การจำแนกพันธุ์ไม้ไผ่

(Classification of bamboo)

การจำแนกพันธุ์ด้วยลักษณะที่ปรากฎภายนอกใหญ่ ๆ ให้สังเกตได้จาก

1. ใบ ดูลักษณะ (shape) ปลายใบ โคนใบ หูใบ (stipules) ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนิด

2. สังเกตความสั้นยาวของปล้อง (internods) เช่น ไผ่นวล ไผ่ข้าวหลาม ไผ่เฮียะ ซึ่งมีปล้องยาว ส่วนไผ่ป่า จะมีปล้องสั้น

3. ความโตของเส้นรอบวง เช่น ไผ่หก ไผ่เฉียงรุน ไผ่ซาง มีขนาดโตกว่าไผ่ชนิดอื่น

4. ดูตาปล้อง (Bud) ไม้ไผ่บางชนิดจะมีหนามอยู่เหนือตา เช่น ไผ่สีสุก ไผ่ป่า ส่วนไม้ไผ่ซางมีกิ่งยื่นออกมา และหลุดหายไปเมื่อแก่เต็มที่

5. สีของลำต้น (Colors) ไม้ซางคำหรือไผ่เหลืองจะมีสีเหลืองตลอดลำและมีแถบสีเขียวยาวเป็นแถบลงมา ส่วนไผ่สีสุก ไผ่ป่า จะมีสีเขียวสดอยู่เสมอ

6. ความหนาของลำต้น เช่น ไผ่สีสุก ไผ่ไร่ จะมีความหนากว่าไผ่ข้าวหลาม เป็นต้น

จากการสังเกตลักษณะภายนอกดังกล่าวมาแล้ว เพียงอย่างเดียวก็ยังไม่สามารถจะจำแนกพันธุ์ได้ถูกต้องนัก เพราะแม้แต่ไม้ไผ่ชนิดเดียวกันก็ยังมีลักษณะไม่เหมือนกัน เนื่องจากความแตกต่างทางภูมิอากาศ ทางธรณีวิทยา ความสมบูรณ์ของดินที่แตกต่างกัน ปริมาณนํ้าฝน เป็นต้น ทำให้ไผ่ชนิดเดียวกันปลูกในที่ต่างกันมีลักษณะผิดแปลกกันไป ยิ่งกว่านั้นอายุความอ่อนแก่หรือจำนวนที่ปลูกต่างกัน ก็ทำให้ลักษณะส่วนประกอบของเนื้อไม้ต่างกันไปด้วย ฉะนั้นการจำแนกพันธุ์ที่ถูกต้อง ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของเหง้า กาบหุ้มลำ ส่วนต่าง ๆ ของดอกลักษณะของผล เป็นเกณฑ์ด้วยจึงจะจำแนกได้อย่างถูกต้อง

ก่อนที่จะจำแนกพืชพันธุ์ไผ่โดยพิสดาร จำเป็นต้องรู้จักส่วนต่าง ๆ ของไผ่ เป็นหลักเสียก่อน

1. เหง้า (Rhizome) คือส่วนของลำต้นที่อยู่ใต้ดิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1.1 รากโมโนพอเดียล (monopodial rhizome) ลำเหง้าเรียวยาว เจริญงอกงามไปตามแนวระดับและมีขนาดเล็กกว่าลำที่งอกขึ้นมาจากด้านข้างของเหง้า ดูภาพที่ 2

1.2 เหง้าซิมพอเดียล (Sympodial rhizome) ลำเหง้าสั้น และมีขนาดใหญ่กว่าลำที่งอกขึ้นมาจากตอนปลาย

ตามทัศนะของ HUBBARD (1934) เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้า ประจำหอพรรณไม้ คิว ประเทศอังกฤษ ได้จัดให้ไม้ไผ่เป็นเผ่า (tribe) หนึ่งของอนุวงศ์ POOIDEAE ในวงศ์ GRAMINEAE และ ขนานนามเผ่าไม้ไผ่ว่า BAMBUSEAE

ส่วนโคนของแขนงที่งอกออกไปจากเหง้านั้นเรียกว่า คอเหง้า

(rhizome neck)

2. กาบหุ้มลำ (Culm sheath) คือ ส่วนที่หุ้มอยู่รอบลำ สำหรับป้องกันราเมื่อยังอ่อนอยู่ กาบหุ้มนี้มักจะหลุดร่วงไปเมื่อลำเจริญเติบโตเต็มที่ แต่มีไม้ไผ่บางชนิดที่กาบหุ้มลำไม่หลุดร่วงไป เช่น ไผ่รวก (Thyrostachys

siamensis) เป็นต้น กาบหุ้มลำแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

2.1 กาบ (sheath) คือส่วนที่หุ้มรอบลำ อาจมีสภาพหนา แข็งกรอบ หรือบางอ่อน มีขนคายหรือเกลี้ยง ไม่มีขนสั้นหรือยาว แตกต่างกันไปตามชนิดของไม่ไผ่ ตอนปลายกาบตรงที่ต่อกันกับใบยอดกาบ จะมีส่วนที่จะขอเรียกว่า กระจัง (ligule) ดูภาพที่ 3 กระจังนี้อาจจะเป็นขนยาว ๆ หรือสั้น ๆ หรือเป็นเยื่อบางก็ได้ นอกจากนี้แล้วตรงด้านบนทั้งสองข้างของกาบซึ่งมีลักษณะคล้ายหัวไหล่นั้น บางทีจะมีครีบหรือขนอยู่ จะขอเรียกรวม ๆ ว่าครีบกาบ(auricle)

2.2 ใบยอดกาบ (sheath blade) ตอนปลายของกาบมีส่วนที่มีลักษณะคล้ายใบ แต่มีขนาดใหญ่และเนื้อหนากว่า ใบยอดกาบนี้ตามปกติจะหลุดร่วงพร้อมกันกับกาบ แต่มีบางชนิดที่หลุดร่วงไปก่อน อย่างไรก็ตามใบยอดกาบ จะมีรอยต่ออยู่กับกาบเสมอมิได้เชื่อมเป็นแผ่นเดียวกันโดยตลอด ดูภาพที่ 3

3. ดอก (Floret) ดอกไม้ไผ่มีส่วนต่าง ๆ จำนวน 3 เกือบทุกสกุล และเนื่องจากส่วนต่าง ๆ ของดอกอยู่ใกล้ชิดกันมาก จึงมีรูปลักษณะผิดแปลกไปจากดอกพันธุ์ไม้จำพวกหญ้าในวงศ์เดียวกัน คือ ช่อดอก (inflorescens) หนึ่งจะมีกลุ่มดอก (spikelet) หลายดอก และกลุ่มดอกหนึ่งก็มีดอก (floret) ดอกเดียวหรือหลายดอก ที่โคนสุดของกลุ่มดอกนั้นมีกลีบ (glume) ซึ่งจะขอเรียกว่า กลีบหุ้มดอกปกติมีกลีบ แล้วแต่ละดอกจะมีช่วงระหว่างดอก (rachilla) สั้น ๆ ซึ่งขอเรียกว่าก้าน ดูภาพที่ 5 กลีบหุ้ม (lemma) มีขนาดใหญ่และจะหุ้มกลีบต่าง ๆ ของดอกไว้เกือบโดยรอบ กลีบรอง (palea) มีจำนวน 2 กลีบดอก (lodicule) ส่วนมาก มีจำนวน 3 หรือบางทีมีเพียง 2 เท่านั้น เกษรตัวผู้ (stamen) มีจำนวน 3 หรือ 6 ก้าน เกษรเชื่อมติดกันหรือแยกกันอยู่อับเรณู (anther) ตรงยอดมักพองโตหรือมีขน เกษรตัวเมีย (pistil) มักมีขนปกคลุมและตอนปลายอันเป็นที่ตั้งของตุ่มเกษร (stigma) จะเป็นอันเดียวกันหรือแยกจากกัน 2 หรือ 3 แฉก ดูภาพที่ 5

4. ผล เป็นชนิดเนื้อนุ่มเปลือกอ่อน (berry) หรือเนื้อแข็งเปลือกล่อนแข็ง (nut) หรือเนื้อแข็งเปลือกแข็ง ไม่ล่อน เช่น เมล็ดข้าวเปลือก แตกต่างกันไปแต่ละเผ่าพันธุ์

การจำแนกพันธุ์ไม้ไผ่ในโลกนี้ ถึงแม้นักพฤกษศาสตร์ ส่วนใหญ่ได้จัดรวมไว้ในวงศ์เดียวกันกับหญ้าชนิดต่าง ๆ คือ วงศ์ (GRAMINEAE) แต่บางท่านที่พิจารณาเห็นว่า ไม้ไผ่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากวงศ์หญ้าตรงที่มีลำต้นแข็งแรง เนื้อแข็ง มีก้านใบ (petiole) เห็นชัด ส่วนต่าง ๆ ของดอกจำนวน 3 เกือบสม่ำเสมอทุกสกุล ช่อดอกไม่มีกาบหุ้มเหมือนหญ้าอื่น ๆ และมีผลมีลักษณะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า ไม้ไผ่มีกำเนิดมาก่อนหญ้า ซึ่งวิวัฒนาการขึ้นมาภายหลัง สมควรที่จะยกฐานะขึ้นเป็นพืชวงศ์หนึ่งต่างหาก และให้ชื่อ ว่า BAMBUSACEAE

พันธุ์ไม้ไผ่ในประเทศไทย นั้น ได้จัดรูปวิธานการจำแนก ไม้ไผ่สกุลต่าง ๆ เท่าที่ได้ทราบแน่นอนว่ามีอยู่ในประเทศไทย โดยอาศัยหลักเกณฑ์ของ McCLURE (1 966) ซึ่งใช้ลักษณะของเหง้า กิ่งตามข้อลำตอนกลางลำ กาบหุ้มลำ ครีบกาบ (auricle) และลักษณะของเกษรตัวผู้และเกษร ตัวเมียประกอบกันดังต่อไปนี้

1. สกุล MELOCANNA

* เหง้าสั้น มีขนาดใหญ่กว่าลำที่งอกขึ้นมาจาก ตอนปลาย ไม่ทอดขนานไปทางระดับ

* คอเหง้ายาวกว่าเหง้า ลำขึ้นห่างกันเป็นระยะ กิ่งตามข้อเรียวยาวเกือบเท่ากันทุกกิ่ง

ไม้สกุลนี้เท่าที่พบคือ ไผ่เกรียบ (M.humilis) พบทาง จ.สุราษฎร์ธานี จ.ระนอง

2. สกุล CEPHALOSTACHYUM

* คอเหง้าสั้นกว่าเหง้า ลำขึ้นชิดกันไม่เป็นระเบียบ

* กิ่งตามข้อเรียวยาวเกือบเท่ากันทุกกิ่ง

* กาบหุ้มลำและยอดกาบหนาแข็งและกรอบ ครีบกาบไม่เจริญเห็นได้ชัด

* ก้านเกษรตัวเมียมี 3 แฉกตอนปลาย

ไม้สกุลนี้ที่พบแล้วมี 2 ชนิดคือ ไผ่ข้าวหลาม (C.per- gracile) พบในท้องที่ภาคเหนือทั่วไปและ จ.กาญจนบุรี ตอนเหนือ และ ไผ่เฮี๊ยะ (C. vergatum) พบทั่วไปตามป่าเขาทางภาคเหนือ เช่น จ.ลำปาง

3. สกุล SCHIZOSTACHYUM

* กาบหุ้มลำและยอดกาบไม่หนามากและแข็ง ครีบกาบไม่เจริญเห็นได้ชัด

* ก้านเกษรตัวเมียมี 2 แฉกตอนปลาย

ไม้สกุลนี้ที่พบแล้วมี 3 ชนิดคือ ไผ่โปหรือไผ่เมี่ยงไฟ (S.zollingeri) และ ไผ่โป อีกชนิดหนึ่ง (S.brachydadium) พบในท้องที่ จ.ภาคใต้ ส่วน ไผ่หลอด (S.acicularc)

มีพบทั่ว ๆ ไปตามป่าดิบชื้น

4. สกุล DINOCHLOA

* กิ่งตามข้อยาวไม่เท่ากันทุกกิ่ง กิ่งอันกลางมีขนาดใหญ่กว่ากิ่งอื่น

* ลำทอดเลื้อยหรือก่ายพาดไปตามต้นไม่อื่น เนื้อลำบาง ลำไม่แตกแขนง

* ลำทอดเลื้อยหรือก่ายพาดไปตามต้นไม่อื่น เนื้อลำบาง ลำไม่แตกแขนง

ไม้สกุลนี้ที่พบแล้วมี 1 ชนิดคือ ไผ่คลาน (D. scandens) พบขึ้นทั่ว ๆ ไปตามป่าชื้นทางภาคใต้

5. สกุล TEINOSTACHYS

* ลำแตกแขนงมาก

ไม้สกุลนี้ที่พบแล้วมี 1 ชนิด คือ ไผ่บงเลื้อย (T.griffi- thii) พบทางป่าดิบทางภาคเหนือ

6. สกุล DENDROCALAMUS

* ลำต้นตรงเนื้อลำหนา

* ช่วงระหว่างดอกสั้นมาก และไม่หักหลุดจากกัน

* กลุ่มดอกมีน้อยดอก ดอกที่ปลายกลุ่มเจริญเต็มที่

* ก้านเกษรผู้แยกออกจากกัน

* ผลรูปกระสวย เปลือกบางแข็ง ไม้ไผ่สกุลนี้เป็นไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบแล้วมี 9 ชนิด คือ

ไผ่ซาง (D.strictus)

ไผ่เซิม หรือ ซายวาล (D.longifimbriatus)

ไผ่หก นวลใหญ่ (D.hamiltonii) พบทางภาคเหนือมาก

ไผ่ลำมะลอก ไม้หกดำ (D.Longispathus) พบทาง ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

ไผ่ซางหม่น (D.sericeus) พบทางอีสาน

ไผ่เป๊าะ (D.giganteus) พบทางภาคเหนือ

ไผ่ตง (D.asper) ปลูกกันทั่วไปทุกภาค ไ

ผ่ซางดอย ไม้นวล(D.membranaceus) และไผ่บง ใหญ่ ซางเย็น(D.brandisii) พบทางภาคเหนือ

7. สกุล MELOCALAMUS.

* ผลค่อนข้างกลม เปลือกหนาขรุขระ

ไม้สกุลนี้ที่พบแล้วมีชนิดเดียว คือ ไผ่หางช้างหรือ ไผ่ไส้ตัน (M.compactiflorus) พบทั่วไปตามป่าเขาทาง ภาคเหนือ

8. สกุล GIGANTOCHLOA

* กลุ่มดอกมีมากดอก ดอกที่ปลายกลุ่มไม่เจริญ

* ก้านเกษรผู้เชื่อมติดต่อกันแน่นหรือมีเยื่อบาง ๆ โยงเชื่อมกัน

ไผ่สกุลนี้ที่พบแล้วมี 9 ชนิด คือ ไ

ผ่มัน หรือไผ่เปาะ (G.auricalata) พบตามป่าดิบ ทางภาคใต้

ไผ่ไร่ (G.albo-ciliata) พบขึ้นทั่วไปหรืออาจเรียก ไผ่ผาก

ไผ่ไร่ลอ (G.nigro-ciliata) พบขึ้นทั่วไปหรืออาจเรียก ไผ่ผาก

ไผ่แนะ (G.ligulata) ไผ่ด้ามพร้าหรือไผ่ลาย พบตาม ป่าดิบทางภาคใต้

ไผ่ตากวาง (G.apus) พบตามป่าดิบทางภาคใต้ ไผ่ผากมัน (G.hasskarliana).ไผ่ผาก (G.densa) และ (G.poilanei), (G. wrayi) ซึ่งยังไม่รู้จักชื่อไทย พบทางภาคใต้

9. สกุล THYRSOSTACHYS

* ช่วงระหว่างดอกยาวเท่ากับครึ่งหนึ่งของความยาวของกลีบนอกสุด และหักหลุดจากกันไม่ช้าก็เร็ว

* กาบหุ้มบางแนบชิดกับลำ ไม่หลุดร่วงเมื่อลำแก่ ยอดกาบบางเรียวสอบไปหาปลาย ไม่มีครีบกาบ

* ลำตอนล่างไม่แตกแขนง

ไผ่สกุลนี้ที่พบแล้วมี 2 ชนิด คือ ไผ่รวก (T.siamensis) พบในป่าแล้งทั่วไป และไผ่รวกดำ (T.Oliveri) พบในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ

10. สกุล BAMBUSA

* กาบทุ้มลำหนา แข็ง และหลุดร่วงไปเมื่อลำแก่

* ยอดกาบหนา แข็ง มักมีขนคายทางด้านในครีบกาบเห็นได้ชัด

* ลำตอนล่างมักแตกแขนงและมีหนาม

ไผ่สกุลนี้ที่พบแล้วมี 12 ชนิด ส่วนมากเป็นไผ่ขนาดใหญ่ เนื้อลำหนา คือ

ไผ่บง (B.tulda) พบตามป่าดิบริมนํ้าทั่วไป

ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม (B.arundinaceae) พบทั่วไป หรือไม้ซางหนาม

ไผ่สีสุก (B. flexuosa) พบทั่วไป

ไผ่ลำมะลอก (B.longispiculata)พบทั่วไป หรือบงป่า

ไผ่เหลือง(B. vulgaris) หรือไผ่ซางคำ พบทั่วไป

ไผ่หอมหรือไผ่หอบ (B.polymorpha) พบทาง ภาคเหนือ

ไผ่เลี้ยง (B.giaucescens) มีขนาดเล็ก พบทั่วไป

ไผ่บงเล็ก (B.nutans) พบขึ้นตามป่าดิบทางภาคเหนือ

ไผ่พุทธ (B. ventricasa) เข้าใจว่าเป็นไผ่เหลือง และ B.blumeana B.burmanica (ไผ่บงนํ้า, ไผ่บงหวาน) และไผ่ตาดำ (B. Bambusa sp.)

11. สกุล PSEUDOSASA

* เหง้ายาวและทอดขนานไปทางระดับ โดยมากมีขนาดเล็กเรียวยาวกว่าลำที่งอกขึ้นมาจากตาข้างเหง้า

ไผ่สกุลนี้เท่าที่พบมี 1 ชนิด เป็นไผ่ขนาดเล็กพบตาม เขาในท้องที่ จ.เพชรบูรณ์ อาจเป็นชนิดใหม่ทางวิทยาศาสตร์

12. สกุล ARUNDINARIA

* เหง้ายาวและทอดขนานไปทางระดับ

ที่พบมี 2 ชนิด เป็นไม่ไผ่ขนาดเล็ก พบตามป่าแล้ง ตามภาคอีสาน คือ

ไผ่เพ็ก (A.pusilla) และไผ่โจด (A.cilliata)

ไผ่ชนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ บางชนิดได้มีผู้บันทึกไว้ ว่าได้พบในประเทศไทยแต่ไม่มีตัวอย่างในหอพรรณไม้ ในประเทศไทยซึ่งควรมีการสำรวจอย่างละเอียดต่อไป

1. Dendrocalamus dumosus (Ridl) Holttum เคยพบที่เกาะราไว จ.สตูล

2. Dendrocalamus nudus Pilger เคยพบในท้องที่ จ.เชียงใหม่

3. Dendrocalamus distans Pakinson พบใน แคว้นตะนาวศรี อาจมีใน จ.แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี

4. Dendrocalamuspendulus Ridley เป็นไม้ไผ่ ที่ชุกชุมที่สุดของแหลมมะลายูตอนเหนืออาจมีในท้องที่ 4 จังหวัดภาคใต้

5. Bambusa affinis Munro พบทางหัวเมืองมอญในเขตมะตะบันและสิตตัง อาจมีในท้องที่ จ.ตาก และ จ.กาญจนบุรี

6. Bambusa binghami Gamble พบทางหัวเมือง มอญในเขตตะนาวศรี อาจมีในท้องที่ จ.แม่ฮ่องสอน ตาก และกาญจนบุรี

7. Bambusa lineata Munro พบตามป่าพรุชายทะเล ในแคว้นตะนาวศรี อาจมีใน จ.ชุมพร และ ระนอง

8. Bambusa marginataMunroพบในเขตตะนาวศรี ในระดับ 1,700 ม. อาจมีในท้องที่ จ.ตาก ตามเทือกเขาสูง ๆ

9. Bambusa pallida Munro พบทางหัวเมืองมอญ และแคว้นอัสสัม อาจมีในท้องที่ จ.ตาก และ กาญจนบุรี

10. Bambusapierreana E.G. Camus พบตาม ริมนํ้าโขงในเขตไทย ชาวบ้านเรียกว่า “ไม้ลำมะโล”

11. Bambusa thorelii E.G. Camus พบทาง เมืองคาง ตามลำนํ้าโขง อาจมีในท้องที่ จ.หนองคาย และ อุบลราชธานี

12. Bambusa villosa Kurz พบในเขตมะตะบัน และตะนาวศรี อาจมีในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ชุมพร และ ระนอง

13. Bambusa wamin Brandis กล่าวว่าพบที่ จังหวัดเชียงใหม่

14. Bambusa nudus Pilger กล่าวว่าพบที่จังหวัด เชียงใหม่

15. Gigantocbloa compressa Parker พบใน แคว้นมะเกว ตามป่าเขาตํ่า ๆ ชาวไทยในเขตนั้นเรียกว่า “ไผ่คายคำ” อาจมีในจังหวัดกาญจนบุรี

16. Gigantochloa macrostachys Kurz พบในแคว้นมอญในเขตมะตะบัน อาจมีในท้องที่จังหวัดตาก และ กาญจนบุรี

17. Gigantochloa stocksii (Munro) ปรากฎว่า ได้เคยพบในจังหวัดนครพนม

18. Gigantochloa iatifolia (Ridl.) พบทางแหลม มะลายู ภาคเหนือ อาจมีอยู่ในเขต 4 จังหวัดภาคใต้

19. Gigantochloa scortechinii (Gamble) พบ ทั่วไปตามที่ราบตาในแหลมมะลายู อาจพบในท้องที่ 4 จังหวัดภาคใต้

20. Gigantochloa thwaitesii (Munro) พบใน แคว้นทะวาย อาจมีในท้องที่จังหวัดชุมพร และ ระนอง

21. Gigantochloa lacei (Gamble) พบในแคว้น ทะวาย อาจมีในท้องที่จังหวัดชุมพร และ ระนอง

22. Gigantochloa parvifolia (Brandis) พบทาง ชายแดนไทย เขมร อาจมีในท้องที่จังหวัดปราจีนบุรี และ ตราด

23. Gigantochloa hosseusii (Pilger) เคยพบที่ อำเภอนครไทย จ.พิษณุโลก เรียกไผ่คาย

24. Teinostachyum helferi (Gamble) พบใน แคว้นมอญในเขตมะตะบัน อาจมีในท้องที่จังหวัดตาก และ กาญจนบุรี

25. Dinochloa mcclellandi (Kurz) พบในแคว้น มอญในเขตมะตะบัน อาจมีในท้องที่จังหวัดตาก กาญจนบุรี ชุมพร และ ระนอง

26. Phyllostachys bawa (E.G. Camus) พบตาม เขาตอนเหนือ ต.ผาปูน ภาคสาละวิน ตามริมลำธาร อาจมีในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

27. Klemachloa detinens (Parker) พบในแคว้น มะเกวในระดับ 600-700 ม.

28. Neohouzeaua dulloa (A. Camus) พบใน แคว้นทะวาย และมะเกว อาจมีในท้องที่จังหวัดชุมพร และ ระนอง

29. Neohouzeaua stricta (Parker) มีมากใน แคว้นทะวายและมะเกว อาจมีในท้องที่จังหวัดชุมพร และ ระนอง

30. Cephalostachyum burmanicum (Parker) พบในแคว้นมะเกว อาจมีในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี

31. Melocanna bambusoides (Trin) พบทาง แถบตะนาวศรี อาจมีในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และ กาญจนบุรี

32. Schizostachyumjaculans (Holttum) พบในแหลมมะลายู ภาคเหนือ อาจจะมีในท้องที่ 4 จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่า อ.แว้ง จ.นราธิวาส

33. Schizostachyum insulare (Ridley) เคยพบ ในเกาะราไว จังหวัดสตูล

34. Schizostachyum grande (Ridley) พบดาดดื่น ในแหลมมะลายู อาจมีใน 4 จังหวัดภาคใต้

35. Schizostachyum longispiculatum (Kurz) ดร. UEDA กล่าวว่ามีในประเทศไทย แต่ยังไม่ปรากฎหลักฐานแน่นอน ถ้ามีคงมีในเขต 4 จังหวัดภาคใต้ พบในแหลมมะลายูตามชายป่าริมลำธารทั่วไป

พันธุ์ไผ่ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ค้นพบโดยชาวต่างประเทศทั้งสิ้น คาดว่าจะต้องมีในประเทศไทยแน่นอน ซึ่งอาจจะมีชื่อตามชาวบ้านเรียก (common name) ไปหลายชื่อ ควรที่จะได้มีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ศึกษาทางสาขาจำแนกพันธุ์ (Taxonomy) ของประเทศไทย ค้นคว้าและสำรวจอย่างจริงจังเพื่อความรู้เรื่องไผ่ของไทยจะได้มีมากขึ้นและแพร่หลายทัดเทียมต่างประเทศได้