การปลูกพืชเศรษฐกิจ

ถั่วเขียว

-ชอบดินแทบทุกชนิด ดินเป็นกลาง  (pH 6.8-7.2)

-พันธุ์: ถั่วเขียวธรรมดา, ถั่วทอง ถั่วเขียวเม็ดใหญ่

-ฤดูปลูก: ต้นฝน ปลายฝน, หลังเก็บเกี่ยวข้าว

-วิธีปลูก: หว่านใช้เมล็ด 10-12 ก.ก./ไร่ หยอดหลุม ๆ ละ 4-5 เมล็ด ระยะระหว่างหลุมXแถว =25×75 ซ.ม. หรือ 30×50 ซ.ม. เรียงเมล็ดในร่อง โดยโรยเมล็ดห่างกัน 3-5 ซ.ม. และร่องแหวกไว้ห่างกัน 60-70 ซ.ม.

-ใส่ปุ๋ยสูตร 10-20-20 จำนวน 30 ก.ก/ไร่ ถั่วเขียวเก็บเกี่ยวได้เมื่ออาอุ 60-70 วัน

ถั่วลิสง

-ชอบดินร่วนซุย หรือดินปนทราย ดินเป็นกลาง

-พันธุ์: วาเลนเซีย (อาจเรียกพันธุ์สุโขทัย, โคราช ฯลฯ) สะแปนนิช (อาจเรียกพันธุ์ระยอง, ท่าพระ) ไทนาน 9, สข. 38, ลำปาง

-ฤดูปลูก: ต้นฝน ปลายฝน

วิธีปลูก: ใช้เมล็ดหยอดหลุมๆละ 1-2 เมล็ด ใช้ระยะระหว่างต้น(หลุม) X แถว = 20 – 30 X 45 – 60 ซ.ม.

-ถั่วงอกได้ 10 วัน ควรพรวนดินดายหญ้า, อายุ 45 วันเลิกพรวน

-ควรใส่ปูนขาว 100 ก.ก./ไร่

-ปุ๋ย: ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก พืชสด, หรือปุ๋ยสูตร N-P-K ใช้ 3-9-6 ก.ก./ไร่ ใส่เมื่อถั่วอายุได้ 15-20 วัน

-จะเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 100 วัน

สับปะรด

-ปลูกได้ทุกแห่ง แม้ดินไม่ดีนัก ชอบดินกรคที่ร่วนซุย

-พันธุ์พื้นเมือง (อินทรชิต, แดง, เหลือง), สิงคโปร์, กัลกัตตาหรือปัตตาเวีย

-ใช้หน่อ (ตะเกียง) หัวจุก และลำต้นที่ตัดเป็นท่อน ๆ และชำไว้แล้ว

-วิธีปลูก : ปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะ 40×100-125 ซ.ม. ปลูกแถวคู่สลับฟันปลา ใช้ระยะ 30X50 ซ.ม. และให้มีระยะระหว่างแถวคู่ = 1 เมตร

-ควรปลูกใหม่ทุก ๆ 3 ปี ใช้พืชอื่นหมุนเวียนบ้าง

-ปุ๋ย : ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยสูตร 10-4-15, 12-2-10 ใช้ 35 ก.ก./1000 ต้น (ปีละ 2 ครั้ง)

-การบังคับให้ออกดอก เมื่ออายุได้ 8-10 เดือน

1. ใช่ถานแก๊ส 1 ก.ก. ผสมน้ำ 1.5-2 ปีบ แล้วใช้สารละลาย 1 กระป๋อง นมราดที่ยอดสับปะรด 3-4 ต้น

2. บดถ่านแก็สให้เป็นผง ใส่ที่ยอดต้นละหยิบมือ ( ½  – 1 กรัม) แล้ว หยอดน้ำตาม

3. ใช้อีเทรลเข้มข้น 1 % ฉีคพ่นที่ยอด 50 ซี.ซี.

-สับประรดจะออกดอกใน 40-50 วัน หลังหยอดถ่านแก๊ส จากนั้นอีก 4-5 เดือน ก็เก็บเกี่ยวได้

การปลูกข้าว (ทำนา)

ข้าวไร่ เป็นข้าวที่ต้องการนํ้าน้อย ปลูกบนที่ดอนหรือในไร่ เช่น ข้าวที่ปลูกเป็นพืชแซมยาง ผลผลิตไร่ละ 25-50 ถัง

ขาวนาหว่าน คือข้าวที่ชาวนาใช้เมล็ดหว่านลงไปในนา หลังจากไถดะไถแปรแล้ว การไถดะครั้งแรกควรไถแต่เนิ่น ๆ เมื่อเริ่มฤดูฝน แล้วตากดินให้แห้ง 7-8 วัน เพื่อทำลายวัชพืช โรคแมลง ไส้เดือนฝอย ฯลฯ แล้วจึงไถแปรเพื่อย่อยดินให้เล็กลง กำจัดวัชพืช โรค และแมลงต่าง ๆ ผลผลิตข้าวจากนาหว่านมักน้อยกว่านาดำ คือจะได้ไร่ละ 25-30 ลัง (250- 300 ก.ก. ข้าวเปลือก) ตามปกติชาวนา 1 ครอบครัวจะทำนาหว่านได้ 50 ไร่/ปี

ข้าวนาดำ คือข้าวที่ชาวนาต้องตกกล้าก่อน แล้วจึงถอนกล้าไปปักดำในนา ซึ่งทำเป็นเทือกรอไว้เเล้ว ที่ ๆ จะทำนาดำจะต้องมีคันนากักเก็บนํ้าไว้เป็นแปลง ๆ ไถดะแล้วก็ไถแปร ใน 7-8 วัน ขณะที่มีน้ำอยู่บ้าง ไถแปรหลาย ๆ ครั้งแล้วจึงคราดอีกหลาย ๆ ครั้ง ควรเตรียมดินอย่างน้อย 15 วันก่อนปีกดำ ในการตกกล้าต้องเตรียมดินเช่นเดียวกับเทือกปักดำ แต่ต้องระบายน้ำออก ยกแปลงกว้าง 1.5-2 เมตร ยาวตามชอบ เว้นระยะระหว่างแปลง 1 แปลง 1 ศอก เอาข้าวเปลือกแช่นํ้า 1 คืน แล่วหุ้มไว้ 2 คืน แล้วจึงนำเมล็ดงอกไปหว่าน ในแปลงตกกล้า (ข้าวเปลือก 5 ก.ก. ตกกล้าในเนื้อที่ 200 ตร.เมตร แล้วนำไปปักดำได้ 1 ไร่) หลังหว่านกล้า ระวังอย่าให่เเปลงแห้ง ต้องปล่อยน้ำเข้าเรื่อยๆ รักษาระดับน้ำที่ 5-10 ซ.ม. เมื่อกล้าอายุ 20-30 วัน จึงถอนไปปักดำ แต่ไม่ควรเกิน 40 วัน การปักดำใช้กล้า 2-5 ต้น/กอ และใช้ระยะห่าง 25 ซ.ม. (ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง) อย่าดำให้ลึกเกิน 3 นิ้ว และต้องรักษาระดับน้ำให้อยู่ประมาณ 1/4 ของต้นข้าว หรือไม่น้อยกว่า 10 ซ.ม. ใส่ปุ๋ยหลังจากปักดำแล้ว 7-10 วัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ก่อนปักดำ 1 วัน ใช้สูตร 16-16-8 จำนวน 25 ก.ก./ไร่ หรือใส่หลังปักคำ 7-8 วัน นอกจากนี้อาจใส่ปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักคำ 35-45 วัน โดยอาจใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (10 ก.ก./ไร่) แอมโมเนียมคลอไรด์ (8 ก.ก./ไร่) หรือยูเรีย (5 ก.ก./ไร่) ผลผลิตของข้าวนาดำมากกว่าข้าวนาหว่าน คือได้ประมาณ 30-50 ถัง/ไร่ ตามปรกติชาวนา 1 ครอบครัวจะทำนาดำได้ 25 ไร่/ปี

ข้าวนาปรัง คือข้าวที่ทำนอกฤดูกาลปกติ เช่นนาครั้งที่สอง นาที่อาศัยน้ำชลประทาน โดยจะทำแบบหว่านหรือดำก็ได้ ใช้ข้าวอายุสั้น เช่น กข. 1,3,5,7,9

ฤดูกาลทำนา ต้องมีไหวพริบเกี่ยวกับวิธีปลูก (หว่าน ดำ) เพราะดินฟ้าอากาศ ปรวนแปรเสมอ ตามปรกติถ้าทำนาเดือนหกเดือนเจ็ด ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เดือนแปด เดือนเก้า ได้ปานกลาง ถ้าทำเดือนสิบหรือเดือนสิบเอ็ด ได้ผลน้อย

พันธุ์ข้าวสำหรับปลูกในภาคใต้

1. นางพญา 132     อายุที่จะเก็บเกี่ยว 6 เดือน           ได้ 500-600 ก.ก./ไร่

2. เผือกน้ำ 43        อายุที่จะเก็บเกี่ยว 6 ½  เดือน    ได้ 450-550 ก.ก./ไร่

3. พวงไร่ 2            อายุที่จะเก็บเกี่ยว 5 เดือน          ได้ 400-500 ก.ก./ไร่

4. นางพญา 70       อายุที่จะเก็บเกี่ยว   6 เดือน        ได้ 500-600 ก.ก./ไร่

5. เหลือง 152        อายุที่จะเก็บเกี่ยว   5 เดือน        ได้ 300-400 ก.ก./ไร่

6. กข. 1 (ข้าวจ้าว) อายุที่จะ๓บเกี่ยว   4 เดือน        ได้ 900-1000 ก.ก./ไร่

7. กข. 3 (ข้าวจ้าว) อายุที่จะเก็บเกี่ยว   4 เดือน        ได้ 900-1000 ก.ก./ไร่

8. กข. 5 (ข้าวจ้าว) อายุที่จะเก็บเกี่ยว   5 เดือน        ได้ 700 ก.ก./ไร่

9. กข. 7 (ข้าวจ้าว) อายุที่จะเก็บเกี่ยว   4 เดือน        ได้ 900-1003 ก.ก./ไร่

10. กข. 9(ข้าวจ้าว)อายุที่จะเก็บเกี่ยว   4 เดือน        ได้ 900-1000 ก.ก./ไร่

หมายเหตุ

ก.) การปลูกข้าวพันธุ์ กข. จะต้องปฏิบัติดูแลอย่างดี เช่น ต้องให้น้ำพอเพียง มีการปราบวัชพืช ใส่ปุ๋ย ปราบโรคและแมลงต่างๆ จึงจะได้ผลผลิตสูงถึง 90-100 ถึง/ไร่

ข.) ข้าวเปลือก 1 ถัง เท่ากับ 10 ก.ก.

โรคและศัตรูที่สำคญของข้าว

1. โรคไหม้ เกิดจากเชื้อรา ควรใช้พันธุ์ต้านทานโรค หรือยาเบนเลท

2. โรคใบจุดสีน้ำตาล เกิดจากรา ควรคลุกเมล็ดก่อนปลูก

3.โรคดอกกระถิน ยังไม่มีวิธีควบคุมที่ดี

4. โรคขอบใบแห้ง เกิดจากแบคทีเรีย ใช้พันธุ์ต้านทาน พ่นด้วยฟีนาซีน-5-อ๊อกไซด์

5. โรคใบขีดโปร่งแสง เพราะแบคทีเรีย ใช้พันธุ์ต้านทาน ลดปุ๋ยไนโตรเจน

6. โรคเขียวเตี้ย เพราะไวรัส ควรใช้พันธุ์ที่ต้านโรคและเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาล

7. เพลี้ยไฟ ทำลายกล้า ควรสุมไฟแล้วโรยผงกำมะถันหรือใช้ยา เอ็นดริน (Endrin)

8. เพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาล กำจัดโดยจุด่ตะเกียงล่อ, ใช้พวกยาคาร์บาเมทหรือเซฟวิน-85

9. หนอนกอ กำจัดโดยเผาตอซัง จุดตะเกียงล่อตัวแก่ พ่นด้วย BHC, เอ็นดริน และฟิวราแดน (Furadan)

10. แมลงสิงห์ กำจัดโดยยา Endrin

11. หนูนา กำจัดโดยใช้กับดัก ขุดแล้วล้อมตี ใช้ยาเบื่อ (วอฟาริน, ซิงค์ฟอสไฟด์) และการรมด้วยแก๊สพิษ

การปลูกยาง

-ดินที่เหมาะต่อการปลูกยางคือดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ขังแช่ ดินทราย ดินลูกรัง ดินมีหินมากไม่เหมาะต่อการปลูกยาง ยางพาราชอบพื้นที่ดอนที่มีอากาศชุ่มชื้นตลอดปี มีฝนตกสมํ่าเสมอ อย่างเช่นใน 14 จังหวัดภาคใต้ และ 3 จังหวัคภาคตะวันออก (จันทบุรี, ระยอง, ตราด)

-พันธุ์ยางที่ทางราชการแนะนำให้ปลูกคือ อาร์.อาร์.ไอ.เอ็ม (RRIM 600, RRIM 623,) จี.ที. 1 (GT 1 ) พี.บี. (P.B. 5/51), พี.บี. 28/59

-ยางพันธุ์ดีให้ผลผลิตประมาณ 250 ก.ก./ไร่/ปี

-ยางพื้นเมืองให้ผลผลิตเพียง 50-60 ก.ก./ไร่/ปี

-ขณะนี้การขยายพันธุ์ยางใช้วิธีการติดตาเขียวเป็นหลัก

-เรานิยมปลูกยางด้วยต้นตอตา, ต้นติดตาหรือเมล็ดแล้วติดตา

-การปลูกขุดหลุด ก X ย X ล = 50 X 50 X 50 ซ.ม.

-ระยะปลูกที่แนะนำคือ ระหว่างต้น X ระหว่างแถว = 3×8 ม. หรือ 4×5 ม. และใช้พืชตระกูลถั่วเป็นพืชคลุมดิน

-ขณะที่ยางยังเล็ก อาจปลูกข้าวไร่ กล้วย สับปะรดเป็นพืชแซมยาง

-ปราบวัชพืชเสมอๆ และใส่ปุ๋ย (N-P-K-Mg) เมื่ออายุต้นติดตาได้ 2,5,8,

12,15, 18, 24, 30, 36, 48, 60 เดือน

-โรคที่สำคัญคือโรคใบร่วง ราสีชมพู (ใช้ยาบอร์โด หรือโฟโลแมค) โรค เส้นดำ เปลือกเน่าใช้ยาแอนตี้มูซิน หรือไดโฟลาแทนและโรครากขาวใช้ยาโฟ แมค 2

– เปิดกรีดยางเมื่อวัดเส้นรอบต้นได้ 50 ซ.ม. (อายุราว 5 1/2 – 6 ปี) ณ ความสูง 150 ซ.ม. กรีดยางจากซ้ายไปขวา ทำมุม 30-35°

-ใช่ระบบกรีดครึ่งต้น วันเว้นวัน ยางควรกรีดได้นาน 30 ปี

-ทำยางแผ่นโดยการใช้กรองลวดเบอร์ 40,60 และใช้กรดฟอร์มิค ทำยางให้บาง และหนักแผ่นละ 900-1000 กรัม