การปลูกปาล์มชนิดต่าง ๆ

ปาล์มเป็นพันธุ์ไม้ประดับที่สง่างามมากชนิดหนึ่ง ในบรรดาพันธุ์ไม้ทั่ว ๆ ไป ในการจัดสวนหรือการปลูกไม้ประดับ ไม้กระถางทั่ว ๆ ไปแล้ว จะขาดพันธุ์ไม้พวกปาล์มเสียมิได้ เพราะปาล์มเป็นพันธุ์ไม้ที่มีขนาดต่าง ๆ กันมาก เหมาะที่จะนำมาปลูกในกระถางตั้งเป็นไม้ประดับก็น่าดูงดงาม หรือปลูกเป็นไม้ประดับสวนก็ทำให้เกิดความสง่างามแก่สถานที่มาก ดังนั้นในประเทศที่มีอากาศร้อนทั่ว ๆ ไปจึงนิยมใช้ปาล์มเป็นไม้ประดับที่สำคัญยิ่ง เช่น ปลูกประดับริมถนนในเมือง หรือปลูกเป็นไม้กระถางใช้ประดับตกแต่งทั้งในร่มและกลางแจ้ง

ปาล์มเป็นพันธุ์ไม้อยู่ในวงศ์ Palmae ซึ่งมีประมาณ 900 สกุล (genera) และมีชนิดต่าง ๆ กันอยู่มากมายถึง 400 ชนิด (species) ส่วนมากมีกำเนิดจากประเทศถิ่นร้อนต่าง ๆ แล้วแต่สกุลและชนิดที่มีถิ่นกำเนิดต่าง ๆ กัน

ลักษณะปาล์มทั่ว ๆ ไปนั้นมีลำต้นสูงชลูด มีใบอยู่ส่วนยอดของลำต้น อาจแบ่งลักษณะของลำต้นปาล์มได้ 2 ประเภทคือประเภทหนึ่ง มีลำต้นเดียวไม่มีหน่อและไม่แตกกอ เช่นพวกหมากสง (Areca catachu) มะพร้าว (Cocos nucifera) ปาล์มขวด (Oreodexa regia) ส่วนอีกประเภทหนึ่งมีหน่อและขึ้นเป็นกอรวมกันหลาย ๆ ต้น เช่น หมากเขียว (Ptychosperma macarthuri) หมากเหลือง (Chrysaliddacarpus lutescens) ส่วนลักษณะลำต้นของปาล์มนั้น ส่วน มากเป็นข้อและปล้องเห็นได้ชัด ข้อที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากรอยก้านใบที่หลุดออกไปแล้ว ลำต้นอาจเรียบเป็นมันหรือมีหนามเต่มีลำต้นก็ได้

ลักษณะของใบปาล์มนั้น อาจแบ่งออกตามลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 2 ลักษณะ คือลักษณะขนนก (Pinnate leaves) มีลักษณะใบเป็นใบประกอบ แล้วมีใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ 2 ข้าง ลักษณะคล้ายขนนก เช่น ใบมะพร้าว ใบหมากสง ใบหมากเหลือง เป็นต้น ส่วนอีกลักษณะหนึ่งนั้นมีใบรูปใบพัด (palmate leaves) คือมีลักษณะใบใหญ่เกือบกลมคล้ายพัด เช่น ใบตาล ใบค้อ ใบปาล์มพัด นอกจากนี้ก็มีลักษณะใบอีกชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในพวกขนนก แต่แยกออกจากใบย่อยอีก 2 ข้าง จึงเรียกว่า bipinnate เช่น ใบเต่าร้าง (Caryoter)

ลักษณะช่อดอกของปาล์มนั้นส่วนมากออกดอกเป็นพวง หรือที่เรียกว่า “ทลาย” “ตะแง้’” เช่น ตะแง้หมากสง หรือทลายมะพร้าว ที่ช่อดอกมีกาบห่อหุ้มช่อดอกขณะที่ดอกยังอ่อนหรือไม่บาน กาบดอกเรียกว่า ‘sparhes’ มีลักษณะ ต่าง ๆ กัน ดอกของปาล์มีส่วนมากมีขนาดเล็ก และมีเพศต่าง ๆ กัน ซึ่งอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ

1. ดอกสมบูรณ์เพศ (Hermayshrodite) คือ ในดอกเดียวกันนั้นมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียรวมอยู่ในดอกเดียวกัน

2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศแยกดอกกันอยู่ (Mo­noecious) คือในช่อดอกหนึ่ง ๆ มีดอกเกสรตัวผู้อยู่ดอกหนึ่ง และดอกเกสรตัวเมียอยู่อีกดอกหนึ่ง หรือแต่ละเพศของดอกอยู่แยกกันคนละดอก แต่อยู่ในต้นเดียวกัน

3. ดอกไม่สมบูรณ์เพศแยกดอกกันอยู่คนละต้น (Dioecious) คือต้องมีต้นหนึ่งที่มีดอกตัวผู้ล้วน ไม่มีดอกตัวเมียเลยในต้นนั้น และก็มีอีกต้นหนึ่งที่มีแต่ดอกตัวเมียล้วน ๆ ไม่มีดอกตัวผู้เลย ดังนั้นถ้ามีปาล์มชนิดนี้ต้นเดียวก็ไม่เกิด การผสมพันธุ์กันขึ้นได้

ลักษณะของผลและเมล็ดปาล์มนั้นทั่ว ๆ ไป ปาล์มมีเมล็ดที่มีขนาดต่าง ๆ กันตั้งแต่เล็กเทา ขนาดเมล็ดพริกไทยจนถึงขนาดใหญ่กว่ามะพร้าว ที่รู้จักกัน เมล็ดส่วนมากมีกะลา (shell) แข็ง และมีเนื้ออยู่ภายใน เมล็ดปาล์มเสื่อมความงอกได้รวดเร็วมาก ทั่วๆไปเมล็ดที่มีอายุเก่าเกิน 1 เดือนไปแล้วความงอกจะลดลงมากกว่า 10% ระยะเวลาที่เมล็ดงอกขึ้นเป็นต้นมาได้นั้น ก็มีระยะเวลาแตกต่างกันตั้งแต่ 15 วัน จนถึง 1 ปีขึ้นไป ในการเพาะเมล็ดปาล์มนั้น บางชนิดก็มีผลสำเร็จน้อยมาก บางชนิดก็ง่ายมาก เพียงแต่เมล็ดร่วงลงโคนต้นหรือเก็บไว้เฉย ๆ ก็งอกเป็นต้นอ่อนได้เอง จึงได้มีผู้ทดลองค้นคว้า ในการที่จะช่วยให้เมล็ดปาล์มงอกได้เร็วขึ้น และมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ กัน เช่น ใช้เมล็ดแช่น้ำร้อน แช่กรดหรือขัดถูเมล็ด เพื่อให้เปลือกบางลง หรือโดยวิธีอื่น ๆ ซึ่งแล้วแต่ชนิดและลักษณะของเมล็ดไม่เหมือนกัน

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์ปาล์มนั้น ถ้าหากเป็นปาล์ม ชนิดที่มีหน่อและแตกกอแล้ว วิธีที่ง่ายและได้ผลสำเร็จก็คือ ใช้วิธีแยกหน่อ หรือแบ่งกอออกปลูก แต่ปาล์มบางชนิดนั้น การแบ่งกอหรือ แยกกอก็ทำได้สำเร็จยาก เช่นพวกหมากแดง (Sealing-wax palm) ซึ่งเมื่อแยกหน่อออกมาปลูกหรือชำไว้แล้ว หมากแดงจะทรงและมีสภาพชงักงันอยู่ได้นานกว่าจะทราบได้ว่าอยู่รอดเป็นต้นใหม่ได้หรือตายในภายหลัง บางโอกาสอาจมีสภาพชงักงันอยู่ได้นานถึงปีกว่าจะตายไปในที่สุด แต่บางชนิดก็แยกหน่อได้สำเร็จง่าย ๆ เช่น หมากเหลือง หมากเขียว เป็นต้น

วิธีแยกหน่อนั้นข้อสำคัญก็คือให้หน่อที่จะแยกออกมาปลูกใหม่นั้นมีรากติดมาด้วย และมีลำต้นเจริญแข็งแรงโตพอสมควรมากแล้ว สำหรับหมากแดงนั้นควรใช้มีดตัดให้ขาดแล้วปล่อยไว้สักพักหนึ่งจนเห็นว่าหน่อที่ถูกตัดขาด ออกจากต้นแม่ไม้ไม่ชงักงันจนเหี่ยวแห้งแล้วหรือรอดได้ดีแล้วจึงขุดหน่อที่ตัดออกก่อนแล้วมาปลูกใหม่ได้ หรือจะค่อย ๆ ตัดให้ขาดจากต้นแม่ไม้ทีละน้อย ๆ ก็ได้ จะไม่ทำให้หน่อที่ตัดออกมานั้นชงักงันมาก จะทำให้ที่ตัดมานั้นรอดตายได้ดีขึ้น เมื่อแยกหน่อหรือกอมาจากต้นแม่เดิมมาปลูกในที่ใหม่นั้นต้องระวังเรื่องเครื่องปลูกที่มีการระบายน้ำได้ดี และระวังเรื่องแสงแดด ควรตั้งในที่ร่ม ๆ และสงบ อย่าให้ได้รับความกระทบกระเทือนจากการถูกลมโยกพัด ให้ต้นล้มหรือเอน ทำให้เกิดตายได้ภายหลัง

