กะเม็งตัวผู้สรรพคุณทางยา


หญ้าฮ่อมเกี่ยวดอกเหลือง

ชื่อ
จีนเรียก    อึ้งฮวยแป่ขี่เช่า ทางพายัพเรียกหญ้าฮ่อมเกี่ยวดอกเหลือง Wedelia chinensis (Osb.) Merr.

ลักษณะ
พืชประเภทเบญจมาศ ชอบขึ้นตามริมสระนํ้า คันนา ในทุ่ง ที่ลุ่ม เป็น พืชยืนต้นหลายปี ลำต้นสูงประมาณ 1-2 ฟุต รากขึ้นตามข้อถ้าล้มติดดิน ใบคู่ ใบขึ้นจากลำต้นเกือบไม่เห็นก้านใบ ใบเป็นแฉกแหลมยาวประมาณ 2 นิ้ว ฐานใบสอบแต่ปลายแหลม มีเอ็นใบสามเส้น ขอบใบแหว่งเป็นแฉก ออกดอกตามโคนใบตลอดปี เป็นรูปจอกสีเหลือง กลีบดอกบานออก เป็นรูปลิ้น ไม่มีก้านเกสร

รส
เฝื่อนแกมขมนิดๆ ธาตุเย็นมาก ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถประสะโลหิตให้เย็น ดับพิษ สกัดเลือดไหล ใช้ภายนอกดับพิษ แก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงปอดและม้าม

รักษา
ปอดคัดไอ ปอดร้อนไอเลือด เจ็บทรวงอก อุจจาระเป็นเลือด บิดเลือด
เจ็บคอใช้พอกแก้พิษ

ตำราชาวบ้าน
1. ปอดคัดไอ หญ้าฮ่อมเกี่ยวดอกเหลือง 1 ตำลึง พระจันทร์ครึ่งซีก แปะฮวยแต่ซี่อั้ง อย่างละครึ่งตำลึง ต้มนํ้า ชงน้ำตาล รับประทาน
2. ปอดร้อนไอเลือด – หญ้าฮ่อมเกี่ยวดอกเหลือง 1 ตำลึง ต้มน้ำ ชงน้ำผึ้ง รับประทาน
3. เจ็บคัดหน้าอก – หญ้าอ่อมเกี่ยวดอกเหลือง 1 ตำลึง ต้มปอดหมู รับประทาน
4. อุจจาระเป็นเลือด – หญ้าฮ่อมเกี่ยวดอกเหลือง 1 ตำลึง ต้มใส่นํ้าตาลแดง หรือหญ้าฮ่อมเกี่ยวดอกเหลือง 1 ตำลึง ต้มกับผักเบี้ยแดง   2 ตำลึง รับประทาน
5. บิดเลือด หญ้าฮ่อมเกี่ยวดอกเหลือง 2 ตำลึง ตำแหลก เอานํ้าชงนํ้าผึ้ง รับประทาน หรือ หญ้าฮ่อมเกี่ยวดอกเหลือง 1 ตำลึง ต้มใส่นํ้าตาลแดง รับประทาน ขนานนี้แก้ริดสีดวงทวารเลือดด้วย
6. เจ็บคอ-หญ้าฮ่อมเกี่ยวดอกเหลือง 1 ตำลึง ตำเอานํ้าชงนํ้าผึ้งรับ ประทานหรือต้มรับประทานเฉยๆ ก็ได้
7. ผิวหนังบวมเป็นแผลพุพอง – หญ้าฮ่อมเกี่ยวดอกเหลือง ตำแหลกกับ
นํ้าตาลแดง พอก

ปริมาณใช้
สดรับประทานไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกินครึ่งตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช