การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจ

การปลูกมะพร้าว

มะพร้าวที่ปลูกกันทั่ว ๆ ไปมี 2 พวกใหญ่ ๆ คือ มะพร้าวสูง (ตกผลเมื่อ อายุ 5-6 ปี ขึ้นไป) เช่นมะพร้าวใหญ่ มะพร้าวปากจก มะพร้าวกะโหลก ฯลฯและมะพร้าวเตี้ย (ตกผล เมื่ออายุ 3-4 ปี) เช่น มะพร้าวเบา มะพร้าวหมูสี มะพร้าวนกคุ่ม มะพร้าวทุ่งเคล็ค เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะมีมะพร้าวกลาง ซึ่งมีอายุการตกผลและขนาดของลูกอยู่ระหว่างมะพร้าวใหญ่และเตี้ย(ตกผลใน 4- 5 ปี)

มะพร้าวขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด เช่นดินร่วน ดินทราย และดินเหนียว (แต่ต้องระบายน้ำได้ดี ไม่ขังแช่) หน้าดินลึกไม่มีหินหรือดินดานข้างใต้

การเลือกต้นไว้ทำพันธุ์ มะพร้าวต้นนั้นควรมีอายุ 15 ปีขึ้นไป ผลดก ขนาด ของลูกสม่ำเสมอ คนแข็งแรง อวบ ปล้องถี่ พุ่มใบเป็นรูปทรงกลมหรือครึ่งทรงกลม มีทางมาก ก้านทางสั้นและใหญ่ ก้านทะลายสั้นและใหญ่ มีจั่นทุกโคนทาง จั่นที่บานแล้วมีลูกติดดี ผลกลม เนื้อหนา เปลือกบาง

การเพาะมะพร้าวควรทำต้นฤดูฝน ใช้มีดปาดด้านหัวเท่าหนึ่งฝ่ามือ เพื่อช่วยให้น้ำซึมเข้าไป แล้วนำไปวางเรียงตามแนวนอนหันหัวไปทางเดียวกัน ให้รอยเฉือนอยู่บน ใช้เเกลบ หรือดินร่วนกลบให้เลยครึ่งผลเล็กน้อย รดน้ำอยู่เสมอ ถ้าร้อนจัดอาจทำหลังคาคลุมบาง ๆ มะพร้าวควรงอกภายใน 2 เดือน ลูกใดไม่งอก เอาไปทำมะพร้าวแห้ง คัดหน่อที่แข็งแรงไปชำไว้อีก 3-4 เดือนจนยาว 1 ศอก แลวจึงย้ายไปปลูก

การปลูกมะพร้าวในที่ดอนที่เนิน ใช้ขุดหลุมปลูกได้เลย แต่ในที่ลุ่มควร ยกร่องสูง 2 ศอก กว้ง 2 – 4 วา ใช้ระยะปลูกดังนี้ มะพร้าวใหญ่ห่างกัน 9×9 เมตร มะพร้าวเตี้ย 6×6 เมตร ควรขุดหลุมให้มีขนาดกว้าง X ยาว X ลึก 1 เมตร เอาเศษหญ้าฟาง ใบไม้ ใส่ในก้นหลุม เอาเกลือ 2-3 กำมือ ขี้เถ้าหรือปูนขาว 1-2 ก.ก. และปุ๋ยคอก 1-2 ปีบ คลุกเคล้ากับดินให้ทั่วกลบดินลงในหลุม แล้วเอาหน่อมะพร้าวลงปลูก อาจใช้ยากำจัดปลวก หรือดีลดริน ละลายน้ำรดลงรอบ ๆ หน่อ แล้วใช้หญ้าแห้งคลุมโคน ทำกระโจมดด้วยทางมะพร้าวในฤดูร้อนที่ร้อนจัด

