การจำแนกไม้ดอก

Classification of Flowering

การจำแนกไม้ดอกนั้น จำแนกได้หลายแบบฅามความเหมาะสม อาจจะจำแนกตามมุ่งหมายของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือฅามความนิยมของผู้ใช้ เช่น

๑. จำแนกตามลักษณะของเนื้อไม้

๑.๑ ไม้เนื้ออ่อน (herbaceous) หมายถึงไม้ดอกที่มีเนื้อไม้อ่อน มี ลักษณะนุ่มและอวบน้ำเล็กน้อย (a plant which does not develop much woody tissue I which thus remains soft and succulent) เช่น พิทูเนีย (petunia), เยอบีร่า (gerbera) แกล็ดดิโอลัส (gladiolus), หน้าแมว (pansy) เป็นต้น

๑.๒ ไม้เนื้อแข็ง ( woody plant) หมายถึงไม้ดอกที่มีเนื้อไม้แข็ง( a plant with a large development of xylem) เช่น เฟื่องฟ้า (bougainville), พวงคราม (sand paper vine), กุหลาบ (rose) เป็นต้น

. จำแนกตามอายุ

๒.๑ ไม้ดอกฤดูเดียว (annual) หมายถึงไม้ดอกที่มีการเจริญเติบโต ให้ดอก ให้ผล จนครบวงจรชีวิตแล้วตายภายในหนึ่งปี (a plant which completes its completes its lifecycle and dies within one year) เช่น พิทูเนีย แอสเตอร์ (aster), ดาวกระจาย (cosmos) ดาวเรือง (marigold) เป็นต้น

๒.๒ ไม้ดอกสองฤดู (biennial) หมายถึงไม้ดอกที่มีการเจริญเติบโตทางต้นในปีแรก ให้ดอกให้ผลในปีที่สอง และเมื่อครบวงจรชีวิตแล้วตายภายในสองปี (a plant which  produces seeds during the second years of its life, then dies) เช่น ฟอกซ์โกลฟ (foxglove), ฟอร์เก็ฅมีน็อท (forget-me-not), ออนเนสตี้ (honesty) และสวีทวิลเลี่ยม (sweet william) เป็นต้น

๒.๓  ไม้ดอกหลายฤดู (perennial) หมายถึงไม้ดอกที่มีอายุอยู่ได้หลายปี  อาจจะมีการเจริญเติบโต ให้ดอก ให้ผลจนครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว ปีเดียว แต่ยังไม่ตาย จะมีชีวิตอยู่ได้หลายปี เช่น กุหลาบ (rose), เบญจมาศ (chrysanthemum), เยอบีร่า (gerbera) คาร์เนชั่น (carnation) เป็นต้น

๓.  จำแนกตามลักษณะของเนื้อไม้และการเจริญเติบโต

๓.๑  ไม้ล้มลุก (herbs) หมายถึงไม้ที่มีอายุได้ไม่เกิน ๑-๒ ปี และมีเนื้อไม้อ่อน เช่น ดาวเรือง (marigolds) ดาวกระจาย (cosmos) พิทูเนีย (petunia) บานไม่รู้โรยฝรั่ง (straw flower) หน้าแมว (pansy) และอื่น ๆ แต่ถ้ามีอายุอยู่ได้หลายปีเราเรียกว่าไม้ล้มลุกยืนต้น (perennial herbs) เช่น พลับพลึง กล้วยไม้ กุหลาบ เบญจมาศ และอื่น ๆ

๓.๒  ไม้พุ่ม (shrubs) หมายถึงไม้เนื้อแข็ง  ลำต้นตั้งตรง เป็นอิสระได้โดยไม่ต้องอาศัยต้นไม้หรือวัตถุอื่นพาดพิง  มีอายุอยู่ได้นานหลายปี มีความสูงไม่มากนัก การแตกกิ่งก้านมักจะไม่สูงจากพื้นดิน เช่น ชบา เข็ม ดอนย่า ยี่เข่ง และอื่น ๆ

๓.๓  ไม้เถา (climbers or vines) หมายถึงไม้ที่ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ด้วยตัวเอง  จำต้องอาศัยยึดเหนี่ยวพาดพิงต้นไม้อื่นหรือวัตถุอื่น  หรือถ้าไม่มีสิ่งให้พาดพิงจะเลื้อยไปตามพื้นดิน เช่น กระเทียมเถา ชำมะนาด เล็บมือนาง อัญชัญ เฟื่องฟ้า และอื่น ๆ ซึ่งเราเรียกว่าไม้เถายืนต้น (woody climbers หรือ  scandent-shrubs) แต่ถ้าเป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีลักษณะล้มลุกเราเรียกว่าไม้เถาล้มลุก (herbaceous climbers) เช่น รกฟ้า ผักบุ้งฝรั่ง และอื่น ๆ

๓.๔  ไม้ต้น (trees) หมายถึงไม้เนื้อแข็ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นใหญ่กว่าไม้พุ่ม  ไม่ต้องอาศัยพาดพิงไม้หรือวัตถุอื่นเพื่อดำรงตน มีความสูงเกิน ๖ เมตร มีอายุอยู่ได้นานปี เช่น เสลา ตะแบก อินทนิน จามจุรี ราชพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ และอื่น ๆ เป็นต้น

๔.  จำแนกตามช่วงความยาวของแสง

๔.๑  ไม้ดอกวันสั้น (short-day plant) หมายถึง ต้นพืชหรือไม้ดอกที่ต้องการช่วงแสงในเวลากลางวันสั้น  เพื่อช่วยในการเกิดตาดอก (flower bud initiation, flower bud formation) พืชบางชนิดอาจจะมีความต้องการช่วงแสงในเวลากลางวันสั้นเนิ่นนานต่อไปอีก  เพื่อช่วยในการเจริญของตาดอก (flower bud development) หรือพืชบางชนิดเมื่อเกิดตาดอกขึ้นแล้ว ตาดอกจะไม่เจริญต่ไปจนกว่าจะได้รับช่วงแสงในเวลากลางวันยาวอีกระยะเวลาหนึ่ง เช่น การ์ดีเนีย (Gardenia grandiflora) เป็นต้น  ไม้ดอกที่เป็นวันสั้นมีหลายชนิด เช่น เบญจมาศ (Chrysanthemvm morifolium) คริสมาสบิโกเนีย (Begonia socotrana) และ คาแลนโคอี (kalanchoe) เป็นต้น

๔.๒  ไม้ดอกวันยาว (long-day plants) หมายถึงต้นพืชหรือไม้ดอกที่ต้องการช่วงแสงในเวลากลางวันยาว  เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตยืดความยาวของลำต้นกิ่งก้าน (increase the length of internode) อันเป็นผลทางอ้อมในการช่วยให้พืชออกดอก เช่น แอสเตอร์ (aster) อเซเลีย (azaleas) ไฮแดรนเยีย (hydrangea) เป็นต้น ไม้ดอกที่ต้องการช่วงเวลากลางวันยาว  เพื่อช่วยในการเกิดตาดอกทางตรง เช่น คาลซิโอลาเรีย (calceolaria) บีโกเนีย (tuberous-rooted begonia) เป็นต้น

๔.๓  ไม้ดอกวันกลาง (indeterminate หรือ day-neutral plants) หมายถึงต้นพืชหรือไม้ดอกที่สามารถเจริญเติบโต  ให้ดอกให้ผลได้ไม่ว่าช่วงแสงในเวลากลางวันจะสั้นหรือยาวก็ตาม ได้แก่ กุหลาบ (roses) อัฟริกันไวโอเล็ต (African violet) กล็อกซิเนีย (gloxinias) พิทูเนีย (petunia) เป็นต้น

๕.  จำแนกตามประโยชน์ใช้สอย

๕. ๑ ไม้ตัดดอก (cut-flower plants) หมายถึงไม้ดอกที่ปลูกเพื่อที่จะตัดเฉพาะส่วนที่เป็นดอกหรือช่อดอกไปใช้ประโยชน์ หรือเพื่อจำหน่าย ไม้ประเภทนี้มักจะมีก้านดอกยาว ดอกบานอยู่ได้นานวัน มีคุณสมบัติในการบรรจุหีบห่อ เก็บรักษา และขนส่งได้ดีกว่าไม้ดอกชนิดอื่น ๆ เช่น กุหลาบ หน้าวัว (anthuriums) แกล็ดดิโอลัส (gladiolus) เบญจมาศ (chrysanthemum) เยอบีร่า (gerbera) และคาร์เนชั่น (carnation) เป็นต้น

๕.๒  ไม้ดอกกระถาง (flowering pot plants) หมายถึงไม้ดอกที่มีพุ่มต้นกระทัดรัดไม่ใหญ่มากนัก (compact) มีดอกดก และควรจะบานดอกพร้อม ๆ กัน นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายในรูปไม้กระถาง เช่น เบญจมาศ (chrysanthemum) อัฟริกัน ไวโอเล็ด (african violet) กล็อกซิเนีย (gloxinia) ไซคลาเมน (cyclamen) แพนซี (pansies) และดาวเรือง (marigold) เป็นต้น

๕.๓  ไม้ดอกประดับแปลง (bedding plants) หมายถึงไม้ดอกที่ปลูกประดับในแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ในแง่การตกแต่งบริเวณ  ตลอดจนอาคารบ้านเรือนและสวนสาธารณะ  ที่สำคัญที่สุดคือขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ง่ายเพื่อให้ได้จำนวนต้นมาก ๆ พอที่จะปลูกประดับเป็นกลุ่มเป็นก้อน  ทั้งนี้เพื่อเน้นให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น  อีกประการหนึ่งควรจะเป็นไม้ดอกที่ต้องการการดูแลรักษาต่ำ ปลูกง่าย เลี้ยงง่าย โตเร็ว ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด  ถ้าเป็นได้เมื่อบานดอกแล้ว ต้นแก่ เมล็ดร่วงหล่นลงไปบนดินสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ เพียงแต่ปรับปรุงเล็กน้อยก็สวยงาม ไม้ดอกที่ใช้ปลูกประดับแปลงนี้มีหลายชนิด เช่น ดาวกระจาย (cosmos) ดาวเรือง (marigold) พุทธรักษา (canna) ผกากรอง (lantana) เวอร์บีน่า (verbena) กระดุมทอง (sanvitalia) พังพวย (vinca) บานชื่น (zinnia) ผีเสื้อ (pink) แพรเซี่ยงไฮ้ (portulaca) เป็นต้น

นอกจากทั้งสามประเภทของไม้ดอกที่ถูกจำแนกออกไปตามประโยชน์ใช้สอยที่กล่าวมาแล้วนี้ยังนิยมจำแนกย่อยลงไปอีกเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่จะนำไม้ดอกไปใช้ให้ถูกต้องตามความเหมาะสม เช่น

๕.๔ ไม้ดอกที่ปลูกในกระถาง หรือกระเช้า เพื่อใช้แขวนประดับ (hanging baskets) ไม้ดอกประเภทนี้มักจะมีลักษณะการเจริญเติบโตค่อนไปทางเลื้อยและห้อยลงด้านล่าง มีดอกดก และดอกมักจะบานพร้อม ๆ กัน เหมาะอย่างยิ่งที่จะปลูกในกระถางเพื่อใช้แขวนประดับ ไม้ประเภทนี้ เช่น พิทูเนีย (petunia) โลบีเรีย (loberia) บีโกเนีย (begonia) แนสเตอร์เตี้ยม (nasturtium) อิมเพเทียน (impatients) บราววาเรีย (browalia) แพรเซี่ยงไฮ้ (portulaca) อีปิเซีย (episcia) เป็นต้น

๕.๕  ไม้ดอกสำหรับปลูกตามซอกหิน หรือสวนหิน (rock-garden plants) ไม้ดอกประเภทนี้มักจะเป็นไม้ดอกที่มีขนาดต้น ทั้งความสูงและพุ่มต้นเตี้ย ๆ เล็ก ๆ (dwarf) ดอกดก และมีขนาดดอกเล็ก บานดอกพร้อม ๆ กัน เช่น อลิซัม (alyssum) โลบีเรีย (loberia) แพนซี (pansies) แพรเซี่ยงไฮ้ (portulaca) และฟล็อกซ์ (phlox)

๕.๖  ไม้ดอกที่ใช้ปลูกตามขอบแปลง (plants for edging) ไม้ดอกประเภทนี้มีขนาดต้นเตี้ย พุ่มแน่น มีการเจริญเติบโตดี ดอกดก และบานดอกพร้อม ๆ กัน เช่น อลีซึม (alyssum) บีโกเนีย (begonia) พวกไม้ดอกทุกชนิดที่เป็นพันธุ์ต้นเตี้ย (dwarf) เช่น ดาวเรือง (marigold) พันธุ์ Golden Gem  พันธุ์ Lemmon Gem  มีขนาดต้นสูงเพียง ๘ นิ้ว  พันธุ์ Brownie Scout  และพันธุ์ Pygmy Primrose ซึ่งมีพุ่มต้นสูงเพียง ๗ นิ้ว เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีสแนปดรากอน (snapdragon) พันธุ์เตี้ย Floral carpet Snap ซึ่งมีพุ่มต้นสูงเพียง ๗ นิ้ว อีกเช่นกัน บานชื่น (zinnia) และแอสเตอร์ (china aster) เข็มแดง (ixora) เป็นต้น

๕.๗  ไม้ดอกที่ใช้ปลูกในที่ร่มรำไร (flower plants for partial shade) ขึ้นชื่อว่าไม้ดอกแล้วส่วนมากมักจะต้องการแสงแดดจัดและอย่างน้อยวันละไม่ต่ำกว่า ๖ ช.ม. แต่มีไม้ดอกบางชนิดที่สามารถเจริญเติบโตและบานดอกได้  แม้ว่าจะปลูกอยู่ในที่แสงแดดส่งไม่ถึง หรือในที่ ๆ ได้รับแสงน้อยกว่า ๖ ช.ม. เช่น อเจอราตุม (ageratum) บีโกเนีย (begonia) อเซเลีย (azalea) แพนซี (pansies) โลบีเลีย (lobelia) ทอรีเนีย (torenia) ไวโอล่า (viola) อีปีเซีย (episcias) กล็อกซเนีย (gloxinia) อัฟริกันไวโอเล็ด (African violet)

๕.๘  ไม้ดอกคลุมดิน (flower plants for ground cover) ส่วนมากเป็นไม้ดอกที่มีพุ่มต้นเตี้ย  ลักษณะการเจริญของพุ่มต้นค่อนไปทางเลื้อย  สามารถปกคลุมพื้นดินได้ดีและรวดเร็ว มีอายุอยู่ได้นาน ต้องการการดูแลรักษาไม่มากนัก  เจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกชนิด เช่น เวอร์บีน่า ผกากรองเลื้อย โดยเฉพาะสีม่วง แพรเซี่ยงไฮ้ พังพวยเลื้อย พังพวยต้น กระดุมทองเลื้อย กระดุมทองต้น อลิซึม แพนซี บีโกเนีย อีปีเซีย เป็นต้น