กล้วยมีประโยชน์อย่างไร


กล้วยที่นิยมกินกันมีหลายชนิด (ทุกชนิดมีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือน กัน) กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ (Sucrier) กล้วยหอม กล้วยหอมเขียว (Lacan- tan) กล้วยหอมทอง (Martinigue Banana) กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหักมุก กล้วยน้ำ กล้วยน้ำไท กล้วยนาก (Red Fig Banana) ฯลฯ Banana
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa paradisiaca L. var. sapientum O. Ktze.
(M. sapientum L.)    วงศ์ Musaceae
ลักษณะต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดใหญ่ สูง 2-5 เมตร ที่เห็นเป็นลำต้น เกิดจากก้านใบหุ้มซ้อนกันขึ้น เหนือก้านใบเป็นแผ่นใบยาว 1.5-3 เมตร กว้าง 40-60 ซม. แกนใบเห็นได้ชัดเจน เส้นใบขนานกัน ก้านใบ ยาว กว่า 30 ซม. ดอกเป็นช่อเรียกหัวปลี ห้อยลงยาว 60-130 ซม. มีกาบหุ้ม ช่อดอกสีแดงปนม่วงกลมรี ยาว 15-30 ซม. ดอกย่อยออกตัดกันเป็นแผง ดอกที่ฐานเป็นดอกตัวเมีย ส่วนปลายเป็นดอกตัวผู้ เมื่อดอกตัวเมียเริ่มเจริญไปเป็นผล ดอกตัวผู้จะร่วงหล่นไป ช่อดอกเจริญไปเป็นเครือกล้วย ซึ่งประกอบด้วยหวีกล้วย เครือละ 7-8 หวี แต่ละหวีมีผลกล้วยประมาณสิบกว่าผล เนื้อกล้วยสีเหลือง ผลรูปกลมยาว ขนาดและรูปร่างขึ้นอยู่กับชนิดกล้วย แต่ละต้นให้ผลครั้งเดียว ขยายพันธุ์โดยวิธีแตกหน่อหรือแยกเหง้า ชอบดินร่วนซุยหรือดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง
ส่วนที่ใช้ หัวปลี ผลดิบ ผลสุก (ทุกชนิด)
สรรพคุณ
หัวปลี แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเลือดและแก้โรคเกี่ยวกับ
ลำไส้
ผลดิบ ยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย เป็นแผลในกระเพาะอาหาร และอาหารไม่ย่อย
ผลสุก เป็นอาหาร ยาระบายสำหรับผู้ที่มีอุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นเริ่มแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด


ตำรับยาและวิธีใช้
1. ยาระบายสำหรับริดสีดวงทวาร ใช้กล้วยสุก 2 ลูก ปิ้งอย่าให้ เปลือกไหม้กินทั้งเปลือก
2. ท้องเสีย เป็นแผลในกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย ใช้กล้วยดิบทั้งลูก บดปั่นกับน้ำเล็กน้อย เติมน้ำตาล (ชนิดใดก็ได้) กิน (อาจใช้กล้วยดิบแห้งบดเป็นผงเก็บในภาชนะที่ปิดแน่น ไว้ไช้ยามจำเป็น โดยผสมกับน้ำอุ่น หรือน้ำผึ้งกิน)
ผลทางเภสัชวิทยา
เซอโรโทนิน (serotonin) และนอร์แอดรีนาลีน (noradrenaline) พบในเนื้อและเปลือกกล้วยที่กินทุกชนิด แต่ปริมาณเซอโรโทนินจะแตก ต่างกันไปตามชนิดของกล้วย กล้วยไข่มีปริมาณมากที่สุด คือ 47 ไมโครกรัม ต่อกรัม กล้วยหอม 2.8 ไมโครกรัมต่อกรัม และกล้วยน้ำว้า 0-1 ไมโครกรัม ต่อกรัม นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณเชื้อโรโทนินเพิ่มขึ้นตามความสุกของกล้วยจนถึงระยะที่งอมจัดจนเปลือกสีดำจึงจะมีปริมาณลดลง เซอโรโทนิน มีผลยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยของกระเพาะอาหารและกระตุ้นลำไส้เล็กให้บีบตัวมากขึ้น (จึงใช้บำบัดอาการแผลในกระเพาะอาหารและทำให้ระบายได้) แม้ให้กินเซอโรโทนินเกินกว่า 20 มิลลกรัม ก็ยังไม่พบอาการที่เป็นอันตรายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามมีบางราย (โดยเฉพาะหญิงท้อง) เมื่อกินกล้วยหอมจะรู้สึกจุกแน่นบริเวณยอดอก บางรายมีอาการคล้ายจะเป็นลม และบางรายมีอาการท้องอืด แต่ไม่มีอาการเมื่อกินกล้วยน้ำว้า ทั้งนี้อาจเนื่องจากบางคนที่มีระบบการย่อยอาหารไม่ดี มีอาการแน่นท้องและไม่เจริญอาหาร (แพทย์จีนเรียกเป็นอาการม้ามพร่อง ซึ่งจะมีฝ้าขาวบนลิ้น และอุจจาระหยาบร่วมด้วย) สารในกล้วยหอมจะมีผลต่อกระเพาะอาหาร ทำให้จุกแน่นมากขึ้น (จีนถือว่ากล้วยหอมมีฤทธิ์เย็นซึ่งทำให้ม้ามพร่องมากขึ้น) จึงทำให้เกิดอาการไม่สบายดังกล่าว
เอ็นซัยม์โมโนเอมีนอ็อกซิเดส (MAO) ในร่างกายสามารถเปลี่ยน เซอโรโทนินที่มีในกล้วยไปเป็นกรด 5-hydroxyindole-3-acetic acid (HIAA) แล้วขับออกทางปัสสาวะ ดังนั้น ระยะที่มีการตรวจหาสารอินโดล (indole) นี้ในปัสสาวะเพื่อใช้วินิจฉัยโรคบางอย่าง เช่น มะเร็ง (malignant carcinoid) จึงไม่ควรกินกล้วยหอมหรือกล้วยไข่ เพราะจะ ทำให้ HIAA ในปัสสาวะมากผิดปกติ ทำให้แปลผลผิดได้ นอกจากนี้ผู้ ป่วยที่มีอาการเศร้าซึม (depression) และอยู่ในระหว่างการรักษาด้วยยา ถ้ายาที่ใช้เป็นสารยับยั้งการทำงานของเอ็นซัยม์โมโนเอมีนอ๊อกซิเดส (MAOI) ได้แก่กลุ่มยาไนอะลาไมด์ (nialamide) ฟีเนลซีน (phenelzine) ก็ไม่ควรกินกล้วยหอม หรือกล้วยไข่ เพราะยาที่รักษาจะทำลายฤทธิ์ของเอ็นซัยม์ โมโนเอมีนอ๊อกซิเดส ทำให้หมดฤทธิ์หรือหย่อนสมรรถภาพที่จะไปทำลายเซอโรโทนินที่ได้จากกล้วย เกิดมีการสะสมของเซอโรโทนินในร่างกายและสมองซึ่งทำให้เกิดอาการซึมเซาอยากนอนมากยิ่งขึ้น
ปริมาณโปตัสเซียมในกล้วยโดยเฉพาะกล้วยหอมมีมาก จึงมัก แนะนำให้กินกล้วยหอมร่วมกับการให้ยาพวกคอร์ติโคสเตียรอยด์ (cor-ticosteroid) ยาขับปัสสาวะและยาลดความดันโลหิต เพื่อทดแทนการสูญเสียโปตัสเซียมเมื่อใช้ยาเหล่านั้น
เนื้อกล้วยหอมดิบ มีผลในทางป้องกันและ/หรือบำบัดอาการเป็น แผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเกิดจากการให้ยาเฟนิลบิวตาโซน (phenylbuta¬zone) ในหนูตะเภาได้ (โดยให้หนูตะเภากินเฟนิลบิวตาโซน 15 วัน จึงกินกล้วยหอมตาม) แต่ไม่ได้ผลสำหรับแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยาเพร็ดนิโซโลน (prednisolone)
นอกจากนี้ ผลกล้วยดิบทั้งเปลือกทุกชนิดมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และ ผลกล้วยสุกทุกชนิดมีฤทธิ์ต้านทั้งเชื้อรา และแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อ Mycobacterium สารสกัดจากหัวปลีมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียชนิด Micrococcus pyogenes var. aureus
สารเคมีที่พบ
หัวปลี มีธาตุเหล็กมาก
หัวปลีและราก มี triterpene หรือ steroid
ผลกล้วย ทุกชนิดประกอบด้วย น้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใย เกลือแร่ต่างๆ (โดยเฉพาะแคลเซียม เหล็ก และโปตัสเซียมในกล้วยหอม มีมาก) วิตามิน และเอ็นซัยม์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมี serotonin, noradre¬naline และ dopamine
ผลดิบ มีแป้ง tannic acid, gallic acid และ pectin มาก
กล้วยหอมสุก ให้กลิ่นและรสของ amyl acetate, amyl buty- rate, acetaldehyde, ethyl alcohol และ methyl alcohol
น้ำยาง มี pelargonidin, cyanidin, delphinidin, paeonidin, petunidin และ malvidin.
ที่มา:สำลี  ใจดี, สุนทรี  วิทยานารถไพศาล, รพีพล  ภโววาท, จิราพร  ลิ้มปานานนท์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, วิทิต  วัณนาวิบูล