กระเจา


ชื่อวิทยาศาสตร์ Corchorus olitorius Linn.
ชื่ออื่นๆ ปอกระเจา (ภาคกลาง)
ชื่ออังกฤษ Tossa Jute, Jew’s Mallow, Nalta Jute.
ลักษณะ เป็นวัชพืช ชอบขึ้นตามที่แฉะๆ เป็นไม้ขนาดเล็ก เล็กกว่าไม้พุ่มเล็กน้อย สูง 0.8-1.5 เมตร แตกกิ่งก้าน ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่แหลมยาวใบกว้าง 5-6 ซ.ม. ยาว 5-12 ซ.ม.ใบคล้ายใบปอกระเจา แต่ความกว้างของใบกว้างกว่า ที่ฐานของโคนแผ่นใบมีเส้นสีแดงๆ เล็กๆ 2 เส้นเช่นเดียวกับปอกระเจาขอบใบหยัก ดอกขนาดเล็กสีเหลือง ออกเป็นกระจุก 2-3 ดอก ระหว่างซอกใบและกิ่ง ผลเป็นแคปซูล เป็นรูปทรงกระบอกยาว ยาว 4-5 ซ.ม. ผิวของผลไม่เรียบ จะมีสันขึ้นมา 10 สันและมีเส้นสานกันเป็นตาข่ายเล็กๆ ผลแตกได้ 3-6 แฉก มีเมล็ดสีเขียวอมนํ้าตาลเป็นเหลี่ยม ปัจจุบันทางกรมวิชาการเกษตรได้พยายามผสมและคัดพันธุ์ใหม่ให้มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์ที่ขึ้นเอง เพื่อต้องการใยจากลำต้น ใช้ทำเชือก และอื่นๆ
ส่วนที่ใช้ ใบ เมล็ด ต้นอ่อน ใยจากลำต้น
สารสำคัญ ในต้นอ่อนพบเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ บี และซี ในเมล็ดพบ strophantidin เป็น cardenolide นอกจากนั้นพบ acetophenone
ประโยชน์ทางยา ยาชงของใบ แก้ไข้ บำรุง ขับปัสสาวะ ผสมกับขมิ้นใช้รักษาบิด เช่นเดียวกับปอกระเจา ในอินเดียทางใต้ เมล็ดป่นรวมกับนํ้าผึ้งและผงขิง แก้ท้องร่วง
อื่นๆ ในฟิลิปปินส์ อียิปต์ มาเลเซีย และเบงกอล ใช้เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ยอดอ่อนเมื่อนำมาหุงต้มจะมีเมือกเล็กน้อย แต่กลิ่นหอมน่ารับประทาน ทางอุตสาหกรรม ใยจากลำต้น จีน อินเดีย ไทย ใช้ทำเชือก และทอกระสอบ
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