กระทกรก


ชื่อวิทยาศาสตร์ Passiflora foetida L.
ชื่อวงศ์ PASSIFLORACEAE
ชื่ออื่น รกช้าง (ระนอง), หญ้ารกช้าง (พังงา), รุ้งนก (เพชรบูรณ์), ผักบ่วง (สกลนคร) ยันฮ้าง (อุบลฯ), ผักขี้ริ้วห่อทอง ตำลึงทอง ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี) เถาเงาะ เกาสิงโต (ชัยนาท), เงาะป่า (กาญจนบุรี)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้เถาเลื้อยมีมือเกาะเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้นกลม สีเขียวมีขนสีทองอ่อนนุ่มปกคลุมทั่วไป
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ขอบใบเว้าเป็น 3 แฉก และเป็นจัก ปลายแหลม ผิวใบมีขนอ่อน กว้าง 4 ซม. ยาว 5 ซม.


ดอก ดอกเดี่ยวสีขาว วงในลักษณะเป็นเส้นกลมสีม่วง ที่โคนปลาย สีเทา


ผล ผลแก่สีเขียวผลสุกสีเหลืองขนาดประมาณ 2 ซม. จะมีรกหุ้ม สีเขียวอ่อน และเมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มเหลือง
นิเวศวิทยา พบได้ดีในสภาพแวดล้อมทั่วไป
การใช้ประโยชน์ ยอดอ่อน ผลอ่อน ผลแก่ ผลสุก รกที่หุ้มรับประทานเป็นผักสด หรือลวกเป็นผักจิ้มนํ้าพริก แกงเลียง
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ต้นเป็นยาบำรุงหัวใจ แก้โรคเหน็บชา โดยสับตากแดดแล้วต้มกิน ใช้หนึ่งกำมือต่อนํ้า 3 แก้ว ต้มให้เหลือ 2 แก้ว และตำบีบเอานํ้าคั้นมาดื่ม เป็นยาถ่ายพยาธิ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ใบ ใช้ตำพอกแผล แก้คัน ผล เป็นยาบำรุงปอด
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย