เฟิร์น:การขยายพันธุ์และการปลูก

เฟิร์นเป็นพันธุ์ไม้ประดับที่มีความสวยงาม ในลักษณะต้นใบที่มีสีเขียวสดและมีลักษณะใบต่าง ๆ กันมากมาย นับว่าเป็นพันธุ์ไม้ประดับที่เป็นพวกใหญ่พวงหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ ในการใช้พันธุ์ไม้ประดับด้วยแล้ว เฟิร์นจะต้องมีส่วนเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะพันธุ์ไม้ประดับในร่มแล้ว เฟิร์นมีมากมายหลายชนิด ให้เลือกตามพอใจและมีลักษณะต่าง ๆ ให้ตาม ต้องการที่จะนำเฟิร์นมาใช้ได้กว้างขวางมากที่สุด เฟิร์นนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางปลูกลงในดินตามโคนต้นไม้ใหญ่ ตามข้างกำแพง ริมทางเดินในที่ร่มรื่น หรือปลูกตามกิ่งไม้ที่ร่มรื่นได้งดงามที่จะหาพันธุ์ไม้ประดับหรือไม้ใบใด ๆ ที่มีลักษณะมากมายได้เท่าเฟิร์น แม้แต่การจัดดอกไม้หรือการจัดพันธุ์ไม้ดอกต่าง ๆ ก็ดี ถ้าจะให้เกิดความงามมากขึ้นแล้วก็จะต้อง ใช้เฟิร์นมาแซม เพื่อช่วยให้ดูเด่นขึ้น การจัดดอกไม้สดส่วนมากมักจะขาดเฟิร์นไม่ค่อยได้

ในทางพฤกษศาสตร์นั้นถือว่าเฟิร์นเป็นพืชชั้นต่ำอยู่ใน Subdivision Pteropsida คือเป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่มีผล ไม่มีเมล็ดเหมือนพันธุ์ไม้ชั้นสูง เฟิร์นสืบพันธุ์ด้วยสปอร์ (Sporophylls) ซึ่งเกิดขึ้นบนส่วนด่าง ๆ ของใบ เป็นพันธุ์ไม้ที่มีหลายตระกูล (Family) หลายสกุล (Genera) และหลายหมื่นหลายพันชนิดและพันธุ์ การจำแนกเฟิร์นออกเป็นตระกูล ๆ นั้น อาศัยหลักในลักษณะรูปร่าง และการเกิดของส่วนที่เป็นสปอร์ (Sporophylls) เฟิร์นมีขนาดต่าง ๆ กัน มากตั้งแต่เล็กนิดเดียวขนาดต้นมอสส์ (moss­like) จนมีขนาดใหญ่ใด เช่นต้นเฟิร์นว่า ‘Tree Fevns’ มีลำต้นสูงถึง 80-90 ฟุต ส่วนมากใบจะแบ่งเป็นใบย่อย ๆ นอกจากบางชนิดที่ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่แตกแยก และไม่แบ่งออกเป็นใบย่อย เช่น เฟิร์นรังนก (Bird’s nest fern) เป็นต้น

เฟิร์นมีถิ่นกำเนิดหรือขึ้นอยู่ทั่ว ๆ ไปในโลก ในอาณาเขตที่มีความชุ่มชื้นสูง และมีอากาศร้อนหรืออบอ้าว แม้แต่ในป่าทั่ว ๆ ไปที่มีความชื้นพอประมานในเมืองไทยก็มีเฟิร์นขึ้นอยู่มากมายหลายชนิด  ปัจจุบันนี้มีผู้แยกและคัดชนิด ต่าง ๆ ของเฟิร์นในโลกนี้ได้ประมาณ 10,000 กว่าชนิด (species) ที่ยังคัดไม่ออกและไม่รู้จัก ยังมีอีกหลายพันชนิด

เฟิร์นมีลักษณะต้นเป็นกอ ไม่มีลำต้น (Stemless) มีแต่ก้านใบโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน ส่วนลำต้นนั้นมีลักษณะเป็นไหล (rhigome) อยู่ใต้ดินก็มี บางชนิดมีใบใหญ่ยาวเกิน 5 ฟุต บางชนิดใบใช้เป็นอาหารได้ในเมืองไทยเราเรียก เฟิร์นประเภทนื้ว่า “ผักกูด,, ทั้งสิ้น

บางชนิดเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ที่ร่มรื่นและมีความชื้นสูง เช่นพวก “ข้าหลวงหลังลาย,, (Bird’s nest fern), กระเช้าสีดา, ชายผ้าสีดา (Staghorn fern) พวกเฟิร์นใบโอ๊ค (Oak leaf fern) เกาะอยู่บนกิ่งไม้หรือขึ้นอยู่ตามก้อนหิน ในป่าชื้นเหมือนกัน บางชนิดมีสีลำต้นขาวเป็นเถาเลื้อยไปตามพื้นดินหรือตามก้อนหิน เช่น พวกเฟิร์นปีกแมลงวัน (Peacock fern) ใบมีสีเหลือบคล้ายปีกแมลงทับ หรือสีเหลือบคล้ายแววหางนกยูง มีมากทางป่าชื้นในภาคใต้ และ ภาคตะวันออกของประเทศไทย บางชนิดก็มีลำต้นสูงใหญ่ (Stout trunk) เช่นพวกเฟิร์นต้น (Tree fern) เป็นต้น

เฟิร์นบางชนิดมีรากฝอยมากและมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกต้นไม้ เช่น ออสมันด้าเฟิร์น และมีเฟิร์นอกหลายชนิดที่มีประโยชน์แก่มนุษย์ในการใช้เป็นสมุนไพรในการรักษาโรคของมนุษย์

การแบ่งประเภทของเฟิร์น

การแบ่งประเภทของเฟิร์นนั้นแบ่งได้หลายลักษณะตามแต่ความมุ่งหมายที่จะแบ่งและคัดออกเป็นกี่ประเภทกี่ชนิด การแบ่งเฟิร์นจึงมีวิธีแบ่งได้หลายลักษณะด้วยกัน คือ

1. การแบ่งทางพฤกษศาสตร์ นักพฤกษศาสตร์ คัดเลือกและแบ่งชนิดประเภทของเฟิร์นออกเช่นเดียวกับการแบ่งพันธุ์ไม้ชั้นสูงคือแบ่งเป็นวงศ์ (Family) สกุล (Genera) ชนิด (Species) และ อาจแบ่งออกไปถึงพันธุ์ (varieties) การแบ่งของนักพฤกษศาสตร์นี้ อาศัยคัดประเภทตามลักษณะของเฟิร์นทางกายวิภาค (Plant Texonomy) คือ พิจารณาถึงรูปร่างลักษณะของต้น ใบ ราก และ ดอก แต่เฟิร์นไม่มีดอก จึงดูถึงลักษณะและที่เกิดของสปอร์ (Sporophylls) อย่างละเอียดด้วย กล้องจุลทัศน์กำลังขยายสูง การตรวจให้ละเอียดว่าต่างกันอย่างไรนั้น อาจพิจารณาถึงลักษณะภายใน (Cytslogy) โดยการตรวจนับโครโมโซม ด้วย จึงจะทำให้แน่ชัดลงไปอีก เช่น Oxmunda Javanica มีโครโมโซม n = 22 แต่ Asplenium candatum มีโครโมโซม n = 72 พวกเฟิร์นก้าน ดำ Adiantum candatum มีโครโมโซม n = 60 ดังนี้ เป็นต้น

2. การแบ่งตามวิวัฒนาการของพฤกษ์ พวกเฟิร์นที่ยังไม่วิวัฒนาการมาเป็นพืชที่เจริญแล้ว หรือเรียกว่าเฟิร์นชั้นตํ่า (Primitive ferns) หมายถึงพืชหรือเฟิร์นที่มีส่วนต่าง ๆ ลักษณะต่าง ๆ ยังไม่เจริญและล้าหลังอยู่ เช่น มีสปอร์น้อยแต่มีขนาดใหญ่ เช่นประมาณ 10 วงศ์ด้วยกัน ส่วนเฟิร์นอีกพวกหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นเฟิร์นชั้นสูง ได้วิวัฒนาการมานานแล้ว เรียกว่า ‘The modern ferns’ หรือเฟิร์นสมัยใหม่นั้น ที่มีลักษณะสปอร์ที่มีขนาดเล็ก เช่น Family Polypodiaceae, Family Adiantaceae เป็นต้น

