กลไกการฆ่าไส้เดือนฝอยของสารเคมี

(Mode of chemical action)
สารเคมีฆ่าไส้เดือนฝอยแต่ละประเภทอาจออกฤทธิ์ฆ่าไส้เดือนฝอยในระยะการเจริญของไส้เดือนฝอยที่แตกต่างกัน แต่ยังเข้าใจได้ไม่ทั้งหมด สารเคมีฆ่าไส้เดือนฝอยบางชนิดมีคุณสมบัติฆ่าแมลงได้ด้วย สารนี้จะไปทำลาย acetyl choline-choline esterase system ในการส่งสัญญาณประสาท ทำให้การรับความรู้สึกและการเคลื่อนที่ผิดปกติไป ไส้เดือนฝอยจึงตายในที่สุด
สารเคมีฆ่าไส้เดือนฝอย
– สลายตัวเพราะสภาพแวดล้อมต่างๆ สิ่งกีดกั้นภายนอกของไส้เดือนฝอย (cuticle, เปลือกไข่)
-สูญเสียไปกับเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่ยาออกฤทธิ์ไม่ได้ผล
-การกำจัดพิษ
-การขับถ่าย
-การเป็นพิษ (อาจจากสารอื่นที่กลายเป็นสารพิษได้)
สิ่งกีดกั้นภายในเซล (เช่นเยื่อหุ้ม mitochondria และ ปลายประสาท เป็นต้น)
การแข่งขันกันเองระหว่างโมเลกุล (สารเอนไซม์ ธรรมขาติต่างๆ)
Receptor – Acetylcholinesterase ปลายประสาท เยื่อหุ้ม lipopertein เยื่อหุ้มเซล
SH2, – NH2, – OH – cell organelles – metabolism ทั่วไป Haemprotein : metabolism ของการหายใจที่เกี่ยวกับ cytochrome
การควบคุมโรค
การควบคุมโรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอยให้ได้ผล จะต้องอาศัยความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางอนุกรมวิธาน พืชอาศัย ความเคยชิน และชีพจักรของไส้เดือนฝอย หลักต่างๆ ที่ช่วยในการกำจัดไส้เดือนฝอย ศัตรูพืชได้นั้นประกอบด้วย 10 ข้อด้วยกัน
1. การปลูกพืชหมุนเวียน (crop rotation) ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชบางชนิดชอบที่จะเป็นปรสิตกับพืชบางชนิดเท่านั้น หากไม่มีพืชดังกล่าวปลูกระยะเวลาหนึ่งโดยหันไปปลูกพืชอื่นแทนประมาณ 3-4 ปี ไส้เดือนฝอยนั้นก็จะมีจำนวนน้อยลง วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูพืช Heterodera schachtii สาเหตุโรคของผักกาดหวาน และไส้เดือนฝอย Ditylenchus dipsaci ทำลายลำต้นของหญ้า แอลฟาลฟ่า ส่วนไส้เดือนฝอยชนิดอื่นที่มีพืชอาศัยกว้างขวาง รวมทั้งพืชอาศัยที่เป็นวัชพืชอื่นๆ จะใช้ไม่ได้ผล เช่น ไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne spp.
อนุกรมวิธานของไส้เดือนฝอยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการวางแผนเพาะปลูกพืชหมุนเวียน เนื่องจากชนิดของไส้เดือนฝอยมีลักษณะเฉพาะในการเป็นปรสิตกับพืชอาศัยแตกต่างกัน เช่นไส้เดือนฝอยในสกุล Meloidogyne, Pratylenchus, Ditylenchus เป็นต้น หากมีการจัดหมวดหมู่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้จัดหาพืชปลูกได้ไม่เหมาะสม
2. การปฏิบัติทางการเกษตร การกำหนดเวลาปลูกพืชและเก็บเกี่ยว สามารถนำมาใช้ร่วมกับการปลูกพืชหมุนเวียนได้ เพื่อหลีกเลี่ยงระยะที่ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชทำความเสียหายรุนแรง เช่นในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้มีการปลูกมันฝรั่งก่อนฤดู โดยปลูกตอนต้นปี จึงทำให้สามารถเก็บเกี่ยวมันฝรั่งได้ก่อนปกติ ได้ผลผลิตสูง เพราะไม่ได้รับความเสียหายจากไส้เดือนฝอย เนื่องจากเก็บเกี่ยวหัวมันฝรั่งก่อนที่ตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลาย เป็นต้น
3. ใช้พืชที่มีความต้านทานต่อโรคปลูก หากดินที่เพาะปลูกนั้นมีไส้เดือนฝอยสาเหตุของโรคชนิดนั้นอยู่ ในประเทศลังกามีการใช้ต้นชาพันธุ์ต้านทานต่อไส้เดือนฝอยรากแผล Pratylenchus coffeae ซึ่ง
ไส้เดือนฝอยนี้อาจเข้าสู่รากได้บ้าง แต่จะไม่สามารถเจริญขยายพันธุ์ พืชพวกฝ้าย ยาสูบ ถั่วต่างๆ บางพันธุ์เป็นโรครากปมรุนแรงมาก
4. การทำความสะอาดเครื่องใช้ต่างๆ ทางการเกษตร ก่อนเคลื่อนย้ายสู่แปลงปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ไส้เดือนฝอยปะปนดินติดเครื่องใช้ไปสู่แปลงปลูก เช่น ดินที่ติดไปกับภาชนะ จอบ เสียม ฯลฯ
5. ใช้พืชที่มีดินปราศจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืชติดมาด้วยปลูก เช่นใช้กล้าจากแปลงเพาะในดิน ฆ่าเซื้อแล้วด้วยความร้อนหรือสารเคมี เป็นต้น
6. การปล่อยน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลาหลายเดือน สามารถกำจัดไส้เดือนฝอย เพราะไส้เดือนฝอยบางชนิดมีชีวิตอยู่ได้เฉพาะในดินธรรมดาที่มีความชื้นปกติ มีอากาศถ่ายเทเท่านั้น
7. การใช้ปุ๋ยอินทรีเศษทรากพืช ช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากไส้เดือนฝอยบางชนิดได้ เช่น การใช้ปุ๋ยพืชสดหญ้ากัวเตมาลา ใส่ในไร่ชาลดความรุนแรงของโรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากแผล Pratylenchus coffeae เป็นต้น
8. การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน (heat treatment) อบด้วยความร้อนใช้ไอน้ำหรือนํ้าร้อน ฆ่าไส้เดือนฝอยและไข่ไส้เดือนฝอยด้วยอุณหภูมิ 50°ซ. เป็นเวลา 30 นาที แต่การปฏิบัติที่ใช้กันเสมอๆ มักใช้อุณหภูมิ 82° ซ. เป็นเวลา 30 นาที จะทำให้ฆ่าไส้เดือนฝอยได้ทั้งหมด ตลอดจนจุลินทรีย์ในดินอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งการใช้ความร้อนนี้ปฏิบัติกันเป็นประจำในการฆ่าเชื้อในดิน รวมทั้งภาชนะที่ใส่ดินในเรือนปลูกพืช แต่ก็มีขอบเขตจำกัด เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง
การแช่รากและหัวพืชในน้ำร้อนก่อนปลูก เพื่อฆ่าไส้เดือนฝอย ใช้อุณหภูมิ 50°ซ. เป็นเวลา 2-3 นาที จนถึง 30 นาที แล้วแต่ชนิดของพืช โดยไม่ให้พืชสูญเสียเปอร์เซ็นต์ความงอกหรือการเจริญแคระแกรนในภายหลัง
9. การใช้สารเคมีควบคุมไส้เดือนฝอย (nematocides) รวมถึง chloropicrin,methyl bromide, DMTT, SMDC ที่อยู่ในรูปของก๊าชภายหลังที่ใช้ฉีดอบดินก่อนปลูกพืช ซึ่งสามารถกำจัดจุลินทรีย์ต่างๆ ไส้เดือนฝอย แมลง และวัชพืชในดินได้อย่างกว้างขวาง สารที่ใช้ในการกำจัดไส้เดือนฝอยอื่นๆ เช่น DBCP และ thionazin ซึ่งเป็นของเหลวที่ระเหยช้า หลังจากฉีดลง และสามารถนำมาใช้ก่อน และหลังปลูกพืชได้ มากชนด โดยที่พืชทนต่อสารเคมีเหล่านี้ได้
สารเคมีที่ใช้ฆ่าไส้เดือนฝอยอยู่ในรูปของของเหลวหรือก๊าซ ชนิดผงละลายนํ้า และชนิดเม็ดโดยใช้ฉีดหรือหยอดลงไปในดินทั่วทั้งไร่ หรือระหว่างแถวปลูกพืช ตามปกติให้ลึกจากผิวหน้าดินประมาณ 6 นิ้ว การฆ่าไส้เดือนฝอยจะได้ผลยิ่งขึ้น ถ้าใช้ผ้าพลาสติคคลุมผิวหน้าดินไว้อย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพื่อให้ก๊าชของยาที่เกิดขึ้นอบกระจายทั่วดินยิ่งขึ้น การฉีดหรือหยอดนั้นแต่ละหลุมจะห่างกันประมาณ 6-12 นิ้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติของสารเคมีชนิดและขนาดของเม็ดดิน ความชื้นและอุณหภูมิของดิน เนื่องจากก๊าซกระจายผ่านทางช่องว่างระหว่างเม็ดดิน อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 10-20°ซ. และความชื้นที่เหมาะสมที่สุดประมาณ 80% หากมีเนื้อที่ไม่มากการใช้เครื่องฉีดน้ำยาที่เรียกว่า injector gun ก็จะง่ายและสะดวกขึ้น เพราะสามารถควบคุมปริมาณน้ำยา และความลึกที่ฉีดได้ดี ดังไดอาแกรมแสดงการแพร่กระจายของยา
ตารางชื่อและคุณสมบัติของสารเคมีฆ่าไส้เดือนฝอยที่มีจำหน่าย


1. ปัจจุบันโรงงานได้ระงับการผลิตและจำหน่าย โดยเก็บผลิตภัณฑ์คืน เนื่องจากพบว่ายานี้ เป็นสาเหตุทำให้คนงานของโรงงานเป็นหมันได้
2. ยานี้มีพิษตกค้างสูง    เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้บริโภค โดยพบว่าทำให้เกิดโรคมะเร็ง ปัจจุบันในบางประเทศได้ห้ามจำหน่ายและใช้ยานี้
LG    = ของเหลวระเหยเป็นก๊าซ     G =เป็นก๊าช
GR    = เกล็ด                 L = เป็นของเหลว
EL    = ของเหลวเป็นน้ำมัน         WP = ผงละลายน้ำ
I    = แมลง                 F = เชื้อรา
W    = เมล็ดวัชพืช             N = ไส้เดือนฝอย


ภาพไดอาแกรมแสดงการแพร่กระจายของยาฆ่าไส้เดือนฝอย เมื่อระเหยเป็นก๊าชในดิน ด้วยการฉีดยาลงดินที่ระดับความลึก 10 นิ้ว 30 นิ้ว และทั้งสองแบบพร้อมกัน (ที่มา : Dropkin, 1980)
การอบฆ่าเชื้อในดิน หากใช้สารเคมีที่มีพิษต่อพืช การอบควรทำก่อนการปลูกพืชไม่ตํ่ากว่า 2 สัปดาห์ เพื่อหลีกเลี่ยงพิษตกค้างของสารเคมีกับพืช
การแช่รากและหัวพืชในสารเคมีควบคุมไส้เดือนฝอย สามารถใช้ฆ่าไส้เดือนฝอยรากปมได้ผลดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ความเข้มข้นของสารเคมีและระยะเวลาที่ใช้แช่ ยาที่ใช้มี ethoprop, fensulfothion และ fenamiphos โดยใช้ในอัตราเข้มข้น 600-1,000 ส่วนในล้าน (0.06-0.10%) และแช่ประมาณ 15 นาที ถึง 1 ชั่วโมง แล้วแต่ชนิดของพืช
10. การควบคุมโรคด้วยสิ่งมีชีวิตอื่น (biological control) เป็นการลดปริมาณของไส้เดือนฝอย ด้วยการกระตุ้นหรือสนับสนุนให้ใช้ศัตรูธรรมชาติหรือปรสิตของไส้เดือนฝอย เช่นโดยการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเพิ่มปริมาณศัตรูธรรมชาติและจุลินทรีย์ดังกล่าว ศัตรูธรรมชาติของไส้เดือนฝอย มีคุณสมบัติดังนี้
ก. ไส้เดือนฝอยมีฟันและปากกว้าง ได้แก่ Mononchus สามารถเจาะทำลาย cuticle ของไส้เดือนฝอยอื่นๆ
ข. อาร์โธรปอดในดิน เช่น ไรต่างๆ กินไส้เดือนฝอย
ค. โปรโตซัวกลืนและย่อยไส้เดือนฝอยได้
ง. เชื้อราและบักเตรี เชื้อราที่ทำลายไส้เดือนฝอยได้นั้นสามารถเเทงผ่านผนังเซลไส้เดือนฝอย ไปดูดกินสารละลายภายในจนไส้เดือนฝอยตาย บางชนิดเป็นเชื้อราที่เจริญช้าบนอินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยในดินหากไม่มีไส้เดือนฝอยร่วมด้วย เมื่อในดินนั้นมีไส้เดือนฝอยมาก เชื้อราจะสร้างโครงสร้างจำเพาะเพื่อเกาะยึดไส้เดือนฝอย เชื้อราบางชนิดเส้นใยเจริญโป่งเป็นบ่วงวงแหวนอย่างรวดเร็ว เพื่อดักจับไส้เดือนฝอย เมื่อ ไส้เดือนฝอยเข้าไปในบ่วงแล้ว วงแหวนนั้นจะปิดล้อม บางชนิดเชื้อราสร้างเป็นเส้นป่านจับไส้เดือนฝอย บางชนิดขับสารเป็นเมือกเหนียวจับยึด
บักเตรีที่ทำลายไส้เดือนฝอย มีเอนไซม์ที่ใช้ย่อยทำลาย cuticle ที่พบได้แก่ Bacillus penetrans ทำลายได้เฉพาะไส้เดือนฝอย Meloidogyne และ Pratylenchus ไม่พบกับไส้เดือนฝอยชนิดอื่นๆ โดยเชื้อเข้าไปทวีจำนวนอยู่ภายในตัวอ่อน ทำให้เชื่องช้ากว่าปกติ เมื่อโตเต็มวัย ไส้เดือนฝอยเพศเมียที่มีบักเตรีอยู่เต็ม จะไม่สร้างไข่หรือสร้างน้อย
การควบคุมโรคด้วยวิธีนี้ ยังไม่ได้ผลในทางปฏิบัติทั่วไป เนื่องจากดินที่เพาะปลูกพืชมีสภาพไม่คงที่ ต้องมีการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่เสมอ เช่นการใส่อินทรีย์วัตถุทำให้การเจริญของเชื้อราอยู่ในอัตราตํ่า แม้ว่าจะมีการทวีจำนวนเพิ่มขึ้น ก็เป็นเพียงชั่วคราวเฉพาะแห่งเมื่อมีไส้เดือนฝอยศัตรูพืชมากขึ้นเท่านั้น
