กะหล่ำปลีแดง(Red Cabbage)


ลักษณะทั่วไป
คล้ายคลึงกับกะหล่ำปลีธรรมดา แต่ต้องการความเอาใจใส่ดูแลมากกว่าเพราะปลูกยากกว่า ทั้งยังมีปัญหาโรคและแมลงเข้าทำลายเสมอ อัตราการสูญเสียในไร่นาค่อนข้างสูง เนื่องจากเกษตรกรมักละทิ้งแปลงไม่ทำการเก็บเกี่ยวเมื่อคาดว่าราคาจะตกต่ำ ส่วนตลาดค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับกะหล่ำปลีธรรมดา
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ Ruby Ball, Ruby Perfection
ฤดูปลูก ตลอดปี บริเวณที่สูงกว่า 1000 เมตร
ความเป็นกรดด่างของดิน 6.0-6.8
ชนิดของดิน ร่วนปนทราย
ระยะปลูก(ต้นxแถว)     ฤดูฝน 40×50 ซม. ฤดูหนาว 40×40 ซม. ฤดูร้อน 40×30 ซม.
จำนวนต้น (ตร.ม.) ฤดูฝน 6 ต้น/ตร.ม. ฤดูหนาว 6 ต้น/ตร.ม. ฤดูร้อน 8 ต้น/ตร.ม.
ความกว้างของแปลง 100-120 ซม.
ระยะห่างระหว่างร่องแปลง 50 ซม.
การเตรียมกล้า
ระยะปลูก(ต้น/แถว) 2×10 ซม.
จำนวนต้น    250 ต้น/ตร.ม. (คาดว่าเมล็ดไม่งอก 30%) เพียงพอสำหรับย้ายปลูกในพื้นที่ 40-50 ตร.ม.
ระยะเวลาที่เจริญเติบโตเต็มที่ 70-80 วันหลังย้ายปลูก รวมอายุพืช 100-110 วัน
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุนผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตุเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
ปลูกยากกว่ากะหล่ำปลีธรรมดา ปลูกแล้วเกษตรกรมักเก็บเกี่ยวต่อเมื่อได้ราคาดี ผลผลิตฤดูฝนดีกว่าฤดูอื่น เพราะได้น้ำฝนช่วย และถ้าเกษตรกรเอาใจใส่ดูแลดี เป็นพืชที่ต้องการการจัดการที่ดี ผลผลิต ออกสู่ตลาดและราคาค่อนข้างแปรปรวน ดังนั้นการส่งเสริมการผลิตพืชนี้ให้ถือเป็นอันดับสำรอง
ผลผลิต
ฤดูหนาว 70-90 กก. เป็นเกรด A ถึง 50-60% ฤดูร้อน 30-40 กก. เป็นเกรด B ทั้ง 100% ฤดูฝน 90-110 กก. เป็นเกรด A ราว 60-70% ผลผลิตฤดูร้อนคุณภาพต่ำ เนื่องจากพืชขาดแคลนนี้ ทำให้ออกดอกเร็ว และมีปัญหาแมลงเข้าทำลายและแพร่เชื้อโรค
ราคาขายของเกษตรกร
ฤดูหนาว 5-6 บาท ฤดูร้อน 6-8 บาท (แม้คุณภาพจะต่ำ และฤดูฝน 8-12 บาท
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ใช้ยาฆ่าแมลงสูงในฤดูร้อน และใช้ยากำจัดเชื้อราสูงในฤดูฝน ซึ่งมีปัญหาโรคพืชมาก มีการฉีดพ่นสารเคมี ประมาณ 3-4 ครั้ง ทั้งในฤดูร้อนและฤดูฝน
ผลตอบแทน
ฤดูร้อนต่ำ ไม่ควรส่งเสริมให้ปลูก ฤดูฝนให้ผลตอบแทนดีถ้าเอาใจใส่ดูแลพืช การตัดสินใจผลิตของเกษตรกรเอง บางครั้งไม่ทำการย้ายกล้า ถ้าคิดว่าราคาไม่ดีหรือพร้อมใจกันผลิตทุกคน ถ้าคาดว่าราคาดี ทำให้ปริมาณออกสู่ตลาดมาก หรือน้อยเกินไปกว่าโควต้าที่กำหนด ควรแนะนำให้เกษตรกรพยายามรักษาระดับการผลิต และปลูกเพียงเล็กน้อยเพราะตลาดจำกัด เน้นให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งถ้าขาดธาตุอาหารนี้ พืชจะไม่เจริญเติบโตและจะมีคุณภาพต่ำ
การตลาด
ตลาดค่อนข้างแคบ ค่อยๆ ขยายขึ้นในแต่ละปี การขนส่งไปกรุงเทพฯ สูญเสียน้อย (30%) ราคาเฉลี่ยที่ตลาดกรุงเทพฯ 14-24 บาท/กก. แนวโน้มราคาไม่แน่นอน ตลาดเอกชนให้ความสนใจน้อย
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
เนื่องจากพืชกะหล่ำปลีแดงมักมีโรคและแมลงรบกวนอยู่หลายชนิด ควรแนะนำให้เกษตรกรดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะฤดูแล้ง ไม่ควรให้ขาดน้ำติดต่อกันหลายวัน เพราะจะทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการระบาดของโรคและแมลง เป็นเหตุให้พืชไม่สมบูรณ์ แคระแกร็น
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ศัตรูพืชและโรค
ศัตรูพืช
หมัดกระโดด (Jumping Flea) พบตลอดปี ฉีดพ่น เซฟวิน 85 เพื่อกำจัดหนึ่งครั้งหรือซ้ำอีกถ้าจำเป็น
หนอนใย (Diamond Back Moth, Plutella sp.) พบในช่วงฤดูหนาวเข้าฤดูร้อน สังเกตจากการกัดกินเนื้อใบ เหลือใยหนอนและไข่ที่ใบ ป้องกัน กำจัดโดยใช้ แอมบุช (Ambush) และ แบคโทลปิน (Backtospein) ทุกๆ 5-7 วัน ราว 3-4 ครั้ง เพลี้ยอ่อน (Aphids) ดูผักกาดหอมห่อ
โรค
โรคใบจุด (Leaf Spot) พบในฤดูฝน โดยเฉพาะแปลงที่มีหญ้ารก สังเกตจากจุดกลมสีน้ำตาลบนใบ ถ้าระบาดมาก ใบจะแห้งและร่วง ป้องกันโดยรักษาแปลงให้สะอาด ปราศจากวัชพืช รักษาโดยฉีด ดาโคนิล (Daconil) หรือ ไดเทนเอ็ม 45 (Dithane M 45) 2-3 ครั้ง ทุกๆ 7 วัน ถ้าระบาดมาก ใช้ คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) สลับกับ ไดเทนเอ็ม 45 ทุก 5-7 วัน
โรคเน่า (Soft Rot) ดูรายละเอียดของผักกาดขาวปลี
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อ ตร.ม.)
ในแต่ละขั้นตอนการผลิต ต้องการชนิดและปริมาณปัจจัย ดังนี้


การใช้แรงงาน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงเพาะกล้า ดูผักกาดหอมห่อ
ช่วงปลูก
ขุดดินทิ้งตากแดด 14 วัน ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.2 เมตร สำหรับฤดูฝนให้แปลงสูงกว่าปกติ 30-50 ซม. เพื่อให้ระบายน้ำดี ขุดหลุมลึก 10-15 ซม. คลุกปุ๋ย 15-15-15 ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก และ ฟูราดาน (Furadan) ลงในดิน ย้ายกล้ามาปลูก แล้วรดน้ำ
ช่วงดูแลรักษา
ราว 5-7 วัน ปลูกซ่อมกล้าที่ตาย เมื่อย้ายปลูกได้ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 รอบต้นอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ/ต้น 30 วันหลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก ใส่ปุ๋ย 13-13-21 รอบต้น พร้อมกับกำจัดวัชพืช แล้วรดน้ำฉีดพ่นสารเคมีถ้ามีปัญหา
ช่วงเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวเมื่อพืชอายุ 60-90 วัน เลือกตัดหัวที่ห่อตัวดีก่อน ใช้มีดตัดตรงโคนต้น เหลือใบนอกไว้ 2-3 ใบ เพื่อป้องกันการเสียหายเวลาขนส่ง ห้ามล้างผัก ทำการเก็บเกี่ยวในวันที่จะขนส่ง

ที่มา: ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่