริ่มให้ผลในปีที่ 4 แต่โดยทั่วไปจะเริ่มให้ผลได้เมื่อย่างปีที่ 5-6 ในระยะแรก ๆ ที่เรียกว่า ระยะสอนเป็น จะให้ฝักไม่มากนัก แต่เมื่ออายุมากขึ้นก็จะให้ผลมากขี้นตามอายุ

โรคและแมลงศัตรู

โรคและแมลงศัตรูของสะตอไม่ค่อยมี จะมีก็แต่โรคกิ่งแห้งหรือที่เรียกว่า

ปลดกิ่ง อันเนื่องมาจากดินมีความอุดมสมบูรณ์และความชื้นไม่เพียงพอ หน้าดินตื้น และบางครั้งก็อาจมีโรคราเข้าทำลาย ส่วนแมลงก็มีพวกหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้น เจาะกินภายในลำต้นและเปลือกอ่อน เปลือกของต้นที่ถูกเจาะจะมีลักษณะฟูน้ำเยิ้ม มีขี้หนอนเป็นกระจุกอยู่ กำจัดโดยเอามีดแคะหนอนทำลายเสีย ถ้าเป็นรูเข้าไปในลำต้นใช้สำลีชุบฟูโมแกสหรือคาร์บอนเตทตราคลอไรด์อัดเข้าไปในรู ใช้ดินเหนียวอุดรูจะฆ่าหนอนได้ ส่วนด้วงปีกแข็งเจาะลำต้นตัวเล็กสีดำปนน้ำตาล ชอบเจาะโคนต้น ควรใช้ดิลเดร็กทาบริเวณโคนต้นเพื่อป้องกัน