สวนปาล์มชนิดที่ไม่มีหน่อและแตกกอที่ต้นแล้ว ก็มีการขยายพันธุ์วิธีเดียวคือการใช้เมล็ดเพาะขยายพันธุ์ เช่นมะพร้าว หมากสง และปาล์มขวด เครื่องปลูกหรือ media ที่ใช้เพาะเมล็ดนั้น ต้องมีคุณสมบัติในการระบายน้ำได้ดี สะอาดปราศจากเชื้อราและโรยที่ทำให้เมล็ดปาล์มเกิดเชื้อราและเน่าได้ง่าย ๆ ก่อนจะนำเมล็ดมาเพาะควรล้างทำความสะอาดเชื้อรา ที่อาจติดมากับเมล็ดเสียก่อน หรืออาจจะใช้ยาฆ่าเชื้อราชนิดเป็นฝุ่นผงคลุกเมล็ดปาล์มก่อนที่จะนำมาเพาะก็ได้

วัสดุที่ใช้เพาะเมล็ดปาล์มนั้น ในต่างประเทศนิยมใช้ทรายหยาบพีทมอสและเวอร์มิคิวไลท์ แต่ในเมืองไทยเข้าใจว่าทรายหยาบผสมขี้เถ้าแกลบโรงสี หรือขี้เถ้าแกลบอย่างเดียว เพาะเมล็ดจะได้ผลดีที่สุด

ปาล์มที่ปลูกเป็นไม้ประดับในเมืองไทยทั่ว ๆ ไปนั้น มีอยู่หลายชนิดด้วยกันที่นิยมปลูกกันมานานแล้ว ดังจะได้กล่าวแต่ละอย่างต่อไป คือ

พวกปาล์มชนิดที่มีใบรูปขนนก ( (Pirnate leaves)

หมากเขียว (Ptychosperma) เป็นพันธุ์ไม้ประดับที่นิยมปลูกกันทั่ว ๆ ไปในเมืองไทย หรือปลูกเป็นไม้ประดับสวน ตกแต่งบริเวณบ้านอาคารราชการ และปลูกเป็นไม้กระถาง หมากเขียวหรือบางทีเรียกว่าหมากฝรั่ง มีปลูกกันใน เมืองไทยนานมาแล้ว มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน บางชนิดมีลำต้นเดียว บางชนิดมีลำต้นเป็นกอ เป็นไม้ที่ขึ้นได้ง่าย จะย้ายไปปลูกที่ไหนก็ไม่ตาย ถ้าได้ร่มพอและดินไม่แฉะเกินไป กอที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปจะดูสง่างามยิ่งนัก

การขยายพันธุ์

ใช้หน่อแยกปลูกก็ได้ เมล็ดที่นำไปเพาะโดยวิธีธรรมดาแล้วจะงอกภายใน 2 เดือน

หมากเหลือง (Chrysalidocarpus) หมากเหลืองที่นิยมปลูกในเมืองไทยนั้นมี 2 ชนิดด้วย กันคือ

1. C. lutescens มาจากภาษาลาตินคือ lutues แปลว่าเหลือง มีถิ่นกำเนิดจากมาดากัสการ์ ลำต้นสูง 25-30 ฟุต ลำต้นโต 4-6 นิ้ว ขึ้นเป็นกอ ก้านใบยาว 2 ฟุต มีร่องตอนบน ก้านใบและโคนกาบห่อลำต้นไว้ ใบรูปขนนก ยาว 6-9 ฟุต กว้าง 3 ฟุต โค้งอ่อนลง ใบย่อยกว้าง 1/2 นิ้ว ช่อดอกลอกเป็นตะแง้ เป็นดอกไม่ สมบูรณ์เพศแยกกันอยู่คนละต้น (Dioecious) เมื่อผลแก่มีสีม่วงดำ ผลเล็กขนาด 3/4 นิ้ว ชนิดนี้มีก้านใบสีเหลือง กาบใบสีเหลืองแสด ถ้าใบตากแดดจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ด้วย ถ้าปลูกในกระถางเล็ก ๆ นาน ๆ จะมีขนาดลักษณะรูปร่าง น่าดูมากกว่าปลูกกันในกระถางใหญ่ ๆ หรือปลูกลงในดินซึ่งมีสีสันน้อยกว่าปลูกในกระถาง

หมากเหลืองชนิดนี้จะโตและเจริญเติบโตรวดเร็วถ้าหากปลุกลงในดิน แต่ถ้าปลูกลงในกระถางแล้วจะคงสภาพเดิมอยู่ได้นาน หมากเหลืองที่นิยมปลูกในกระถางให้ได้ลักษณะงดงามได้นั้น ต้องมีลำต้นเล็ก ๆ ขนาดไม่ควรโตกว่า ดินสอดำ ตั้งให้ถูกแดดเต็มที่จะมีลำต้นเล็กเป็นกอ ทุกต้นในกอให้มีขนาดเท่า ๆ กัน และมีสีเหลืองทองมาก นับว่าเป็นไม้กระถางที่งามและนิยมกันมากในการใช้เป็นไม้ประดับตกแต่งทั่ว ๆ ไป ดินที่ใช้ปลูกเป็นไม้กระถางนั้นให้มีอิฐเผาป่นรวมกับดินปลูกให้มาก จะทำให้ต้นแคระแกร็น ได้ลักษณะงามน่าดู ถ้าใช้ดินปลูกดีเกินไปหรือตั้งในที่ร่มแล้ว จะทำให้ต้นโตเร็วและมีสีเขียวเป็นมัน ไม่น่าดู บางท้องที่เรียกชื่อทางการค้าว่า ‘Butterfly plam หรือ Yellow palm.

2. C. madagascariensis มีลักษณะคล้าย ๆ กับหมากเหลืองชนิดเหลืองแรก (C. lutescens) แต่ลำต้นมีขนาดโตกว่ามีใบดกมากกว่าใบย่อยนี้มาก สีเหลืองตามใบ ตามก้านใบมีสีน้อยกว่าสีเหลืองในหมากเหลืองชนิดแรก ผลมีขนาดโต เท่าชนิดแรก ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ

C. lucubensis ปาล์มขนนก ลักษณะในรูปขนนกโดยแท้จริงคือ ใบย่อยแตกออกเป็นพวง และแตกออกจากทางกลางใบในลักษณะมุมต่าง ๆ กัน ปาล์มชนิดนี้ไม่มีสีเหลืองเลย ต้นอ่อนจะมีใบอ่อนสีชมพู ก้านใบสีชมพู โตขึ้นเป็นสีเขียวนวล ต้นสูงประมาณ 30 ฟุต ลำต้นโต 10 นิ้ว ไม่มีหน่อ แต่แตกแขนงใต้ดินขึ้นมาทำให้ดูเป็นกออยู่บนพื้นดิน ก้านใบนี้ จึงทำให้กอของใบที่ก้านใบยอดของตนสั้น ช่อดอกออกระหว่างใบยาว 2 ฟุต ผลรูปไข่ขนาด 3/4 นิ้ว เป็นดอกไม้สมบูรณ์เพศ (Monoecious) ชอบขึ้นในที่กลางแจ้งหรือที่ร่มรำไร

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ดโดยวิธีธรรมชาตินั้น ถ้าเป็น c. lucubensis จะงอกภายใน 2 เดือน สำหรับหมากเหลือง c. lutescens เมล็ดจะงอกภายใน 31 วัน c. madagascariensis เมล็ดจะงอกภาย ใน 145 วัน

หมากแดง (Sealing – wax palm) มีช่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Cyrtostachys lakka Becc. มีถิ่นกำเนิดจากมาเลเซีย และเกาะแปชิฟิค ลำต้นขึ้นเป็นกอสูงประมาณ 15 ฟุต ลำต้นสูงชลูด เรียบ กาบใบที่ยอดของต้นเรียบเป็นมันและมีสี แดง ก้านใบสั้น 6 นิ้ว สีแดงสด ในรูปขนนก ยาว 18 นิ้ว สีเขียวแก่ ใต้ใบสีเขียวนวล เป็นสีน้ำเงินอ่อน ๆ ดอกออกเป็นช่อตะแง้ ใต้กาบใบ ยาว 1-2 ฟุต ผลอ่อนสีขาว ผลแก่สีม่วงแดงเกือบดำ ผลมีขนาดเล็ก 1/3 นิ้ว ดอกเป็นเพศไม่สมบูรณ์ (Monoccious) ที่ปลูกในเมืองไทยนั้น คือ Cyrtostachys lakka ซึ่งในเมืองไทยยังมีความนิยมกันมาก เพราะมีสีแดงสดสวยงามน่าดู ราคาจำหน่ายยังสูงอยู่ เนื่องจากการขยายพันธุ์เป็นไปได้ยาก ในเมืองไทยยังคงมีการขยายพันธุ์ด้วยหน่อ ซึ่งถ้าหากทำไม่ถูกโอกาสแล้วก็ไม่ค่อยได้ผล ส่วนเมล็ดนั้นในเมืองไทยไม่ค่อยมีหมากแดงต้นโต ๆ ที่สมบูรณ์ขนาดที่จะมีเมล็ดมาก ๆนำมาใช้ขยายพันธุ์ได้

