การปลูกเบญจมาศ

เบญจมาศ

Common name     : Chrysanthemum

Scientific name    : Chrysanthemum morifolium

Family                  : Compositae

Chrys แปลว่า “สีเหลือง” anthemum แปลว่า “ดอกไม้”

ครั้งแรกพบเบญจมาศเพuยง 2 species คnอ

  • Chrysanthemum indicum
  • Chrysanthemum chinensis

มีดอกสีเหลืองทั้งคู่ ต่อมาภายหลังพบ Chry­santhemum morifolium อีกที่จังหวัด Hupeh ในประเทศจีน เบญจมาศชนิดนี้มีความแข็งแรงและทนทานมากกว่า Chrysanthe­mum indicum

เบญจมาศมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น สันนิษฐานว่ามีการปลูกเบญจมาศในประเทศทั้งสองนี้มานานกว่า 2,000 ปีแล้ว และได้มีการนำเบญจมาศไปปลูกในที่อื่น ๆ อีกมาก

ดอกเบญจมาศมีรูปทรงสวย สีสรรสดใส ปลูกง่าย เลี้ยงง่าย ทั้งยังสามารถจะกำหนดเวลาบานของดอกไม้อีกด้วย จึงเป็นที่นิยมปลูกเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา ถึงกับมีการตั้งสมาคมเบญจมาศขึ้น ได้มีการผสมพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์เบญมาศจนได้พันธุ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ ทั้งในเรื่องรูปร่าง ขนาด และสีสรรตลอดจนพันธุ์ที่มีคุณภาพในการเก็บที่ยาวนาน ขณะนี้มีพันธุ์เบญจมาศให้เลือกปลูกมากกว่า 1,000 พันธุ์ นอกจากนี้ยังมีการปลูกเบญจมาศเป็นการค้ากันมากทั่วโลก ทั้งปลูกในรูปของไม้ตัดดอก และเป็นไม้กระถาง เฉพาะในสหรัฐอเมริกาตามสถิตปี 1972 รายได้ที่ได้จากการปลูกเบญจมาศทั้งตัดดอกขาย และขายเป็นไม้กระถาง รวมเป็นมูลค่าถึง 189,700,000.00 ดอลล่าร์ ซึ่งนับ เป็นรายได้อันดับสี่ของกิจการดอกไม้ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ประมาณ 20% ของรายได้ จากการขายดอกไม้ทั้งหมด ส่วนในประเทศญี่ปุ่นมีการปลูกเบญมาศเป็นการค้าเช่นกัน ประมาณได้ว่าปริมาณของดอกเบญจมาศที่ผลิตได้มีถึง 32% ของจำนวนดอกไม้ทั้งหมด ในยุโรปก็มีการปลูกกันมากไม่แพ้ทั้งสองประเทศ ที่กล่าวมา แม้แต่ในประเทศไทยเอง

เรารู้จักเบญจมาศมานานแล้ว และนิยมปลูกกันตามบ้านเรือนเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่ทำเป็นการค้าอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพิ่งจะทำกันเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง เริ่มแรกได้มีการปลูกเบญจมาศ ในรูปไม้กระถาง มีการชำ และการปลูกเลี้ยงใน กระถางเป็นส่วนใหญ่ มีปลูกเป็นไม้ตัดดอกอยู่เพียงรายเดียวเท่านั้น คือที่ถนนตก (กรุงเทพฯ) แต่ก็ทำไม่มากนักจึงไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ต่อมาในประมาณปี พ.ศ. 2509 คุณขาวซึ่งเป็นเจ้าของสวนการะเกดในซอยเอกมัยได้นำเบญจมาศ จากญี่ปุ่นเข้ามาปลูก เข้าใจว่าจะนำมาหลายพันธุ์ด้วยกัน แต่ในระยะแรกนี้ได้เผยแพร่ เฉพาะพันธุ์สีขาวออกมาเพียงพันธุ์เดียว โดยไม่ได้บอกว่าเป็นพันธุ์อะไร ปรากฎว่าชาวสวนสามารถปลูกเลี้ยงได้ผลดี พอที่จะทำเป็นการค้าได้ และจึงได้ทำเป็นไม้ตัดดอกขายกันมาจนทุกวันนี้ พร้อมกับเรียกชื่อพันธุ์ว่า “ขาวการะเกด”

