การตลาดเกษตร

ในปัจจุบันเกษตรกรไทยประสบปัญหาเรื่องตลาดแปรปรวน และราคาสินค้าเกษตร ขึ้นๆ ลงๆ อย่างมาก โดยทั่วๆ ไปเกษตรกรผู้ผลิตจะเป็นผู้ที่อยู่ปลายแถว และเสียเปรียบคนอื่นอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ การผลิตทางเกษตรเห็นผลช้า ลงทุนมากแค่ได้กำไรน้อย หรือบางทีก็ขาดทุน

การตลาดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการผลิตทางเกษตร และการตลาดเกษตร ในเมืองไทยเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนมาก ลำพังเกษตรกรฝ่ายเดียวจะไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องตลาดได้เลย แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย เช่นผู้ผลิต ผู้บริโภค พ่อค้าคนกลาง องค์การธุรกิจ กฏหมายข้อบังคับ ส่วนราชการต่าง ๆ รัฐบาล และต่างประเทศ

การพัฒนาเกษตรในเมืองไทยยังไม่เจริญรุดหน้าเท่าที่ควร ก็เพราะปัญหาเรื่องตลาด เข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ว่ารัฐจะมีนโยบายในการพัฒนาการเกษตรอย่างจริงจัง หรือมีแผนจะยกระดับ ความรู้ เพิ่มเทคโนโลยี่ให้เเก่เกษตรกรมากสักเท่าใดก็ตาม แต่ถ้ารัฐยังไม่ปรับปรุงเรื่องการตลาด (ราคาและแรงจูงใจ)ให้ดีขึ้น ก็เป็นการยากที่เกษตรกรจะยอมรับวิทยาการแผนใหม่ทางการเกษตร ดังนั้นถ้าเราจะกล่าวว่าการ่ตลาดเป็นตัวควบคุมการยอมรับวิทยาการแผนใหม่ก็คงจะไม่ผิดนัก ตัวอย่างเช่นว่าถ้ายางราคาดีชาวสวนยางก็จะยอมรับวิทยาการแผนใหม่อย่างรวดเร็ว

การตลาดและวิธีกำหนดราคา

ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม จะมีผลิตผลออกสู่ตลาด 2 แบบ คือผลิตผลที่เน่าเสียง่าย เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อ นมไข่ สิ่งเหล่านี้เป็นผลิตผลที่ให้ผลประโยชน์โดยตรง ดังนั้นเมื่อผลิตเสร็จแล้วจะต้องส่งไปสู่ตลาดทันที ผลิตผลอีกแบบหนึ่งเป็นวัตถุดิบที่จะนำไปแปรรูป เปลี่ยนสภาพเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น ข้าวแปรรูปเป็นข้าวสาร มันสำปะหลังแปรรูป เป็นแป้งมัน อ้อยแปรรูปเป็นน้ำตาลเหล่านี้เป็นต้น

วิธีการกำหนดราคาสินค้าอย่างหนึ่งอย่างใดในท้องตลาดนั้นมีอยู่หลายทาง แค่สรุปแล้วการกำหนดราคาสินค้าขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง คือ อุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply)

อุปสงค์ คือความต้องการในสินค่านั้น ๆ จึงอาจเรียกว่าการเสนอ

อุปทาน หมายถึงปริมาณในการผลิตสินค้านั้น ๆ จึงอาจเรียกว่าการสนอง

ราคาของผลิตผลทางการเกษตรย่อมขึ้นอยู่กับจำนวนความหนาแน่นของผู้ผลิต คือถ้าปริมาณผลิตผลมีน้อยความต้องการมีมาก ราคาก็ย่อมจะสูง แต่เมื่อไรผลิตผลมีมาก ความต้องการมีน้อยราคาก็จะตกต่ำ

ลักษณะของตลาดและพ่อค้ามีอยู่ 4 ประเภทด้วยกันคือ

ก. ตลาดขายปลีกและขายตรงต่อผู้บริโภค กล่าวคือเกษตรกรผลิตสินค้าขึ้นมาก็นำไปขายเอง เช่นขายตามบ้าน ริมถนนหรือตลาดนัดต่าง ๆ

ข. ตลาดในท้องถิ่นและพ่อค้าในหมู่บ้าน กล่าวคือจะมีพ่อค้าเร่ พ่อค้าในหมู่บ้าน หรือสหกรณ์เป็นผู้ซื้อสินค้าและรวบรวมผลิตผลจากเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อส่งไปจำหน่ายที่อื่นต่อไป

ค. ตลาดกลางในเมืองและพ่อค้ารายใหญ่ กล่าวคือจะมีพ่อค้ารายใหญ่อยู่ในเมือง หรือในจังหวัดที่จะคอยรวบรวมผลิตผลจากเกษตรกรโดยตรง หรือจากพ่อค้าในท้องถิ่นหรือจากสหกรณ์ เพื่อที่จะบรรจุหีบห่อหรือแยกประเภท แล้วส่งต่อไปขายที่อื่น

ง. ตลาดโลกและพ่อค้าส่งออก กล่าวคือจะมีพ่อค้าหรือโรงงานแปรรูปรายใหญ่ ที่คอยรวบรวมผลิตผลทางเกษตรเพื่อแปรรูป หรือบรรจุหีบห่อแล้วส่งไปขายทั้งในและต่างประเทศเช่น โรงงานแปรรูปยาง โรงงานแป้งมันสำปะหลั่ง โรงงาน น้ำตาล เป็นต้น

รัฐกับการตลาดเกษตร

ในประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์และทรวงมหาดไทย ควรจะร่วมมือกันแก้ปัญหาเรื่องตลาดอย่างจริงจังเพราะไม่เช่นนั้นเกษตรกรจะเป็นผู้ยากไร้และเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา แนวทางที่ทางรัฐบาลจะพัฒนาตลาดเกษตรให้ดีขึ้น อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น

1. ส่งเสริมหรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อรับวัตถุดิบจากเกษตรกรเข้ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์และผลิตภัณฑ์พืชต่าง ๆ

2. ตั้งศูนย์รับซื้อผลิตผลทางเกษตรเพื่อประกันราคาขั้นต่ำ เช่นให้องค์การตลาคเพื่อเกษ่ตรกร ขยายสาขาไปในต่างจังหวัดพื่อทำธุรกิจทางการตลาดอย่างแท้จริง

3. ให้เครดิตแก่เกษตรกรในรูปปัจจัยการผลิต (ปุ๋ย ยา เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ) แล้วรับซื้อผลิตผลจากเกษตรกรเพื่อชำระค่าปัจจัยการผลิต

4. ส่งเสริมและจัดตั้ง สหกรณ์เฉพาะอย่างมากขึ้น เช่น สหกรณ์หมู สหกรณ์ข้าว สหกรณ์ยาง ฯลฯ

5. ขยายตลาดส่งไปต่างประเทศให้กว้างขว้างยิ่งขึ้น

6. กำหนดมาตรฐานสินค้าให้ผู้ผลิตได้ผลิตและผู้ซื้อได้ซื้อตามเกรด ที่ทางราชการกำหนด

7. รัฐจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และทำโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง เช่นกฎหมายควบคุมการค้ากำไรเกินควร กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

เกษตรกรกับการตลาด

เนื่องจากว่าปัญหาเรื่องตลาดเป็นปัญหาระดับชาติ ที่แก้ไขได้ยาก แค่ในส่วนของเกษตรกรผู้ผลิตแล้วเกษตรกรเองสามารถจะปรับปรุงการตลาดของคนเองได้โดยวิธีต่างๆ หลายวิธี คือ

1. กำหนดการปลูกพืช หรือเลือกจังหวะการผลิตใหเหมาะกับความต้องการของตลาด เช่นเพาะเห็ดและผลิตมะนาวออกมาขายในหน้าที่ตลาดไม่มีเห็ด และมะนาวเป็นต้น

2. เลือกทำเลที่ดี เช่นมีดินดี น้ำดี จะทำให้พืชพรรณ เติบโตเร็ว ต้นทุนในการผลิตต่ำ ก็ย่อมจะขายได้มาก

3. ใช้พืชและสัตว์พันธุ์ดี ควบคู่กับการบำรุงรักษาดี เพราะพืชพันธุ์ดี สัตว์พันธุ์ดี ย่อมจะเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูง นอกจากนั้นก็ควรเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่มีราคาต่ำแต่คุณภาพดี

4. วางแผนให้ถูกหลัก เหมาะต่อการใช้เครื่องมือ เครื่องทุ่นแรงและต้องจัดการให้มีการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ

5. พยายามผลิตของแปลก ๆ ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด เช่นการผลิตกะหลํ่าปม และมะพร้าวต้นเตี้ยลูกดกกองดินออกสู่ตลาด ในขณะที่ตลาดกำลังตื่นเต้นสนใจอยู่

6. ติดต่อหาตลาดก่อนผลิตหรือโฆษณาสินค้าให้คนรู้จักอย่างแพร่หลาย เช่นการพิมพ์เอกสารแจกจ่ายตามชุมชนต่าง ๆ

7. ทำการแปรรูปหรือถนอมผลิตภัณฑ์ไว้คอยจังหวะที่จะขายได้ราคาสูงๆ

8. จัดบริการการขายแบบต่าง ๆ ขึ้นเอง เช่น จัดส่งผลิตภัณฑ์ไปขายถึงบานผู้ซื้อ(ไข่ นม ผัก ฯลฯ) จัดขายตามริมทางหรือจุดเด่น ๆ (เช่น แตงโม มะเขือเทศ ข้าว โพดหวาน) และขายในตลาดนัดในท้องถิ่น เช่นตลาดนัดวันอาทิตย์ ตลาดนัดสนามหลวง เป็นตน

9. จัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตร เช่น กลุ่มขายยาง กลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่น เป็นต้น

10. จัดตั้งหรือรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ให้มากขึ้น เช่นการจัดตั้งสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม สหกรณ์ผู้ผลิตยาง สหกรณ์ชาวนา เป็นต้น