การผลิตสาหร่ายทะเลเพื่อการอุตสาหกรรม


อุตสาหกรรมการผลิตสาหร่ายทะเลได้รับการแจกแจงเป็นอุตสาหกรรมพื้นบ้าน เพราะไม่สามารถนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปประยุกต์ใช้ แม้แต่ในขั้นตอนการสกัดสาร PHYCOCOLLOIDS ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวสาหร่ายและตากแห้ง ยังคงเป็นโรงงานผลิตขนาดเล็กที่ใช้กรรมวิธีแบบดั้งเดิม อันเป็นผลให้สาหร่ายทะเลที่ผลิตได้จะมีความ แตกต่างกันในด้านขนาด ชนิด สถานที่ และความอุดมสมบูรณ์ของสาหร่ายทะเล ตลอดจนกรรมวิธีในการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพของท้องถิ่นนั้นๆ รวมทั้งสภาพแวดล้อม แม้ว่าปริมาณการเก็บเกี่ยวสาหร่ายทะเลหลายๆ สกุลจะปรวนแปรไปตามความเสียหายที่จะได้รับจากพายุ ปริมาณชายหาดและหินตามชายฝั่ง ปัญหาใหญ่ของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลในปัจจุบันก็คือ ความต้องการที่จะปรับปรุง ประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวในการผลิต PHYCOCOLLOIDS ครึ่งหนึ่งของต้นทุนในการผลิตคือวัตถุดิบสาหร่ายทะเล การเก็บสาหร่ายทะเลด้วยมือยังคงถือเป็นการเก็บเกี่ยวหลักในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล ซึ่งต้องใช้แรงงานคนมาก ดังนั้น ผู้เพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลทางซีกโลกเหนือต้องเผชิญกับต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น และเมื่อรวมกับปัจจัยที่ว่าการนำเครื่องจักรเครื่องมือมาใช้ในการเก็บเกี่ยวสาหร่ายประสบความสำเร็จน้อย มาก จึงได้มีการสำรวจสำมะโนพิจารณาโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งยังไม่ได้มีการทำอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลอย่างเป็นลํ่าเป็นสัน และมีแรงงานในประเทศเพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล โดยที่อุตสาหกรรมนี้ะเข้าไปเสริมรายได้และช่วยให้ชาวประมงท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งจะเป็นหนทาง ที่จะได้เงินตราต่างประเทศด้วย
วิธีเพาะเลี้ยงสาหร่าย แยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. BATCH CULTURE การเพาะเลี้ยงทุกครั้งจะเริ่มจากห้องปฏิบัติการ จากจำนวนน้อยๆ จนกระทั่งมีจำนวนมาก และเก็บเกี่ยวทีเดียวหมด วิธีนี้เป็นวิธีที่สะอาดที่สุดส่วนมากจะเลี้ยงโดยใช้ปุ๋ยเคมี ผลผลิตใช้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์
2. CONTINUOUS CULTURE เริ่มเลี้ยงเหมือน BATCH CULTURE แต่จะเก็บเกี่ยวส่วนหนึ่งแล้วปล่อยส่วนที่เหลือให้ทยอยเติบโตโดยไม่เริ่มเลี้ยงจากต้นใหม่ ส่วนมากใช้เลี้ยงในน้ำเสีย (SEWAGE BASED CULTURE) เพราะควบคุมความสะอาดยาก วิธีนี้ผลผลิตถูกกว่าวิธีแรก ปัจจุบันใช้เป็นวิธีแก้นํ้าเสีย สาหร่ายที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงโดยวิธีนี้นำไปใช้เป็นปุ๋ยหรืออาหารสัตว์
ปัจจุบันวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ของการเพาะเลี้ยงสาหร่าย คือ การนำผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายมาใช้เป็นอาหารมนุษย์โดยตรง แต่ก่อนที่จะนำอาหารชนิดใหม่มาบริโภคได้นั้นจะต้องผ่านการตรวจสอบขององค์การอนามัยโลกก่อน ซึ่งจะต้องใช้เวลาพอสมควร การบริโภคสาหร่ายจึงยังไม่เป็นที่ยอมรับของคนส่วนมาก น้อยคนนักที่จะคำนึงถึงความสำคัญของสาหร่าย ในฐานะเป็นอาหารของมนุษย์ แม้ว่าการเลี้ยงสาหร่ายไม่ใช่ของใหม่ที่จะต้องค้นคว้าบุกเบิก