ทางด้านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการทดลองปลูกและเปรียบเทียบพันธุ์เบญจมาศ มาตั้งแต่ปี 2506 ทำโดยรองศาสตราจารย์แสงธรรม คมกฤส อาจารย์ในภาควิชาพืชสวน โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา ในครั้งนั้นได้พันธุ์เบญจมาศจากสหรัฐอเมริกามาถึง 38 พันธุ์ด้วยกัน มีทั้งชนิดที่ทำเป็นไม้ตัดดอก (cut flowers) และชนิดที่ปลูกทำเป็นไม้กระถาง (pot-mum) มีหลายสีรวมทั้งสีขาว สีเหลือง สีม่วง สีชมพู

จากการทดลองครั้งนี้ปรากฎว่า สามารถคัดเลือกได้พันธุ์เบญจมาศสำหรับปลูกเป็นไม้ตัดดอกขายหลายพันธุ์ด้วยกัน พันธุ์ที่ดีที่สุดเห็นจะได้แก่

1. Golden Mefo ซึ่งมีดอกขนาดใหญ่ กลีบดอกงุ้มเข้าหาใจกลางของดอก ฟอร์มสวย การจัดเรียงของกลีบดอกเป็นไปอย่างมระเบียบ มีสีเหลืองเข้ม กลีบดอกมัน ลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง ดูสวยงามมาก ทั้งก้านดอกยาวอีกด้วย

2. Mrs. Roy ดอกมีขนาดใหญ่และใหญ่กว่าพันธุ์ Golden Mefo กลีบดอกงุ้มเข้าหาใจกลางของดอก การจัดเรียงของดอกเป็นระเบียบ แต่สีสรรไม่สวยคือดูไม่มีชีวิตชีวาเพราะสีของดอกเป็นสีเหลืองแห้ง ๆ ไม่มันเหมือน Golden Mefo ก้านดอกยาว

3. Gold Lode ดอกมีขนาดไม่ใหญ่นัก เมื่อเทียบกับพันธุ์ Golden Mefo และพันธุ์ Mrs. Roy ก้านดอกสั้นแต่ดอกดก ฟอร์มดอกกลม กลีบดอกสั้นดูดอกหนา บนกลีบดอกไม่งุ้มเข้าเหมือน Golden Mefo และ Mrs. Roy แต่มีการเจริญเติบโตดี ต้านทานโรคและแมลงดีมาก เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้กระถางมากกว่าเป็นไม้ตัดดอก

ส่วนพันธุ์อื่น ๆ มีข้อเสียมากกว่าข้อดี และ หากจะสรุปผลการทดลองตามผลการทดลองที่ทำมาแล้ว 2 ครั้ง คือครั้งแรกทดลองโดยรองศาสตราจารย์แสงธรรม คมกฤส และครั้งหลังทดลองโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเพียร เกษม ทรัพย์ และอาจารย์รังสิต สุวรรณเขตนิคม แล้ว พอสรุปผลได้ดังนี้-

1. พันธุ์เบญจมาศที่สั่งมาจากอเมริกานั้น ส่วนมากไม่เหมาะที่จะนำเข้ามาปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลหลายประการ

2. พันธุ์เบญจมาศที่สั่งเข้ามาทดลองส่วนมากหรือเกือบทั้งหมดไวต่อช่วงแสงและอุณหภูมิมาก จึงปลูกได้ดีเฉพาะในฤดูหนาวเท่านั้น

3. พันธุ์เบญจมาศที่สั่งเข้ามาส่วนมากเป็นพืชวันสั้น (short day plant) เมื่อนำมาปลูกในประเทศไทยที่มีช่วงแสงในระยะเวลากลางวันสั้นกว่า critical day length ของเบญจมาศ ทำให้เบญจมาศออกดอกเร็วเกินไป คือออกดอกตั้งแต่ต้นเบญจมาศยังไม่โตเต็มที่ ทำให้ดอกที่ได้ไม่ได้คุณภาพดีเท่าที่ควรจะเป็น

4. จำเป็นจะต้องใช้กรรมวิธีบางอย่าง เพื่อที่จะบังคับไม่ให้เบญจมาศบานดอกเร็วจนเกินไป จากการทดลองใช้แสงไฟฟ้า (artificial light) แทนแสงแดดเพื่อยืดระยะเวลากลางวันให้ยาวออกไปปรากฏว่าได้ผลดีพอใช้ คือสามารถบังคับไม่ให้เบญจมาศออกดอกได้ผลดีพอใช้ คือสามารถบังคับไม่ให้เบญจมาศออกดอก

5. จำเป็นจะต้องใช้กรรมวิธีบางอย่าง เพื่อที่จะบังคับไม่ให้เบญจมาศบานดอกเร็วจนเกินไป จากการทดลองใช้แสงไฟฟ้า (artificiallight) แทนแสงแดดเพื่อยืดระยะเวลากลางวันให้ยาวออกไป ปรากฎว่าได้ผลดีพอใช้ คือสามารถบังคับไม่ให้เบญจมาศออกดอกก่อนกำหนดได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วทำไม่สะดวก ทำเป็นการค้าไม่คุ้ม จึงต้องหันไปหาวิธีอื่นแทน ปรากฎว่าสามารถจะใช้สารเคมีบางชนิด เช่น IAA (Indole Acetic Acid) ความเข้มข้นประมาณ 50-100 ppm. ฉีดพ่นไปบนต้นแทนการให้แสงไฟก็ได้ผลดี สามารถป้องกันไม่ให้เบญจมาศออกดอกก่อนกำหนดได้เช่นกัน

6. พันธุ์เบญจมาศที่สั่งเข้ามาทดลองทั้งหมด ไม่สามารถแตกหน่อได้เอง ทำให้การขยายพันธุ์เบญจมาศทำได้แต่เพียงการตัดชำแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้การขยายพันธุ์เป็นไปช้าและนอกจากนี้การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ไม่ได้ รับความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะกิ่งที่ใช้ชำซึ่งออกดอกในแปลงปักชำก่อนที่จะออกราก ทำให้การปักชำเป็นไปได้ช้าและได้กิ่งปักชำที่ไม่สมบูรณ์ จึงจำเป็นจะต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้กิ่งชำออกดอกในกระบะชำอีก โดยการให้แสงไฟฟ้า และ IAA เข้มข้น 50 ppm. ฉีดพ่น ซึ่งวิธีที่ว่ามานี้ย่อมสิ้นเปลืองและไม่สะดวกด้วย ประการทั้งปวง

จึงสรุปได้ว่าพันธุ์เบญจมาศที่สั่งมาจากอเมริกาเข้ามาทดลองทั้ง 2 ครั้งนี้ไม่เหมาะที่จะทำเป็นไม้ตัดดอกเป็นการค้าในสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทยมากนัก นอกจากว่าจะพยายามคัดเลือกพันธุ์เบญจมาศที่ไม่มีผลต่อความยาวและสั้นของวันเข้ามาปลูกเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2514 ได้สั่งพันธุ์เบญจมาศจากญี่ปุ่นเข้ามาทดลองปลูกอีก 18 พันธุ์ด้วยกัน พบว่า

1. พันธุ์ที่สั่งเข้ามาจากญี่ปุ่น 18 พันธุ์นี้ มีหลายประเภทด้วยกัน คือมีทั้ง Summer Cry- santhemum, Winter Chrysanthemum และ July-Angust Chrisanthemum ทำให้เราได้ทั้งพันธุ์ที่ปลูกให้ดอกตลอดปี พันธุ์ที่ปลูกได้เฉพาะหน้าหนาว และรวมทั้งพันธุ์ที่ปลูกแล้วบานดอก เฉพาะหน้าฝนเท่านั้น

2. พันธุ์ที่เราสั่งมาครั้งนี้ มีสีแปลก ๆ ออกไปจากสีเหลืองและขาว คือมีทั้งพันธุ์สีแดง สีกลีบบัว มีม่วงอ่อน ม่วงแก่ และพันธุ์สีน้ำตาล เป็นต้น เมื่อปลูกแล้วปรากฎว่าพันธุ์สีอื่น ๆ นอกจากสีขาวและเหลืองนั้น เมื่อบานดอกแล้ว สีจะซีดไม่สดใสเท่าที่ควร ได้มีการค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ จึงพบว่าสภาพฟ้าอากาศเช่นเมืองไทยนี้ ไม่สามารถจะปลูกเบญจมาศสีอื่นได้เพราะอุณหภูมิสูง แสงแดดจัด ทำให้การสร้างเม็ดสีในกลีบดอกที่เรียกว่า anthocyanin ถูกยับยั้ง และนอกจากนี้เม็ดสีส่วนที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้ว ยังถูกทำลายอีกด้วย เป็นเหตุให้สีของดอกจางลงไม่ตรงตามพันธุ์

3. พันธุ์เบญจมาศที่สั่งเข้ามาเกือบทั้งหมด สามารถแตกหน่อได้เอง ทำให้เป็นประโยชน์ในการขยายพันธุ์ เพราะจำนวนหน่อที่ได้เป็นจำนวนมาก แต่ละหน่อมีรากติด ทำให้ขยายพันธุ์ได้เร็วและสะดวกกว่าพันธุ์เบญจมาศที่สั่ง จากอเมริกา

4. เราสามารถคัดเลือกเฉพาะพันธุ์ที่เห็นว่า เหมาะสมกับสภาพฟ้าอากาศของเมืองไทยเท่านั้นมาปลูกเป็นการค้า และปรากฎว่าได้รับความสำเร็จอย่างมากเพราะการปลูกเบญจมาศเป็นการค้าในประเทศไทยทุกวันนี้ ใช้พันธุ์เบญจมาศจากญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีทั้งสีขาว สีเหลืองอ่อน สีเหลืองเข้ม ยกเว้นแต่พันธุ์สีแดงดอกเล็กเท่านั้นที่เราได้จากอเมริกา

การปลูกเบญจมาศเป็นไม้ตัดดอกเป็นการค้าในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมีแหล่งปลูกอยู่ในภาคกลาง คือในท้องที่อำเภอบางกรวย อำเภอตลิ่งชัน ซึ่งประมาณเนื้อที่โดยคร่าว ๆ มีถึง 2,000 ไร่ พื้นที่ 2,000 ไร่นี้มีการทำไม้ตัดดอกเป็นการค้าสลับไปกับการปลูกผัก ไม้ดอกที่ปลูกมากที่สุดได้แก่เบญจมาศและเยอบีร่า มีแอสเตอร์แบบปลูกถอนต้นขายอยู่บ้างไม่มากนัก จึงนับได้ว่ากิจการการปลูกเบญจมาศเป็นการค้าในประเทศไทยได้เป็นที่นิยมกันในหมู่ชาวสวนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากอายุการเก็บเกี่ยวคือนับตั้งแต่ปลูกถึงดอกบาน ค่อนข้างสั้น ทำให้ได้เงินตอบแทนเร็ว ปริมาณของดอกเบญจมาศต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรมีมาก ทำให้มีรายได้ดีและคุ้มกว่าปลูกพืชอื่น ๆ หลายชนิดจึงไม่สงสัยเลยว่าเนื้อที่ปลูกเบญจมาศเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี นอกจากจะทำเป็นไม้ตัดดอกขาย ภายในประเทศแล้ว ยังมีช่องทางที่จะส่งออก ไปขายต่างประเทศได้อีก ถ้าเราได้มีการปรับปรุงคุณภาพของดอกเบญจมาศของเราให้ได้ขนาดตามมาตรฐานสากล

