การรักษาความชุ่มชื้นในดิน

แม้ว่ามาตรการในการเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดินจะจำเป็นต่อการเพาะปลูกแบบอาศัยน้ำฝน แต่วิธีการรักษาความชุ่มชื้นไว้ในพื้นที่เดิมตามที่เรียกกัน แทบจะไม่มีการปฏิบัติกันเลย และไม่เป็นที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวาง ไม่มีพื้นที่ไหนที่เป็นที่ราบ เพราะการไหลบ่าของนํ้าเกิดขึ้นในทุกพื้นที่ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าพื้นที่จะราบเพียงใดถ้าหากเป็นการเพาะปลูกแบบอาศัยนํ้าฝนแล้วก็จำเป็นจะต้องจัดแนวระดับที่ดิน การปรับรูปที่ดิน การปรับระดับผิวดิน และเทคนิคทำนองนี้จะทำกันแต่ในพื้นที่ชลประทานเท่านั้น แต่ในพื้นที่เพาะปลูกที่อาศัยน้ำฝนจะต้องทำเป็นแนวระดับ รูปที่ 31 แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเพาะปลูกบนพื้นที่ราบโดยไม่ได้ทำแนวร่องเป็นแนวระดับ

จากรูป A น้ำฝนไหลตรงผ่านทุ่งไป รูป B แสดงผลที่ตามมา เนื่องจากไม่มีความชุ่มชื้น ต้นไม้จึงเหี่ยวและตายไปเพราะแสงแดด รูป C แสดงพื้นที่ เดียวกันแต่ปลูกพืชตามแนวร่องโดยมีร่องลึกสำหรับดักนํ้าที่ไหลล้น ซึ่งต้องทำก่อนที่จะปลูกหญ้าแฝก น้ำฝนที่ถูกเก็บไว้ได้ในร่องดินก็มีโอกาสที่จะซึมลงไป ในดิน แนวร่องแต่ละแนวอุ้มน้ำฝนที่ตกได้ปริมาณ 50 มิลลิเมตร ดังนั้นเมื่อเกิดพายุส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีน้ำไหลบ่า นอกจากนี้ระบบเก็บน้ำตามธรรมชาตินี้ ยังทำให้ต้นไม้ได้ประโยชน์จากแสงแดดตามที่แสดงไว้ในรูป D ในรูป E แนวร่อง ๆ หนึ่งได้มีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาระบบนี้ไว้

รูปที่ 31 ประโยชน์ของแนวร่องตามแนวระดับ

แนวรั้วหญ้าแฝกเป็นกุญแจสำคัญของระบบเก็บความชุ่มชื้นไว้ในพื้นที่เดิม เมื่อได้สร้างแนวรั้วหญ้าแฝกขึ้นมาแล้วจะเป็นแนวสำหรับการไถและการปลูกบนแนวระดับในเวลาเกิดพายุแรง หญ้าแฝกจะป้องกันการพังทลายของดินซึ่งจะทำลายพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร คุณสมบัติที่น่าชื่นชมของพืช ชนิดนี้ก็คือ เมื่อได้ปลูกเป็นแนวรั้วแล้วจะคงอยู่ถาวร

รูปที่ 32 ระบบการปลูกหญ้าแฝก

รูปที่ 32 เป็นการแสดงแผนภาพของระบบหญ้าแฝกในพื้นที่เพาะปลูกเล็ก ๆ จะเห็นได้ว่าหญ้าแฝกเหมาะกับระบบการเพาะปลูกของเกษตรกร แต่ละคนอย่างสมบูรณ์ ไม่มีทางน้ำ ไม่มีคันดิน เกษตรกรแต่ละคนมีแนวหญ้าแฝกหนึ่งแถวอยู่ประมาณกึ่งกลางของพื้นที่ของตัวเอง โดยไม่คำนึงว่าพื้นที่จะมีรูปร่างอย่างไร ในพื้นที่ที่มีความยาวมาก อาจจะทำเป็นสองแนว แม้ว่าพื้นที่แต่ละแปลงจะมีแนวหญ้าแฝกเพียงหนึ่งหรือสองแถว ไหล่เขาทั้งหมด ก็จะได้รับการป้องกันจากการพังทลาย เพราะหญ้าแต่ละแนวจะป้องกันหญ้าแถวที่ต่ำลงไปตลอดแนว ภายใต้ระบบนี้เมื่อได้ทำรั้วหญ้าแฝกขึ้นมาแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องป้องกันด้วยวิธีอื่นอีก การบำรุงรักษาก็น้อย ทั้งเกษตรกรแต่ละคนก็มีต้นกล้าแฝกของตัวเอง เมื่อมีร่องนํ้าเกิดขึ้นที่ใดก็สามารถหาหญ้าแฝก จากรั้วเดิมที่มีอยู่มาปลูกขวางร่องเป็นแนวถาวร เพื่อป้องกันแนวร่องนํ้าขยายตัวออกไปได้ ซ้ำยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกจากแรงงานของเกษตรกรเพียงอย่างเดียว