ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายนมพร้อมดื่ม


จากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทยปรากฏว่า ผลผลิตนมพร้อมดื่ม ในปี 2533 ยังคงขยายตัวสูงขึ้นจากปี 2532 โดยคาดว่าในปี 2533 จะสามารถผลิตนมพร้อมดื่มได้ทั้งสิ้นประมาณ 140.00 ล้านลิตร เทียบกับ 123.29 ล้านลิตร ที่ผลิตได้ในปี 2532 หรือสูงขึ้นร้อยละ 13.6 แยกเป็นปริมาณการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ 21.00 ล้านลิตร และการผลิตนมสเตอริไลส์และยูเอชที 119.00 ล้านลิตร เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตในปี 2532 แล้ว ผลิตภัณฑ์นมทั้งสองประเภทเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และ 14.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากผลผลิตนํ้านมดิบมีเพิ่มขึ้น และมีผู้ผลิตรายย่อยเพิ่มจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยทั่วไปขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การบริโภคนมพร้อมดื่มขยายตัวมากขึ้นด้วย
ตารางปริมาณการผลิตและจำหน่ายนมพร้อมดื่มในช่วงปี 2526-2533


ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ:1 ประมาณการ 2 คาดการณ์
ต้นทุนการผลิต
ต้นทุนการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ในปี 2531 ขนาด 1,000 ซี.ซี. หรือ 1 ลิตร เท่ากับ 15.62 บาท ส่วนต้นทุนการผลิตนมสเตอริไลส์และยูเอชทีในปี 2531 ขนาดบรรจุ 1 ลิตร เท่ากันจะมีต้นทุนการผลิตรวม 15.08 บาท/ลิตร
ตารางต้นทุนการผลิตนมพร้อมดื่มในปี 2531
(ขนาด 1,000 ซี.ซี. หรือ 1 ลิตร)


ที่มา : สอบถามจากผู้ผลิตบางราย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ราคาจำหน่าย
ราคาจำหน่ายปลีกนมพร้อมดื่มในปี 2532 ส่วนใหญ่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากระดับราคาเมื่อปี 2531 ยกเว้นนมพาสเจอร์ไรซ์ชนิดบรรจุถุงที่ผู้ผลิตได้ปรับราคาจำหน่ายปลีกสูงขึ้นร้อยละ 14.3-16.7 โดยขนาดบรรจุ 200 ซี.ซี. ราคาเพิ่มขึ้นจาก 3.00 บาท/ถุง เป็น 3.50 บาท/ ถุง และขนาดบรรจุ 225 ซี.ซี. ราคาเพิ่มขึ้นจาก 3.50 บาท/ ถุง เป็น
4.00 บาท/ถุง ส่วนนมพาสเจอร์ไรซ์ชนิดบรรจุขวด ขนาด 946 ซี.ซี. และ 1,000 ซี.ซี. ราคายังคงเท่ากับ 23 บาท/ ขวด และ 25 บาท/ ขวด ตามลำดับ สำหรับราคาจำหน่ายปลีกนมสดสเตอริไลส์และยูเอชทีในปี 2532 ขนาดบรรจุ 200, 250 และ 1,000 ซี.ซี. ยังคงเท่ากับ 5.50 บาท/ กล่อง 6.00 บาท/ กล่อง และ 19.00-20.00 บาท/ กล่องตามลำดับ
ตารางราคาจำหน่ายนมพร้อมดื่มในปี 2532


ที่มา : จากผู้ผลิต
ธนาคารแห่งประเทศไทย
การค้ากับต่างประเทศ
เนื่องจากปริมาณการผลิตนมพร้อมดื่มในประเทศได้เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ กอปรกับกระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศควบคุมและกำหนดเงื่อนไขการนำเข้านมพร้อมดื่ม ตั้งแต่ปี 2526 กล่าวคือ กำหนดให้นมสด นมปรุงแต่ง และหางนมผง เป็นสินค้าที่อยู่ในข่ายควบคุมการนำเข้า และกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องรับซื้อนํ้านมดิบภายในประเทศด้วย ทั้งนี้จะอนุญาตให้นำเข้านมพร้อมดื่มจากต่างประเทศในอัตรา 1 : 2 โดยนํ้าหนักของปริมาณนํ้านมดิบที่รับซื้อภายในประเทศ และอนุญาตให้นำเข้าหางนมผงจากต่างประเทศ ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตนมพร้อมดื่มในอัตรา 1 : 20 โดยน้ำหนักของปริมาณนํ้านมดิบที่รับซื้อจากในประเทศ นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้โรงงานผลิตนมพร้อมดื่มของ เอกชนที่จะขออนุญาตตั้งและ/ หรือขยายโรงงาน หรือต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตนมพร้อมดื่ม จะต้องใช้นํ้านมดิบภายในประเทศอย่างน้อย 1 ส่วนต่อนํ้านมคืนรูป 1 ส่วน และให้เพิ่มปริมาณการใช้นํ้านมดิบในประเทศในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี จากกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ทำให้ปริมาณการนำเข้านมพร้อมดื่มจากต่างประเทศลดน้อยลงตามลำดับ
ตารางปริมาณและมูลค่าการนำเข้านมพร้อมดื่ม


ที่มา:กรมศุลกากร
หมายเหตุ:ปี 2532 ตัวเลขเบื้องต้น
ตารางปริมาณและมูลค่าการส่งออกนมพร้อมดื่ม


ส่วนการส่งออกนมพร้อมดื่มนั้นก่อนปี 2529 มีการส่งออกน้อยมากเนื่องจากปริมาณการผลิตยังไม่มาก การผลิตส่วนใหญ่จึงมุ่งที่จะสนองความต้องการภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่หลังจากการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมและการรณรงค์ให้มีการดื่มนม ทำให้ตลาดนมพร้อมดื่มขยายตัวอย่างมากทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศการส่งออกนมพร้อมดื่มจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้ว่าในปี 2532 การส่งออกลดลงอย่างมาก ก็เนื่องจากมีการนำนํ้านมดิบไปผลิตนมผงมากขึ้น ตลาดส่งออกนมพร้อมดื่มที่สำคัญ คือ ลาวและสิงคโปร์
ข้อมูลจำเพาะรายบริษัท
-องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) พื้นที่ทำฟาร์ม ของ อสค. 3,012 ไร่ มีโคพันธุ์นมอยู่ในความรับผิดชอบเฉพาะที่สำนักงานใหญ่ประมาณ 1,200-1,300 ตัว โรงงานผลิตภัณฑ์นม 3 โรงงาน คือ ที่สำนักงานใหญ่ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี รับซื้อนํ้านมดิบของ อสค. ในภาคกลางทั้งหมด ที่อำเภอปราณบุรี จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ รับซื้อน้ำนมดิบของ อสค. ในภาคใต้ทั้งหมด ทั้งสองโรงงานมีกำลังการผลิต 60 ตันต่อวัน และโรงงานนมเชียงใหม่ที่ห้วยแก้วซึ่งจะรับซื้อนํ้านมดิบของ อสค. ในเขตภาคเหนือทั้งหมดกำลังผลิต 10 ตันต่อวัน อสค. จัดตั้งศูนย์รับซื้อนํ้านมดิบไว้ตามพื้นที่ที่มีการเลี้ยงโคนมกันมากๆ ดังนี้
-ภาคกลางมีอยู่ 8 ศูนย์ คือ ศูนย์มวกเหล็ก ศูนย์วิหารแดง และศูนย์ซับกระดาน จังหวัดสระบุรี ศูนย์พัฒนานิคม ศูนย์หนองม่วง ศูนย์พุทธบาท และศูนย์ลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี และศูนย์ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
-ภาคใต้มีอยู่ 7 ศูนย์ คือ ศูนย์ชะอำ ศูนย์ห้วยสัตว์ใหญ่และศูนย์เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ศูนย์เนินดินแดง ศูนย์ปราณบุรี ศูนย์อ่าวน้อย และศูนย์กุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
-ภาคเหนือมีอยู่ 3 ศูนย์ คือ ศูนย์ห้วยแก้ว ศูนย์ออนหลวง และศูนย์สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
นมพร้อมดื่มที่ทาง อสค. ผลิตออกวางจำหน่ายได้แก่ นมพาสเจอร์ไรซ์ ผลิตจำหน่าย 3 รสด้วยกัน คือ รสจืด รสหวาน และรสช็อกโกเลต บรรจุถุงโพลีเอททีลีน ซึ่งสามารถป้องกันแสงที่จะทำลายคุณภาพของนํ้านมได้ ผลิตออกวางจำหน่าย 2 ขนาด คือ 225 ซี.ซี. และ 1,000 ซี.ซี. นมผูเอชทีผลิตออกวางจำหน่าย 4 รส คือ รสจืด รสหวาน รสช็อกโกเลต และรสสตรอเบอร์รี่ โดยผลิต 3 ขนาด คือ 200 ซี.ซี. 250 ซี.ซี. และ 1,000 ซี.ซี.
อสค. มีโครงการร่วมกับโครงการอีสานเขียว โดยจะเข้าไปส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์ เลี้ยงโคนมประมาณ 1,000 ตัว ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรขอรับไปเลี้ยงโดยผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เฉลี่ยแล้วจะได้ครอบครัวละ 5 ตัว รวมทั้งมีโครงการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ร่วมทุนกับเดนมาร์ก นอกจากนี้ อสค. มีโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมอีก 2 โครงการ ได้แก่
-โครงการแรกเป็นโครงการร่วมกับ ธกส. บริษั’ทไทย-ออสเตรเลียนอาร์ติฟิเซียล บรีดดิ้ง จำกัด กรมปศุสัตว์ และสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จัดทำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมที่เขตปฏิรูปที่ดินอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี อำเภอพัฒนานิคมจังหวัดลพบุรี ตามเป้าหมายจะรับเกษตรกร 100 ราย โดยบริษัทอำเภอพัฒนานิคมจังหวัดลพบุรี ตามเป้าหมายจะรับเกษตรกร 100 ราย โดยบริษัทไทย-
ออสเตรเลียนฯ จะเป็นผู้จัดหาแม่พันธุ์โคนมลูกผสมซาฮิวาล โฮลสไตน์ จากนิวซีแลนด์ อสค. จะเป็นผู้รับซื้อนํ้านมดิบกลับคืนในราคาประกันขั้นตํ่ากิโลกรัมละ 6 บาทขึ้นไป โดย ธกส. จะเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อให้เกษตรกรรายละประมาณ 2.4 แสนบาท รวมเป็นเงินทั้ง 24 ล้านบาท
-โครงการที่สอง อสค. ร่วมกับ ธกส. กรมป่าไม้กรมปศุสัตว์และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในเขตนิคมสหกรณ์บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป้าหมายจะรับเกษตรกร 70 ราย เลี้ยงโคนมคนละ 5 ตัว แม่พันธุ์โคนมที่ใช้ในโครงการนี้ ธกส. เป็นผู้จัดมาให้จำนวน 350 ตัว ขายให้เกษตรกรตัวละ 3.2 หมื่นบาท และจะเป็นรถผู้ปล่อยกู้ให้เกษตรกรรายละประมาณ 2.4 แสนบาท รวมเป็นเงินปล่อยสินเชื่อ 16.8 ล้านบาท ส่วน อสค. จะทำหน้าฝึกอบรมเกษตรกรและบริการผสมเทียม นอกจากนี้นํ้านมดิบที่ผลิตได้สหกรณ์โคนมบางสะพานจะเป็นผู้รับซื้อและจ่ายหนี้คืนให้ ธกส. ไป
นอกจากนี้องค์การพัฒนาระหว่างชาติเดนนิช (DANIDA) จากประเทศเดนมาร์กส่งคณะผู้แทนเข้ามาศึกษาหารูปแบบช่วยเหลือ อสค. รวมถึงความเป็นไปได้กับการร่วมทุนกับเอกชน ซึ่ง อสค. ขอความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจาก DANIDA ทั้งหมด 8 โครงการโดยเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนม 3 โครงการคือ โครงการตั้งศูนย์ฝึกอบรม และแปรรูปนมที่เชียงใหม่ โครงการพัฒนาโคนมของ ธกส. และโครงการสร้างโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์นม และศูนย์รวบรวมนํ้านมดิบที่จังหวัดขอนแก่น
-บริษัทโฟร์โมสต์ฟรีสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นหน่วยงานของบริษัทโฟร์โมสต์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งก่อดตั้งมาตั้งแต่ปี 2499 มีบริษัทแม่ คือ บริษัn สหกรณ์ฟรีสแลนด์ จำกัด หรือ ซีซีฟรีสแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นกลุ่มสหกรณ์เลี้ยงโคนมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มของบริษัทมีหลายยี่ห้อ ได้แก่ นมพาสเจอร์ไรซ์ ตราโฟร์โมสต์ ตราฟาร์มเฟรช และตราบลูซีล นมสดยูเอชทีตราโฟร์โมสต์ และตราคิดตี้ รับซื้อน้ำนมดิบจากองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) และสหกรณ์โคนมอื่นๆ อีกประมาณ 10 แห่ง เช่น สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมปากช่อง สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมวังนํ้าเย็น จังหวัดปราจีนบุรี สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น
โฟร์โมสต์เริ่มผลิตนมสดพาสเจอร์ไรซ์บรรจุขวดแก้ว ขายแบบคืนขวด การส่งเสริมการขายช่วงแรกแจกให้เด็กชิมฟรี โดยเน้นการแจกอย่างเดียวถึง 1 ล้านขวด โดยถือเป็นของขวัญจากชาวอเมริกันถึงคนไทย เมื่อแจกครบแล้วจึงเริ่มวางขาย เจาะเข้าตลาดตามโรงเรียน และส่งให้สมาชิกด้วย ในปี 2510 เปลี่ยนหีบห่อจากขวดแก้วเป็นกล่องเนื่องจากตลาดขยายไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว การใช้ขวดแก้วบรรจุจึงค่อนข้างมีปัญหาจากการแตกเสียหาย และขวดที่คืนจะต้องนำมาล้างเพื่อบรรจุใหม่ ถ้าล้างขวดไม่สะอาด ทำให้นมบูดได้ง่าย
ในสมัยแรกๆ เน้นการกระจายสินค้าในกรุงเทพฯ รถส่งผลิตภัณฑ์เป็นเพียงรถตู้เย็น มีหน่วยสามล้อเช่ามาช่วยเสริมการขายโดยใช้เกลือและนํ้าแข็งในการเก็บความเย็นให้กับสินค้า ทางด้านร้านค้า ในขั้นเริ่มแรกจะให้ยืมตู้เย็นเพื่อแช่สินค้า ในปี 2513 เริ่มกระจายสินค้าไปยังจังหวัดใกล้เคียง และเริ่มตั้งศูนย์จำหน่ายโดยใช้ตู้เย็นขนาดใหญ่ ไปตั้งไว้ เช่นที่เชียงใหม่ หาดใหญ่ และขอนแก่น ในปี 2517 จึงกระจายสินค้าทั่วประเทศ
การกระจายสินค้าในปัจจุบัน นอกจากรถตู้เคลื่อนที่ขนาดใหญ่มากกว่า 70 คัน การเจาะวางสินค้าตามร้านค้า ภัตตาคาร โรงแรม และโรงเรียนแล้ว ยังมีรถเข็นโดยใช้พนักงานผู้หญิงเป็นพนักงานขายเจาะตลาดตามสถานที่ทำงาน บ้านพักอาศัย โดยเน้นการขายตรง หรือการบอกรับเป็นสมาชิก เริ่มทดลองกลยุทธ์นี้ในเดือนกรกฎาคม 2530 นอกจากนี้ ตั้งศูนย์จำหน่ายโฟร์โมสต์ตามสถานที่ต่างๆ เป็นสาขาเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ 12 แห่ง สาขาในต่างจังหวัด 8 แห่ง คือ ที่เชียงใหม่ ขอนแก่น หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา พัทยา ราชบุรี และนครสวรรค์
ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มภายใต้ยี่ห้อโฟร์โมสต์กำลังมาแรงเพราะอาศัยฐานชื่อเสียง แข็งแกร่งของไอศกรีมซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ยอมรับ ตลาดเป้าหมายจะเป็นกลุ่มวัยรุ่น โดยจะสังเกตเห็นได้จากทั้งสีสันและรูปแบบของกล่อง รวมทั้งการพัฒนารสชาติใหม่ ไม่ว่าจะเป็นรสลิ้นจี่ เอ็กน็อก (EGG NOG) ซึ่งเป็นเครื่องดื่มสำหรับเฉลิมฉลองในเทศกาล
รื่นเริง ผลิตภัณฑ์ประเภทพร่องไขมันหรือที่รู้จักกันอย่างดีภายใต้ชื่อโลว์แฟต เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรักษารูปร่างทรวดทรง ตลอดจนการเจาะตลาดเด็กโดยออกยี่ห้อคิดตี้ที่ลดขนาดปริมาณบรรจุลงเพื่อให้พออิ่มสำหรับเด็ก ทั้งนี้เพื่อขยายตลาดเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
บริษัทโชคชัยแดรี่ฟาร์ม จำกัด มีฟาร์มโคนมของบริษัทเองผลิตนํ้านมดิบได้ประมาณวันละ 40 ตัน ปัจจุบันนำมาผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์และนมยูเอชทีอย่างละ 10 ตัน บริษัทรับผิดชอบในการตลาดของนมพาสเจอร์ไรซ์ ส่วนนมยูเอชทีซึ่งเริ่มวางตลาดราวเดือนสิงหาคม 2532 มอบให้บริษัทพรีเมียร์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัทโอสถสภา (เต็กเฮงหยู) จำกัด เป็นตัวแทนจัดจำหน่าย
การเข้าสู่ยุทธจักรผู้ผลิตนมพร้อมดื่มเริ่มจากการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ประสบความสำเร็จอย่างมาก ยอดจำหน่ายสูงถึงวันละ 28,000 ลิตร แม้ว่าราคาจะแพงกว่าคู่แข่งอยู่ถึงร้อยละ 10 แต่ก็อาศัยกลยุทธ์ครองตลาดโดยการขายตรงหรือระบบสมาชิก ปัจจุบันมียอดสมาชิกสูงถึงประมาณ 40,000 ราย คิดเป็นร้อยละ 50 ของยอดขายนมพาสเจอร์ไรซ์ การเริ่มหันมาผลิตนมยูเอชทีก็เริ่มกลยุทธ์การตลาดโดยอาศัยชื่อเสียงที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคของนมพาสเจอร์ไรซ์
กลยุทธ์ทางการตลาดขยายตลาดเป้าหมายเข้าสู่สถาบันการศึกษาโดยเชื่อว่าเป็นจุดสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์ เป็นจุดขายในโรงเรียนชั้นนำที่มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 2,000 คนขึ้นไป ซึ่งการลงทุนในจุดขายแต่ละแห่งจะลงทุนไม่น้อยกว่า 30,000 บาท กลยุทธ์นี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก ยอดจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70 ของยอดขายนมพาสเจอร์ไรซ์ นอกจากนี้ยังมีจุดขายของบริษัทเองในห้างสรรพสินค้า ซึ่งในปัจจุบันเฉพาะในกรุงเทพฯ มีถึง 20 จุด โดยนโยบายของบริษัทเชื่อว่าการลงทุนในแต่ละจุดขายแล้วขายเป็นถ้วยคุ้มค่ากว่าการผลิตขนาดบรรจุขวดเล็ก
บริษัทตั้งศูนย์กลางส่งสินค้าทั่วกรุงเทพฯ 9 แห่ง คือ มาบุญครอง บางนา หัวหมาก ปิ่นเกล้า ราษฎร์บูรณะ รังสิต ปากเกร็ด สาธุประดิษฐ์ และพุทธมณฑล ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์นมของบริษัทมุ่งเจาะตลาดกรุงเทพฯ เป็นหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายถึงร้อยละ 70-80 นอกจากนี้ก็มีกิจกรรมกระตุ้นการขายเป็นครั้งคราว
ปัจจุบันฟาร์มโชคชัยผลิตน้ำนมดิบได้เองประมาณร้อยละ 85 ส่วนอีกร้อยละ 15 รับซื้อจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกหรืออยู่ในเขตใกล้เคียง มีโครงการขยายกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์นมเป็น 100,000 ลิตร คาดว่าจะรับซื้อนํ้านมดิบจากเกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40-50 นอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในเขตนิคมสร้างตนเอง ลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา โดยที่บริษัทโชคชัยแดรี่ฟาร์ม จำกัด รับผิดชอบในด้านการตลาด รูปแบบการเลี้ยงในขั้นเริ่มแรกกำหนดให้สมาชิกเริ่มเลี้ยงโคนมครอบครัวละ 5 ตัว
-บริษัทอุตสาหกรรมนมไทย จำกัด เริ่มก่อตั้งบริษัทตั้งแต่ปี 2505 โดยนักธุรกิจชาวไทย มาเลเซีย และออสเตรเลียน แดริโปรดิวส์บอร์ด (ปัจจุบัน คือ ออสเตรเลียน แดริคอร์ปอเรชั่น) เริ่มผลิตนมข้นหวานตรามะลิ นมข้นจืดหรือนมระเหยนํ้าตรามะลิ เพิ่งจะผลิตนมยูเอชทีตรามะลิในปี 2523 โดยครั้งแรกจำหน่ายรสจืดและรสหวาน ขนาดบรรจุ 250 ซี.ซี. ต่อมาเพิ่มรสโกโก้ รสสตรอเบอร์รี่ รสกาแฟ รสวนิลา และรสฮันนี้ดิวหรือแตงฝรั่ง รวมทั้งขนาดบรรจุ 200 ซี.ซี. มี 2 รส คือ รสหวานและรสช็อกโกเลต
ปัจจุบันรับนํ้านมดิบจากองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 รับซื้อจากสหกรณ์โคนมอีก 2 แห่ง คือ สหกรณ์โคนมกำแพงแสนและสหกรณ์โคนมนครปฐม
กลยุทธ์การตลาดของบริษัทเริ่มจากการติดตั้งตู้แช่อัตโนมัติเป็นรายแรกของประเทศไทย ตามศูนย์การค้า สถานศึกษา สถานพยาบาลและแหล่งชุมชนทั่วไป เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภค หลังจากนั้นจึงเริ่มเจาะขยายตลาดโดยวางจำหน่ายนมยูเอชทีขนาดบรรจุ 1 ลิตรในเดือนมีนาคม 2531 เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมดื่มนมมากขึ้น และเหมาะสำหรับการบริโภคกันทั้งครอบครัวมี 3 รส คือ รสจืด รสหวาน และรสโกโก้ นอกจากนี้ยังเพิ่มผลิตกัณฑ์ใหม่นมยูเอชทีโลว์แฟตตรามะลิ และต่อมาวางจำหน่ายนมยูเอชทีในกล่องทรงสูง ขนาดบรรจุ 200 ซี.ซี. เป็นรายแรก รวมทั้งล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2532 วางจำหน่ายนมสดสเตอริไลส์ตราออร์คิดโดยอาศัยฐานชื่อเสียงของเนยออร์คิดที่ผู้บริโภครู้จักและยอมรับในสินค้า โดยวางแข่งขันกับนมสเตอริไลส์ตราหมีซึ่งเป็นจ้าวตลาดเจ้าแรกและครองตลาดมาเป็นเวลานาน หลังนมสดสเตอริไลส์แล้วก็ออกวางจำหน่ายนมสดพาสเจอร์ไรซ์ตราออร์คิด บรรจุในขวดพลาสติกขนาด 500 ซี.ซี. และ 1 ลิตร กลยุทธ์การวางตลาดในช่วงแรกใช้การซื้อ 1 แถม 1
-บริษัทยูไนเต็ดแดรี่ฟาร์ม จำกัด เป็นบริษัทในเครือของบริษัท กิมจั๊วพาณิชย์ จำกัด จัดจำหน่ายนมสดตรา “อิมพีเรียล” มีฟาร์มโคนมของบริษัทอยู่ที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันมีแม่โคประมาณ 300 ตัว ผลิตนํ้านมดิบได้วันละกว่า     1 ตัน อย่างไรก็ตาม ยังต้องซ้อน้ำนมดิบจากองค์การส่งเสริมกิจการโคนมฯ อีกวันละ 3-5 ตัน ในปี 2533 มีโครงการเพิ่มจำนวนโคนมเป็น 500 ตัว ขยายพื้นที่ฟาร์มเลี้ยงโคนมจาก 500 ไร่เป็น 1,000 ไร่ ภายในระยะเวลา 2 ปี ทั้งนี้เพื่อเสริมแผนการขยายการผลิตผลิตภัณฑ์นม โดยเป้าหมายทางการตลาดของปีนี้คาดว่าจะเติบโตขึ้นอีกประมาณร้อยละ 8 สำหรับแผนที่จะเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้ครอบคลุมตลาดมากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มยอดขายจากการขายตรงเป้าหมายจะหาสมาชิกเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 จากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 3,000 ราย นอกจากนี้ยังเน้นการจำหน่ายผ่านร้านค้า โดยจะมีตู้แช่สำหรับติดตั้งให้กับร้านค้าที่อยู่ในจุดขายหลักๆ รวมทั้งขยายตลาดออกต่างจังหวัด เริ่มจากภาคใต้ก่อน โดยการตั้งตัวแทนจำหน่ายในภาคใต้ 6 จังหวัด หลังจากนั้นจึงเริ่มขยายไปภาคตะวันออก
-โรงงานผลิตนมสดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดจำหน่าย
“นมสดเกษตร” เปิดตลาดแบบขายส่งถึงบ้านมานานกว่า 25 ปีแล้ว นับเป็นโรงงานผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์แห่งแรกของประเทศไทยภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลออสเตรเลีย จุดประสงค์ของการตั้งโรงงานผลิตภัณฑ์นมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อเป็นสถานที่และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนของนิสิตในมหาวิทยาลัย การทำวิทยานิพนธ์ ตลอดจนการวิจัยของคณะอาจารย์ รับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกไปส่งเสริมบริเวณรอบๆ กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ปริมาณนมสดที่ผลิตได้แต่ละวันประมาณ 20,000 ซี.ซี. โดยผลิตเป็นนมพาสเจอร์ไรซ์
บรรจุกล่องสามเหลี่ยมและถุงพลาสติก ทั้งชนิดรสจืด รสหวาน รสช็อกโกเลต
ระบบการจัดจำหน่าย ไม่ได้มีการโฆษณาหรือทำเป็นรูปแบบธุรกิจเพื่อแข่งขันกับนมสดยี่ห้อต่างๆ ที่วางจำหน่ายในตลาด ดังนั้น จึงมีวางจำหน่ายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และส่งถึงบ้านเฉพาะลูกค้าที่เป็นสมาชิก รวมทั้งเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายโดยจัดซื้อตู้แช่ไปตั้งตามย่านชุมชน บริการส่งไปตามโรงเรียนต่างๆ และเข้าไปจำหน่ายในสถานที่ทำงานทั่วๆ ไป
-บริษัทเดนนิชแดรี่อินดัสตรี จำกัด ร่วมทุนระหว่างไทย (ร้อยละ 56) และเดนมาร์ก (ร้อยละ 44) ผลิตนมพร้อมดื่มยี่ห้อ “แดนมิลล์” มีฟาร์มโคนมอยู่ที่อำเภอ มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เนื้อที่ 400 ไร่ โคนมจำนวน 500 ตัว นมพร้อมดื่มที่จัดจำหน่าย มี 6 รส คือ รสจืดหรือรสธรรมชาติ รสช็อกโกเลต รสสตรอเบอร์รี่ รสหวาน โลว์แฟต และวิปปิ้งครีม บรรจุ 3 ขนาด คือ 200 ซี.ซี. 473 ซี.ซี. และ 964 ซี.ซี. วางตลาดตามห้างสรรพสินค้าและซุปฟอร์มาร์เก็ตทั่วๆ ไป รวมทั้งระบบขายตรงให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันวางจำหน่ายเฉพาะกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง เน้นราคาที่ตํ่ากว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขนาดบรรจุ 473 ซี.ซี. และ 964 ซี.ซี.
โครงการของบริษัท เตรียมขยายตลาดโดยระบบขายตรงไปตามโรงเรียนและบริษัทต่างๆ และเตรียมวางแผนขยายตลาดให้กว้างขึ้นโดยขยายบริเวณจังหวัดใกล้ๆ ก่อน ส่วนในระยะยาวจึงจะขยายไปยังจังหวัดไกลๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต เนื่องจากยังมีข้อจำกัดว่านมพาสเจอร์ไรซ์อายุสั้น เก็บรักษาลำบาก โครงการขยายผลิตภัณฑ์นมเพื่อผลิตนมเปรี้ยว เนยแข็ง เนย และฮาล์ฟครีม ซึ่งเน้นเจาะกลุ่มเป้าหมาย คือ โรงแรม เพื่อใช้ผสมกับกาแฟ หรือเป็นส่วนผสมในการทำขนม
-บริษัทแอ็กมิลล์ จำกัด ก่อตั้งปี 2530 บนเนื้อที่ 10 ไร่ ตำบลโนนท่อน จังหวัดขอนแก่น ผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ออกสู่ตลาดในวันที่ 1 มกราคม 2531 โดยรวบรวม น้ำนมดิบจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 80 ราย เป็นเกษตรกรที่เลี้ยงโคนมอยู่แล้ว 50 ราย ที่เหลือเป็นเกษตรกรรายใหม่ ราคารับซื้อน้ำนมดิบจากสมาชิกกิโลกรัมละ
บาท โดยไม่มีการวัดไขมันเนย นับว่าเป็นราคาที่สูงที่สุดในขณะนี้ ต้นทุนการผลิตนมพร้อมดื่มประมาณกิโลกรัมละ 3.50 บาท ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีรายได้ครอบครัวละ 3,000 บาท/เดือน กำลังการผลิตเต็มที่วันละ 4 ตัน มีนํ้านมดิบส่งเข้าโรงงานวันละ 1.5 ตัน วางจำหน่ายนมพาสเจอร์ไรซ์ชนิดถุงขนาดบรรจุ 200 ซี.ซี. และบรรจุขวด
โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมของบริษัท ได้แก่ โครงการเลี้ยงโคนมในเขตชลประทาน โดยการซื้อโคพันธุ์ซาฮีวาล-ฟรีเชี่ยน ซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เป็นตัวแทนเกษตรกรนำเข้าให้จากนิวซีแลนด์รายละ 5 ตัว โครงการเกษตรกรก้าวหน้าเป็นโครงการคัดนักศึกษาที่จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มาฝึกอบรมในการเลี้ยงโคนม และโครงการ ร่วมกับโครงการอีสานเขียวอบรมสมาชิก 50 ราย ให้เลี้ยงโคนมได้รายละ 50 ตัว นอกจากนี้ ยังมีโครงการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เขตเขื่อนอุบลรัตน์ ที่ได้ทำการเลี้ยงอยู่แล้วประมาณ 20 ราย และที่โครงการบ้านเขา จังหวัดมหาสารคามอีก 19 ราย
สำหรับโครงการขยายตลาดไปสู่จังหวัดอื่นๆ เช่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ สกลนคร อุบลราชธานี รวมทั้งกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ขยายการผลิตนมพร้อมดื่มประเภทยูเอชที หรือสเตอริไลส์ แต่ต้องรอกำลังการผลิตของเกษตรกรสมาชิกให้มีเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 5-10 ตันด้วย
-บริษัทเนสท์เล่ (บระเทศไทย) จำกัด เป็นผู้บุกเบิกตลาดนมสเตอริไลส์ ตราหมีครองตลาดแต่เพียงผู้เดียวมาเป็นเวลากว่า 15 ปี โดยออกผลิตภัณฑ์ 2 ขนาด คือ 145 ซี.ซี. และ 370 ซี.ซี. ปัจจุบันเริ่มขยับฐานเข้าไปในตลาดนมยูเอชทีด้วย โดยวางจำหน่ายนมยูเอชทีตราเนสท์เล่
ออกวางจำหน่ายด้วย อาศัยฐานชื่อเสียงของนมสเตอริไลส์ ตราหมีและผลิตภัณฑ์นมต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในตลาดรับซื้อนํ้านมดิบจากองค์การส่งเสริมกิจการโคนม และสหกรณ์โคนมหนองโพ ราชบุรี ผู้แทนจำหน่าย คือ บริษัท เนสท์เล่โปรดักซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
-สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด รับซื้อนํ้านมดิบจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกเฉลี่ยวันละ 120 ตัน นํ้านมดิบส่วนหนึ่งจำหน่ายให้แก่บริษัทเนสท์เล่ สหกรณ์โคนมนครปฐม โรงโคนมสวนจิตรลดา โรงงานนมสดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และโรงงานโคนมหมู่บ้านซอนต้าในราคากิโลกรัมละ 7 บาท จัดจำหน่ายนมพาสเจอร์ไรซ์
เอง แต่นมยูเอชทีนั้น บริษัทธนากรเทรดดิ้ง จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่าย กลยุทธ์การตลาดที่ประสบผลสำเร็จอย่างมากของค่ายหนองโพ คือ การแจกทุนการศึกษาที่มีแคมเปญว่าลูกโคเพื่อลูกคุณ โดยจัดครั้งแรกในปี 2531 และปีนี้ก็มีการจัดอีกเป็นครั้งที่สอง การเจาะตลาดลักษณะนี้ส่งผลให้ชื่อเสียงของหนองโพเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ปัจจุบันสหกรณ์โคนมหนองโพฯ มีสมาชิกประมาณ 3,500 ราย มีการเลี้ยงโคนมประมาณ 26,000 ตัว และมีนํ้านมดิบวันละประมาณ 120 ตัน ซึ่งทางโรงงานก็ได้ใช้ในการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ ยูเอชที และนมเปรี้ยว และขณะนี้ประสบปัญหานํ้านมดิบมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งค่ายหนองโพจึงแก้ไขปัญหาโดยการขยับราคานํ้านมดิบให้สูงขึ้นจากเดิมราคาลิตรละ 7 บาท เป็นลิตรละ 7.25 บาท เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงโคนมกันมากขึ้น
-บริษัทอุตสาหกรรมโคนมมวกเหล็ก จำกัด เกษตรกรประมาณ 400 ฟาร์มในเขตอำเภอมวกเหล็กร่วมกันจัดตั้งขึ้น ผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์และนมยูเอชที กำลังการผลิตประมาณ 300 ตัน/ เดือน แต่มีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 900 ตัน/เดือน เดิมวางจำหน่ายในชื่อยี่ห้อ “ฟาร์มมวกเหล็ก” ลักษณะการขายเป็นการขายตรง เฉพาะสมาชิกจึงยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วไป ต่อมาในระยะต้นเดือนมิถุนายน 2533 เปลี่ยนยี่ห้อใหม่เป็น “แมกซ์มิลล์” ซึ่งเรียกสะดวกและจดจำได้ง่ายกว่า การวางตลาดในครั้งใหม่ ตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาดไว้ร้อยละ 3.5 ผู้แทนจำหน่าย คือ บริษัท ส่วนผาเมืองแดรี่ฟาร์ม จำกัด นมพร้อมดื่มที่วางจำหน่ายมี 4 รส คือ รสธรรมชาติ รสโกโก้ รสสตรอเบอร์รี่ และรสหวาน ขนาดบรรจุ 1,000 ซี.ซี. และ 500 ซี.ซี. ส่วนขนาดบรรจุ 250 ซี.ซี. และ 123 ซี.ซี. จะวางตลาดภายหลัง
ช่องทางทางการตลาดช่วงแนะนำ แจกนมพาสเจอร์ไรซ์ขนาดบรรจุ 500 ซี.ซี. ให้กับผู้บริโภคที่ซื้อนมขนาด 1,000 ซี.ซี. เน้นตลาดที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้นจึงเริ่มกระจายสินค้าไปต่างจังหวัดโดยเริ่มบุกตลาดทางภาคใต้ ตั้งศูนย์กลางจำหน่ายนมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังจากนั้นขยายไปยังภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่และนครสวรรค์
กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเน้นการดื่มนมในลักษณะการดื่มนมทั้งครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มแม่บ้าน จึงเน้นที่จะวางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก ส่วนขนาดบรรจุ 250 ซี.ซี. และ 123 ซี.ซี. ที่จะออกวางจำหน่ายภายหลังจะเน้นตลาดโรงเรียนเป็นหลัก
โครงการในอนาคต จะผลิตนมยูเอชทีและนมสเตอริไลส์ โดยกำลังพิจารณาว่าจะนำเข้าเครื่องจักรจากประเทศเดนมาร์กหรือนิวซีแลนด์ ซึ่งการผลิตนมพร้อมดื่มเพิ่มขึ้นอีก 2 ชนิดนี้จะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น 30-40 ล้านบาท รวมทั้งมีโครงการจะผลิตเนยด้วย นอกจากนี้ มีโครงการจะผลิตนมบรรจุถุงเพื่อรองรับลูกค้าในระดับล่าง โดยจะเริ่มวางจำหน่ายในปี 2534 หรือปี 2535 รวมทั้งผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์รสจืดขนาด 5 ลิตร ออกจำหน่าย
-บริษัทซีพี-เมจิ จำกัด เป็นบริษัทในเครือของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด โดยเป็นการร่วมลงทุนระหว่าง บริษัทซีพีเกษตรอุตสาหกรรม กับ บริษัทเมจิ มิลค์โปรดักส์ จำกัด ของประเทศญี่ปุ่น ผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ ยี่ห้อ “เมจิ” กำลังการผลิตประมาณ 30,000 ตัน/ปี นมพร้อมดื่มที่วางจำหน่ายมี 4 รส คือ รสธรรมชาติ รสหวาน รสโกโก้ และรสสตรอเบอร์รี่ ขนาดบรรจุ 830 ซี.ซี. 450 ซี.ซี. และ 200 ซี.ซี. สำหรับวัตถุดิบคือนํ้านมดิบนั้นรับซื้อจาก 3 แหล่ง คือ สหกรณ์โคนมชัยบาดาล บริษัท อุตสาหกรรมนมมวกเหล็ก และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
กลยุทธ์ทางการตลาด เน้นการกระจายสินค้าในเวลาอันรวดเร็ว โดยการสร้างห้องเย็นขนาดใหญในเขตมีนบุรีเพื่อเป็นศูนย์พักสินค้า โดยจะเป็นตัวเชื่อมรับสินค้าจากโรงงานที่สระบุรี แล้วกระจายออกไป 2 ทาง กล่าวคือ ช่องทางแรกผ่านทีมขายและรถขนส่งสินค้าส่งตรงถึงลูกค้าหลักที่มีปริมาณการสั่งซื้อครั้งละมากๆ ส่วนอีกช่องทางหนึ่งจะแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายสำหรับต่างจังหวัดไว้ภาคละ 4-5 ราย ซึ่งการจำหน่ายจะทำผ่านตัวแทนจำหน่ายที่ตั้งไว้นี้เพื่อบริการส่งนมให้กับร้านค้าย่อย ลูกค้าตามบ้าน โรงเรียน และสถานที่ทำงาน โดยลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือลูกค้าระดับบนผู้มีรายได้สูงและปานกลาง เน้นความแตกต่างในขนาดบรรจุเพื่อตอบสนองลูกค้าได้มากขึ้น
โครงการในอนาคต บริษัทมีโครงการจะผลิตนมยูเอชที รวมทั้งจะทดลองเลี้ยงโคนมโดยได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศทั้งยุโรปและญี่ปุ่น ในฟาร์มทดลองขนาด 50 ไร่ โดยทดลองเลี้ยงขั้นแรก 400 ตัว ในขั้นต่อไปวางแผนจะสนับสนุนกลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เป็นต้น โดยอาศัยชื่อเสียงของนมผงเมจิ ที่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้อยู่แล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างสร้างศูนย์เก็บน้ำนมดิบในพื้นที่ 40-50 ไร่
กลยุทธ์ทางการตลาดของค่ายเมจินี้นับว่าสามารถจะเขย่าวงการผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม โดยที่การกระจายสินค้านมพาสเจอร์ไรซ์ค่ายเมจิอาศัยพนักงานขาย 6 ทีม และตัวแทนจำหน่ายหรือเอเย่นต์ 8 แห่งทั่วกรุงเทพฯ เป็นผู้กระจายสินค้าตามร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วไป อีกทั้งยังมีการเปิดรับสมัครสมาชิกโดยทางบริษัทจะจัดส่งนมให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน สำหรับด้านการโฆษณา ทางค่ายเมจิใช้แผนการตลาดครบวงจร 3 กลยุทธ์ คือ
-กลยุทธ์แรกใช้การโฆษณาทางสื่อทีวีทุกช่อง หนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ
-กลยุทธ์ที่สองคือการประซาสัมพันธ์สร้างภาพพจน์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ของเมจิโดยมีการเปิดโรงงานให้ผู้สนใจเข้าชมได้
-กลยุทธ์สุดท้าย ก็คือการส่งเสริมการขายซึ่งจะทำโดยแจกสินค้าแก่ลูกค้า โดยในระยะแรกนี้มีการแจกตัวอย่างนมกว่า 100,000 ขวด และยังมีการจำหน่ายในราคาพิเศษ อาทิ ขนาด 830 ซี.ซี. ราคาปกติ 22 บาท ขายเพียง 17 บาท เป็นต้น มีการแจก โปสเตอร์และแผ่นพับ รวมทั้งข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค
นอกจากนี้ยังมีการนำบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่มาใช้ในการแข่งขันด้วย โดยใช้ฝาใหม่ที่เรียกว่า ฝาอินเนอร์แค้ป เพื่อเน้นให้ผู้บริโภคเห็นถึงการเก็บรักษาคุณค่าของนมให้สดสะอาดอยู่เสมอ ซึ่งเป็นจุดขายหลักอีกประการหนึ่ง และสร้างความจดจำให้กับผู้บริโภคว่าถ้าเป็นฝาลักษณะนี้ต้องเป็นนมค่ายเมจิ
หลังจากวางตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ได้ 3 เดือน ค่ายเมจิวางตลาดนมสดยูเอชที โดยในช่วงแรก 4 รส คือ รสจืด รสหวาน รสโกโก้ และรสสตรอเบอร์รี่ ในราคาขายปลีก กล่องละ 6 บาท ขนาดบรรจุกล่องละ 250 ซี.ซี. ซึ่งแผนการกระจายสินค้า บริษัทมอบหมายให้บริษัทซีพีคอนซูมเมอร์โปรดักส์เป็นผู้จัดจำหน่ายกระจายสินค้าไปยังร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีก และซุปเปอร์มาร์เก็ตอย่างทั่วถึง กลยุทธ์นี้ทำให้สินค้ากระจายตัวได้สูง ผู้บริโภคสามารถเรียกหาได้ง่าย และสามารถดูแลสินค้าได้ทั่วถึงไม่ว่าจะเป็นบริการหลังการขาย การตั้งโชว์ ณ จุดขาย และการตรวจสอบสินค้าให้ได้มาตรฐานอยู่ตลอดเวลา การส่งเสริมการขายเน้นสโลแกนว่า “เมจิยูเอชที ให้คุณค่านมสดทุกรสทุกกล่อง”
ค่ายเมจิเตรียมขยายกำลังการผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาด โดยปลายปี 2533 นี้จะติดตั้งเครื่องจักรใหม่ ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 ของที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีประมาณปีละ 15,000-20,000 ตัน เพิ่มเป็นปีละประมาณ 30,000 ตัน
สำหรับแผนเด็ดของค่ายเมจิภายหลังจากที่สินค้าถึงตัวผู้บริโภคด้วยแรงกลยุทธ์ด้านราคาและการโฆษณา สิ่งสำคัญก็คือการสร้างฐานผู้บริโภคระยะยาว นั่นคือ สมาชิกจากการขายตรง ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 35,000 ราย นอกจากลูกค้าคนไทยแล้ว ลูกค้าเป้าหมายหลักอีกกลุ่มหนึ่งของค่ายเมจิก็คือ ครอบครัวของชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ใน กรุงเทพฯ ซึ่งค่ายเมจิได้สำรวจพบว่าเฉพาะในกรุงเทพฯ มีคนญี่ปุ่นมากกว่า 10,000 ครอบครัว ครอบครัวชาวญี่ปุ่นจะคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์นมเมจิเป็นอย่างดี และลูกค้ากลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูงมาก ดังนั้น ในจำนวนสมาชิกขายตรงจะมีครอบครัวชาวญี่ปุ่นอยู่ร้อยละ 20 ค่ายเมจิดำเนินการสร้างภาพพจน์และความเชื่อมั่นในตัวสินค้าให้กับผู้บริโภคกลุ่มนี้โดยเชิญเข้าเยี่ยมชมโรงงานภายหลังจากวางผลิตกัณฑ์ในตลาด รวมทั้งการแจกสินค้าตัวอย่างให้กลุ่มเป้าหมายชิมฟรีตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำที่ชาวญี่ปุ่นนิยมไปเลือกซื้อสินค้า นอกจากนี้ยังนำระบบการขายโดยแยกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบเอเย่นต์ซึ่งขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศ 15 ราย ทำหน้าที่กระจายสินค้าลงในตู้แช่และร้านค้าย่อย และเอเย่นต์จะรับผิดชอบ ในการจัดหาและส่งเสริมให้กับลูกค้าสมาชิกโดยตรง อีกระบบหนึ่ง คือการที่บริษัททำการจัดจำหน่ายโดยตรงเข้าสู่ร้าน
-บริษัท ดัชมิลล์ จำกัด ผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์และยูเอชทีตราดัชมิลล์ บริษัทโปรมาร์ท จำกัด เป็นผู้แทนจำหน่าย ค่ายดัชมิลล์มีแผนงานที่จะบุกตลาดในกรุงเทพอย่างจริงจังในปี 2534 หลังจากที่ดัชมิลล์มีฐานตลาดประมาณร้อยละ 80 ในตลาดภูมิภาค รวมทั้งเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของตลาด ซึ่งค่ายดัชมิลล์ คาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายจากปัจจุบันได้อีก 3 เท่าตัว และจะเพิ่มรสชาติให้มีมากขึ้น นอกจากนี้เตรียมจะขยายช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ขายผ่านศูนย์ดัชมิลล์ประจำจังหวัดกว่า 60 ศูนย์ในระบบขายตรง และมีวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้าทั่วๆ ไป แผนงานการตลาดในปี 2534 จะเน้นทางด้านโฆษณาและส่งเสริมการขาย ตลอดจนขยายจำนวนสมาชิกในเขตกรุงเทพฯ เพื่อสร้างภาพพจน์ของสินค้า และกระจายสินค้าให้กว้างขวางและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ประเภทที่เรียกว่า คีย์ แอคเคท์ ซึ่งเป็นร้านที่มีการซื้อแต่ละครั้งในปริมาณที่สูงมากและอยู่ในทำเลที่คนมีการซื้อสินค้าบ่อย
-บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลคอสเมติคส์ จำกัด (ไอซีซี) บริษัทในเครือสหพัฒนฯ ออกผลิตภัณฑ์ภายใต้ยี่ห้อ “ฟาร์มเมท” กลยุทธ์ทางตลาดใช้ระบบขายตรงด้วยการเปิดรับสมาชิกและจะไม่วางขายตามห้างสรรพสินค้าและร้านค้าทั่วไป จัดตั้งหน่วยขายเฉพาะในกรุงเทพฯ ในด้านการผลิต มอบหมายให้โรงงานอุตสาหกรรมนมมวกเหล็ก เดิมผลิตนมพร้อมดื่มป้อนให้บริษัทสหพัฒนฯ อยู่แล้ว ซึ่งวางจำหน่ายภายใต้ยี่ห้อ“สหกรณ์โคนมมวกเหล็ก” ในช่วงแรกนี้จะผลิตวันละประมาณ 300 กิโลกรัม และมีให้เลือก 4 รส คือ รสจืด รสหวาน รสช็อกโกเลต และรสสตรอเบอร์รี่ และมี 4 ขนาดให้เลือก คือ 1 ลิตร
ขายในราคา 25 บาท ครึ่งลิตรราคา 15 บาท 230 ซี.ซี. ราคา 7 บาท และขนาด 125 ซี.ซี. ขายราคา 4 บาท การเปิดตัวของฟาร์มเมทนับเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ พราะไอซีซีมีความพร้อมด้านกำลังทีมงานการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูง ขณะเดียวกัน การใช้วิธีขายตรง จะทำให้ตลาดอยู่ในกำมือแน่นอนกว่าการวางสินค้าในช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ เช่น การวางตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมีเงื่อนไขว่าหากของเหลือและหมดอายุต้องมีการส่งคืน
-นิคมสร้างตนเองเลี้ยงโคนม ในปี 2509 คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งนิคมสร้างตนเองเลี้ยงโคนมในพื้นที่ 4,774 ไร่ บริเวณใกล้เคียงกับศูนย์ฝึกอบรมฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค หรือปัจจุบันคือ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมฯ เพื่อรับผู้สำเร็จการฝึกอบรมมาตั้งหลักแหล่งประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมให้เป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรทั่วไป นับเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพการเลี้ยงโคนมในนิคมสร้างตนเอง เมื่อการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพที่มีรายได้แน่นอนและตลาดรองรับที่มั่นคงในปี 2520 กรมประชาสงเคราะห์ขยายการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมไปยังนิคมสร้างตนเอง พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี-ลพบุรี (แหล่งใหญ่ที่สุด) นิคมสร้างตนเองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นิคมสร้างตนเองตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ และนิคมสร้างตนเองลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา โดยจัดทำในลักษณะโครงการร่วมระหว่างหน่วยงานราชการ ได้แก่ กรมประชาสงเคราะห์ ทำหน้าที่คัดเลือกพื้นที่และสมาชิกของนิคมฯ กรมปศุสัตว์ ให้บริการด้านการป้องกันรักษาโรคและผสมเทียม องค์การส่งเสริมกิจการโคนมฯ จัดการฝึกอบรมการเลี้ยงและรับผิดชอบด้านการตลาด และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรให้บริการด้านสินเชื่อเพื่อการลงทุนในระยะยาว ปัจจุบันสมาชิกนิคมฯ ประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมรวมทั้งสิ้น 1,444 ครอบครัวใน 5 นิคมดังกล่าวมาแล้ว ข้างต้น ผลิตนํ้านมดิบเฉลี่ยเดือนละ 1,812.07 ตัน คิดเป็นมูลค่า 11.6 ล้านบาท สมาชิกมีรายได้จากการขายนํ้านมดิบเฉลี่ยเดือนละ 8,033 บาท ผู้รับซื้อนํ้านมดิบคือองค์การส่งเสริมกิจการโคนมฯ
-สหกรณ์โคนมสกลนคร จังหวัดสกลนคร เป็นโครงการเลี้ยงโคนมตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่กลางปี 2528 ยื่นจดทะเบียนเป็นสหกรณ์เขตตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการประมาณ 400 ราย รายได้ของเกษตรกรเฉลี่ย 1,500-2,000 บาท/โคนม 1ตัว/เดือน นํ้านมดิบจากแม่โคนมได้เฉลี่ยวันละประมาณ 800 ลิตร ป้อนโรงงานผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ซึ่งมีกำลังการผลิตวันละ 2,000 ตัน จำหน่ายในจังหวัดสกลนครและนครพนม ผลิตนมพร้อมดื่ม 3 รส คือ รสหวาน รสสตรอเบอร์รี่ และรสช็อกโกแล็ต 1 บรรจุถุงขนาด 200 ซี.ซี. ยอดจำหน่ายประมาณวันละ 4,500 ถุง
-สหกรณ์โคนมนครปฐม ผู้จัดจำหน่ายคือ บริษัท ฟิทเนสส์ แอดส์ แอนด์เมค จำกัด ผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์บรรจุถุงและบรรจุขวด จำหน่ายให้กับสมาชิกภายในจังหวัดนครปฐมและเขตจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งจำหน่ายนํ้านมดิบให้กับบริษัทอุตสาหกรรมนมไทย จำกัด และบริษัทโฟร์โมสต์ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มที่วางจำหน่ายเป็นนมพาสเจอร์ไรซ์ 5 รส คือ รสจืด รสหวาน รสสตรอเบอร์รี่ กาแฟ และช็อกโกเลต และกำลังวิจัยรสกล้วยหอมซึ่งจะวางตลาดในปีนี้ การขายเน้นเจาะสมาชิกตามบริษัทใหญ่ๆ และหน่วยราชการทั่วไป รวมทั้งการวางจำหน่ายตามร้านค้า และมีโครงการจะขยับขยายมายังตลาดในเขตกรุงเทพฯ โดยจะร่วมทุนกับแคนาดา เพื่อขยายงานในเครือข่ายในโรงงานให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น
-สหกรณ์วังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี กรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกับ กรมปศุสัตว์ และธนาคารส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จัดทำโครงการส่งเสริมกิจการเลี้ยงโคนม และบริษัทโฟร์โมสต์ฟรีสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมโครงการ และได้รวบรวมสมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมจำนวน 200 ราย จดทะเบียนเป็นสหกรณ์โคนมวังนํ้าเย็น เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2530 ตั้งศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบใน บริเวณพื้นที่ของสหกรณ์ รวบรวมนํ้านมดิบในราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.50 โดยมีการควบคุมคุณภาพนํ้านมดิบเพื่อรวบรวมส่งให้บริษัทโฟร์โมสด์ฟรีสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด
นับตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน มีแม่โคนมในโครงการที่รีดนมได้แล้วประมาณ 900 ตัว สามารถรวบรวมนํ้านมดิบจากสมาชิกได้วันละกว่า 6,000 กิโลกรัม โดยแม่โคแต่ละตัวจะให้นํ้านมเฉลี่ยวันละ 6-8 ลิตร ทำให้สมาชิกมีรายได้สุทธิประมาณวันละ 120 บาท
-โรงงานผลิตภัณฑ์นมจังหวัดพัทลุง จุดเริ่มต้น คือ เกษตรกรพัทลุงร่วมมือกับกรมปศุสัตว์จัดส่งเสริมการเลี้ยงโคนมตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา โดยกรมปศุสัตว์หาโคพ่อพันธุ์อเมริกันบราห์มันและเรดซินดี เพื่อให้กลุ่มผู้เลี้ยงโคจังหวัดพัทลุงปรับปรุงโคพันธุ์พื้นเมืองให้เป็นโคพันธุ์ลูกผสม ปี 2523 กรมปศุสัตว์จัดตั้งสถานีผสมเทียมเพื่อปรับปรุงพันธุ์โคนมโดยวิธีการผสมเทียม รวมทั้งมีการจัดสรรงบประมาณ 200,000 บาท เพื่อจัดซื้อโคนมจำนวน 20 ตัว ให้เกษตรกรเช่าซื้อ นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ยังให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในหลายๆ ด้าน เช่น การปรับปรุงพันธุ์ การจัดซื้อโคนม การฝึกอบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ตลอดจนการจัดตั้งโรงงานผลิตภัณฑ์นมพัทลุง และการประชาสัมพันธ์โครงการโคนมพัทลุง
สำหรับโรงงานผลิตภัณฑ์นมพัทลุงเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2526 โดยกรมปศุสัตว์จัดสรรงบประมาณสร้างโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรกล กำลังการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ 350 ลิตร/ ชั่วโมง แปรรูปนํ้านมดิบได้ถึง 3,000 กิโลกรัม/ วัน ผลิตภัณฑ์นมที่วางจำหน่ายมี 3 รส คือ รสจืด รสหวาน และรสช็อกโกเลต มีโครงการขยายกำลัง การผลิตเป็น 10,000 ตัน/วัน รวมทั้งการจัดตั้งโรงงานผลิตนมยูเอชที
-บริษัท นมอีสาน จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัทเจแปน อาเซียน อินเวสต์เม้นต์ จำกัด บริษัทเวนเจอร์ แคปปีตอล จำกัด บริษัท นิวซีแลนด์ อะกรีคัลเจอรัล เอ็กซ์ปอร์ต และ บริษัทเกษตรอีสาน จำกัด เพื่อตั้งโรงงานผลิตนมพร้อมดื่มและเลี้ยงโคนมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทยอยนำเข้าแม่พันธุ์โคนมจำนวน 4,000 ตัวจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยนำเข้ามางวดแรก 800 ตัว เลี้ยงที่จังหวัดหนองคาย นํ้านมที่ผลิตได้ในช่วงแรกจะส่งให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมรายอื่นๆ ก่อนจะส่งให้กับโรงงานของบริษัทเอง ได้แก่ บริษัทเนสท์เล่ โปรดักซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท โฟร์โมสต์ ฟรีสแลนด์ จำกัด และบริษัทอุตสาหกรรมนมไทย จำกัด นอกจากนี้ร่วมทุน ในการผลิตผลิตภัณฑ์นมกับบริษัทพิษณึโลกแดรี่ฟาร์ม จำกัด จังหวัดพิษณุโลก โดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาช่วยโดยมีเนื้อที่ 800 ไร่ ฟาร์มเลี้ยงโคนมจำนวน 900 ตัว มีเป้าหมายผลิตน้ำนมดิบวันละ 10 ตัน มีโครงการจะขยายการเลี้ยงไปในเขตจังหวัดเลย โดยเตรียมพื้นที่ไว้ประมาณ 2,000 ไร่
นโยบายของบริษัทเปิดให้เกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมโครงการในระยะแรก เกษตรกรจะต้องเข้ารับการอบรมและเลี้ยงโคนมอยู่ในเขตพื้นที่ของบริษัทก่อน และในปีต่อไปจึงจะนำลูกโคนมที่ได้ออกไปเลี้ยงในพื้นที่ของเกษตรกรเอง ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรเข้าใจถึงวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้อง โดยนํ้านมดิบที่ผลิตได้ทั้งหมด บริษัทจะรับซื้อคืนในราคา ประกันประมาณกิโลกรัมละ 6.50 บาท โดยที่ราคานี้เกษตรกรจะอยู่ในจุดคุ้มทุน เนื่องจากต้นทุนจะตํ่ากว่าเขตอื่นๆ และรับอาหารจากบริษัท
ปัจจุบันเริ่มทดลองวางจำหน่ายในตลาดเขตจังหวัดหนองคายไปบางส่วนแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนมพาสเจอร์ไรซ์บรรจุถุงขนาด 250 ซี.ซี. กำลังการผลิตวันละ 300 ลิตร คาดว่าโรงงานผลิตนมของบริษัทจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2534 กำลังผลิตประมาณ 200 ตัน/วัน โดยใช้วัตถุดิบของฟาร์มโคนมของบริษัทร้อยละ 60 มีโครงการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์โดยเน้นจำหน่ายตลาดแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ รวมทั้งกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ส่วนนมยูเอชทีจะวางตลาดทั่วๆ ไป
-บริษัท เอสทีฟาร์ม จำกัด ของตระกูลเตชะไพบูลย์ มีฟาร์มโคนมและโรงงานแปรรูปนมที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซื้อกิจการของบริษัทบางกอกแดรี่ฟลานด์ จำกัด ผู้ผลิตนม “เพียว” ซึ่งมีปัญหาต้องปิดกิจการจากปัญหาภายในโรงงาน ขาดการพัฒนา เทคนิคการผลิตล้าสมัยเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายใหม่ๆ ที่เข้ามามากมาย ซึ่งกลุ่มเอสทีฟาร์มจะพัฒนาสินค้าเป็นนมเพียวยุคใหม่ โดยปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ลบล้างภาพพจน์เดิม นอกจากนี้จะต้องมีความพร้อมเพื่อเข้าไปแย่งส่วนแบ่งในตลาดนมพร้อมดื่มที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงในปัจจุบัน
-บริษัท วีรพลพรเทพ จำกัด บริษัทมีโครงการจะจัดตั้งฟาร์มโคเนื้อและโคนมบนพื้นที่ประมาณ 8,000 ไร่ บริเวณอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยร่วมลงทุนกับบริษัท เอาท์ริช จำกัด ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความชำนาญด้านโคนมรวมทั้งการแปรรูปนํ้านมดิบ รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงโค โดยมีการรับซื้อผลผลิตคืนในราคาประกัน คาดว่าจะสามารถผลิตนํ้านมดิบได้ในช่วงเต็มโครงการ ประมาณ 20,000 ลิตร
-โรงงานโคนมสวนจิตรลดา มีนํ้านมดิบป้อนโรงงานประมาณวันละ 2.62-2.65 ตัน ส่วนใหญ่รับซื้อนํ้านมดิบจากสหกรณ์โคนมหนองโพ กำลังการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ประมาณวันละ 8 ตัน นํ้านมดิบ นอกจากนี้ยังผลิตนมผงทั้งชนิดหวาน ชนิดจืด และนมอัดเม็ด
-สหกรณ์โคนมอยุธยา จำกัด รับซื้อนํ้านมดิบจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกวันละ 2 ตัน และนํ้านมดิบส่วนหนึ่งจำหน่ายให้แก่เอกชนรายย่อยในราคากิโลกรัมละ 7.25- 8.00 บาท
-วิทยาลัยเกษตรกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และสถานีปศุสัตว์ (รวมประมาณ 12 โรงงาน) ปริมาณการผลิตมีไม่มากนัก วางจำหน่ายเฉพาะในชุมชนนั้นๆ ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรกรรมลพบุรี ราชบุรี ชุมพร เพชรบุรี ขอนแก่น เชียงราย ตาก และสุโขทัย
ที่มา:ส่วนวิจัยเกษตรกรรม ฝ่ายวิชาการ ธนาคารกสิกรไทย