3. แบ่งตามลักษณะที่เกิดของเฟิร์น (Eco­logy) คือลักษณะที่เฟิร์นขึ้นเจริญเติบโตอยู่ได้นั้น อาศัยที่เกิดต่าง ๆ กัน คือ

1. Terrestrial ferus หมายถึง พวกเฟิร์นที่เจริญเติบโตบนพื้นดิน โดยมีรากลงไปในพื้นดิน ดูดน้ำดูดอาหารจากพื้นดิน ซึ่งยังแบ่งออกได้เป็นอีก 1 ลักษณะด้วยกันตามสถานที่เกิด คือ

ก. เกิดบนพื้นดินกลางแจ้ง (Ter­restrial sun-ferns) เช่นพวก Blechnum orientale Cyclosorus gongylodes, และพวกเฟิร์นเงิน (Pityrogvamma) เป็นต้น

ข. เกิดบนพื้นดินในร่ม (Terrestrialshade-ferns) เกิดบนดินอยู่ในที่ร่มได้ ต้นไม้ ใต้พุ่มไม้ ส่วนมากพวกนี้โตช้ากว่าพวกเฟิร์นที่ชอบอยู่กลางแจ้งถูกแสงแดดเดิมที่ ทั้งนี้ที่เป็นเพราะมีแสงสว่างปรุงอาหารได้น้อยกว่า เช่น พวก Angiopteris

ค. พวกมีลำต้นเป็นเถาเลื้อย (Climb­ing ferns) พวกนี้เริ่มงอกจากพื้นดินแล้วเลื้อย ไต่สูงขึ้นไปบนหิน ต้นไม้ หรือไต่อยู่บนดิน เช่นพวกเฟิร์นแมลงทับ (Selaginella will- denowii)

2. Epiphytes ferns เป็นพวกที่เกิดบนที่สูง ไม่มีรากลงพื้นดิน รากเกาะอยู่กับสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พื้นดินคล้าย ๆ พวกกล้วยไม้ บางชนิดที่เกาะอยู่ตามต้น พวกนี้ไม่ได้เป็น parasite ของต้นไม้ที่มันเกาะอยู่ เพราะรากของมันไม่ได้ดูดอาหารหรือดูดน้ำเลี้ยงจากต้นไม่นั้น แต่รากดูดน้ำดูดแร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่นอกต้นไม้ที่ไหลมาตามกิ่งไม่เวลาฝนตกชะล้างลงมา ดังนั้นพวกนี้บางชนิดจึงมีกาบใบตักอาหารไว้ที่กิ่ง เช่นพวกระเช้าสีดา และพวกชายผ้าสีดา (Stag’s horn fern ; Platycerium) ซึ่งพวกนี้เกิดบนที่สูงเหนือพื้นดินนี้ที่ยังแบ่งออกได้อีกตามสภาพแวดล้อมที่เกิดอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือ

ก. Epiphytes of sheltered places คือเกาะอยู่ในร่ม ไม่ชอบแสงแดดตรง ๆ เช่นพวก Antrophyum callifolium และ As­plenium tenerum เกาะอยู่บนต้นไม้เล็ก ๆ และอยู่ใกล้พื้นดินที่ร่ม

ข. Epiphytes of exposed places พวกนี้ชอบถูกแสงแดดตรง ๆ หรือถูก แสงแดดบาง ดังนั้นพวกนี้จึงมักจะมีลักษณะแห้งแล้งกว่าพวกในร่มหรือพวก Stag’s horn fern ที่กล่าวมาแล้ว

นอกจากนี้ยังอาจแบ่งออกตามลักษณะสถานที่เกิดของเฟิร์นในสถาที่ต่าง ๆ ได้อีกเช่น

1. Rock-ferns and River -bank ferns คือเฟิร์นพวกที่เกิดตามหน้าผา หิน หรือตามตลิ่งริมลำธาร ริมนํ้าตก

2. Mountain ferns คือ เฟิร์นพวกที่เกิดอยู่บนภูเขาสูง ซึ่งต่างกับลักษณะ เฟิร์นที่เกิดอยู่ในที่ต่ำ ใกล้กับน้ำทะเล เพราะบรรยากาศในที่สูงนั้นมีความชื้น ความกดดันของอากาศ มีหมอก มีลูกเห็บตก ต่าง ๆ กันมาก เช่นพวก Tree-ferns จะมีบนภูเขาสูง ๆ มากกว่าข้างล่าง

3. Aquatic ferns คือพวกเฟิร์นที่ชอบขึ้นอยู่ในที่มีน้ำขังตามลำธารน้ำตก ตามริมน้ำให้น้ำท่วมโคนต้น คล้ายกับพันธุ์ไม้ น้ำทั่ว ๆ ไป

วงของเฟิร์น

เฟิร์นเป็นพันธุ์ไม้ที่อยู่ในตระกูลต่าง ๆ กันมากมาย ดังตัวอย่างเฟิร์นที่จัดว่างดงามและมีลักษณะที่ดีในทางไม้ประดับคือ

1. พวกออสมันด้าหรือวงศ์ Osmundaceae เฟิร์นพวกนี้มีประมาณ 3 สกุล (genera) และ ประมาณ 17 ชนิด (species) เป็นเฟิร์นขนาดใหญ่ ลำต้นเลื้อยอยู่ใต้พื้นดิน ใบกว้างใหญ่ และมีใบย่อยแตกออกทั้งสองข้างแบบ Panicles สปอร์ใหญ่ลักษณะกลม Osmunda vegalis มีลักษระคล้ายดอกออกเป็นช่อจึงเรียกเฟิร์น ชนิดนี้ว่า Flowering-fern

2. พวกเฟิร์นต้น (Tree-fern) ในวงศ์ Cyatheaceae เกิดตามป่าชื้นสูงถิ่นร้อนมี ประมาณ 5 สกุล และ 425 ชนิด ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยแผ่ออกทั้ง 2 ข้าง มีลำต้นสูงเรียกว่า Stout ไม่เรียกว่า Stem เพราะไม่ใช่ลำต้นจริง ๆ

Cyathea dealbatee พวกเฟิร์นต้น (Stout fern) ลำต้นสูง 30 ฟุต ลำต้นใหญ่ 18 นิ้ว ใบแผ่ออกรอบต้นที่ยอดคล้ายร่ม ใบยาว 5-12 ฟุต กว้าง 2-4 ฟุต ใบสีเขียวอ่อน ใต้ใบสีเงิน ถิ่นกำเนิดในนิวซีแลนด์

Alsophila australis พวกเฟิร์นต้นถิ่น กำเนิดในออสเตรเลีย ลำต้นสูงตั้งตรงประมาณ 20 ฟุต ลำต้นใหญ่ ใบยาว 5-12 ฟุต ใบสีเขียวอ่อน

Alsophila crinata ต้นสูง 30-40 ฟุต ต้นอ่อน ๆ มีขึ้นเป็นใยคลุมสีน้ำตาลที่กาบใบ และต้นใกล้ส่วนยอด ชนิดนี้มีในเมืองไทยเช่นเดียวกับ Alsophila glabra

3. พวกเฟิร์นต้น (Tree-fern) ในวงศ์ Dicksoniaceae พวกนี้มี 3 สกุล ประมาณ 30 ชนิด เช่น Dicksonia antractica เป็นเฟิร์นต้นที่งามมาก ต้นสูง 20-50 ฟุต ใบใหญ่ กานใบสั้น มีใบย่อย 20-30 คู่ มีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลีย

Cibotium schiedei เป็นเฟิร์นต้นที่สวยงามและนิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก เพราะต้นไม่สูงมากนัก สูงเต็มที่ 15 ฟุต ใบกว้าง 5-10 ฟุต รูปใบประกอบลักษณะสามเหลี่ยม มีใบย่อย 25 คู่ หรือมากกว่านั้น ถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้

4. พวกเฟิร์นทั่ว ๆไปในวงศ์ Polypodia- ceae เป็นพวกเฟิร์นต้นเล็กขึ้นตามกำแพงหินชื้น หรือขึ้นอยู่ตามต้นไม้ กิ่งไม้ บางทีเรียกว่า Wall-fern คือพวก Polypodium vulgare ซึ่งส่วนมากเป็นรากอากาศ ไม่ขึ้นอยู่กับพื้นดิน หรือขึ้นอยู่บนพื้นดิน มีลักษณะคล้ายชายผ้าสีดา(Staghorn-fern) แต่ต้นเล็กกว่ามาก

Piatycerium เป็นเฟิร์นสกุลชายผ้าสีดา (Staghorn-fern) มี 3 ชนิด คือ Piatycerium stemaria ใบกลมเล็กแคบห้อยยาวประมาณ 3 ฟุต เกาะอยู่ตามต้นไม้ชื้นร่ม ใต้ใบสีเขียวอ่อนบนใบสีเขียว

Piatycerium hillii ใบเขียวแก่ ใบอ่อน ม้วนกลม ใบยาว 1-2 ฟุต

Piatycerium bifurcatum ใบสีเขียว เทา ใบกลมเล็กม้วนไปมา ห้อยยาว 2-3 ฟุต สกุล Adiantum sp. (เฟิร์นก้านดำ)

พวกเฟิร์นก้านดำ (Maidenhair-fern) Adiantum เป็นสกุลเฟิร์นที่มีก้าน ใบสีดำเป็นมัน คล้ายต้นกัลปังหาใต้ทะเล ไม้ในสกุลนี้มีประมาณ 200 ชนิด เป็นเฟิร์นที่นำมาปลูกเป็นไม้กระถางได้งามมาก เฟิร์นสกุลนี้ชอบที่ร่ม และชื้นมาก ๆใบเป็นใบรวม มีใบย่อยกว้างรูปร่างต่าง ๆ กัน ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใต้ใบสีเขียว ปนสีขาวอ่อน ๆ ลำต้นเป็นไหลอยู่ใต้ดิน ในเมืองไทยมีเฟิร์นชนิดนี้เล่นกันมากและมีหลายชนิดเหมือนกัน ชนิดที่นำมาปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางที่งดงามนั้นก็มี American maidenhair (A. pedatum) Venushair (A. capillus veneris) Brittle maidenhair (A. Tenerum) A. cuneatum, A. decorum

5. พวกเฟิร์นปีกแมลงทับ ในวงศ์ Selagi- nellaceae เป็นเฟิร์นพวกมีเถาเลื้อย มีอยู่สกุล เดียวคือ Selaginella แต่มีประมาณ 500 ชนิด ในสกุลนี้โดยเฉพาะชนิด Selaginella will- denovii มีอยู่ทั่วไปในป่าชื้นของเมืองไทย เรียกกันว่าเฟิร์นปีกแมลงทับ เพราะมีใบสีน้ำเงินอมเขียวเป็นเหลือบคล้ายปีกแมลงทับ ต้นเป็นเถาเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบตั้งชี้ขึ้นสวยงามตาพบในภาคใต้แถวน้ำตกตามเกาะกลางทะเล ในอ่าวไทยก็มีมากเหมือนกัน

นอกจากนี้ยังมีเฟิร์นอีกหลายวงศ์หลายสกุล และหลายพันธุ์ชนิด เช่น พวก Boston fern (Nephrolepcis spp.) ซึ่งเป็นเฟิร์นก้างปลา ที่มีใบย่อยแตกออก 2 ข้างของกลางใบ หรือบางคนเรียกว่า เฟิร์นตะขาบ ลำต้นเป็นไหวอยู่ ใต้ดิน ในเมืองไทยนิยมปลูกในกร ะถางและปลูกลงในดินตามโคนต้นไม้ หรือตามดินในที่ร่มชื้น พวกเฟิร์น “ข้าหลวงหลังลาย” หรือ “เฟิร์น รังนก” (Bird’s nest fern : Asplenium spp.)

พวกเฟิร์นก้างปลา ใบใหญ่ คล้ายปรง (Lo- maria spp.)

พวก Ribbon fern (Ophioglossum spp.) เป็นพวกรากอากาศ เกาะอยู่ตามกิ่งไม้ ต้นไม้ มีใบยาวเล็กน้อยลงไป

เฟิร์นชอบขึ้นในที่ชื้นที่มีระดับสูงต่ำไม่ เหมือนกันดังต่อไปนี้

ก. เฟิร์นที่ชอบขึ้นในพื้นที่ต่ำ (Low elava- tion) คือขึ้นอยู่ในพื้นที่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก มีเฟิร์นพวก Acrostichum spp. Adiantum spp; Anemia spp; Asplenium spp; Blechnum spp; Cheilanlhes spp; Dicksonia spp; Lomaria spp; Polypodium spp.