การควบคุมโรคด้วยวิธีผสมผสาน (integrated control) เป็นการควบคุมไส้เดือนฝอยในดินให้มีปริมาณในระดับต่ำ ด้วยวิธีการปฏิบัติต่างๆ ทางการเกษตร เช่นการปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชต้านทานโรคเป็นครั้งคราว โดยการใช้ยาฆ่าไส้เดือนฝอยให้น้อยที่สุดเมื่อจำเป็น ตัวอย่างการควบคุมโรคที่ได้ผลด้วยวิธีนี้ได้แก่ การเพาะปลูกมันฝรั่งเพื่อลดความเสียหายจาก cyst nematode (Heterodera rostochiensis) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ดังนี้
โครงการเพาะปลูกหมุนเวียนทุก 4 ปี
1. หนึ่งปีในทุก 4 ปี เลือกปลูกพืชได้ไม่จำกัด
2. หนึ่งปีใน 3 ปี ที่เหลือของโครงการนี้ ด้วยการปลูกมันฝรั่งที่ต้านทานโรคสลับกับพันธุ์ที่เป็นโรคง่าย หมุนเวียนใน 3 ปี
3. หนึ่งปีใน 2 ปี ที่เหลือของโครงการนี้ใช้พันธุ์ต้านทานโรคปลูก
4. ส่วนปีที่เหลือใช้ยาฆ่าไส้เดือนฝอย ซึ่งเป็นการใช้ยาเพียงครั้งเดียวในโครงการ และการเพาะปลูกอาจใช้มันฝรั่งที่เป็นโรคง่ายปลูกสลับปีกับพันธุ์ต้านทานโรค เพื่อให้การเพาะปลูกได้ผลดี ด้วยการ ใช้ยาเพียงครั้งเดียวดังกล่าวแล้ว
แนะนำวิธีใช้สารเคมีบนดิน
1. ดินควรอยู่ในสภาพที่มีความชื้นพอเหมาะ คล้ายกับสภาพในแปลงเพาะกล้า หากดินแห้งเกินไปจะทำให้แก๊สกระจายผ่านดินเร็วเกินไป ทำให้สูญเสียแก๊ส หากดินมีความชื้นสูงไป ก็ทำให้แก๊สกระจาย ในดินไม่ทั่วถึง
2. อุณหภูมิในดินควรอยู่ระหว่าง 10-20°ซ. ที่ระดับความลึกจากผิวดิน 6 นิ้ว
3. การไถเตรียมดินต้องลึก 8-12 นิ้ว ดินดานเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แก๊สกระจายในดินยาก การใช้ผานไถธรรมดามักไม่ได้ผล
4. ดินควรสะอาดปราศจากเศษซากพืช เช่นกากพืช ตอซัง ปุ๋ยพืชสดต่างๆ เพราะทำให้สูญเสียแก๊สได้
5. การใช้ควรให้อยู่ในความลึกตามคำแนะนำของโรงงานผู้ผลิตสารเคมีชนิดนั้น แต่ไม่ควรตํ่ากว่า 8 นิ้ว
6. การใช้ควรทำก่อนปลูกพืช 7-15 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงเมล็ดและต้นกล้าเสียหาย
7. หลังการฉีดหรือหยอดยาลงไปในดินแล้ว ควรกลิ้งทับผิวหน้าดินให้แน่นบริเวณผิวหน้าทันที จะทำให้การสูญเสียแก๊สที่ระเหยจากดินสู่อากาศน้อยลง
8. แน่ใจในความอุดมสมบูรณ์ของดินในการให้ผลตอบแทนจากผลผลิตคุ้มกับการลงทุน หากใช้สารเคมีดังกล่าวหรือไม่
9. เก็บรักษาสารเคมีอบดินไว้ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี เพื่อหลีกเลี่ยงก๊าซที่อาจรั่วออกจากภาชนะ และหลังการปฏิบัติงานให้รีบถอดเสื้อผ้าที่เปียกชุ่มออก แล้วทำความสะอาดร่างกาย ล้างมือที่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำมันก๊าซก่อน หากบังเอิญเข้าตาให้รีบล้างน้ำไปพบแพทย์ทันที
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช