การปลูกรั้วหญ้าแฝกตามแนวระดับ

รูปที่ 10 แนวตัดขวางของรั้วหญ้าแฝก

รูปที่ 10 แสดงให้เห็นภาพตัดขวางการทำงานของรั้วหญ้าแฝกตามแนวระดับ ใบและลำต้นของหญ้าแฝกจะชะลอความเร็วของน้ำไหลบ่าที่พัดพาเอา ตะกอนมาด้วยที่ A และทำให้เกิดการสะสมของตะกอนบริเวณด้านหลังของหญ้าแฝกที่ B นํ้ายังคงไหลต่อลงไปตามทางลาดเอียงที่ C ด้วย อัตราความเร็วที่ลดลงมาก ระบบรากที่อุ้มนํ้าไว้ได้ของหญ้าแฝกตามรูป D จะยึดดินที่อยู่ใต้ต้นหญ้าไว้ ลึกถึง 3 เมตร รากต้นหญ้าแฝกที่รวมตัวเป็นกระจุกหนาแน่นใต้ดินตามแนวระดับของพื้นที่ จะป้องกันการเกิดร่องนํ้าและโพรงใต้ดิน รากของหญ้าแฝกมีนํ้ามันกลิ่นฉุนซึ่งช่วยป้องกันการรบกวนจากสัตว์ จำพวกหนู และสัตว์อื่น ๆ ได้ ชาวนาอินเดียจำนวนมากรายงานว่า กลิ่นของน้ำมันนี้ยังทำให้หนูไม่มาอาศัยในบริเวณที่ปลูกหญ้าแฝกด้วย ระบบรากที่หนาแน่นนี้ ยังช่วยป้องกันไม่ให้หญ้าชนิดอื่น ๆ เช่น หญ้าคอสตอลเบอร์มิวด้า (Cynodon dactylon) ซึ่งเป็นพวกวัชพืชขึ้นในบริเวณที่เป็นไร่นา อีกทั้งเกษตรกรที่อยู่ใกล้ ๆ เมืองไมซอร์ยังกล่าวว่า ใบซึ่งมีลักษณะแหลมและแข็งของหญ้าแฝกจะป้องกันไม่ให้งูเข้ามาใกล้อีกด้วย

รูปที่ 11 ระบบการเพาะปลูก

วิธีการอนุรักษ์ดินและนํ้าให้มีประสิทธิภาพนั้น ต้องปลูกหญ้าแฝกให้เป็นแถวดังแสดงในรูปที่ 11 แม้ว่าหญ้าแฝกที่หนาแน่นจะใช้เวลาก่อตัว 1 ปี แต่ ภายใต้หลาย ๆ สภาวะการที่จะให้หญ้าแฝก มีความหนาแน่นพอที่จะต้านพายุฝนและปกป้องดินได้นั้น จะต้องใช้เวลา 2-3 ฤดูเพาะปลูก ในระหว่างช่วงเวลา 2 ฤดูแรก และอาจถึงฤดูที่ 3 จะต้องดูแลหญ้าแฝกและปลูกเพิ่มเติมให้เต็มในบริเวณที่เกิดช่องว่าง (ในช่วง 2 ฤดูกาลแรกจะเห็นตะกอนถูกดักเอาไว้ด้านหลังแนวรั้วหญ้าแฝกได้ง่าย ซึ่งเป็นปรากฎการณ์หนึ่งที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ควรพยายามชี้ให้เกษตรกรเห็นเมื่ออธิบายถึงระบบดังกล่าว) แม้ว่าคันดินจะเป็นวิธีดั้งเดิมที่ให้ผลทันที ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ แต่ก็พังทลายได้บ่อย ๆ เมื่อต้องเผชิญกับพายุฝนอย่างหนัก ส่วนหญ้าแฝกนั้น เมื่อขึ้นเป็นแถวแล้วจะไม่พังทลายและไม่ต้องการบำรุงรักษาอีกในอนาคต นอกจากตัดใบออกบ้างเป็นระยะ ๆ

รูปที่ 12 แนวระดับที่ผิดวิธี

รูปที่ 13 แนวระดับที่ถูกต้อง

การตัดใบของหญ้าแฝกเหล่านี้ให้มีความสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร จะป้องกันการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้แนวรั้วหญ้าแฝกหนาขึ้น และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการกรองนํ้าที่ไหลบ่า ในหลาย ๆ หมู่บ้านและกลุ่มบ้านเล็กใกล้เมืองไมซอร์ เกษตรกรตัดใบหญ้าแฝกที่ปลูกทุก ๆ 2 สัปดาห์ และนำใบอ่อนนี้ไปเป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้ตลอดทั้งปี

