การกำจัดหนอนเจาะดอกมะลิ

หนอนเจาะดอกมะลิ (Hendacasis duplifascialis Hampson.) เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของมะลิ และเข้าทำลายดอกมะลิตั้งแต่ระยะเป็นดอกตูมขนาดเล็ก ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงมีการแนะนำแนวทาง เพื่อลดความเสียหายของดอกมะลิที่ถูกหนอนทำลาย ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การควบคุมโดยธรรมชาติ วิธีเขตกรรม วิธีกายภาพ วิธีกล รวมทั้งการใช้สารกำจัดแมลง และในปัจจุบันมีความจำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของหนอน อนึ่งการใช้สารกำจัดแมลงจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และต้องใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการทำสอบประสิทธิภาพของสารกำจัดแมลงสรุปได้ว่า

สารจำกัดแมลงพาร์ซอน หรือ ไซเปอร์เมทิน + ฟอสซาโลน (cypermetrin + phosalone 28.75%) อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ผลดีมากในการป้องกันหนอนเจาะดอกมะลิ ส่วนสารจำกัดแมลงที่ให้ผลดีรองลงมา คือ ไบทรอยด์ หรือ ไซฟลูทริน(cyfluthrin 10%) , เดลต้าฟอส หรือ เดลต้าเมทริน(deltamethrin 3%)  อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ  20 ลิตร

ส่วนสารกำจัดแมลง เวอร์ทิเมค หรือ อะบาเมคติน ,โปโล หรือ ไดอะเฟนไธยูรอน ,วาทาบรอนหรือ คลอฟูอะซูรอน อัตรา 20 , 30  , 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (ตามลำดับ) ให้ผลปานกลาง ในการป้องกันและกำจัดหนอนดอกมะลิ

ในกรณีที่มีการระบาดของหนอนเจาะดอกมะลิรุนแรง ควรพ่นด้วยสารกำจัดแมลงไซเปอร์เมทิน + ฟอสซาโลน(cypermetrin + phosalone 28.75%) อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ในช่วงแรกของการระบาดของแมลง และหลังจากแมลงลดลง ควรพ่นสลับด้วยการจำกัดแมลงกลุ่มอื่นๆด้วย เช่น ไซฟลูทริน (cyfluthrin 10%) และเดลต้าเมทริน (deltamethrin 3%) อัตราเท่ากับ 10 ซีซี ต่อน้ำ  20 ลิตร รวมทั้งสารจำกัดแมลง อะบาเมคติน ,ไดอะเฟนไธยูรอน ,คลอฟูอะซูรอน อัตรา 20 , 30  , 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (ตามลำดับ) โดยใช่ช่วงพ่นสารกำจัดแมลงทุก 4 หรือ 8 วัน ตามการระบาดของแมลง

บทความโดย : ศรีสุดา โท้ทอง – กลุ่มงานวิจัยแมลงศัตรูผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ กองกีฏและสัตววิทยา

ปล. อย่าลืมนะครับว่า การใช้สารกำจัดแมลงจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น