การปลูกผักและการบำรุงรักษา

การทำสวนผัก หมายถึง การปลูกพืชล้มลุกหรือพืชที่มีอายุสั้นเพียงไม่เกินหนึ่งปี เช่นพวกผักต่างๆ ได้แก่ ผักกาด ผักคะน้า พริก หอม มะเขือ แตงต่างๆ ฯลฯ

ผักที่ให้ประโยชน์แก่มนุษย์มี 7 ประเภทคือ

ก. พวกผักกินใบ เช่น ผักกาด กะหล่ำปลี ผักบุ้ง คะน้า สะระแหน่ ตำลึง ฯลฯ

ข. พวกผักกินผล เช่น มะเขือเทศ มะเขือต่าง ๆ พริก ฟักทอง แตงกวา มะระ บวบ ฯลฯ

ค. พวกผักกินหัว ได้แก่ มันฝรั่ง ขิง ข่า สาคู กะหล่ำปม ฯลฯ

ง. พวกผักกินราก ได้แก่ มันเทศ ผักกาดหัว บีท แครอท ฯลฯ

จ. พวกผักกินเมล็ด ได้แก่ ถั่วลิสง ข้าวโพด ถั่วแระ ฯลฯ

ฉ. พวกกินช่อดอก ได้แก่ กะหล่ำดอก คะน้าดอก กุ้ยช่าย ดอกหอม ฯลฯ

ช. พวกกินผัก เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพู ถั่วลันเตา ฯลฯ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปลูกผัก

1. น้ำดี มีน้ำเพียงพอ ใกล้อ่างน้ำ บ่อ คลอง หรือชลประทาน

2. ดินดี สภาพดินเหมาะสมไม่เป็นกรด ด่างเกินไป เป็นที่ๆ นํ้าไม่ท่วม พื้นที่ราบ ระบายน้ำดี ไม่มีร่มเงา และอยู่ใกล้ที่พัก

3. เมล็ดพันธุ์ดี สะอาด ไม่มีโรคแมลงรบกวน มีเปอร์เซ็นต์การงอกดี

4. เลือกฤดูกาลได้เหมาะสมกับสภาพของฟ้าและอากาศ

5. วางแผนการผลิตดี จัดขนาดธุรกิจได้เหมาะสม และมีทุนเพียงพอ

6. มีเครื่องมืออุปกรณ์เพียงพอและเหมาะสม

7. ปฏิบัติรักษาดี คือดายหญ้า พรวนดิน ใส่ปุ๋ย รดน้ำ ฉีดยา และเอาใจใส่ดี

8. ตลาดดี อยู่ใกล้ตลาดและผู้บริโภค

วิธีการปลูกผักโดยทั่ว ๆไป

1. การเลือกที่และดินเพื่อปลูกผัก

-เป็นที่น้ำท่วมไม่ถึง ระบายน้ำดี พื้นที่เรียบไม่มีร่มเงาบัง ใกล้เหล่งน้ำ ใกล้ที่พัก ใกล้ตลาด

-ควรเป็นดินร่วน ถ้าเป็นดินเหนียวจัดต้องปรับปรุงดินดังกล่าวข้างต้น

-ควรเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ ไม่เป็นกรด-ด่างจัด

2. การเตรียมดิน

ตัดต้นไม้ที่กรีดขวางออก ดายหญ้าให้เตียน เก็บหญ้าไปทำปุ๋ยหมัก ใช้จอบขุนดินให้ลึก 1 หน้าจอบ หรือ 25-30 ซ.ม. ตากดินไว้ 3-10 วัน ย่อยดินให้เล็กลง เก็บกวาคหญ้าไปทำปุ๋ย หรือกลบลงก้นแปลง ยกร่องขนาดกว้าง 1-1.5 เมตร สูง 12-15 ซ.ม. ยาว 4 เมตร หรือมากกว่า เว้นร่องห่างกัน 50 ซ.ม. หัวแปลงห่างกัน 45 ถึง 50 ซ.ม. ใส่ปุ๋ยคอก 2-3 ถัง/แปลง ผักที่ควรปลูกบนแปลงได้แก่ผักกาด คะน้า กะหลํ่าปลี กะหล่ำดอก ผักกาดหัว ผักบุ้ง หอมแบ่ง มะเขือเทศ ฯลฯ ผักที่ปลูกในหลุมหรือในแปลงได้เลย เช่น แตงกวา บวบ แตงโม ฟักทอง ถั่วฝักยาว ข้าวโพด ฯลฯ

3. การย้ายกล้าลงปลูก

ควรทำเมื่อกล้าผักมีใบจริง 3-5 ใบ ย้ายในตอนเย็น รดนํ้ากล้าผัก 30 นาทีก่อนย้าย อาจเด็ดใบออกเสียบ้างให้เหลือครึ่ง ๆ ใบ เพื่อป้องกัน มิให้กล้าเหี่ยว ส่วนกล้าที่ชำในกระเปาะไม่ต้องรดนํ้า ปลูกให้ต้นตั้งตรง ถ้าเพาะ (ชำ) ในกระทงหรือกระเปาะ, ใบตอง ต้องเอาใบตองออก จับถือเบาๆ อย่าให้ดินร่วง

4. ใช้ระยะปลูกดังนี้                  ระหว่างต้นXระหว่างแถว (ซ.ม.)

ผักกาดหอม, หอมแบ่ง              20×20

ผักกาดขาว, และเขียวปลี           30×50

กะหล่ำปลี, กะหล่ำดอก             30-40×40-60

คะน้า, ผักกวางตุ้ง                     15-20×20-25

ผักกาดหัว                                10×15

ข้าวโพด (ในแปลงแบบแถว)     12-15×25-30

ข้าวโพด (แบบหลุม)                 12-15(3 ต้น)X30-40

ผักบุ้ง                                       3-5×5 หรือหว่านบาง ๆ

มะเขือเทศ                                50×70

มะเขือเทศต่าง ๆ และพริก         40×50

ถั่วฝักยาว บวบเหลี่ยม               40×40

แตงกวา                                    50X60

มะระ                                       40×80

แตงโมหลุมละ 3-4 ต้น,หลุมXแถว=1.50×2.50 เมตร

5. หลังย้ายกล้าผักลงปลูกใหม่ ๆ

ต้องทำร่มบังแดดให้ด้วยสัก 5-6 วันหรือจนกว่า กล้าจะตั้งตัว โดยใช้กาบกล้วย ช่อใบไม้บังหรือยกเป็นเสาขึ้น 50-60 ซ.ม.แล้ว ปิดด้วยทางมะพร้าวข้างบน

6. รดน้ำด้วยบัวฝอย เช้า-เย็น

7. ถ้าต้องการอาจฉีดยาฆ่าเมล็ดหญ้าหลังปลูกผัก เช่นใช้ยาแลสโซ่ (Lasso) เพื่อป้องกันมิให้วัชพืชขึ้น

8. ใส่ปุ๋ยบำรุงผัก เช่นสารละลายปุ๋ยคอกหมักหรือปุ๋ยเคมีละลายน้ำเช่น ไนโตรฟอสก้า แอมโมเนียมซัลเฟต ยูเรีย (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเทศบาล ดีมากเพราะจะช่วยบำรุงดินไปด้วย) ก่อนใส่ปุ๋ย ควรถอนหญ้าพรวนดินเสียก่อนใส่ปุ๋ยเสร็จก็กลบดินทับอีกชั้นหนึ่ง

9. ผักมีหนอนและแมลงรบกวน ควรป้องกันและกำจัดโดยใช้ยาเช่น ออลดริน คลอเดน ดิพเทอเร็กซ์ ดิลดริน พาราไธออน ฟอสดริน มาลาไธออน แลนเนท เซฟวิน-85 ฯลฯ

10. ผักมีรารบกวนใช้ยากันรา เช่น แคปแตน ซินเน็บ โลนาโคล ดาโคนิน คูปราวิท ไดโฟลาแทน เบนเลท ฯลฯ

11. เก็บผักมาบริโภคตามชนิดของผักเช่น

-เก็บเมื่อผักยังอ่อน ได้เเก่ แตงกวา บวบ ผักบุ้ง คะน้า ฯลฯ

-เก็บเมื่อผักโตเต็มที่ เช่น ฟักทอง กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ฯลฯ

-เก็บผักเมื่อผลสุกแล้ว เช่น มะเขือเทศ แตงโม แตงไทย ฯลฯ

-ควรเก็บผักในตอนเย็น ๆ หรือเช้าตรู่ ตอนเย็นอาจรดนํ้าเล็กน้อยพอเก็บ ตอนเช้าผักจะงดงามดี

-ผักกินใบ (คะน้า ผักกวางตุ้ง ผักกาด) ตอนเก็บอาจจะเฉา แต่พอพรมน้ำ (แช่น้ำ) จะสดชื่นได้เร็ว

-ผักกินใบเช่น ผักกาดต่าง ๆ คะน้า หอมสด ผักกาดหอม ผักกาดเขียว กวางตุ้งและผักกินใบอื่นๆ อาจจะล้างน้ำก่อนแล้วผึ่งไว้ในที่เย็นอย่างหลวมๆ อากาศโปร่ง ก็จะเหี่ยวช้าลง

– แตงกวา ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ถั่วพุ่ม มะระ มะเขือเทศ แตงร้าน มะเขือเปราะ มะเขือยาว พริก หอมใหญ่ เก็บแล้วห้ามล้างน้ำ ต้องเก็บไว้ในที่ร่มและเย็น เวลาจะใช้ (หรือขาย) จึงควรล้างน้ำ (พรมนา) ให้สะอาดและสดชื่น

-ผักที่รับประทานใบ หัว ดอก ผัก ควรปรุงอาหารรับประทานทันที จะได้รสและคุณค่าสูง

-ผักพวกมะเขือเทศ มะเขือต่างๆ พริก ฟักทอง แฟง นํ้าเต้า ผักกาดหัว จะรับประทานทันทีหรือเก็บไว้ 3-4 วัน รสชาติและคุณค่าของอาหารก็ยังเหมือนเดิม

– ข้าวโพดหวาน เมื่อเก็บมาแล้วต้องรีบกินใน 12 ช.ม.

-กะหล่ำปลีที่ต้องการเก็บไว้หลายๆ วัน ก็อย่าปอกใบนอก ๆ ออก ควร เก็บในที่แห้งและเย็น อย่าล้างน้ำ เวลาจะขาย(หรือกิน) จึงปอกและล้างน้ำ สะอาดหลายๆ ครั้ง

-ผักที่เก็บแล้ว ควรรีบนำเข้าร่ม เก็บในที่อากาศโปร่งและเย็น ภาชนะที่ ใช้พักผัก ควรเป็นตะกร้า เข่ง กระบุง กระจาด ที่สะอาดและโปร่ง ช่วยมิให้ผักอับทึบ

-การยืดเวลาและการรักษาคุณภาพผัก อาจทำโดยการเก็บในตู้เย็น ห้องเย็น ตู้แช่ แช่น้ำแข็ง หรือจุ่มโคนต้นไว้ในน้ำ

-ถ้ามีผักล้นตลาดหรือทานไม่หมด ควรทำการตากแห้ง ดอง ทำเค็ม เชื่อม หรือกวนหรือทำการอัดขวดและกระป๋อง ฯลฯ

การปลูกผักบางชนิด

1. ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี

เตรียมดินโดยการดายหญ้า กำจัดวัชพืชออกให้หมด ใช้จอบหรือสองเขาขุดดินให้ลึก 20-30 ซ.ม. ตากดินไว้ 1-2 อาทิตย์ ย่อยดินให้เป็นก้อนเล็กๆ เก็บเศษหญ้าและวัสดุอื่นๆ ออกไปให้หมด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 4-6 ปีบ ต่อเนื้อที่ 4 ตารางเมตร ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพิ่ม 1 ลิตร คลุกเคล้าปุ๋ยและดินให้เข้ากัน  ยกเป็นแปลงขนาด กว้างXสูง ประมาณ 100×15 ซ.ม. ยาว 4 เมตร หรือตามใจชอบ การปลูกควรเพาะเมล็ดก่อน แล้วย้ายกล้าที่มีอายุ 30-40

วัน มาปลูก ใช้ระยะปลูกตามตารางที่แนบมาด้วยแล้ว

เมื่อปลูกใหม่ ๆ ควรรดน้ำเช้า-เย็น และควรทำเพิงกันแดดไว้ด้วย โดยใช้ทางมะพร้าวพรางแสงสัก 4-5 วัน เมื่อผักตั้งตัวแล้วควรใส่ปุ๋ยเร่งความเจริญเติบโต โดยใช้ปุ๋ยสูตร 12-8-8 หรือ 10-10-10 ทุก 15 วัน

2. หอมแบ่ง

การเตรียมดิน ต้องขุดให้ลึก 20-30 ซ.ม. ตากดินไว้ 12 สัปดาห์ ย่อยดินให้ละเอียด เก็บเศษหญ้าและวัชพืช ใส่ปุ๋ยคอก 4-6 ปีบต่อพื้นที่ 4 ตารางเมตร และใส่ปูนขาวบ้าง ถ้าดินเป็นกรด การปลูกใช้หัวเดี่ยว ๆ โดยตัดรากเก่าทิ้งให้หมด แล้วตัดส่วนยอดของหอมออก ประมาณ ครึ่งซ.ม. ห่อด้วยผ้ารดน้ำพอชื้นราว 2 วัน รากก็จะงอกนำไปปลูกได้ทันที ใช้ระยะปลูก 12×15 ซ.ม. รดน้ำทุกเช้า-เย็น ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพื่อเร่งความเจริญเติบโต เก็บเกี่ยวได้หลังปลูก 50-60 วัน

3. พริกต่างๆ

เตรียมดินเช่นเดียวกับการปลูกผักกาด และหอมเเบ่ง การปลูกพริก อาจปลูกโดยหยอดเมล็ดลงหลุม 3-5 เมล็ด กลบดินรดนํ้าให้ชุ่ม พอพริกงอกก็ถอนต้นอ่อนแอทิ้งเหลือหลุมละต้น หรือจะปลูกด้วยกล้าก็ได้ จัดระยะให้ได้ประมาณ 50×50 หรือ 40×60 ซ.ม. รดน้ำทุกเช้า-เย็น การใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยคอกก้นหลุม 1-2 กะลามะพร้าว เมื่อปลูกได้ 3-4 สัปดาห์ควรใส่ปุ๋ย แอมโมเนียมซัลเฟต 1 ช้อนโต๊ะรอบโคนต้น ต่อไปใส่ปุ๋ยเรื่อย ๆ ควรใช้ปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตร 5-10-5 หรือ 10-10-10 ก็ได้ เนื่องจากพริกจะมีแมลง และเพลี้ยรบกวนมาก ทำให้ใบหงิกงอจึงควรใช้ยาฉีดพ่นเป็นประจำ จะเก็บพริกได้หลังจากปลูกราว 3 เดือน

วิธีการเลือกซื้อผักให้ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง

ผักสดที่วางขายในตลาด อาจจะมียาฆ่าแมลงปะปนมาด้วยโดยที่ยาจะเกาะติดอยู่บริเวณภายนอกของใบ ก้านและลำต้น หรืออาจจะถูกดูดซึมเข้าไปอยู่ภายในผักก็ได้ สารพิษเหล่านี้จะค่อย ๆ สะสมไว้ในไขมันของสัตว์และมนุษย์ทีละน้อย ๆ จนถึงจุด ๆ หนึ่งสารพิษก็จะแสดงอาการออกมาให้เห็น โดยทำให้ร่างกายอ่อนแอ อวัยวะบางส่วนทำงานมากกว่าปกติ เช่นไต หัว ใจ และอาจทำให้คนเป็นโรคประสาท ตกใจ กระตุก ร่างกายสั่น เป็นหมัน โลหิตเป็นพิษ หรือเป็นโรคมะเร็งได้ ดังนั้นเท่านควรจะเลือกซื้อผักดังนี้

1. อย่าเลือกซื้อผักที่มีใบสวยงาม ควรให้มีรูพรุนบ้างแสดงว่าชาวสวนฉีดยาไม่บ่อยนัก

2. ควรหลีกเลี่ยงผักกินหัว เช่นผักกาดหัว เพราะผักชนิดนี้จะสะสมสารพิษไว้ในหัว

3. ควรซื้อผักที่ไม่ค่อยมีแมลงรบกวน คือ ผักที่มีการฉีดยาน้อยที่สุดหรือไม่มีการฉีคยาเลย เช่น หน่อไม้ กระถิน ผักบุ้งจากนา ผักบุ้ง ผักกาดหอม ตำลึง ดอกแค ยอดแค ชะอม สะเดา หัวปลี ผักเสี้ยน ใบปอกระเจา แตงกวา แดงร้าน ผักกะเฉด ดอกโสน สายบัว มะละกอ ถั่วงอก สะตอ ผักโขม ฟักทอง บวบ มะรุม ใบทองหลาง ใบชะพลู ผักหวาน ผักกูด บอน ใบบัว บก เผือก มัน คูณ มะดัน ขนุนอ่อน ข้าวโพดอ่อน มะกรูด ยอดมะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ

4. ล้างผักหรือเอาผักแช่น้ำนาน ๆ ล้างด้วยน้ำมาก ๆ จะลดปริมาณยาลงได้ 10-20%

4.1 ล้างด้วยน้ำผสมผงซักฟอกเล็กน้อย หรือผสมด่างทับทิม

4.2 ล้างด้วยน้ำยาล้างผัก (ที่โฆษณาในทีวี) จะลดยาได้ 25%

4.3 ล้างด้วยน้ำโซดา จะลดปริมาณสารพิษได้ 50%  และถ้าใช้นํ้าโซดาอุ่น ๆ จะลดสารพิษได้ถึง 90-95%

4.4 ลวกผักด้วยน้ำร้อนจะลดปริมาณสารพิษได้ 50%

4.5 ควรปอกเปลือกเสียก่อน เช่น กะหล่ำปลีถ้าปอกใบนอกออก 4-5 ใบ แล้วล้างน้ำ จะลดสารพิษลงได้มาก

5. ควรปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเอง และกำจัดแมลงด้วยยาฉุนหรือโล่ติ๊นผสมน้ำสบู่จะปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง