กะหล่ำปลี

กะหลํ่าปลีเป็นผักที่อยู่ในตระกูล Cruciferae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassicaoleracea var. capitata Linn. แหล่งกำเนิดดั้งเดิมของกะหล่ำปลี อยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน ต่อมาได้มีผู้นำเข้ามาเผยแพร่ทั่วทวีปยุโรป และอเมริกา จนกระทั่งเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2470 ซึ่งในขณะนั้นคนไทย ได้เริ่มรู้จักกะหลํ่าปลีบ้างแล้ว โดยครูโรงเรียนเกษตรในสมัยก่อนเป็นผู้นำเข้ามาปลูก พบว่าได้ผลดีในฤดูหนาวของภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น จังหวัด เชียงใหม่ อุดรธานี เลย เป็นต้น ต่อมาปี พ.ศ. 2481 ปรากฎว่าได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง จึงได้มีการเผยแพร่ออกสู่เกษตรกรผู้ปลูกมากขึ้น อย่างไรก็ตามฤดูปลูกกะหลํ่าปลียังคงทำกันเฉพาะฤดูหนาวเท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2505 ได้มีความพยายามปลูกผักนอกฤดูมากขึ้น ประกอบกับการค้นคว้าและพัฒนาพันธุ์พืชมีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้มีกะหลํ่าปลีพันธุ์ทนร้อนซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทย ปัจจุบันจึงสามารถปลูกกะหลํ่าปลีได้ทุกฤดูกาลและทั่วทุกภาค จะเห็นได้ว่ากะหลํ่าปลีมีจำหน่ายในตลาดผักตลอดทั้งปี

กะหลํ่าปลีเป็นผักอายุประมาณ 2 ปี แต่นิยมปลูกเป็นผักอายุปีเดียว คืออายุตั้งแต่ย้ายปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 50-120 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ปลูกได้ผลดีในช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคม ถ้านอกเหนือจากช่วงนี้จะต้องเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม กะหลํ่าปลีใช้รับประทานส่วนหัวซึ่งห่อเป็นปลี สามารถใช้รับประทานได้ทั้งสุกและดิบ เก็บไว้ได้นาน ประกอบอาหารได้มากทั้งใน สภาพสด สุก ดอง เค็มและแห้ง เป็นผักอุตสาหกรรมชนิดหนึ่ง ด้วยเหตุที่ กะหลํ่าปลีเป็นหัวแน่นกลมหรือค่อนข้างกลม มีใบหุ้มชั้นนอกหลายชั้น จึง เหมาะในการบรรจุลัง บรรจุเข่ง ขนย้ายได้สะดวก จึงมีคุณสมบัติเหมาะในทางการค้ามาก

ชนิดและพันธุ์กะหล่ำปลี

กะหลํ่าปลีมีชนิดและพันธุ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันมากมายหลายชนิด เริ่มจากสีมีตั้งแต่สีเขียวจนถึงสีแดงม่วง ลักษณะใบตั้งแต่ราบเรียบจนถึงขรุขระ เป็นคลื่น รูปหัวตั้งแต่แบนจนถึงกลมเรียว และอายุการเก็บเกี่ยวตั้งแต่สั้นที่สุด ประมาณ 50 วันหลังย้ายกล้า จนถึงนานประมาณ 120 วันหรือมากกว่าพันธุ์ที่มีสีเขียว ลักษณะหัวกลม เป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคและพบเห็นกันมากที่สุด พันธุ์กะหลํ่าปลีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ

กะหล่ำปลีธรรมดา มีความสำคัญและปลูกกันมากที่สุดทั้งในแง่ผัก บริโภคสด ปรุงอาหารและแปรรูป โดยทั่วไปมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มากกว่ากะหลํ่าปลีชนิดอื่น ๆ มีลักษณะหัวหลายแบบ ตั้งแต่หัวกลม หัวแหลม เป็นรูปหัวใจ จนถึงกลมแบนราบ มีสีเขียวจนถึงเขียวอ่อน เป็นพันธุ์ที่ทน อากาศร้อน อายุการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 50-60 วัน พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์ลูกผสมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ผสมเปิดอื่น ๆ อีก เช่น พันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต พันธุ์โกเดนเอเคอร์ เป็นต้น

กะหลํ่าปลีแดง มีลักษณะหัวค่อนข้างกลม ใบมีสีแดงทับทิม ส่วนใหญ่ มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน ต้องการอากาศหนาวเย็นพอสมควร เมื่อนำ ไปต้มนํ้าจะมีสีแดงคลํ้า พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์รูบี้บอล พันธุ์รูบี้เพอเฟคชั่น เป็นต้น