การขยายพนธุ์

โดยทั่ว ๆ ไปสำหรับหมากแดงชนิดนี้ก็โดยการแยกหน่อออกมาปลูกโดยค่อย ๆ ตัดหน่อให้ขาดจากต้นแม่ในกอเดิม โดยสังเกตให้รากที่หน่อนั้นออกมาหาอาหารได้แล้วเสียก่อน จึงตัดแบ่งออกมาปลูก ถ้าหากหน่อที่แตกออกมานั้นอยู่สูงกว่าพื้นดิน ไม่มีรากที่หน่อนั้น มีแต่หน่อแล้ว ให้ตัดส่วนที่เชื่อมต่อจากหน่อไปยังต้นแม่ให้ขาดครึ่งหนึ่งก่อน คือไม่ตัดให้ขาดเลยทีเดียว แล้วใช้ดินปลูกทับโคนหน่อนั้น เพื่อให้แตกรากจนแข็งแรงเสียก่อนจึงตัดให้ขาดและขุดแยกมาปลูกภายหลัง เมื่อแยกหน่อมาแล้วให้ชำในที่ ๆ มีการระบายน้ำ หลังจากนั้นประมาณ 3-6 เดือนจึงจะสังเกตได้ว่าหน่อที่แตกมานั้นจะตายหรือไม่

ส่วนหมากแดงอีกชนิดหนึ่ง คือ c.venda มีลักษณะคล้ายกับ c. lakka มากต่างกันที่ c. venda ต้นสูงชลูดมากกว่า และมีผลหรือเมล็ดกลม สำหรับ c. venda Var. duviviera- num มีสีแดงเข้มมากที่สุด

การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหมากแดง นั้นกินระยะเวลานานถึง 5-6 เดือน เมล็ดจึงจะงอกโดยวิธีธรรมดา  เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นก่อนแล้วจะได้ช้ามาก และจะเริ่มมีสีแดงเมื่ออายุ 3-4 ปีขึ้นไป

หมากนวล (Manila palm) หมากนวลหรือ หมากมนิลานั้น มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Veit- chia merrillii เป็นปาล์มอีกต้นหนึ่งที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับลงในพื้นดินกันมากกว่าใช้ปลูกเป็นไม้กระถาง ปาล์มชนิดนี้มีต้นเดียวไม่มีหน่อ หรือแตกกอเหมือนหมากเขียว หมากเหลือง และหมากแดงดังที่กล่าวมาแล้ว มีถิ่นกำเนิดจากฟิลิปปินส์ ลำต้นสูงเต็มที่ 15-20 ฟุต ลำต้นเรียบ มีวงแหวนเป็นข้อเห็นได้ชัด ก้านใบสั้น และเรียบ ใบรูปขนนก ทางใบยาว 6 ฟุต ปลายทางในโคงเล็กน้อย ใบย่อยมีปลายทางใบแหลม ยาว 18-30 นิ้ว สีเขียวสด กาบใบสีเขียวนวล ช่อดอกลอกจากลำต้นทางส่วนยอดใกล้กาบใบ ช่อดอกสีขาวทั้งก้านดอกและลายสีขาวนวลหมด ตัวดอกสีเหลืองปนเขียวและสีนวล ดอกเป็นเพศไม่สมบูรณ์แบบ Monoecious ผลกลม ยาวขนาด 7/8 นิ้ว เมื่อผลอ่อนสีเขียวอ่อนจนเป็นสีขาวนวล เมื่อแก่สีแดงหมากสุก เมื่อนำเมล็ดที่แก่ดีแล้วไปเพาะจะงอกได้ภายใน 4-5 อาทิตย์

ปาล์มขวด (Royal palm หรือ Cuban voyal palm) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Koystomea vegia หรือ Oreodoxa vegia เป็นปาล์มที่มีผู้นำเข้ามาปลูกในเมืองไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง ปาล์มขวดมีลักษณะลำต้นสวยสง่างามมาก โดยที่มีลักษณะลำต้นเหมือนขวด จึงเรียกว่า ปาล์มขวด แต่ในต่างประเทศเรียกกันว่า Royal palm ถ้าเรียกปาล์มขวดจะเข้าไปถึงปาล์มอีกชนิดหนึ่งที่ต่างประเทศเรียกว่า Bottle palm คือ Mascarena lagenicaulis หรือที่เราเรียกกัน ว่า “แชมเปญปาล์ม”