ควรดายหญ้า พรวนดิน และใส่ปุ๋ย ปีละ 1-2 ครั้ง ก่อนฤดูฝนคือในเดือน มิถุนายน และเดือนธันวาคม ปุ๋ยที่จะใช้อาจเป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ผสมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็ได้ สูตรปุ๋ยที่ใช้คือ 8-8-18-2.7 (N-P-K-แม๊กนีเซียม) ในอัตรา ครึ่งกิโลกรัมต่อต้น (อายุ 1-2 ปีครึ่ง) 1 กิโลกรัมต่อต้น (อายุ 3-3 ปีครึ่ง) 1.5 ก.ก./ต้น (อายุ 4 ปีขึ้นไป) ใช้สูตร 12-6-15 ในอัตรา 2 ก.ก. ต่อต้น เมื่อมะพร้าวเริ่มออกผล

ในระยะที่มะพร้าวยังเล็ก ชาวสวนควรปลูกพืชแซมด้วยเช่น ถั่วลิสง พริก สับปะรด ผัก ข้าวไร่ ฯลฯ หากไม่ประสงค์จะปลูกพืชแซมใด ๆ ก็ควรหาเมล็ดพืชคลุม ตระกูลถั่ว เช่นถั่วลาย เพอราเรีย คาโลโปโกเนียม มาปลูกไว้ระหว่างร่อง เพื่อช่วยบำรุงดิน ป้องกันดินพังทะลายและปราบวัชพืชพวกหญ่าต่าง ๆ

ศัตรูและวิธีปราบมีดังนี้

ก. ด้วงแรด จะวางไข่ในกองปุ๋ย กองขยะ กองเศษไม้ผุ ดังนั้นต้องคอยทำ ความสะอาดสวนพลิกกองปุ๋ยเอาตัวอ่อนมาทำลาย หรือใช้ดีลดริน 2 ช้อน ต่อน้ำ 1 ปีบ ราดกองปุ๋ย ตัวแก่จะบินไปกัดกินยอดและใบ จะต้องใช้ทราย หรือขี้เลื่อยผสมยาดีลดรินโรยไว้ที่ยอดและโคนทาง

ข. ด้วงงวง ด้วงงวงจะวางไข่ตามยอดและแผลที่ด้วงแรดกัดกิน ดังนั้นต้องเอาน้ำมันดินหรือยาฆ่าแมลงทาไว้ อาจฉีคป้องกันด้วยยาดีลดริน 0.5% ถ้า มะพร้าวจวนจะตายก็อาจโค่นลงแล้วเผาเสีย

ระยะปลูกไม้ผลที่ควรทราบ

ชื่อพืช                            ระยะปลูก (เมตร)            ไร่ละกี่ต้น

ส้มโอชนิดต่าง ๆ                      8X8                           25

ส้มเกลี้ยง                                  7×7                         36-40

ส้มจุก                                                6×6                       40-50

ส้มเขียวหวาน ส้มจีน                6×6                       40-50

มะนาว                                      6×6                       40-50

ละมุด                                       6×6                       40-50

เงาะ                                        10×10                    16-22

ลางสาด                                    8×8                           25

มังคุค                                       8×8                           25

กระท้อน                                  8×8                           25

ขนุน                                        8×10                     20-26

ฝรั่ง                                          6×6                       40-50

ชมพู่ต่าง ๆ                                7×7                       36-40

มะม่วง                                      8×10                     20-26

มะพร้าวเตี้ย                              6×6                          40

มะพร้าวใหญ่                            9×9                          20

ทุเรียน                                      8×10                     20-24

ทับทิม                                      3×3                         170

น้อยหน่า                                  3×3                         170

พุทรา                                       6×6                       40-50

กล้วย                                       3X4                      134-180

กาแฟ                                        2×3                          260

วิธีปลูกไม้ผลทั่วๆ ไป

ไม้ผลที่นิยมปลูกกันมากในบ้านเราพอจะแบ่งเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ 2 พวก คือไม่ผล ขนาดใหญ่ ซึ่งมีทรงพุ่มโตครอบคลุมเนื้อที่เป็นบริเวณกว้าง และในการปลูกก็จะต้องใช้ระยะปลูกห่างกันมาก เช่น 6-10 เมตร เป็นต้น ไม้ผลขนาดใหญ่ได้เเก่ขนุน มะม่วง กระท้อน  เงาะ ส้มโอ ทุเรียน มังคุด ลางสาด มะพร้าว ฯลฯ  พวกที่สองคือ ไม้ผลขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ซึ่งมีทรงพุ่มเล็กกว่า คุ้นเคยกว่า จึงใช้ระยะปลูกประมาณ 2-5 เมตร เช่น ทับทิม น้อยหน่า มะนาว ละมุด ฝรั่ง ชมพู่ พุดทรา ส้มเขียวหวาน ส้มจุก เป็นต้น

สิ่งที่จะใช้ปลูก

เนื่องจากไม้ผลต่าง ๆ เหล่านี้มีวิธีขยายพันธุ์แตกต่างกัน บางอย่างขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด การตอน ทาบกิ่ง หรือการติดตา ดังนั้นสิ่งที่จะใช้ปลูก อาจจะอยู่ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

1. กิ่งตอน เป็นกิ่งไม้ผลพันธุ์ดี ที่ตอนมาจากต้นเดิมและมีรากเพียงพอ กิ่งตอนนี้ จะให้ผลิตผลที่มีคุณภาพเหมือนต้นแม่เดิมร้อยเปอรเซ็นต์ คือไม่มีการกลายพันธุ์ และให้ผลเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด แต่มีข้อเสียที่ว่าต้นที่ปลูกจากกิ่งตอนจะไม่มีรากแก้ว ถ้ามีลมแรงและดินอ่อนอาจจะโค่นล้มได้ง่าย และต้นไม้มักจะอายุสั้นกว่าการปลูกด้วยเมล็ด หรือจากการทาบกิ่ง และติดตา

2. กิ่งทาบ หรือกิ่งเสียบทาบ เป็นกิ่งที่เตรียมโดยใช้เมล็ดปลูกเป็นต้นตอไว้ก่อน ต้นตอที่ใช้มักเป็นพืชพันธุ์พื้นเมืองที่มีระบบรากดี หาอาหารเก่ง และทนทานต่อดินฟ้าอากาศ เมื่อเลี้ยงต้นตอไว้ได้ขนาดประมาณเท่านิ้วก้อยหรือนิ้วชี้ ก็นำไปทาบติดกับไม้ผลพันธุ์ดี ดังนั้นกิ่งทาบจึงเป็นไม้ผล 2 กิ่งมาต่อกัน ส่วนบน (ยอด) เป็นไม้ผล พันธุ์ดี ส่วนล่าง (โคนและราก ) เป็นพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ที่ไม่จำเป็นต้องรู้จัก กิ่งทาบมีข้อดีหลายประการ เพราะมีระบบรากแข็งแรง และมียอดที่เป็นพันธุ์ดี ซึ่งจะให้ผลิตผลที่มีคุณภาพ เหมือนต้นเดิมทุกประการ เราจะได้ไม้ผลที่แข็งแรงให้ผลเร็ว ลูกดก อายุยืน และไม่โค่นล้มง่าย

3. กิ่งติดตา หรือต้นตอตา เป็นกิ่งที่เตรียมโดยใช้เมล็ดปลูกเป็นต้นตอไว้ก่อน ต้นตอที่ใช้มักเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่มีระบบรากดี หาอาหารเก่ง และทนทานต่อดินฟ้าอากาศ  เมื่อเลี้ยงต้นตอไว้ได้ขนาดประมาณเท่านิ้วก้อยหรือนิ้วชี้  ก็นำตาจากไม้ผลพันธุ์ดีมาติดลงบนต้อตอ เราอาจจะย้ายไปปลูกขณะที่ตายังไม่แตก หรือจะรอจนตาแตกออกมาเป็นกิ่งติดตาก็ได้  ดังนั้นกิ่งติดตา หรือต้นตอตา จึงเป็นไม้ผล 2 กิ่งมาต่อกัน ส่วนบน(ยอด) เป็นไม้ผลพันธุ์ดี ส่วนล่าง (โคนและราก) เป็นพันธุ์พื้นเมือง กิ่งติดตามีข้อดีหลายประการเพราะมีระบบรากแข็งแรง มียอดเป็นไม้ผลพันธุ์ดี  เราจะได้ต้นไม้ผลที่แข็งแรง ออกลูกเร็ว ลูกดก อายุยืน และไม่โค่นล้มง่าย

4.  เมล็ด เมล็ดไม้ผลอาจจะมีเปลือกหรือเยื่อบาง ๆ หุ้ม  ดังนั้นการปลูกด้วยเมล็ดอาจจะต้องเพาะเสียก่อน เมล็ดบางชนิดนำไปเพาะได้เลย เช่น ขนุน ส้มโอ ทุเรียน ฝรั่ง กระท้อน ฯลฯ แต่บางชนิดควรจะกระเทาะเปลือกเสียก่อน เช่น เมล็ดปาล์ม พุดทรา สำหรับเมล็ดมะม่วงก็ควรตัดเปลือกหัวหท้าย หรือแกะเปลือกออกเสียก่อน จะทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น หลายคนเชื่อว่าการขยายพันธุ์โดยเมล็ดจะทำให้ต้นไม้กลายพันธุ์ แต่สำหรับฝรั่ง น้อยหน่า ละมุด ทับทิม กาแฟ ฯลฯ น่าจะไม่มีผลเสียอย่างใด

ฤดูปลูก การปลูกไม้ผลชนิดต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถจะปลูกได้ทุกฤดู แต่การปลูกในหน้าร้อน (ม.ค.-เมษายน) อาจจะไม่ค่อยเหมาะ เพราะอากาศร้อนจัด ดินแข็ง ขุดหลุมยาก ดังนั้นฤดูกาลที่จะปลูกไม้ผล ควรเป็นต้นฤดูฝนหรือหน้าฝน เพราะขุดหลุมได้ง่าย ไม่ต้องรดน้ำมาก ต้นไม้สามารถจะตั้งตัวได้เร็ว

การเตรียมหลุม ในการปลูกไม้ผลเราควรขุดหลุมให้ใหญ่เป็นหลุมกลม หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็ได้  ถ้าเป็นไม้ผลขนาดเล็กควรขุดหลุมให้มีขนาดกว้างxยาวxลึก ประมาณ 50-75 ซ.ม. และถ้าเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ควรขุดหลุมให้โตขนาด กว้างxยาวxลึก ด้านละ 1 เมตร  ถ้าดินชั้นบนแตกต่างจากดินชั้นล่างก็ควรแบ่งไว้เป็น 2 กอง  แต่ถ้าดินเหมือน ๆ กันก็กองรวมด้วยกันได้  นำดินชั้นบนหรือหน้าดินใส่ลงก้นหลุม ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ผุดีแล้วลงไป 1-2 ปีบ คลุกเคล้าปุ๋ยให้เข้ากับเนื้อดิน เอาปุ๋ยอีกจำนวนหนึ่ง หรือขี้เถ้าและปูนขาวเล็กน้อย ผสมกับดินล่างแล้วโกยทับลงไปในหลุมให้กองเป็นเนินสูงประมาณ 5-6 นิ้ว ถ้าไม่ได้แยกดินที่ขุดดินขึ้นมาก็ให้เอาปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยเทศบาล 2-3 ปีบเทลงบนกองดิน อาจใช้ขี้เถ้าและปูนขาวบ้าง ถ้าดินเป็นกรด ถ้าจะปลูกมะพร้าวอาจโรยเกลือลงบนกองดิน 1-2 กำมือด้วย  เสร็จแล้วผสมปุ๋ยกับดินให้เข้ากัน  แล้วเกลี่ยดินลงไปในหลุมให้กองเป็นเนินสูงประมาณ 6 นิ้ว

การปลูกกิ่งไม้ผลและการดูแลรักษา

1.  ตัดใบออกจากกิ่งเสียบ้าง  โดยเฉพาะกิ่งตอน  ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำ บางทีกิ่งตอนดูดน้ำไม่ทัน ใบอาจจะเหี่ยวได้

2.  แกะผ้าพลาสติกที่หุ้มกิ่งตอน และตัดเชือกพลาสติกที่มัดกาบมะพร้าวออก  ถ้าเป็นกิ่งทาบหรือกิ่งติดตาก็ควรฉีกถุงพลาสติกออก

3.  ถ้ากิ่งทาบ กิ่งติดตาอยู่ในกระถาง อาจทุบกระถางให้แตก หรือคว่ำกระถางใช้มือรองรับกิ่งทาบ  แล้วดันก้นกระถางผ่านรูระบายไล่ให้กิ่งทาบหลุดออกมา ยืดรากที่ม้วนคดเคี้ยวให้กางและแผ่ออก

4.  ทำหลุมเล็ก ๆ บนผิวดินในหลุมที่เตรียมไว้แล้วนำกิ่งไม้ผลลงมาปลูก

5.  การปลูกต้องปลูกตื้น ๆ คือปลูกให้เสมอหรือพอมิดแนวดินเดิมที่ติดมากับกิ่งทาบ

6.  กลบดินให้แน่นพอควร

7.  ทำหลักไม้ใช้เชือกผูกยึดต้นไม้ผลให้แข็งแรงและยืนตรงตามแนวที่ต้องการ

8.  ใช้บัวรดน้ำให้ชุ่ม ถ้าบริเวณนั้นมีมดและปลวกมาก  ก็ควรใช้ยาพวกเชลล์ไดร้ท์ละลายน้ำจาง ๆ หรือใช้ยาออลเดร็กซ์ 40 ละลายน้ำรดบริเวณโคนต้นเพื่อป้องกันมดปลวกมากัดกินรากของไม้ที่ปลูก

9.  ทำร่มหรือกระโจมกันแดดไว้ประมาณ 5-7 วัน  ถ้ามีเข่งลูกโต ๆ อาจใช้เข่งคลุมไว้ก็ได้ พอตกกลางคืนค่อยเปิดเข่งให้ต้นไม้ได้รับน้ำค้างด้วย

10. ต้องคอยตรวจดูกิ่งทาบและกิ่งติดตา อย่าให้มีแขนงแตกออกมาจากต้นตอเดิม เพราะแขนงนั้นคือพันธุ์พื้นเมือง  ถ้ามีแขนงแตกจากต้นตอเดิมต้องตัดทิ้งให้หมด

11. เมื่อกิ่งไม้ผลที่ปลูกเริ่มตั้งตัวและแตกยอดใหม่ ต้องแกะเอาเชือกหรือผ้าพลาสติกที่มัดรอยทาบออกให้หมด  เพื่อให้ต้นไม้ขยายลำต้นได้เต็มที่

12.  เมื่อต้นไม้ผลเริ่มโต ก็ต้องใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ช่วย ในระยะนี้พืชต้องการปุ๋ยไนโตรเจนสูง ๆ เพื่อเอาไปสร้างเป็น ลำต้น กิ่ง ใบ อาจใช้ปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟตหรือปุ๋ยสูตรอื่น ๆ การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่ปีละหลาย ๆ ครั้ง  โดยการดายหญ้าพรวนดินแล้วใส่ปุ๋ยก่อนฝนตกเล็กน้อย หรือในหน้าฝน

13.  ต้องตัดแต่งกิ่งไม้ผลเป็นประจำ  เพื่อจัดรูปทรงให้แผ่ไปข้าง ๆ อย่างสวยงามและเป็นพุ่มที่สมดุลย์  ในปัจจุบันนี้การปลูกไม้ผลเราไม่นิยมเลี้ยงให้ต้นใหญ่ ๆ เพราะไม้ที่มีต้นสูงใหญ่ดูแลลำบาก จะฉีดยา ตัดแต่งกิ่ง และเก็บผลก็ลำบาก ดังนั้นในขณะนี้จึงมีคนนิยมปลูกไม้ผลชิด ๆ กัน เช่นมะม่วงแทนที่จะใช้ระยะ 8×10 เมตร เราก็ใช้ระยะ 4×4 เมตร ฝรั่งพันธุ์เวียตนาม(ชนิดลูกใหญ่) ก็ใช้ระยะห่างกันเพียง 2-2.5 เมตร แล้วต้องคอยตัดแต่งกิ่งอย่าให้สูงใหญ่ เช่น เมื่อมะม่วงสูงขึ้นมาประมาณ 40-50 ซ.ม. ก็ตัดยอดออก  เพื่อให้แตกกิ่งเป็น 4-5 กิ่ง  ถ้าเราคอยตัดและแต่งอยู่เรื่อย ๆ ก็จะทำให้ไม้ผลตกลูกเร็ว และต้นไม้โต จะฉีดยาป้องกันโรคและแมลงก็ทำได้ง่าย