การจัดหมวดหมู่วิสาสาเหตุโรคพืช

การเรียกชื่อและจัดหมวดหมู่วิสาสาเหตุโรค (Nomenclature and identification of plant viruses)
การเรียกชื่อและจัดหมวดหมู่ของวิสา มีหลักเกณฑ์รวบรวมได้ดังนี้
1. อาศัยอาการโรค และพืชอาศัยที่พบและศึกษาเป็นครั้งแรกประกอบ เซ่น โรคที่พบเป็นโรคใบด่างของยาสูบ (tobacco mosaic) เรียกวิสาสาเหตุโรคนี้ว่า วิสาโรคใบด่างของยาสูบ (tobacco mosaic virus) โรคใบจุดวงแหวนของมะเขือเทศ (tomato ringspot virus) อย่างไรก็ตามวิสาที่เหมือนกันอาจทำให้พืชอย่างเดียวกันนั้นเป็นโรคมีอาการแตกต่างกันได้หากพืชอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และวิสาที่มี strain ต่างกันแต่พืชอาศัยเหมือนกันหรือวิสาเหมือนกันแต่พืชอาศัยต่างกัน จึงทำให้การเรียกชื่อตามวิธีการดังกล่าวนี้อาจเปลี่ยนแปลงหรือซํ้าซ้อนกันได้บ้างในรายละเอียด
2. วิสาสาเหตุโรคทั้งหมดจัดไว้ใน KINGDOM VIRA ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 divisions คือ
DNA viruses and RNA viruses ขึ้นอยู่กับชนิดของ nucleic acid ที่เป็นส่วนประกอบโครงสร้างของอนุภาควิสา คือ DNA และ RNA ตามลำดับ
3. วิสาแต่ละ division แบ่งเป็น subdivision โดยอาศัยรูปร่างที่มีลักษณะแบบขดเป็นเกลียวคล้ายเชือก (helical) และลักษณะทรงกลมเป็นเหลี่ยม (icosahedron, cubical or polyhedral)
4. แต่ละ subdivision มีวิสาที่ประกอบด้วย nucleic acid ที่เป็น single strand หรือ double strand และ
5. การมีหรือไม่มีเยื่อหุ้มคลุมโปรตีนที่ห่อหุ้มเป็นอนุภาคของวิสา รวมทั้งการมีหรือไม่มีสารประกอบอื่นๆ เพิ่มเติม และ
6. การมีโปรตีนหน่วยย่อยเฉพาะการเรียงกันสม่ำเสมอ ประกอบเป็นท่อน หรือ จำนวนโปรตีนหน่วยย่อยของวิสาแบบทรงกลมเป็นเหลี่ยม และ
7. ขนาดของอนุภาควิสา ปริมาณเป็นเปอร์เซ็นต์ของ RNA หรือ DNA ที่เป็นส่วนประกอบ ตลอดจนน้ำหนักโมเลกุลของวิสา และ
8. คุณสมบัติทางฟิสิกส์ เคมี เช่น TIP, LIV, DEP และคุณสมบัติทางเซรุ่มวิทยาของวิสา และ
9. คุณสมบัติทางชีวะวิทยาต่างๆ เซ่นการถ่ายทอดของวิสา ชนิดของแมลงที่เป็นพาหะ โดยเฉพาะอาการโรคที่เกิดกับพืชที่ใช้เป็น indicator
การจำแนกและจัดหมวดหมู่วิสานี้ ได้มีข้อโต้แย้งและถกเถียงกันมานาน จนกระทั่งเป็นที่ยอมรับกัน จากการตกลงกันของ The Plant Virus Subcommittee of the International Committee on Nomenclature of Viruses (Harrison et al 1971) โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าวแล้ว ให้แบ่งวิสาสาเหตุโรคนี้ ออกเป็น 16 กลุ่ม โดยอาศัยลักษณะที่เหมือนและแตกด่างกัน ถึง 56 ลักษณะ ลักษณะที่สำคัญ 8 ลักษณะ ได้ถูกนำมาใช้ เพื่อให้เขียนชื่อวิสาได้สั้นๆ และให้เข้าใจสะดวกต่อการศึกษา ในระบบของ the crytogram ซึ่ง Gibbs et al. (1966) เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยเขียนกำกับในวงเล็บหลังการเรียกชื่อวิสา


ภาพวิสาสาเหตุโรคกลุ่มต่างๆ (ที่มา: Agrios, 1978, และ Sela, et al 1980)
ส่วนที่ 1 แสดงแบบของ nucleic acid (R = RNA, D = DNA) จำนวน strand ของ nucleic acid (1 = single, 2 = double)
ส่วนที่ 2 แสดงน.น.โมเลกุลของ nucleic acid (เป็นล้าน) Nucleic acid ของอนุภาควิสา (%)
ส่วนที่ 3 แสดงรูปร่างของอนุภาควิสา (S = ทรงกลม E = ท่อนยาว U = ท่อนยาวและปลายมนทั้งสองข้าง)/รูปร่างของโปรตีนที่ห่อหุ้ม (S = ทรงกลม E = ท่อนยาว U = ท่อนยาวและปลายมนทั้งสองข้าง)
ส่วนที่ 4 แสดงพืชอาศัย (S = พืชมีเมล็ด/พาหะนำโรค (Ap = เพลี้ยอ่อน Ne = ไส้เดือนฝอย Fu = เชื้อรา Th = เพลี้ยไฟ CI = ด้วงปีกแข็ง Au = เพลี้ยจั๊กจั่น O = ไม่มีพาหะ)
สัญลักษณ์ที่มีเฉพาะวงเล็บ หมายถึง ยังไม่สมบูรณ์หรือยังไม่ได้กำหนดแน่ชัด
สัญลักษณ์ที่มี * ในวงเล็บ หมายถึง ยังไม่ทราบคุณสมบัติ
และในส่วนที่ 2 ที่ประกอบด้วยลักษณะ 2 อย่างหรือมากกว่า โดยมีเครื่องหมาย + กำกับอยู่ แสดงว่า วิสานั้นมีองค์ประกอบ nucleoprotein อยู่ 2 หรือมากกว่า
สัญญลักษณ์ของพาหะ
Ac = ไร    A1 = แมลงหวี่ขาว    Ap = เพลี้ยอ่อน
Au = เพลี้ยจั๊กจั่น, และเพลี้ยกระโดด    Cc = เพลี้ยแป้ง
CI = ด้วงปีกแข็ง    Di = แมลงวัน    Fu = เชื้อรา
Gg = มวน    Ne = ไส้เดือนฝอย    Ps = psylla
Si = หมัด    Th = เพลี้ยไฟ    Ve = พาหะอื่นๆ
ตัวอยาง การเรียกชื่อตามระบบ the cryptogram ของ cucumber mosaic virus ซึ่งมีสัญญลักษณ์ R/1 : 1/18 : S/S:S/Ap หมายถึง CMV นี้ประกอบด้วย nuoleicacid เป็น RNA (R) เป็น single stranded (1) Nucleic acid มี น.น. โมเลกุล 1 ล้าน (1) และ nucleic acid มี 18% ของอนุภาควิสา (18) อนุภาควิสามีรูปร่างกลมหรือเกือบกลม (S) และโปรตีนที่ห่อหุ้มมีลักษณะกลมด้วย (S) พืชอาศัยของวิสาเป็นพืชมีเมล็ดหรือพืชชั้นสูง (S) และวิสาถ่ายทอดได้ด้วยเพลี้ยอ่อน (Ap) เป็นต้น
การควบคุมโรค
การควบคุมโรคพืชที่เกิดจากวิสา จะคล้ายคลึงกับการควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อ สาาเหตุโรคอื่นๆ โดยทั่วไป การใช้สารเคมีควบคุมโรคนับว่ามีน้อยมาก
1. ควบคุมสถานที่เพาะปลูกพืชให้ปราศจากโรค โดยพืชที่ใช้เพาะปลูกจากแหล่งอื่นต้องผ่านการตรวจหรือมีใบรับรองว่าปลอดโรคแล้ว วิธีนี้อาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากพืชนั้นอาจยังไม่แสดงอาการของโรคโดยเชื้อยังอยู่ในระยะฟักตัวอยู่หรือส่วนของพืชที่เป็นโรคไม่มีอาการของโรคให้เห็น เช่น ในเมล็ด หัว และ ต้นตอต่างๆ
2. ทำลายพืชที่เป็นโรคเพื่อกำจัดส่วนที่เป็นเชื้อก่อโรคโดยถอน เผาเสียโดยเร็ว เมื่อพบเท่าที่จะทำได้
3. ทำลายแหล่งที่มีส่วนของเชื้อก่อโรคอาศัยอยู่ โดยกำจัดวัชพืชและพืชอาศัยอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้พืชหลักในฤดูปลูกติดเชื้ออีก วิธีนี้อาจได้ผลดีเฉพาะวิสาที่มีพืชอาศัยน้อยชนิดและใช้กับพืชที่มีอายุนานปี
4. ทำความสะอาดเครื่องใช้ต่างๆ ทางการเกษตร โดยฆ่าเชื้อด้วยความร้อนหรือแช่ในนํ้ายา ไตรโซเดียม ออร์โธฟอสเฟต (trisodium orthophosphate) เข้มข้น 3% และล้างมือด้วยสบู่
5. ใช้ส่วนของพืชที่ปราศจากโรคปลูก หากไม่แน่ใจว่าปลอดโรค ควรแช่ในนํ้าร้อน หรือผ่านไอร้อนแห้งก่อนปลูก เช่นแช่น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50°ซ. โดยมันฝรั่ง ใช้เวลา 10 นาที แต่สำหรับอ้อยใช้เวลา 2-3 ชม. และการอบไอร้อนแห้ง เช่นเมล็ดมะเขือเทศใช้อุณหภูมิ 70°ซ. เป็นเวลา 1-2 วัน เพื่อลดการเกิดโรค TMV เป็นต้น
6. การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (tissue culture) โดยการตัดส่วนปลายของยอดมาเพาะเลี้ยงในอาหารเพื่อให้ปลอดจากวิสาที่อาจติดมากับพืช และการปฏิบัติเพื่อให้แน่นอนยิ่งขึ้น ในการที่ไม่
มีเชื้อติดมากับเนื้อเยื่อส่วนยอดที่นำมาเลี้ยงนั้นนอกเหนือจากที่เลือกตัด จากพืชที่สมบูรณ์และไม่มีอาการของโรคให้เห็นแล้ว ควรนำต้นพืชนั้นเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 35-40 °ซ. เป็นสัปดาห์หรือนานเป็นเดือนก่อนใช้ตัด
การใช้สารเคมีร่วมในการกำจัดเชื้อวิสา โดยใส่ในอาหารที่ใช้เลี้ยง ก็นับว่าได้ผลดี เช่น สารที่เป็นอนุพันธ์ต่างๆ ของ purine และ pyrimidine รวมทั้ง 2-thiouracil, (malachite และ 2, 4-D เป็นต้น
7. การใช้สารที่มีคุณสมบัติต่อต้านและเป็นพิษยับยั้ง กิจกรรมของวิสา ฉีดพ่น
8. กำจัดแมลง พาหะนำโรค
9. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช