การปรับปรุงดินและการเก็บตัวอย่างดิน

ก. การปรับปรุงดินกรด

1. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ขี้เถ้าแกลบ

2. ปลูกพืชคลุมดิน เช่น พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ

3. ใส่ปูนขาว หรือหินปูน เปลือกหอย หรือปูนมาร์ล (ดินขาว ดินสอพอง) ซึ่งเป็นพวกแคลเซี่ยม คาร์บอเนต ประมาณ 1 ตัน/ไร่ เพื่อแก้การเป็นกรด

4. หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยที่ทำให้เกิดกรด เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต

5. ขุดยกร่องให้สูง เพื่อลดระดับน้ำในดินให้ต่ำลง กรดก็จะลดต่ำลงด้วย

6. ปลูกพืชที่ชอบและทนดินกรด เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วต่างๆ มัน เทศ กะหล่ำดอก พริก มะเขือ สับปะรด กล้วย กาแฟ ยาง ฯลฯ

ข. การปรับปรุงดินด่างและดินปูน

1. ไถดินให้ลึกโดยกลบดินด่างให้ลงไปลึก ๆ

2. ทดน้ำให้ท่วมดินด่าง แล้วระบายน้ำออก

3. ใช้ปุ๋ยคอก และปุ๋ยที่ก่อให้เกิดกรด เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต, ยิบซัม หรือผงกำมะถัน (โดยใส่คลุกเคล้ากับดินก่อนปลูกพืช 2-3 อาทิตย์)

4. ทำการไถพรวนดินให้ร่วนซุยเสมอ ถ้าดินด่างมีอยู่น้อย ๆ ก็อาจขุดออก แล้วหาดินอื่นมาใส่แทน

5. ปลูกพืชที่มีรากลึก ๆ หรือพืชที่ชอบดินด่าง เช่น แตงกวา, กะหล่ำปลี, หอม, เบญจมาศ, บานชื่น, รักเร่, มะลิ, มะนาว, องุ่น ฯลฯ

ค. การปรับปรุงดินเหนียว

1. ขุดดินเป็นก้อน ตากแดดให้แห้ง

2. ใส่ขี้เถ้าแกลบ ปูนขาว และดินทรายลงไปแล้วไถพรวนให้ทั่ว

3. ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ลงไปมาก ๆ

4. ปลูกพืชหมุนเวียน โดยมีพืชตระกูลถั่วรวมอยู่ด้วย

5. ทำร่องระบายน้ำ อย่าให้น้ำขังแฉะ เช่น โดยการยกร่องให้สูง

6. ถ้ามีน้อย อาจเผาหรือคั่วดิน จะลดความเหนียวลง

. การปรับปรุงดินทราย

1. ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เพื่อช่วยอุ้มนํ้าและเพิ่มธาตุอาหารพืช

2. ใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เพื่อเชื่อมเม็ดดินให้ติดกัน

3. ใส่ปูนขาว หรือหินปูน เพื่อให้ทรายจับตัวกันได้

4. ปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อช่วยเพิ่มไนโตรเจนและอินทรียวัตถุ

5. ทดน้ำเข้า เพื่อให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ

จ. การปรับปรุงดินนา

1. หลังเก็บเกี่ยว ควรไถดินให้ลึก กลบตอซังและฟางข้าวไว้ให้เน่าผุ

2. อย่าเผาตอซังและฟางข้าว

3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปทุกครั้งที่ทำนา

4. ควรปลูกพืชหมุนเวียนในนาด้วย

5. จัดระบบชลประทานให้เหมาะสม

ฉ. การปรับปรุงและบำรุงดินโดยการเขตกรรม (ไถและปลูกพืช)

1. ไถดินและปลูกพืชตามแนวระดับของพื้นที่ เพื่อกินการพังทะลาย

2. ปลูกพืชสลับกันเป็นแถบ ๆ เช่น แถบที่หนึ่งเป็นข้าวแถบที่สองเป็นถั่ว แถบที่สามเป็นข้าวโพด

3. ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ปีนี้ปลูกข้าวปีหน้าปลูกถั่ว ต่อไปปลูกข้าวโพด แล้วปลูกแตงโม ข้าวหรือถั่ว เวียนกันไปเรื่อย ๆ

4. ปลูกพืชคลุมดิน เช่น พืชตระกูลถั่ว แล้วไถกลบลงดินเป็นปุ๋ยพืชสด

5. ป้องกินทางน้ำไหลและการเกิดร่องลึก

6. อย่าปล่อยให้ดินถูกแดดเผาจัดเกินไป แต่ควรใช้เศษฟางหรือปลูกพืชคลุมดินดังกล่าวแล้ว

7. ใส่ปุ๋ย ปูนขาว เป็นประจำ

8. ไถดินหลังเก็บเกี่ยวเพื่อพลิกเอาเศษพืชลงเป็นปุ๋ย ให้เเสงแดดทำลายโรค แมลง และวัชพืชต่าง ๆ

9. ควรเลี้ยงสัตว์ หลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้สัตว์เก็บกินเศษเหลือและเพิ่มมูลลงในแปลง

10. ถ้าทำได้อาจพักดินไว้เฉย ๆ ในฤดูต่อไป แล้วเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มปุ๋ยด้วย

ช. การเก็บตัวอย่างดิน

ก่อนที่ท่านจะทำการเพาะปลูก หรือเริ่มทำฟาร์ม ท่านควรจะเก็บตัวอย่างดินส่ง ไปให้ทางการวิเคราะห์หาคุณภาพของดินเสียก่อน โดยใช้จอบหรือเสียมเจาะหลุม ให้ทั่วแปลง แล้วใช้ช้อนหรือเสียมปาดดินจากหลุมต่าง ๆ มารวมกัน เมื่อคลุกเคล้าดีแล้ว ก็เก็บตัวอย่างดินใส่กล่อง หรือกระป๋อง ส่งไปตรวจที่มหาวิทยาลัยบางแห่ง ที่กองกสิกรรมเคมี กรมวิชาการเกษตร เกษตรกลาง บางเขน หรือที่กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน บางเขน กรุง เทพมหานคร

และในการส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์นี้เกษตรกรจะต้องบอกรายละเอียดประกอบตัวอย่างดิน คือ