ข. เฟิร์นที่ขึ้นสูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก โดยเฉพาะตามป่าชื้นบนภูเขาสูง ๆ มีพวก Ar- gispteris spp., Aspidium spp., Lygodium spp., Nephrodium spp., Polystichum spp., Osmunda spp., Woodwardia spp.

เฟิร์นที่รู้จักกันดีในเมืองไทย

1. Piatycerium wallichii “ห่อข้าว ย่าบา” เป็นชื่อพื้นบ้านที่คนฝางใช้เรียกชายผ้าสีดา พบทางภาคเหนือ

2. Davallia solida และ Davallia divaricala “นาคราช” เลื้อยโดยมี vhizomes ยาวพันพาดขึ้นไปตามลำต้นไม้ ที่พบในบ้านเรา เป็นทั้ง epiphytes และ terrestrial ตามพื้นทรายขาวผสมใบไม้ผุ

3. Abiantum flabellatum “เฟิร์นผมแหม่ม” (Maidenhair fern) แตกใบอ่อนเป็น 5 แฉกรูปดาวสีชมพู งามน่าชม

4. Asplenium nidus “เฟิร์นข้าหลวง หรือกระเช้าสีดา” พบตามป่าทั่วประเทศไทย ได้นำมาใช้เป็นไม้ใบจัดตามสวนกันมาก เพราะมีพุ่มใหม่ใบยาวโค้ง ให้ความรู้สึกของป่าใหญ่อันเย็นชื้น และนิยมปลูกปิดบังช่องว่างต่าง ๆ ที่ไม่น่าดูในสวนให้กลายเป็นมุมที่งดงามตาไปได้

5. Nephrolepis biserrata farcans “เฟิร์นใบมะขาม”

6. Nephrolepic exaltata “เฟิร์น ใบมะขาม”

7. Nephrolephis cordifolia ‘duffii’ “เฟิร์นเกล็ดหอย”

8. Nephrolepis exaltata ‘Childsii’ “เฟิร์นปันหยี”

9. Piatycerium spp. “เฟิร์นเขากวาง หรือชายผ้าสีดา”

10. Cyashea latabrosa “หัสดำ หรือ มหาสดำ”

11. Cibotium boarometz “ลูกไก่ทอง”

12. Pityrogramma spp. “เฟิร์นทอง” หรือ “แม่เนื้อทอง”

13. Asplenium nidus var. plicatum “เฟิร์นจีบ”

14. Blechnum gibbum และ Blech­num brasiliense กูดดอยจากต่างประเทศ

15. Cyrtomium falcatum “เฟิร์น ใบฮอลลี่”

16. Drynaria spp. “กระแตไต่ไม้” หรือ “กระปลอก”

17. Polypodium scholopendria “เฟิร์นงูเขียว”

18. Athyrium esculentum “กูดน้ำ” หรือ “ผักกูด” ใช้รับประทานเป็นผักสด

19. Pteridium aquilinum “กูดเกี๋ยะ” ใช้ใบอ่อนดองส่งเป็นสินค้าปีละหลายล้านบาท

20. Lygodium flexuosum “ลิเภา” ใช้เป็นวัตถุดิบในการถักกระเป๋าราคาแพง

การขยายพันธุ์และการปลูก

การขยายพันธุ์เฟิร์นส่วนมากนั้นใช้วิธีขยายพันธุ์โดยการแบ่งกอ ถ้าหากเฟิร์นพวกนั้นมีไหล (vhizomes) อยู่ใต้ดิน หรือเป็นเฟิร์นที่แตกหน่อขึ้นเป็นกอรวมกัน การขยายพันธุ์ด้วยการแยกกอก็เป็นวิธีง่ายและสำเร็จผลได้ดี  การแบ่งกอ ใช้มีดคม ๆ ตัดไหล หรือตัดต้นที่อยู่ใต้ดินให้ขาดออกจากกัน ถ้าเป็นต้นเลื้อยอยู่บนดิน ก็ตัดต้นให้ขาดออกโดยมีรากหรือมีใบมีต้นอ่อนติดมาด้วย เช่นแบ่งกอเฟิร์นก้านดำ (Adiantum spp.) เมื่อแบ่งกอมาแล้วต้องเก็บไว้ในที่มีความ ชื้นสูง แล้วรีบปลูกหรือชำต้นใหม่ทันที ถ้าทิ้งไว้นานน้ำจะระเหยออกมาทำให้ตายได้ง่าย ๆ

นอกจากเฟิร์นบางชนิดที่ไม่ค่อยแตกกอ หรือลำต้นอยู่ใต้ดินในแบบไหล (rhizomes) แล้วก็อาจใช้สปอร์ขยายพันธุ์ โดยนำสปอร์มาเพาะคล้ายเพาะเมล็ดพันธุ์ไม้ชั้นสูง ส่วนมากเมื่อสปอร์แก่จะมีสีเหลืองอ่อน ๆ หรือสีน้ำตาลเข้ม โดยตัดใบส่วนที่มีสปอร์มาใส่ในถุงกระดาษที่แห้งปิดปากถุงกระดาษแขวนไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ให้สปอร์สุกแก่ร่วงหล่นลงในถุงกระดาษนั้น อาจใช้มือเคาะเบา ๆ เคาะถุงที่ใส่สปอร์เพื่อเขย่าให้สปอร์ที่สุกแก่ร่วงลงในถุงกระดาษนั้นเร็วขึ้น แล้วจึงนำสปอร์ที่ร่วงเป็นผงอยู่ในถุงกระดาษไปเพาะโดยหว่านลงใน media ที่มีส่วนผสมลงดินเพาะ โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับอิฐเผาป่นละเอียดเป็นดินเพาะ อาจใช้กระถางอิฐเผาก้นตื้นเป็นภาชนะเพาะเฟิร์นก็ได้ โดยมีอิฐหักรองก้นกระถางให้ระบายน้ำได้ดีเสียก่อน ที่จะใส่ดินผสมที่จะเพาะสปอร์ ดินร่วนนั้นอาจมีส่วนผสมของใบไม้ผุครึ่งต่อครึ่งก็ได้ เมื่อใส่ดินปลูกในกระถางเรียบร้อยแล้ว ก็ควรนำกระถางเพาะพร้อมทั้งดินเพาะไปอบให้ร้อน เพื่อฆ่าเชื้อราและเมล็ดพันธุ์พืชอื่น ๆ ที่ติดมาให้หมดเสียก่อน หรืออาจจะใช้ดินคั่วเพาะก็ได้ หรือจะใช้ดินที่ผสมดิรแล้วนำไปอบไอน้ำนึ่งอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นการฆ่าเชื้อ (Sterilize) ก่อน เมื่อฆ่าเชื้อโรค ต่าง ๆ ในแปลงเพาะแล้ว จึงฉีดน้ำเป็นฝอยที่ดินเพาะ แล้วจึงนำสปอร์ของเฟิร์นไปหว่านลงในกระถางฉีดน้ำเป็นฝอยอีกครั้งหนึ่งให้ทั่ว แล้วใช้กระจกแก้วใสปิดปากกระถาง หรือจะใช้แผ่นพลาสติคใสปิดปากกระถางให้แน่นก็ได้ ตั้งกระถางเพาะไว้ในที่ร่มเย็น จะนำกระถางเพาะตั้งบนจานหล่อน้ำก็ได้ จะทำให้ดินเพาะมีความชื้นสูงขึ้น

เมื่อสปอร์เริ่มงอก จะงอกเป็นเกล็ดสีเขียว คล้ายแหนในบ่อน้ำรวมกันเป็นกระจุก ๆ แผ่นสีเขียว ๆ นั้นเรียกว่า ‘Prothallia’ เมื่องอกเป็นต้นและงอกกิ่งเล็ก ๆ มีใบเป็นกอจนไม่เห็นแผ่น Prothallia ครั้งแรกแล้ว จึงนำออกมาปลูกในกระบะชำที่มีดินผสมใบไม้ผุอยู่ในดินชำ เมื่อโตดีจนมีใบจริง ๆ ดีแล้ว จึงนำมาแยกปลูกอีกทีหนึ่งในกระถางขนาด 3 นิ้ว