กะหล่ำปลีใบย่น เป็นกะหลํ่าปลีที่มีผิวใบหยิกย่นและเป็นคลื่นมากกว่า กะหลํ่าปลีธรรมดา ต้องการอากาศหนาวเย็นในการปลูก สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับกะหลํ่าปลีทั่วไป

สำหรับพันธุ์กะหลํ่าปลีที่นิยมปลูกโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

ดังนี้คือ

1. พันธุ์เบา เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวระหว่าง 60-75 วัน ได้แก่

ก. พันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต มีลักษณะหัวกลมรี แน่น เส้นใบนูนเด่น มีนํ้าหนักระหว่าง 0.3-2 กิโลกรัม รสหวานกรอบ เก็บไว้ได้นาน ปลูกง่าย ต้องการอากาศหนาวน้อย อายุการเก็บเกี่ยวระหว่าง 60-65 วัน

ข. พันธุ์เออรี่เจอซี่เวดฟิลด์ มีลักษณะหัวเล็ก แน่น ฐานโต ยอดแหลมมีรสชาติ น้ำหนักและการปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต แต่อายุการเก็บเกี่ยวมากกว่าคือประมาณ 65-75 วัน

ค. พันธุ์มาเรียนมาร์เก็ต, โกลเดนเอเคอร์ ลักษณะหัวแบนนิด ๆ มีขนาดโตกว่าพันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ตเล็กน้อย หัวแน่น นํ้าหนักดี เก็บไว้ ได้นาน ขนย้ายได้สะดวก รสชาติดี กรอบ

2. พันธุ์กลาง เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวระหว่าง 80-90 วัน ได้แก่ พันธุ์เฮนฮูเลนกลอรี่ พันธุ์ซัสเสสชัน และพันธุ์ออลซีซั่น ลักษณะหัวกลมแบนนิดๆ หัวแน่น นํ้าหนักอยู่ระหว่าง 1-3 กิโลกรัม ต้องการอากาศหนาวกว่าพันธุ์เบา เก็บไว้ได้นานพอสมควร สะดวกในการขนส่ง

3. พันธุ์หนัก เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวระหว่าง 90-120 วัน ได้แก่ พันธุ์ชัวเฮทเบอพี พันธุ์พรีเมี่ยม พันธุ์แฟลชท์ดัชท์ พันธุ์วิชคอนชั่น และกะหลํ่าปลีจีนพันธุ์เซี่ยงไฮ้ เป็นกะหลํ่าปลีหัวใหญ่ แต่หัวไม่แน่นเหมือนพันธุ์เบาและพันธุ์กลาง นํ้าหนักอยู่ระหว่าง 2-4 กิโลกรัม ต้องการอากาศ เช่นเดียวกันระยะยาว รสชาติไม่ค่อยกรอบและเก็บไว้ได้ไม่นาน

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

กะหลํ่าปลีสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนโปร่ง มีสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินอยู่ในช่วง 6-6.5 มีความชื้นในดินสูงพอสมควร และต้องได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโตของกะหลํ่าปลีประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส

การเตรียมดิน

แปลงเพาะกล้า แปลงเพาะกล้าให้ยกเป็นแปลงขนาดความกว้าง 1 เมตร ยาวตามความต้องการ การเตรียมดินโดยการขุดไถให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ สลายตัวดีแล้วให้มากที่สุด คลุกเคล้าให้เข้ากับดินให้ทั่ว พร้อมกับย่อยหน้าดิน ให้ละเอียด เพื่อมิให้เมล็ดซึ่งมีขนาดเล็กตกลงไปในดินลึกเกินไป ทำให้ไม่งอก รดนํ้าให้ชื้นแล้วทำการหว่านเมล็ดลงบนแปลงเพาะ แต่ถ้าต้องการปลูกเป็นแถว ก็ควรจะทำเป็นร่องไว้ก่อนแล้วหว่านเมล็ดตามร่องที่เตรียมไว้

แปลงปลูก กะหลํ่าปลีเป็นผักที่มีระบบรากตื้น ควรเตรียมดินลึก ประมาณ 18-20 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้มากเพื่อปรับปรุงสภาพของดินและเพิ่มความอุดม­ลมบูรณ์ โดยเฉพาะดินทรายและดินเหนียว จากนั้นย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็กลงแต่ไม่ถึงกับละเอียดจนเกินไป ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวลงไปเพื่อปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกกะหลํ่าปลี

ระบบปลูกและระยะปลูก

ในการปลูกกะหลํ่าปลีนิยมปลูกทั้งระบบแถวเดียวและแถวคู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของสวน

แบบแถวเดียว การปลูกกะหลํ่าปลีแบบแถวเดียวเหมาะสำหรับสวนผัก ที่ยกแปลงปลูกแบบในไร่จำนวนมาก ๆ นิยมใช้เครื่องจักรในการเตรียมดิน ยกแปลง มีการให้นํ้าแบบสปริงเกอร์หรือลากสายยางฝักบัวพ่นรด และการปลูกแบบนี้ยังเหมาะกับสวนกะหลํ่าปลีที่ยกแปลงกว้างมีร่องนํ้าในเขตภาคกลาง นิยมใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรขนาดเล็กในการเตรียมดิน มีการให้น้ำแบบ ลากเรือติดเครื่องพ่นนํ้ารดหรือใช้แครงวิดสาด

แบบแถวคู่ การปลูกกะหลํ่าปลีแบบนี้เหมาะสำหรับสวนผักขนาดเล็ก หรือปลูกแบบสวนครัว นิยมใช้แรงงานคนในการเตรียมดิน และให้นํ้าแบบ ปล่อยตามร่องหรือใช้บัวรดนํ้าเดินรด

สำหรับระยะปลูก เนื่องจากพันธุ์กะหลํ่าปลีที่นิยมปลูกในประเทศไทย เป็นพันธุ์เบา มีทรงพุ่มและหัวขนาดเล็ก ดังนั้นระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวที่เหมาะสมคือ 30-40 X 30-40 เซนติเมตร การปลูกอาจปลูกเป็นแบบแถวเดียวหรือแถวคู่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของสวน

การปลูก

การเพาะกล้า หลังจากเตรียมเปลงเพาะกล้าเรียบร้อยแล้ว ให้หว่านเมล็ดให้กระจายบาง ๆ ทั่วแปลงอย่างสมํ่าเสมอ ระยะห่างแต่ละเมล็ดประมาณ 1-2 เซนติเมตร แล้วหว่านกลบเมล็ดด้วยดินผสมหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ให้หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร หรือจะใช้วิธีหยอดเมล็ดเป็นแถวแทน การหว่าน หยอดให้ลึกลงไปในดินประมาณ 0.6-1 เซนติเมตรเช่นกัน ห่างกันแถวละ 15 เซนติเมตร ระยะห่างแต่ละเมล็ด 4 เซนติเมตร กลบด้วยดินผสม หรือปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว รดนํ้าด้วยบัวฝอยละเอียด คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดบาง ๆ รดนํ้าทุกวัน เมื่อกล้างอกมีใบจริงประมาณ 1-2 ใบให้ทำการถอนแยกต้นที่อ่อนแอ ไม่สมบูรณ์ ขึ้นเบียดกันแน่นทิ้งไป ควรใช้ปุ๋ยพวกสตาร์ทเตอร์โซลูชั่นรด เพื่อช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ หมั่นรดน้ำและดูแลป้องกันกำจัดโรคแมลงที่เกิดขึ้นจนถึงระยะย้ายต้นกล้าไปปลูก

การย้ายต้นกล้า เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 25-30 วัน จึงย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลงปลูกที่เตรียมไว้ ควรย้ายในช่วงเวลาบ่าย ๆ ถึงเย็นหรือช่วงอากาศมืดครึ้ม ก่อนทำการย้ายต้นกล้าจากแปลงเพาะประมาณ 30 นาที ให้รดนํ้าต้นกล้าพอดินเปียก เพื่อให้ง่ายต่อการถอน การถอนไม่ควรใช้วิธีจับต้นดึงขึ้น ทางที่ดีควรหาแผ่นไม้บาง ๆ หรือเสียมเล็ก ๆ แทงลงไปในดินแล้วงัดขึ้นมาให้ดินเป็นก้อนติดกับต้นกล้าให้มากที่สุด รีบใส่กระจาดนำไปปลูกให้เร็วที่สุด ก่อนนำลงปลูกให้ตัดปลายใบออกครึ่งหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เหี่ยวมาก และตั้งตัวได้ช้า เพราะโดยธรรมชาติแล้วรากกับใบของพืชในสภาพปกติจะมีจำนวนที่ทำงานได้ส่วนสัมพันธุ์กันเสมอ แต่ขณะย้ายต้นกล้าไปปลูกนั้นราก จะต้องขาดหรือเป็นอันตรายไปประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกว่า เมื่อนำไปปลูก รากจะทำงานไม่ได้ส่วนสัมพันธุ์กับใบ ฉะนั้นเวลาปลูกจึงต้องตัดใบออกเสียบ้าง เพื่อให้ปริมาณใบกับรากได้ส่วนกัน มีโอกาสตั้งตัวได้เร็ว นอกจากนั้นเวลาปลูก ไม่ควรขุดหลุมให้ลึกเกินไป เพราะเมื่อรดนํ้ามากหรือฝนตกนํ้าจะขังในหลุม ทำให้ต้นกล้าเน่าได้ การขุดหลุมปลูกควรขุดให้กว้างแต่ไม่ลึก ดินก้นหลุมต้องละเอียดและหมาด ๆ ไม่เปียกแฉะ

วิธีปลูก ใช้มือจับใบเลี้ยงคู่แรกใบใดใบหนึ่งหย่อนโคนลงไปในหลุม แล้วกลบดินลงไปให้เสมอระดับหลังแปลง กดดินให้จับรากพอสมควร จากนั้น รดนํ้ารอบ ๆ ให้น้ำค่อย ๆ ไหลไปหากันในหลุม อย่ารดกรอกลงไปที่ต้น ถ้าเตรียมดินดีนํ้าจะซึมไหลลงหลุมเร็วที่สุด คลุมดินรอบ ๆ โคนต้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดบาง ๆ เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน

เมื่อปลูกเสร็จแล้วควรทำร่มบังแดดให้ในวันรุ่งขึ้น อาจใช้กะลาครอบ กาบกล้วยเสียบไม้บัง หรือใช้ไม้บังรอบ ๆ หรือใช้กระทงใบตองปิดก็ได้ ควร ปิดบังแดดไว้ประมาณ 3-4 วัน จึงเอาออก

การปฏิบัติดูแลรักษา

กะหลํ่าปลีเป็นผักที่ต้องการดูแลรักษาอย่างดีและสมํ่าเสมอ เพราะเป็นผักที่มีส่วนยอดเป็นส่วนสำคัญ หากยอดถูกทำลายแล้วถึงแม้จะมียอดเกิดขึ้น ใหม่ก็ได้ขนาดไม่เท่ายอดเก่า ดังนั้นผู้ปลูกจึงต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษอย่างน้อย วันละ 1 ครั้งนอกเหนือไปจากการปฏิบัติดูแลรักษาตามปกติ

การให้นํ้า ควรรดน้ำอย่างสมํ่าเสมอและเพียงพอ เนื่องจากกะหลํ่าปลี เป็นผักรากตื้นจึงไม่สามารถดูดนํ้าในระดับลึกได้ ควรรดในตอนเช้าและเย็น รอบ ๆ ต้น ไม่รดนํ้าจนแฉะเกินไป การให้นํ้ากะหล่ำปลีอีกวิธีหนึ่งก็คือโดย การปล่อยไปตามร่องระหว่างแปลงประมาณ 7-10 วันต่อครั้ง แต่ถ้าปลูกในเขตร้อนและแห้งแล้งจำเป็นต้องให้นํ้ามากขึ้น ระยะที่กะหล่ำปลีต้องการนํ้ามากเป็นระยะที่ผักกำลังเจริญเติบโต คือหลังจากวันที่ผักตั้งตัวได้แล้ว หรือ หลังจากวันปลูกประมาณ 2-3 สัปดาห์ไปถึงก่อนวันเก็บเกี่ยว 7 วัน และ เมื่อกะหลํ่าปลีเข้าปลีเต็มที่แล้วควรลดปริมาณนํ้าให้น้อยลงทีละน้อย ๆ จนเหลือ รดวันละครั้ง รดวันเว้นวัน หรือรด 2-3 วันต่อครั้ง ทั้งนี้เพราะหากกะหลํ่าปลี ได้รับนํ้าในช่วงนี้มากเกินไปหัวปลีอาจจะแตกได้ จำหน่ายได้ราคาไม่ดี

การใส่ปุ๋ย ในการใส่ปุ๋ยกะหลํ่าปลีนั้นมีความแตกต่างกันตามระยะ การเจริญเติบโตและชนิดของดิน การเจริญเติบโตของกะหลํ่าปลีแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะตั้งตัว ระยะขยายตัว และระยะให้ผล ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยจึงต้องใส่ให้ถูกตามระยะการเจริญเติบโตของกะหลํ่าปลีดังนี้