เพียงแต่นำเอาความรู้ทางวิชาการในเชิงการเลี้ยงสัตว์นํ้าและการเลี้ยงสาหร่ายมาใช้ควบคู่กัน อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อการพัฒนาให้เป็นกิจการอุตสาหกรรมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงกรรมวิธีเพาะเลี้ยงและตรวจสอบดูว่าสายพันธุ์ใดเจริญเติบโตได้ดีในสภาพท้องถิ่น แม้ว่าปัจจุบันการทดสอบทางด้าน วิทยาศาสตร์ในแง่ชีวการแพทย์ เทคโนโลยี และการเพาะเลี้ยงยังไม่สมบูรณ์พร้อมก็ตาม แต่ผลการทดลองที่ปฏิบัติมาแล้วนับเป็นแนวทางสำคัญในการเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารต่อไป
สภาพภูมิประเทศของไทยเหมาะสำหรับทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลเป็นอย่างดี และสภาพภูมิประเทศได้เปรียบประเทศชายฝั่งทะเลใกล้เคียง เพราะตั้งอยู่ในแนวภูเขาและแผ่นดินเป็นแนวยาว กำบังทิศทางลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านตะวันตก และตะวันออกของอ่าวไทย สาหร่ายที่มีความสำคัญทางการค้าก็พบอยู่ในอ่าวไทยหลายชนิด เช่น SARGASSUM SPP. เป็นแหล่งให้สาร ALGINIC ACID GRACILARIA SPP. เป็นแหล่งให้วุ้น HYPNEASPP. เป็นแหล่งให้สาร CARRAGEENAN PORYRYRA NISTNAMENSIS เป็นแหล่งอาหารใช้บริโภคโดยตรง ซึ่งในปัจจุบันประชาชนตามชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกมีการเก็บเกี่ยวสาหร่าย GRACILARIA SPP. มาสกัดวุ้น ในลักษณะเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน และ PORPHYRA SPP. นำมาตากแห้งส่งขายตามร้านอาหารภัตตาคารเพื่อปรุงเป็นแกงจืด สาหร่ายที่เก็บเกี่ยวได้มาจากธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่ได้ทำการเพาะเลี้ยงแต่อย่างใด
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ราคาวุ้นที่ขายส่งในจังหวัดสงขลาราคาสูงมากถึงกิโลกรัมละ 650 บาท (น้ำหนักแห้ง) และจากการศึกษาพบว่าฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลของเอเชียในเขตร้อน (ฟิลิปปินส์และไต้หวัน) จะให้ผลผลิตสูงกว่าในเขตอบอุ่น (ตอนเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลี และญี่ปุ่น) เนื่องจากสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการ เจริญเติบโตของสาหร่าย สาหร่ายในเขตร้อนจะได้รับแสงแดดเต็มที่ ปริมาณความเข้มข้นของแสงมากกว่า ตลอดปีช่วงเวลากลางวันยาวกว่า อุณหภูมิสูงกว่า นับเป็นการเร่งอัตราการเจริญเติบโตของสาหร่ายได้อย่างรวดเร็ว การจัดตั้งฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายจึงให้ผลตอบแทนสูงอย่างน่าสนใจ ที่ฟิลิปปินส์มีการจัดตั้งฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล EUCHEUMA SPP. ให้ผลผลิตเป็นมูลค่า 230,000 บาท/ไร่/ปี และในทางตอนใต้ของไต้หวัน การเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล GRACILARIA SPP. ให้ผลผลิตคิดเป็นมูลค่า 58,000 บาท/ ไร่/ ปี นับว่าสาหร่ายทะเลทำรายได้ให้กับประเทศชายฝั่งทะเลคิดเป็นเงินจำนานมหาศาล จึงเป็นพืชหนึ่งที่น่าสนใจส่งเสริมสำหรับการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง นอกจากนี้การเพาะเลี้ยงสาหร่ายนํ้าจืดก็เป็นธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจ แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีข้อมูล สำรวจและการศึกษาวิจัยสนับสนุนมากนักก็ตาม
ที่มา:ส่วนวิจัยเกษตรกรรม ฝ่ายวิชาการ ธนาคารกสิกรไทย