จะเห็นได้ชัดว่าคนงานในพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมากและแม้กระทั่งนักวิจัย ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในความหมายของ “แนวระดับ” รูปที่ 12 ได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจที่ผิดพลาดที่ว่า ร่องซึ่งไถไปตามพื้นที่ลาดเอียง เป็นไปตามแนวระดับ นี่คือสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แนวระดับที่ถูกต้องจะล้อมรอบทางลาดเอียงของพื้นที่ทั้งหมดไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก และจะเป็นแนวที่มีความชันเท่ากันรอบภูเขา ในรูปที่ 12 ร่องต่าง ๆ ซึ่งเริ่มจากจุด A และไปตามทางพื้นที่ลาดเอียงลงไปยังชุด C แทนที่จะโค้งรอบภูเขานั้น ไม่ได้อยู่ในแนวระดับ ดังนั้นจึงไม่ช่วยเก็บรักษา ความชื้นและไม่สามารถป้องกันการกัดเซาะดินได้ แนวระดับที่ถูกต้อง ดังรูปที่ 13 จะเริ่มจาก A ไป B ไป D และต่อไปรอบ ๆ ภูเขา โดยรักษาความชันให้เท่ากันตลอดทาง

รูปที่ 14 แนวระดับที่ได้ปรับแล้ว

เนื่องจากโดยปกติแล้วคันดินที่ใช้ควบคุมการกัดเซาะดินต้องนำนํ้าที่ไหลบ่าระบายไปยังทางนํ้า ด้านข้างของพื้นที่เพาะปลูก เราจึงต้องสร้างคันดินนั้นขึ้นตามแนวระดับที่แน่นอน ในรูปที่ 14 แนวลักษณะนี้ (ที่ทำเครื่องหมายด้วยหมุดไว้ที่ A) จะทำให้เกษตรกรไถพรวนลำบาก อย่างไรก็ตามสำหรับแนวรั้วหญ้าแฝกในพื้นที่เพาะปลูก ถึงแม้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในแนวระดับที่แน่นอนก็ยังสามารถเก็บ รักษาความชื้นและอนุรักษ์ดินและน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์หลักที่จะลดอัตราความเร็วของน้ำขณะที่น้ำไหลผ่านไปและไม่ก่อ ให้เกิดร่องนํ้าขึ้นในบริเวณใด ๆ ครั้นเมื่อได้วางหมุดกำหนดแนวระดับแล้ว คนงานจากกรมส่งเสริมการเกษตร ก็สามารถเกลี่ยดินเป็นรอยเพื่อให้ชาวนา ไถตามได้อย่างง่ายดาย ในรูปที่ 14 เส้นแนวระดับ A ถูกเกลี่ยในอัตราที่เหมาะสม เป็นเส้นโค้งเรียบ B และเพื่อควบคุมการกัดเซาะดินเป็นแผ่น ๆ แนวรั้ว หญ้าแฝกและร่องที่ไถพรวน (แนวเพาะปลูก) จำเป็นต้องเป็นไปตามเส้น B ตะกอนที่ถูกกรองจากน้ำที่ไหลบ่าจะสะสมอยู่ด้านหลังของแถวของหญ้าแฝก และเกิดเป็นขั้นบันไดตามธรรมชาติเนื่องจากแถวของหญ้าแฝกเป็นไปตามความลาดเอียงของพื้นที่ปลายของแต่ละแถวของหญ้าแฝกที่ปลูกนี้ควรจะวนขึ้นไปบนทางลาดชันเพื่อป้องกันมิให้นํ้าที่ไหลบ่ากระจายไปรอบ ๆ ด้าน วิธีการเช่นนี้จะช่วยให้คันดินตามธรรมชาติก่อตัวอย่างสมบูรณ์ และป้องกันการกัดเซาะดินบริเวณปลายแถวของหญ้าแฝก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชัน

ในรูปที่ 15 และ 16 เราจะเห็นเกษตรกร 2 คน A และ B ทั้งคู่เป็นเกษตรกรที่ดี แต่ A ในรูปที่ 15 เป็นเกษตรกรที่ฉลาดกว่า เขาป้องกันการสูญเสียหน้าดินในไร่ของเขาด้วยการปลูกแนวรั้วหญ้าแฝกตามแนวระดับ และกำลังใช้แถวของหญ้าแฝกเป็นแนวในการไถพรวนและปลูกพืชผลตามแนวระดับด้วย แนวร่องที่เกิดขึ้นตามรูปแบบนี้ จะรับนํ้าฝนและเก็บความชื้นไว้ในดิน ดังนั้นจึงทำให้พืชที่ปลูกสามารถต้านทานอากาศร้อนได้เป็นระยะเวลานาน สิ่งที่เกษตรกร A กำลังทำจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่เกษตรกร B กำลังทำดังในรูปที่ 16 สิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการ

รูปที่ 15 ไร่นาที่ได้รับการปกป้อง

รูปที่ 16 ไร่นาที่มิได้รับการปกป้อง

รูปที่ 17 น้ำฝนและไร่นาที่ได้รับการปกป้อง

รูปที่ 18 น้ำฝนและไร่นาที่ไม่ได้รับการปกป้อง

B เป็นเกษตรกรที่ดีแต่ไม่ฉลาดในการเพาะปลูก เขาไถพรวนเป็นแนวตรงขึ้นไปและลงมาตามความลาดเอียงของพื้นที่ ยิ่งทำให้นํ้าฝนที่ตกลงมาไหลออก จากที่นา นำเอาปุ๋ยและดินชั้นหน้าซึ่งไม่สามารถหามาทดแทนใหม่ไปด้วย น้ำฝนจะไหลออกไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินไม่มีโอกาสที่จะอุ้มน้ำไว้ได้ ดังนั้นพืชผล ของเขาก็จะไมมีอะไรปกป้องจากภัยแล้ง

รูปที่ 17 และ 18 แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อระบบการเพาะปลูก 2 ระบบต้องเผชิญกับฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ไร่ของเกษตรกร A มีหญ้าแฝกเป็นแนวป้องกันในพื้นที่เพาะปลูก จึงไม่มีการสูญเสียดิน (รูปที่ 17) ท้องร่องตามแนวระดับเก็บกักน้ำฝนไว้ได้อย่างเต็มที่ น้ำฝนส่วนเกินจะไหลออกไป แต่แนวหญ้าแฝกจะควบคุมการไหลของนํ้าฝนส่วนเกินนั้นให้เป็นไปอย่างช้า ๆ โดยกระจายน้ำออกไปและกักตะกอนเอาไว้ ดังนั้นนํ้าที่ไหลบ่าจะไหลลงไปตามความลาดเอียงของพื้นที่ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายและไม่มีการกัดเซาะหน้าดิน

ในไร่ของเกษตรกร B ที่ไม่มีหญ้าแฝกปกป้องนั้น น้ำฝนจะไหลไปด้วยอัตราเร็วสูง นำเอาปุ๋ยและหน้าดินไปด้วย การที่นํ้าไหลลงไปตามทางลาดเอียง ของพื้นที่โดยไม่สามารถควบคุมได้นั้น จะทำให้เกิดการกัดเซาะทำลายดินอย่างไม่จำเป็น และก่อให้เกิดความเสียหาย (รูปที่ 18) เนื่องจากน้ำที่ไหลบ่านั้น ไหลด้วยความเร็ว ดินจึงไม่สามารถเก็บความชื้นไว้ได้ นํ้าฝนที่ตกลงมาจะให้ประโยชน์ได้เพียงร้อยละ 40-50 เท่านั้น และเกษตรกร B จะประสบปัญหาเรื่องความแห้งแล้งอยู่เสมอ ในที่สุดเขาก็จะต้องทิ้งไร่ เพราะไม่มีดินเหลือให้ปลูกพืชผลอีกแล้ว ขณะเดียวกันเกษตรกร A จะไม่ประสบปัญหาเช่นนี้ แต่ผลผลิต ของเขาจะกลับเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี

รูปที่ 19 พืชผลของเกษตรกร A

การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับทำให้เกษตรกร A ได้รับผลผลิตที่สมบูรณ์มาก (รูปที่ 19) เนื่องจากดินสามารถเก็บความชื้นจากฝนที่ตกลงมาก่อนหน้านี้ ไว้ได้มาก ประกอบกับพืชผลของเขาได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เมล็ดพืชจึงสมบูรณ์และเติบโตดี เกษตรกร A จะเก็บเกี่ยวพืชผลได้ไนปริมาณสูง

รูปที่ 20 พืชผลของเกษตรกร B

ในทางตรงกันข้าม เกษตรกร B จะประสบความผิดหวังในการเก็บเกี่ยวพืชผล (รูปที่ 20) พืชผลของเขาทั้งหมดจะไม่งอกงามเลย บางส่วนที่คงอยู่ได้เพราะพอจะเก็บความชื้นไว้ได้บ้าง ก็กำลังจะเฉาตายเนื่องจากถูกแสงแดดมีเพียงเมล็ดพืชเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะงอกและผลผลิตที่ได้ก็จะไม่สมบูรณ์ เกษตรกร B จะได้ผลผลิตในปริมาณต่ำ แม้ว่าเขาจะปลูกพืชชนิดเดียวกับเกษตรกร A ใช้ปุ๋ยชนิดเดียวกัน ปลูกในเวลาเดียวกัน และได้รับปริมาณนํ้าฝนและแสงแดดเท่ากัน ผลที่เกษตรกร B ได้จะไม่เหมือนกับเกษตรกร A เพราะเกษตรกร B สูญเสียปุ๋ยไปมาก และสูญเสียน้ำฝนร้อยละ 60 รวมทั้งดินในไร่นา ซึ่งอาจหนาถึงหนึ่งเซนติเมตร ทั้งหมดนี้ เป็นเพราะว่าเขาไม่ได้ไถพรวนตามแนวระดับไม่ได้ใช้แนวหญ้าแฝกเพื่อปกป้องการกัดเซาะหน้าดิน และไม่ได้ช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกของเขาเก็บความชื้นจากนํ้าฝนได้ ซึ่งถ้าเขาเชื่อคำแนะนำจากหน่ายงานส่งเสริมการเกษตร โดยการไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับแล้ว เขาก็จะได้ผลผลิตในปริมาณสูงเช่นเคียวกับเกษตรกร A

รูปที่ 21 การทำเครื่องหมายตามแนวระดับ

รูปที่ 22 การไถพรวนตามแนวระดับ

เมื่อเกษตรกร B ได้รับบทเรียนแล้ว เขาก็ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และจะช่วยกันทำเครื่องหมายและปักหมุดตามแนวระดับขวางกับแนว ร่องเดิม (รูปที่ 21) กระบวนการง่าย ๆ นี้ไม่ต้องอาศัยทักษะทางเครื่องกลใด ๆ เลย เพียงแต่ใช้เครื่องวัดระดับแบบมือถือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจะยืนอยู่ริมไร่และมองผ่านเครื่องวัดระดับโดยมีเกษตรกร B เดินขึ้นลงตามทางลาดเอียงของพื้นที่จนกระทั่ง 2 คน ยืนอยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งเป็นชุดที่เกษตรกร B ทำ เครื่องหมายปักหมุด ในรูปที่ 21 เส้นแนวระดับ (X) ได้ปักหมุดไว้เรียบร้อยแล้ว และเกษตรกร B ต้องไถพรวนตามแนวหมุด (ดังแสดงในรูป 22) เพื่อสร้างแนวร่องที่จะปลูกหญ้าแฝก นี่คือสิ่งที่จะต้องทำทั้งหมดเพื่อสร้างระบบพื้นที่เพาะปลูกที่จะเก็บรักษาความชื้นและอนุรักษ์ดิน

รูปที่ 23 การดำเนินการขั้นต้น

รูปที่ 24 ระบบที่คงที่แล้ว

โดยปกติระบบรั้วหญ้าแฝกจะใช้เวลา 2-3 ฤดูกาลจึงจะมีประสิทธิภาพเต็มที่ เช่นเดียวกับพืชยืนต้นทั่ว ๆ ไป เราไม่สามารถปลูกต้นมะม่วงในวันนี้ และหวังที่จะเก็บผลมะม่วงในเดือนหน้าได้ แต่กับหญ้าแฝกนั้นเป็นไปได้ที่เราจะได้รับผลบางส่วนจากระบบนั้นในทันที โดยใช้แนวร่องไปก่อนจนกระทั่งถึงเวลาที่หญ้าแฝกเติบโต ขั้นตอนเริ่มแรกของระบบจะบรรยายไว้ในรูปที่ 23 ขณะรอคอยต้นกล้าซึ่งจะนำไปเพาะในเรือนเพาะชำ เกษตรกรจะเตรียมร่องตามแนวระดับและเตรียมแปลงเพาะไปตามร่องนั้น และทุก ๆ 5-6 เมตร เขาจะไถพรวนแนวร่องคู่ แนวร่อง 2 แนวในรูปจะปลูกถั่วเขียวตามแนวระดับและคั่นด้วยการปลูกถั่วลิสง 6 แถว รูปร่างของแปลงเพาะเมล็ดแสดงไว้ให้เห็นใต้ภาพ DF หมายถึง แนวร่องลึก PP คือแถวของถั่วเขียวที่ปลูกในแนวร่องนั้น ในที่ชุดหญ้าแฝกจะปลูกในบางส่วน ของแนวร่อง แต่ในระยะชั่วคราวนั้นร่องเหล่านี้ สามารถช่วยป้องกันการไหลบ่าของน้ำได้เล็กน้อย ดังรูปที่ 24 การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับระบบทั้งหมด ซึ่งมีรั้วหญ้าแฝกก่อตัวขึ้นในแนวร่อง ๆ หนึ่ง