ปาล์มขวด (Roystonea regia) นี้มีลักษณะลำต้นส่วนที่ชิดดินป่องออกขยายออกโตกว่า ส่วนยอด เมื่อโตขึ้นโคนต้นที่มีขนาดโตป่องออกก็จะเล็กลง และเปลี่ยนไปโตและขยายออกตรงกลางลำต้นและเรียวเล็กลงตรงยอดของต้น ลำต้นขนาดกลางสูง 50-70 ฟุต และลำต้นเรียบ สีเทาปนน้ำตาล ใบยาว 6-10 ฟุต กานใบสั้น ใบย่อยแตกออกจากแกนกลางของทางใบในมุมต่าง ๆ กัน สีเขียวสด ช่อดอกออกยาว 1 ฟุต ใต้กอของกาบใบ มีกาบดอกสีเขียวสดห่อหุ้ม อยู่ ดอกสีขาวนวล มีผลขนาด 5/8 – 1/2 นิ้ว

การขยายพันธุ์ของปาล์มขวดจึงใช้เมล็ดเพาะ เพราะไม่มีหน่อ เมล็ดงอกได้ง่ายภายใน 2 เดือน

ปาล์มขวดชอบดินที่ชุ่มชื้นมาก ถ้าปลูกในที่ดินแห้งแล้งจะโตช้ามาก ถ้าปลูกในที่ชื้นแฉะแล้วจะโตและจะเริ่มเป็นต้นมีข้อปล้อง 2-3 ปล้อง เมื่ออายุ 2-3 ปีนับจากเพาะเมล็ดงอกมา

ปาล์มขวดนั้นมีพันธุ์และชนิดอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้าย ๆ ปาล์มขวดอยู่อีก 2-3 ชนิด ที่แตกต่างกันเล็กน้อย เป็นลำต้นไม่เป็นขวดหรือ ต้นสูงกว่าบ้าง ใบไม่เหมือนกันบาง คือ R. boringnena, R. elata, R. olevacea

แชมเปญปาล์ม (Bottle palm) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Mascarena lagenicaulis เป็นปาล์มต้นหนึ่งที่ขณะนี้ยังนิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันในเมืองไทย มีผู้นำเข้ามาในเมืองไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง ลักษณะแรกที่เห็นเด่นชัดในปาล์มชนิดนี้ก็คือ มีสีแดงเลือดหมูตลอดทั้งก้านใบ กาบใบ เมื่อต้นยังอ่อน ๆ อยู่ เมื่อโตขึ้นโคนต้นจะขยายพองตัวป่องออกเป็นรูปขวดกลม ยอด เรียวเล็ก ลำต้นเตี้ย ๆ ขนาดสูง 5 ฟุต จะมีลักษณะงามมาก เมื่อโตมากแล้วจะไม่งาม เมื่อขณะมีอายุน้อย ก้านใบสั้น 13 นิ้ว ขอบใบมีเส้นสีเหลือง ๆ แล้วใต้ก้านใบสีแดงเลือดหมู ใบโค้งลงปลายใบบิดนิดหนึ่ง ใบย่อยยาว 20-30 นิ้ว กว้าง 1 นิ้ว ใบไม่งอ และไม่มีใบมากเกิน 6 ใบ จึงทำให้ดูไม่รกและเกะกะเหมือนปาล์มชนิดอื่น ๆ

ปาล์มชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดจากหมู่เกาะมาสการีน ช่อดอกของปาล์มชนิดนี้ออกจากลำต้นใต้กาบใบ ช่อดอกยาว 24 นิ้ว ผลโต 1 1/4 นิ้ว เมล็ดเล็ก ๆ แบนโต 1/2 นิ้ว เมล็ดจะงอกภายใน 2 เดือน ไม่มีหน่อ ใช้ขยายพันธุ์จึงใช้แต่เมล็ดเท่านั้น ดอกเป็นเพศไม่สมบูรณ์แบบ Monoecious

แชมเปญปาล์มที่มีขนาดเล็กอายุยังน้อยอยู่ ควรปลูกในกระถางในร่ม เมื่อต้นโตสูงขนาด 2 ฟุตขึ้นไป จึงนำออกปลูกในดินกลางแจ้งได้ ถ้าดินชื้นจะโตเร็วมาก

มะพร้าวสามเหลี่ยม หรือปาล์มสามเหลี่ยม (Mascarena verachaffeltii) เป็นปาล์มที่งดงามชนิดหนึ่งที่อยู่ในสกุลเดียวกับแชมเปญปาล์ม มีผู้นำเข้ามาปลูกในเมืองไทยพร้อม ๆ กันกับแชมเปญปาล์ม

ปาล์มชนิดนี้เมื่อต้นเล็ก ๆ มีลำต้นโคนกาบใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ไม่กลมเหมือนแชมเปญปาล์ม เมื่อต้นโตขึ้นจะมีลำต้นลักษณะคล้ายปาล์มขวด คือตรงกลางป่องโต ส่วนโคนต้น และส่วนยอดมีขนาดเล็กกว่าตอนกลางลำต้น

ใบปาล์มที่มีต้นสูงขนาด 20-30 ฟุต ก้าน ใบสั้น 3 นิ้ว ก้านใบมีเส้นสีเหลืองแสดเป็นทาง ๆ กาบใบสีม่วงแก่หรือสีโกโก้แก่ ใบต่างกับแชมเปญปาล์มคือ เมื่อต้นเล็กใบจะชูห่อเข้าหายอดมากกว่าที่จะกางและเปิดออกเหมือนแบบแชมเปญปาล์ม ใบย่อยยาว 12-18 นิ้ว กว้าง 1 นิ้ว ช่อดอกออกใต้กาบใบยาว 27 นิ้ว ดอกมีกลิ่นหอม เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศแบบ mo­noecious ผลใด 5/8 นิ้ว ยาว 7/8 นิ้ว ผลกลมยาว สีดำผิวขรุขระ เมล็ดเล็ก 1/4 นิ้ว อายุความงอก ของเมล็ดเท่ากับแชมเปญปาล์ม

สิ่งแวดล้อมที่ต้องการแตกต่างกันกับแชม เปญปาล์มก็คือมะพร้าวสามเหลี่ยมต้องการแสงแดด และเจริญได้ดีในที่กลางแจ้งได้ดีในที่กลางแจ้งได้ดีกว่าแชมเปญปาล์ม

ปาล์มทั้งสองชนิดที่กล่าวมาแล้วต้องการดินที่มีอาหารพืชอินทรีย์วัตถุสูงมาก ถ้าหากใช้ดินที่มีอินทรีย์วัตถุและมีอาหารพืชสูงแล้วจะโตได้รวดเร็วมาก ความชื้นสูงจะทำให้ปาล์มทั้งสองชนิดนี้โตเร็วขึ้นและ มีสีสันงดงามมากขึ้น ถ้าหากได้รับแสงแดดเต็มที่เมื่อมีขนาดโตสูง ประมาณ 3 ฟุตขึ้นไป

มะพร้าวสามเหลี่ยมจะมีสีเข้มแก่กว่าแชมเปญปาล์มมาก มีใบดกและใบมากกว่าแชมเปญปาล์ม มะพร้าวสามเหลี่ยมยิ่งมีอายุมากขึ้น ต้นโตขึ้น ก็มีความสวยงามมากขึ้น แต่แชมเปญปาล์มนั้นยิ่งโตมากขึ้น ความงามก็ยิ่งลดน้อยลง เมื่อต้นโตขึ้นอายุมากขึ้น สีสันต่าง ๆ ก็จะจางหายไปหมด

ปาล์มต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเป็นแต่เพียงปาล์มต่าง ๆ บางชนิดในพวก Pinnate leaves (ชนิดที่มีใบรูปขนนก) ที่นิยมปลูกกันแพร่หลายในเมืองไทยโดยมีความมุ่งหมายเป็นไม้ประดับมากกว่าอย่างอื่น และบางชนิดก็เป็นปาล์มที่มีมาใหม่ ๆ ยังไม่แพร่หลายไปมาก นอกจากนี้ยังมีปาล์มพื้นเมืองที่เป็นพวกใบขนนก (Pinnate leaves) ที่สวยงามและน่าจะนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอีกมาก และมีปาล์มอีกหลายชนิดที่ใช้เป็นไม้ประดับได้ดีที่ไม่ได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้ เช่น ปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineenis) พวกอินทผาลัม (Phoenix spp.) หมากงาช้าง (Pi- nanga spp.) หมากต่าง ๆ (Areca spp.)

ปาล์มใบพัด (Palmate leaves หรือ Fan­leaved palms) เป็นปาล์มอีกพวกหนึ่งที่มีใบเป็นลักษณะคล้ายพัด โดยมีก้านใบออกจากต้นที่ปลายก้านใบมีใบย่อยแตกออกจากจุดเดียวกัน รูปใบทั้งหมดจึงเป็นรูปเกือบกลม ตามขอบใบ อาจมีแฉกลึกตื้นต่างกันแล้วแต่ชนิด ปาล์มพวกใบพัดมีความสวยงามไม่แพ้พวกปาล์มใบขนนก เมื่อนำมาปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับก็งดงามน่าดู บางชนิดมีต้นใหญ่และใบกว้างใหญ่โต เหมาะที่จะปลูกลงบนพื้นดิน อย่างไรก็ตามปาล์มส่วนมากนั้นถึงแม้จะเป็นไม้ขนาดใหญ่ แต่ถ้านำมาปลูกในกระถางแล้ว เมื่อต้นยังเล็กอยู่ก็มีความงามอยู่มากเหมือนกัน โดยเฉพาะปาล์มบางชนิดนั้นเมื่อมีขนาดเล็กอายุน้อย มีสีสรรสวยงามมาก เมื่อต้นโตอายุมากเข้าสีสรรหมด ไป เช่น ตาลแดง (Latania commersonii) เมื่อต้นเล็กมีสีแดงทับทิม โตขึ้นสีหายไปหมด ปาล์มพวกใบพัดที่นิยมนำมาเป็นไม้ประดับก็มี

ปาล์มยะวา (Livistona votundifolia) ก้านใบมีหนามใบสีเขียวเป็นมัน

ปาล์มจีน (Livistona chinensis) ก้านใบมีหนาม ใบสีเขียวเป็นมัน

ปาล์มจีบ (Licuala grandis) ก้านใบมีหนาม ตัวใบจีบตามความยาวของใบ ใบสีเขียวแก่

ปาล์มพัด (Pritchardia pacifica หรือ Fiji palm) ใบรูปพัดใหญ่สวยงาม ก้านใบยาวเรียว ไม่มีหนาม ใบสีเขียวอ่อน มีขนอ่อนเป็นสีเทา เล็ก ๆ ตามก้านใบและหน้าใบ

ปาล์มใบพัดที่มีความนิยมกันมากในเมืองไทยขณะนี้เป็นพันธุ์ต่างประเทศราคายังสูงอยู่ เพราะมีน้อย รูปร่างสีสันดี ซึ่งคนไทยส่วนมากนิยมปาล์มที่มีสีมากกว่าปาล์มที่มีสีเขียว ดังนั้นปาล์มพวกใบพัดต่อไปนี้จึงได้รับความนิยมมาก และหายากด้วย เช่น

ตาลแดง (Latania commersonii) ตามก้าน ใบและขอบใบย่อยมีสีแดง เมื่อต้นเล็กอายุน้อย ชอบดินร่วนซุยมีอาหารพืชมาก ไม่ชอบดินที่มีส่วนผสมกรวดทราย ชอบความชุ่มชื้นสูง และเมื่อต้นโตขนาด 6-12 นิ้ว ชอบตากแดด

นอกจากตาลแดงก็มี ตาลทับทิม (Latania vubra) ตาลแสด (Latania verschaffeltia) ซึ่งมีสีทับทิมและสีแสดคล้ายตาลแดงผิดกันที่สีเท่านั้น

ปาล์มโคลัมโบ (Stevensonia grandifolia) ต้นสูงเต็มที่ 40-50 ฟุต ต้นเดี่ยวไม่แตกกอ เมื่อต้นยังเล็กมีอายุน้อย จะมีหนามที่กาบและก้านใบ หนามสีเหลืองอมแสด ใบเป็นใบเดี่ยว (sim­ple leaves) มีร่องเป็นทางตามความยาวของใบ ปลายใบเป็นหยัก ๆ เมื่อใบแก่ถูกแดดจะมีสีเหลืองแสด หรือสีแสดปนแดงทับทิม ปลูกง่ายโตเร็ว

ปาล์มโคลัมเบีย (Verschaffetia splendlida) คล้าย ๆ โคลัมโบปาล์ม แต่ต้นสูงชลูดกว่า เมื่อโตขึ้นรากจะลอยอยู่สูงกว่าพื้นดิน มีหนามตามก้านและกาบใบเช่นกัน สีสันอ่อนกว่าโคลัมโบปาล์ม นอกจากพวกปาล์มใบพัดที่มีสีสันแล้ว ก็มีปาล์มพวกใบพัดอื่น ๆ ที่แปลกและนิยมกัน เช่นพวก เปติโคทปาล์ม (Peticote palm? Washingtonia filifera ปลายใบพวกนี้มีขนเป็นเส้นใยสีขาวคล้ายผมยาวปกคลุม เมื่อต้นแก่ใบแก่ห้อยคลุมลำต้น เส้นใยนี้จะคลุมลำต้น ทำให้ลำต้นดูคล้ายคนนุ่งกระโปรง

นอกจากนี้ยังมีปาล์มใบพัดที่มาจากต่างประเทศอีกหลายชนิด ที่นำมาปลูกกันในเมืองไทย เช่น พวก Sabal spp., Thrinax spp. (พวก สะดือเหลือง, สะดือเขียว) เป็นต้น

ประโยชน์

1. ปลูกเป็นไม้ประดับสวนกลางแจ้ง

2. ปลูกเป็นไม้กระถางประดับสถานที่

3. ใช้ใบจัดสวนหลังหีบศพ จัดโต๊ะอาหาร บุฟเฟ่ จัดพวงหรีด หรือพวงมาลา ฯลฯ