การขยายพันธุ์ตำลึง

ตำลึงเป็นผักที่คนไทยรู้จักและนิยมรับประทานยอดของมันมานานแล้ว เพราะเป็นผักที่มีรสหวานอร่อยและมีกลิ่นหอม สามารถนำไปประกอบอาหารได้ หลายอย่าง เช่น แกงจืดใส่หมูสับ ลวกจิ้มน้ำพริก หรือกระทั่งผัดไฟแดงก็อร่อยสูสี ผักบุ้งไฟแดงทีเดียว นอกจากจะเป็นอาหารแล้วตำลึงยังเป็นยาแก้ร้อนใน และรักษาโรคได้อีกหลายอย่างตามตำราแพทย์แผนโบราณ

ผักตำลึง หรือ lvy.gourd เป็นผักตระกูลเดียวกับผักจำพวก บวบ น้ำเต้า และแตงร้าน ซึ่งเป็นไม้ที่มีพื้นเพอยู่ในเอเชียอาคเนย์ ทนแล้งทนฝนได้ดี ด้วยเหตุนี้ ผักตำลึงจึงมีอยู่ทั่วทุกภาคในประเทศไทย

ตำลึงเป็นไม้ที่ชอบเลื้อยพันเกาะเกี่ยว ดังนั้นที่ ๆ เหมาะสมสำหรับปลูก ตำลึงจึงควรเป็นรอบ ๆ รั้วบ้านของเรานั่นเอง หรือจะทำเป็นซุ้มเป็นนั่งร้านให้ตำลึงเลื้อยพันก็ไม่เลวทีเดียว

การขยายพันธุ์

ตำลึงสามารถขยายพันธุ์ใด้ 2 วิธีคือ การเพาะเมล็ด และการปลูกด้วยเถา การเพาะเมล็ดนั้นก็กระทำเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดพืชทั่ว ๆ ไปแต่วิธีนี้ค่อนข้างจะใช้เวลานานกว่าวิธีปลูกด้วยเถา เพราะวิธีที่สองนี้เราเพียงแต่เอาเถาตำลึงที่แก่มาตัดออกเป็นท่อน ๆ ให้ยาวประมาณ 6-8 นิ้วแล้วนำไปชำไว้ในกระบะเพาะชำ หรือจะนำไปปลูกเลยก็ได้ ถ้าจะให้ดีควรปลูกในหน้าฝน ต้นตำลึงจะงอกงามเร็วกว่าปลูกในช่วงอื่นประมาณเดือนเดียวหลังจากปลูกเท่านั้น ก็จะสามารถเก็บยอดตำลึง รับประทานได้และก็จะเก็บได้ตลอดไป ยิ่งเก็บมากเท่าไรยอดใหม่ก็จะยิ่งแตกออก มามากจนเก็บไม่ทัน

การบำรุงต้น

ต้นตำลึงที่เราเห็นโดยทั่ว ๆ ไปมักจะขึ้นเองเพราะเป็นไม้ที่ทนทาน ขึ้นง่าย ตายยากอยู่แล้ว ดังนั้นผู้ปลูกจึงแทบจะไม่ต้องดูแลเลย แต่ถ้าหากว่าเราอยากให้ตำลึงงอกงามดีแล้วละก้อ สมควรที่จะให้ความเอาใจใส่มันบ้างโดยการหมั่นพรวนดิน ดายหญ้าและใส่ปุ๋ยให้โคนต้นบ้าง จะเป็นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกก็ได้ แล้วผู้ปลูกก็จะมียอดตำลึงอวบงาม รสหวาน ไว้รับประทานต่อไปอีกนาน