การแยกประเภท (Classification)

เบญจมาศมีดอกเป็นแบบ head ประกอบ ด้วยดอกเล็กๆ (florets) เป็นจำนวนมาก ดอกที่อยู่รอบนอกและมีการเจริญเติบโตดีกว่าเรียก ว่า ray florets ซึ่งเป็นดอกแบบ imperfect มีแต่เกสรตัวเมีย (pistil) ไม่มีเกสรตัวผู้ (stamen) ส่วนดอกที่อยู่ในวงเข้าไปมีการเจริญเติบโตช้า กลีบดอกสั้น ๆ เรียกว่า disc florets ซึ่งรวมกันเป็นกระจุกอยู่ตรงกลางของดอก (head) ดอกใน disc florets นี้เป็นดอกชนิด perfect คือมีทั้งเกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้อยู่ในดอกเดียวกัน

การจัดประเภทของดอกเบญจมาศตามลักษณะการจัดเรียงและชนิดของการจัดได้ดังนี้

1. Single มีดอกชั้นใน (disc florets) อยู่เป็นกระจุกตรงกลางของดอก ส่วน ray florets หรือดอกชั้นนอกเพียง 1-2 วงเท่านั้น

2. Aremones มีการจัดเรียงและจำนวนของ disc florets (ดอกชั้นใน) และ ray florets (ดอกชั้นนอก) คล้ายแบบ Single แต่กลีบดอกของ disc florets ยาวกว่าปกติ ทำให้มองเห็นเป็นหลอดได้ชัดขึ้น

3. Pompons มองเห็นคล้ายกับว่ามีแต่เฉพาะ ray florets (ดอกชั้นนอก) ทั้งนี้เพราะ ดอกชั้นใน (disc florets) ถูกดอกชั้นนอกบังซ่อนไว้ จึงดูดอกมีลักษณะกลมเป็น ball-shaped

4. Decoratives มีการจัดเรียงของดอกชั้นนอกและชั้นใน (ray florets + disc florets) คล้ายชนิด Pompons และกลีบดอกรอบนอก ของดอกชั้นนอกยาวกว่ากลีบดอกของดอกที่อยู่รอบในของดอกชั้นนอก ทำให้มองดูมีรูปทรงแบนผิดไปจากแบบ

5. Incurved เป็นแบบดอกขนาดใหญ่ มีการจัดเรียงของดอกคล้าย Pompons กลีบดอกของดอกชั้นนอก (ray florets) ยาวและงุ้มเข้าหาใจกลางของดอก ทำให้ดอกมีขนาดใหญ่และมีรูปทรงกลม

6. Reflexed มีการจัดเรียงของดอกคล้าย Pompons เช่นกัน อีกทั้งมีกลีบดอกของดอกชั้นนอกยาวคล้ายแบบ Incurved ผิดตรงที่แบบนี้แทนที่กลีบดอกจะงุ้มเข้าหาใจกลางของดอก กลับงุ้มออกจากใจกลางลงไปด้านล่าง ทำให้รูป ทรงของดอกผิดรูปไป

7. Spiders กลีบดอกวงนอก ๆ ของดอก ชั้นนอกยาวมาก อีกทั้งยังมีลักษณะเป็นหลอดยาว ๆ บางครั้งกลีบที่ยาวมาก ๆ นี้แถมปิดอีกด้วย จึงดูแปลกตาออกไปอีกแบบหนึ่ง

8. Fuji มีการจัดเรียงและความยาวของกลีบดอกคล้าย แต่กลีบดอกเป็นหลอดยาวเฉย ๆ ไม่มีวนหรือบิดเช่นแบบ spiders นอกจากนี้ กลีบดอกรอบในของดอกชั้นนอกยังมีความยาวพอ ๆ กับกลีบดอกรอบนอกของดอกชั้นนอก

ที่กล่าวมาแล้ว เป็นการจัดประเภทตามลักษณะของเบญจมาศ ซึ่งมีทั้งหมด 8 ชนิดด้วยกัน นอกจากการจัดประเภทแบบนี้แล้ว ยังนิยมจัดแยกประเภทของเบญจมาศตามขนาดของต้นและดอกตลอดจนประโยชน์ใช้สอยอีกดังนี้

1. Exhibition type เบญจมาศประเภทนี้มีดอกขนาดใหญ่มาก ดอกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายลูกฟุตบอล มีลำต้นสูงใหญ่ คือสูงประมาณ 1 เมตร ปกติมักจะปลูกเบญจมาศแบบนี้ไว้โชว์หรือแสดงเท่านั้น นิยมปลูกเลี้ยงให้มี เพียง 1 ดอกต่อต้น

2. Standard type เป็นเบญจมาศที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจาก Exhibition type ใช้ทำเป็นไม้ตัดดอกขายเป็นการค้า ส่วนมากมักจะมีการเด็ดยอดเพื่อให้ต้นแตกกิ่งให้มีจำนวน 3-5 กิ่งต่อหนึ่งต้น และคอยปลิดดอกข้างทิ้งให้เหลือเพียงดอกยอดเพียงดอกเดียวต่อหนึ่งกิ่ง

3. Spray type ดอกมีขนาดเล็กกว่า Standard type นิดหน่อย ทั้งนี้เนื่องจากมีดอกดก และปกติมักจะปลูกเป็นไม้ตัดดอกขายเช่นกัน เวลาปลูกมักจะนิยมเด็ดยอดเพื่อให้ต้นแตกกิ่งเช่นเดียวกับ Standard type แต่แทนที่จะ ปลิดดอกให้เหลือเพียงดอกเดียวในหนึ่งกิ่งกลับ ปล่อยให้มีถึง 2-3 ดอกต่อหนึ่งกิ่ง

4. Pot mums เบญจมาศประเภทนี้มีทรงพุ่มขนาดไม่ใหญ่โตนัก มีดอกดก ดอกมีขนาดเล็กกว่า Standard type แตกกิ่งก้านได้มาก จึงนิยมปลูกเป็นไม้กระถาง

นอกจากนี้ยังมีการแยกประเภทของเบญจมาศ ตามอายุการบานของดอกหลังจากเลิกบังคับไม่ให้เบญจมาศออกดอก ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากใน ต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น ๆ ว่าเบญจมาศเป็นไม้ชนิดพิเศษที่มนุษย์สามารถกำหนดวันบานของดอกได้ตามใจชอบ โดยการบังคับด้วยแสงไฟ หรือด้วยความมืดก็ตามแต่ส่วนมากมักจะแยกประเภทตามจำนวนแสงอาทิตย์ ที่ต้องการภายหลังการเริ่มบังคับด้วยวันสั้นจนกว่าดอกจะบาน พันธุ์เบาที่สุดใช้เวลาหลังจากเริ่มให้วันสั้นเพียง 7 อาทิตย์เท่านั้น และพันธุ์หนักใช้เวลาถึง 15 อาทิตย์ ฉะนั้นจึงมีประเภท เบญจมาศ 7 อาทิตย์, 8 อาทิตย์, 9 อาทิตย์ไปจนถึง 15 อาทิตย์ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในสภาพปกติ การปลูกเบญจมาศที่ไม่มีผลแม้ว่าจะเป็นวันสั้นหรือวันยาวก็ตามแต่ นับจากวันปลูกด้วยกิ่งปักชำหรือหน่อไปจนถึงวันถึงวัน ดอกบานใช้เวลาประมาณ 3.5-4 เดือน