กะทือ

กะทือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber zerumbet(L.)Smith

ชื่ออื่น ๆ กะทือป่า กระแวน แฮวดำ  เฮียวดำ(ภาคเหนือ) เฮียวแตง

(แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของพืช เป็นไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินสีเหลืองซีด ๆ และมีส่วนชูขึ้นมาในอากาศ สูงได้ถึง 1 เมตร ใบรูปค่อนข้างเรียวแหลม มีขนปกคลุมโดยทั่ว  เนื้อใบค่อนข้างบาง  ตัวใบยา 20- 35 ซม.  กว้าง 5-8 ซม. ปลายใบแหลม  โคนใบเรียวแคบเข้าหาก้านใบแหลม  โคนใบเรียวแคบเข้าหาก้านใบ ซึ่งสั้นมาก 5-8 มม.  ก้านช่อดอกยาว 10-30 ซม.  ดอกออกเป็นช่อรวมกันแน่นคล้ายตุ้มรูปไข่ยาว 6-12 ซม. กว้าง 4-5 ซม. มีกลีบประดับรองรับแต่ละดอกและอัดซ้อนกันแน่น  กลีบนี้มีสีเขียวแล้วค่อย ๆเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่อแก่ดอกสีเหลือง ยาวประมาณ 5 ซม. ผลรูปเรียวผิวเรียบยาว 1.5 ซม.  เมล็ดสีดำ หัวหรือเหง้าสด

ส่วนที่ใช้เป็นยา สรรพคุณและวิธีใช้

1.  แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง ใช้เหง้าหรือหัวสด ปิ้งไฟ ฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้วเอาน้ำดื่ม

2.  แก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูก หรืออาจมีเลือดด้วย) ใช้เหง้าหรือหัวสด ครั้งละ 2 หัว (ประมาณ 15 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่ม

การขยายพันธุ์ ใช้เหง้า

สภาพดินและฤดูที่เหมาะสม ปลูกได้ทั่วไป  ชอบดินร่วนซุย  มีการระบายน้ำดี  ปลูกได้ทุกฤดู

การปลูก ปลูกโดยใช้เหง้า ควรตัดใบและส่วนของลำต้นที่ชูขึ้นในอากาศออกให้เหลือความยาว  ประมาณคืบเดียว  เพื่อลดการสูญเสียน้ำ  รดน้ำให้ชุ่ม และหมั่นตรวจความชื้นของดินอยู่เสมอ