1. ระยะตั้งตัว ระยะนี้นับตั้งแต่วันปลูกไปจนถึงอายุประมาณ 10 วัน ในระยะนี้ผักมีสภาพคล้ายคนป่วย มีความอ่อนแอ ดังนั้นการรดนํ้า การใส่ปุ๋ย การทำร่มบังแดด ตลอดจนการดูแลรักษาอื่น ๆ จึงอยู่ระหว่างที่ต้องเอาใจใส่เป็น อย่างดี ในระยะนี้ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วต้นละ ½  กิโลกรัม โรยรอบ ๆ ต้นแล้วพรวนกลบ หลังจากนั้น 3 วันให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ต้นละ 25 กรัม โดยโรยรอบ ๆ ต้นแล้วพรวนกลบ หรือใช้ปุ๋ย 2 กำมือละลายนํ้า 1 ปีบ รดด้วยบัวรดนํ้าแล้วใช้นํ้าเปล่ารดล้างทันที

2. ระยะขยายตัว นับตั้งแต่อายุ 10 วันถึง 1 เดือน ระยะนี้ควรใส่ปุ๋ยคอกเช่นเดียวกับที่ใส่ในระยะตั้งตัว โดยเพิ่มจำนวนปุ๋ยเป็นสองเท่า แล้วใส่ปุ๋ยสูตร 5-10-5 จำนวน 10 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 100 ตารางเมตร โดยโรยรอบ ๆ ลำต้น

3. ระยะให้ผล คือระยะที่กะหลํ่าปลีเริ่มห่อหรือเข้าปลีเป็นจำนวนมาก ในระยะนี้ใส่เฉพาะปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตในอัตราต้นละ 25 กรัม การใส่ปุ๋ย ในระยะนี้ ถ้าพิจารณาเห็นว่าการใส่ปุ๋ยในระยะขยายตัวเพียงพอแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใส่แต่อย่างใด

ในการใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรงดให้นํ้าก่อน 1 วัน พอวันรุ่งขึ้นจึงใส่ปุ๋ย แล้วกลบดินในตอนเช้า ทิ้งไว้จนเย็นหรือรุ่งขึ้นจึงรดนํ้าให้โชก ใส่ปุ๋ยแล้วพรวนดินกลบไว้ไม่ควรรดนํ้าทันที การใส่ปุ๋ยทุกอย่างไม่ควรให้เปรอะเลอะไปตามยอดหรือใบผัก แต่ถ้าเป็นการใส่ปุ๋ยนํ้าการรดนํ้าตามหลังจากใส่ปุ๋ย เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ควรพรวนดินล่วงหน้าสัก 1 วัน จึงจะเหมาะสม

การพรวนดินกำจัดวัชพืช ในระยะแรก ๆ ควรปฏิบัติบ่อย ๆ เพราะ วัชพืชจะเป็นตัวแย่งนํ้าแย่งอาหารในดิน รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและ แมลงทำลายกะหลํ่าปลีอีกด้วย การพรวนดินและกำจัดวัชพืชควรทำพร้อมกับ กำจัดวัชพืชด้วยการถอนหรือใช้จอบ แล้วพรวนดินบริเวณโคนต้นด้วยเสียม ขนาดเล็ก

การเก็บเกี่ยว

อายุการเก็บเกี่ยวของกะหลํ่าปลีตั้งแต่ปลูกจนถึงวันเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับ ลักษณะของแต่ละพันธุ์ สำหรับพันธุ์เบาที่นิยมปลูกจะมีอายุประมาณ 50-60 วัน แต่พันธุ์หนักมีอายุถึง 120 วัน อย่างไรก็ตามการเก็บเกี่ยวไม่ควรถืออายุเพียงอย่างเดียวเป็นเกณฑ์ ควรได้ตรวจดูลักษณะหัวกะหลํ่าปลีด้วย เพราะบางต้น เป็นหัวก่อนกำหนด บางต้นมีหัวตรงอายุ และบางต้นมีหัวหลังกำหนด ฉะนั้น ถ้าหมั่นตรวจดูในระยะที่จวนถึงกำหนดเก็บเกี่ยวย่อมเก็บผลได้ถูกต้องเสมอ ในรายที่ปลูกเล็กน้อยในสวนครัวย่อมมีเวลาปฏิบัติบำรุงได้ทั่วถึง ควรจะเก็บหัวปลีได้ทุกต้นและหัวโตได้ขนาด แต่ถ้าปลูกเป็นจำนวนมากผลผลิตที่ได้จะลดลง เพราะดูแลไม่ทั่วถึง

การเก็บเกี่ยวกะหลํ่าปลีควรเลือกหัวที่ห่อแน่นและมีขนาดพอเหมาะ กะหลํ่าปลี 1 หัวมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม การเก็บเกี่ยวกะหลํ่าปลี ในระยะที่เหมาะสมจะได้หัวปลีที่สมบูรณ์ ถ้าเก็บขณะอ่อนเกินไปหัวจะไม่แน่น จะเสียขนาดและนํ้าหนัก แต่หากปล่อยไว้นานเกินไปหัวจะหลวม ทำให้คุณภาพของหัวกะหลํ่าปลีลดลง เสียรสชาติ ไม่ได้ราคา ฉะนั้น เวลาเก็บเกี่ยวควรสังเกตหัวที่แน่นดี การเก็บควรใช้มีดสะอาดตัดทีเดียวให้ขาด ให้ใบนอกที่ หุ้มหัวติดมาด้วย เพราะจะทำให้สามารถเก็บรักษาได้ตลอดวัน และตัดให้มีก้านยาว ๆ เพื่อจับถือง่ายและตัดแต่งได้ทุกวัน เมื่อตัดแล้วเก็บใส่ภาชนะรีบนำ เอาไปไว้ในที่ร่ม เมื่อขนออกนอกแปลงแล้วให้ตัดแต่งใบนอกออกเหลือเพียง

2-3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากการบรรจุและขนส่ง จากนั้นคัดแยกขนาดแล้วบรรจุถุงส่งจำหน่ายต่อไป

โรคและแมลง

โรคเน่าเละของกะหล่ำปลี สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora pv. โรคนี้พบได้เกือบทุกระยะการเจริญเติบโตของกะหลํ่าปลี แต่ จะพบมากในระยะที่กะหลํ่าปลีห่อหัว โดยในระยะแรกพบเป็นจุด ๆ หรือบริเวณมีลักษณะฉ่ำน้ำคล้ายรอยชํ้า ต่อมาแผลจะขยายลุกลามออกไป ทำให้เกิดการเน่าเละเป็นเมือกเยิ้มมีกลิ่นเหม็นจัด เมื่ออาการรุนแรงจะทำให้กะหลํ่าปลีเกิดการเน่าเละทั้งหัวและหักพับลง

การป้องกันกำจัด ในแปลงปลูกควรมีการระบายนํ้าที่ดี นํ้าไม่ขังแฉะ การกำจัดวัชพืชให้กำจัดออกจากแปลงอย่าไถกลบ ฉีดพ่นสารกำจัดแมลงปากกัดหรือแมลงวันในแปลงปลูก ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผลหรือรอยช้ำทั้งขณะเก็บเกี่ยวและขนส่ง และหลังการเก็บเกี่ยวแล้วให้เก็บกะหลํ่าปลีไว้ในที่อุณหภูมิตํ่าประมาณ 10 องศาเซลเซียส

โรคเน่าดำ สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris โดยเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ตามขอบใบจะเข้าทางรูใบ ทำให้ใบแห้งจากด้านขอบใบ เข้าไปเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีปลายแหลมชี้ไปที่เส้นกลางใบ บนเนื้อเยื่อที่แห้ง จะมีเส้นใยสีดำเห็นชัดเจน อาการใบแห้งจะลุกลามไปจนถึงเส้นกลางใบและ ลุกลามไปถึงก้านใบ ทำให้เกิดอาการใบเหลืองเหี่ยวและแห้งตาย กะหลํ่าปลี ชะงักการเจริญเติบโตและอาจตายได้ เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคนี้จะ อาศัยอยู่ในดิน เมื่อฝนตกจะระบาดทั่วไป นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดไปกับ เมล็ดผักได้อีกด้วย

การป้องกันกำจัด ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกควรได้แช่เมล็ดในนํ้าอุ่น ที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 20-30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจติดอยู่ในเมล็ด และไม่ควรปลูกพืชตระกูลกะหลํ่าติดต่อกันเกิน 3 ปี เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรค ควรได้ปลูกพืชหมุนเวียนสลับกัน

โรคขาดธาตุฟอสฟอรัส สาเหตุเกิดจากการขาดธาตุฟอสฟอรัส กะหลํ่าปลีจะแสดงอาการผิวใบมีสีม่วงแดงบางส่วนทั้งด้านบนและใต้ใบ ลำต้น และใบแข็งมีสีเขียวเข้ม ก้านใบแข็งผอม แคระแกร็น รากไม่แตกแขนง และ กะหลํ่าปลีไม่ห่อหัว

การป้องกันกำจัด ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ละลายง่าย เช่น ซุปเปอร์ฟอสเฟต เป็นต้น ปรับปรุงดินด้วยปูนขาวเมื่อดินเป็นกรด และใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ ให้มาก เพราะปุ๋ยอินทรีย์ช่วยให้ธาตุฟอสฟอรัสละลายได้มากและสมํ่าเสมอ

โรครากปม สาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอยชนิด Meloidogyne sp. ลักษณะอาการของกะหลํ่าปลีที่เป็นโรคนี้คือ แคระแกร็นไม่ค่อยเจริญเติบโต เมื่อขุดรากขึ้นมาตรวจดูจะพบที่บริเวณรากแขนงและรากฝอยมีลักษณะบวมเป็นปมขนาดต่าง ๆ กัน ทำให้รากไม่สามารถหาอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ ไส้เดือนฝอยตัวเมียที่เข้าไปอยู่ในปมแย่งอาหารไปจากพืชด้วยจึงทำให้แคระแกร็น

การป้องกันกำจัด ใส่ปุ๋ยอินทรีย์พวกปุ๋ยคอกให้มาก ไถตากดินให้ลึก และควรปลูกพืชอื่นเมื่อพบศัตรูพืชชนิดนี้ระบาด เช่น ข้าวโพด สัก 1-2 ปี แล้วจึงหันมาปลูกกะหลํ่าปลีอีก

หนอนใยผัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plutella xylostella เป็นหนอนผีเสื้อ ที่ก่อความเสียหายให้แก่พืชตระกูลกะหลํ่าทั่วประเทศ ตัวหนอนเกิดจากไข่ที่แม่ผีเสื้อวางไว้ใต้ใบ ไข่มีสีเหลืองค่อนข้างกลม วางติดกัน 2-5 ฟอง อายุไข่ ฟักประมาณ 3 วันจึงเป็นตัวหนอน ตัวหนอนมีขนาดค่อนข้างเล็กมองเห็นยาก มีการเจริญรวดเร็วกว่าหนอนอื่น ระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ก็จะโตเต็มที่มีขนาด 1 เซนติเมตร ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกมา 2 แฉก เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง และทิ้งตัวลงดินโดยการสร้างใย ดักแด้มีขนาด 1 เซนติเมตร อยู่ภายในใยบาง ๆ ติดใต้ใบ อายุดักแด้ 3-4 วัน ตัวเต็มวัยมีสีเหลืองเทา ตรงส่วนหลังมีแถบสีเหลือง อายุตัวเต็มวัย 1 สัปดาห์ มักพบตัวเต็มวัยตามใบโดยเกาะอยู่ในลักษณะยกหัวขึ้น

ลักษณะการทำลาย การวางไข่ของแม่ผีเสื้อค่อนข้างหนาแน่น ในต้นหนึ่งจะพบหนอนมากกว่าสิบตัว หนอนใยผักจะกัดกินผิวด้านล่างใบจนเกิดเป็นรูพรุน รอยที่เห็นจะแตกต่างกับหนอนชนิดอื่น และมักจะเข้าไปกัดกินยอดที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอดผักเสีย หรือกัดกินใบที่หุ้มหัวของกะหลํ่าปลี ทำให้เสียคุณภาพ หนอนใยผักมีความสามารถในการทนต่อสารเคมีและปรับตัว ต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกำจัดได้ดี

การป้องกันกำจัด สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารเคมีกำจัดตัวหนอนโดยตรง การใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทรูรินเจนซิสทำลาย และหมั่นตรวจดูแปลงกะหลํ่าปลีอยู่เสมอ เมื่อพบตัวหนอนควรรีบทำลายทันที

หนอนเจาะยอดกะหล่ำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hellula undalis ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดเล็ก ขนาดกางปีกกว้าง 1.90 เซนติเมตร ปีกคู่หน้า มีแถบสีนํ้าตาลปนเทาพาดตามขวางโค้งไปมา แม่ผีเสื้อจะวางไข่สีขาวนวลเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตามยอดตาดอก อายุของไข่ประมาณ 3-5 วัน หนอนเจาะยอดกะหลํ่านี้จะสังเกตได้ยากกว่าหนอนชนิดอื่น เพราะไม่กัดกินภายนอกให้เห็นชัด แต่ถ้าตรวจดูตามยอดตามใบที่หุ้มหัวจะเห็นตัวหนอนกัดกิน หนอนโตเต็มที่ยาว 1-2 เซนติเมตร ผิวลำตัวใส มีแถบสีนํ้าตาลพาดตามยาว ระยะการเจริญเติบโตของหนอนประมาณ 15-25 วัน ดักแด้มีขนาด 0.6-0.8 เซนติเมตร อายุดักแด้ 7-11 วัน

ลักษณะการทำลาย หนอนเจาะยอดกะหลํ่าจะพบระบาดทำความ เสียหายให้แก่พืชผักในตระกูลกะหลํ่า โดยหนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินในหัว หรือยอดผักที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอดขาดไม่เข้าหัว ถ้าระบาดในระยะ ออกดอกจะเจาะเข้าไปในลำต้น ก้านดอก หรือในระยะเล็กจะกัดกินดอก

การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีเมวินฟอสอัตรา 20-30 ซีซี. ต่อนํ้า 20 ลิตร พ่นเมื่อหนอนระบาด ควรพ่นทุก ๆ 5 วัน หรืออาจใช้เมตาไมโดฟอส ในอัตรา 20-30 ซีซี.ต่อนํ้า 20 ลิตร

หนอนคืบกะหล่ำ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Trichoplusia ni ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดกลาง กางปีกเต็มที่ยาว 3 เซนติเมตร สีเทาดำ กลางปีกคู่หน้ามีจุดสีขาวข้างละ 1 จุด แม่ผีเสื้อจะวางไข่สีขาวนวลใต้ใบ เม็ดกลมเล็ก ๆ ไข่จะถูกวางเดี่ยว ๆ ทั่วไป ไข่มีอายุ 3 วันจึงฟักออกเป็นตัวหนอน หนอนที่มีขนาดเล็กจะแทะผิวใบด้านล่าง ในระยะนี้มีสีใส ต่อมามีสีเข้มขึ้น เมื่อโตเต็มที่มีสีซีดลง มีสีขาวพาดยาว หนอนเมื่อโตเต็มที่ยาว 4 เซนติเมตร อายุหนอนประมาณ 2 สัปดาห์ก็จะเข้าดักแด้ ดักแด้จะอยู่ใต้ใบคลุมด้วยใยบาง ๆ สีขาว ดักแด้ในระยะแรกมีสีเขียวอ่อน ต่อมามีบางส่วนเป็นสีนํ้าตาล มีขนาดยาวเกือบ 2 เซนติเมตร อายุดักแด้ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้ 1 สัปดาห์

ลักษณะการทำลาย หนอนคืบกะหลํ่าเป็นหนอนที่กินจุ เข้าทำลาย กะหลํ่าปลีในระยะที่เป็นตัวหนอน โดยจะกัดกินเนื้อใบจนขาดและมักจะเหลือ เส้นใบไว้ หนอนชนิดนี้เมื่อเกิดระบาดจะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วมาก

การป้องกันกำจัด ตรวจดูไข่หรือตัวหนอนในระยะเล็ก ๆ หากพบให้ใช้สารกำจัดแมลง เช่น ฟอสดริล, แลนเนท เป็นต้น หากใช้ในขณะที่หนอนยังมีขนาดเล็กจะได้ผลดี หากการระบาดมีอยู่ตลอดเวลาควรใช้ช่วงเวลาพ่น 5-7 วันต่อครั้ง

ด้วงหมัดผัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllotreta sinuata ตัวเต็มวัย เป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก ยาว 1-1 ½  มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยจะวางไข่ในดิน บริเวณใกล้ ๆ ต้นพืช ตัวอ่อนมีขนาดเล็ก สีขาวใส โตเต็มที่ยาวประมาณ ½ เซนติเมตร จะเข้าดักแด้ในดิน ด้วงหมัดผักมีนิสัยที่สังเกตง่ายคือ เมื่อถูก กระทบกระเทือนจะกระโดดโดยอาศัยขาหลัง ส่วนโคนขาใหญ่จึงสามารถ ดีดตัวได้ไกล

ลักษณะการทำลาย ด้วงหมัดผักเป็นศัตรูที่สำคัญของผักประเภท กะหลํ่าและผักกาด พบการทำลายได้ตลอดทั้งปี โดยตัวเต็มวัยจะกัดกินใบ จนเป็นรูพรุน ทำความเสียหายได้ในระยะที่ผักกำลังเจริญเติบโต สำหรับตัวอ่อนที่เป็นหนอนชอบกัดกินราก บางครั้งอาจเกิดการระบาดในแปลงเพาะกล้าได้เช่นกัน

การป้องกันกำจัด การไถตากดินในฤดูแล้งจะช่วยทำลายตัวอ่อนหรือ ดักแด้ที่อยู่ในดินได้ กำจัดวัชพืชในบริเวณแปลงผักเพื่อตัดวงจรอาหารของตัวหนอนได้ หรือฉีดพ่นด้วยเซฟวิน 85 หรือแลนเนท