ข้อควรระวังในขณะที่เพาะสปอร์อยู่นั้นก็คือ ห้ามรดน้ำหรือฉีดน้ำอีกหลังจากเพาะสปอร์ลงไปแล้ว ถ้าหากต้องการให้ชื้นให้นำกระถางจุ่มลงไปในน้ำ โดยให้น้ำจากภายนอกกระถางซึมเข้าไปทางส่วนใต้กระถาง และข้อระวังที่ สองก็คืออย่าให้ถูกแสงแดดโดยตรงได้ในขณะที่ยังเล็กอยู่ แม้แต่ถูกแดดในระยะเวลา 3-4 นาที ก็จะทำให้กล้าที่งอกออกมานั้นแห้งตายได้ทันที

การปลูกเฟิร์นมีหลักสำคัญที่เฟิร์นต้องการอยู่ 5 ประการ คือ

1. ต้องการที่ร่มรื่น ไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง และถูกแดดในระยะนาน ดังนั้น เฟิร์นจะงดงามและงอกงามได้ดีต้องอยู่ในที่ร่ม

2. ต้องการความชื้นในบรรยากาศสูง เฟิร์นจะงามได้ดี ถ้ามีสิ่งแวดล้อมในบรรยากาศที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ เช่นมีพันธุ์ไม้ปกคลุมและ มีพันธุ์ไม้อยู่มาก ๆ รวมกันกับเฟิร์น

3. ต้องการที่สงบไม่มีลมพัดแรง หรือมีพายุพัดอยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะพวกเฟิร์นชอบขึ้นอยู่บนพื้นดิน ต้องการลมสงบและไม่ต้องการลมพัดโกรก เพราะจะทำให้ระเหยน้ำมากไป

4. ดินหรือเครื่องปลูกต้องระบายน้ำได้ดีไม่ทำให้น้ำกักขังเปียกแฉะอยู่ตลอดไปจะทำให้รากดูดน้ำมากจนเน่าตายได้

5. ดินปลูกควรมีพวกอินทรีย์วัตถุให้มาก เพราะช่วยทำให้ดินมีความชื้นอยู่ได้นาน ส่วนผสมของดินปลูกเฟิร์นในกระถางทั่ว ๆ ไปควรประกอบด้วยส่วนผสม คือ

ก. ดินร่วน 1 ส่วน
ข. ใบไม่ผุ 1 ส่วน
ค. ทรายละเอียด 1 ส่วน
ง. เศษอิฐหักป่น 1 ส่วน
จ. ปุ๋ยคอกเก่า ๆ 1/2 ส่วน
ฉ. ปูนขาว 1/4 ส่วน

ก่อนปลูกควรมีอิฐหัก หรือกรวดรองก้นกระถางประมาณ 1 ใน 5 ของความลึกของกระถาง เพื่อช่วยให้ดินในกระถางมีการระบายน้ำดีขึ้น

การดูแลรักษาอื่น ๆ คงให้น้ำโดยเป็นฝอยเล็ก ๆ ให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา แต่ต้องดูไม่ให้แฉะได้ การทำให้ชุ่มชื้นนี้อาจฉีดน้ำหรือรดน้ำรอบ ๆ กระถาง บนพื้นที่วางกระถางเฟิร์นก็ได้ ในฤดูแล้งที่อากาศแห้งแล้งและอากาศร้อนจัด เฟิร์นจะไม่แตกหน่อมากขึ้น หรือจะมีสปอร์เกิดขึ้นมากกว่าฤดูฝน และฤดูแล้งนี้เองถ้าหากขาดการให้น้ำแล้วอาจทำให้ตายได้ หรือถ้าให้นํ้าไม่พอจะทำให้ใบเฟิร์นร่วงหมด เหลือแต่ลำต้นอยู่ใต้ดินกว่านั้น ไม่ตายเมื่อมีน้ำ มีความชื้น สูงขึ้นในฤดูฝนลำต้นใต้ดินก็จะแตกใบขึ้นมาใหม่ได้

ประโยชน์

1. ปลูกประดับตกแต่งสวนใต้ร่มไม่ใหญ่ หรือสวนภายใน

2. ใบใช้จัดแจกันประกอบดอกไม้ พวงหรีด บูเก่ต์ จัดโต๊ะอาหารบุฟเฟ่ ฯลฯ