การลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำ

ในการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำนั้น การลำเลียงขนส่งพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อลงบ่อเลี้ยง ซึ่งไม่ว่าจะใกล้หรือไกลก็เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง สัตว์น้ำบางชนิดจะต้องขนส่งในระยะไกล เช่น การลำเลียงพันธุ์ปลาจีน จากประเทศจีนมาเมืองไทยสมัยก่อน ได้ใช้ถังไม้สูง 2 เมตร เส้นผ้าศูนย์กลางขนาด 2 เมตร เป็นภาชนะลำเลียง ในระหว่างการลำเลียงจะมีการตีน้ำเพื่อเพิ่มแก๊สออกซิเจน และจะต้องใช้เวลาลำเลียงเป็นแรมเดือน สมัยก่อนการลำเลียงลูกปลาสวายจากจังหวัดนครสวรรส์มาขายในกรุงเทพฯ ถ้าลำเลียงด้วยกระชังไม้ไผ่ผูกติดมาข้างเรือ การลำเลียงปลานวลจันทร์ทะเลของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ก็ต้องลำเลียงจากแหล่งลูกปลามายังบ่อเลี้ยงด้วยระยะทางไกลๆ ทั้งสิ้น

ภาชนะที่ใช้ในการลำเลียงก็มีแตกต่างกันไปตามจุดมุ่งหมายและตามลักษณะท้องถิ่นของประเทศแต่ละประเทศ ประเทศอินโดนีเซียมีครุไม้ไผ่ทำด้วยน้ำมันดินมีขนาดความจุ 15 ลิตร ในฟิลิปปินส์ อินเดีย ใช้หม้อดินในการลำเลียงพันธุ์ปลาในบางท้องที่ ในประเทศไทยในสมัยริเริ่มส่งเสริมการเพาะเลี้ยงได้ใช้ถังสังกะสีกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50-60 ซม. ลำเลียงพันธุ์ปลามาแล้ว

ต่อมาได้มีการพัฒนาเกี่ยวกับการลำเลียงขนส่งพันธุ์สัตว์น้ำจำนวนมากๆ ซึ่งจะต้องเตรียมภาชนะขนาดใหญ่หรือจำนวนมากๆ ในระยะทางไกล จึงมีการใช้ถังรูปแบบต่างๆ และมีการใช้เครื่องปั๊มอากาศ เพื่อเพิ่มออกซิเจนแก่สัตว์น้ำในเวลาเดินทาง มีการใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำอัดออกซิเจน มีการใช้สารเคมีเพื่อให้ปลาสลบ ตลอดจนการลดอุณหภูมิ เพื่อเป็นการให้สัตว์น้ำลดการใช้ออกซิเจนให้น้อยลง ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่งในการขนส่งลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำ

ปัจจยสำคัญอันเป็นผลกระทบต่อการลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำ

มีปัจจัยสัาคัญอันเป็นผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ขอนำมากล่าวถึง คือ

การหายใจของสัตว์น้ำ

การหายใจของสัตว์น้ำก็มีจุดประสงค์คล้ายคลึงกับสัตว์อื่นๆ กล่าวคอ หายใจเข้าเพื่อเอาแก๊สออกซิเจนไปใช้ในการเผาผลาญเพื่อให้เกิดพลังงาน (Metabolism) และมีการหายใจเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออก และสะสมอยู่ในน้ำที่ใช้ในการลำเลียง หากในน้ำที่ใช้ในการลำเลียงมีออกซิเจนอยู่มากพอ และมีคาร์บอนไดออกไซด์น้อย การลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากมีคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินถึงขีดอันตรายต่อปลาแต่ละชนิดแล้ว มันก็จะมีอาการไม่สบายหรือตายได้

กรรมวิธีการหายใจของสัตว์น้ำส่วนใหญ่นั้น จะหายใจทางเหงือก ซึ่งมีเส้นโลหิตฝอยกระจายอยู่ทั่วไปในเหงือก ที่เส้นโลหิตฝอยนี้จะมีเม็ดเลือดแดงซึ่งมีเฮโมโกลบิน (haemoglobin) เป็นตัวดึงหรือสัมผัสเอาแก๊สออกซิเจนเข้าไปใช้เป็นพลังงานในตัวของสัตว์นํ้า แต่ถ้ามีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ในนํ้าในปริมาณมากถึงจุดหนึ่งแล้ว แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกดึงไปสะสมในเม็ดเลือดแดง และยังผลให้เม็ดโลหิตแดงไม่สามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ได้อีกต่อไป

การหายใจของสัตว์นํ้าในภาชนะลำเลียงนั้น ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีดังกล่าว มีผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาดังต่อไปนี้

1. ผลกระทบจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ในน้ำที่ใช้ในการลำเลียง และเป็นตัวการสำคัญอันดับแรกที่ทำให้สัตว์นํ้านั้นตายถ้าปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นผลจากการหายใจของปลาสะสมในเม็ดเลือดสูง ประกอบกับคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งละลายอยู่ในน้ำที่ใช้ในการลำเลียงสูงเช่นกันแล้ว ผลที่เกิดขึ้นก็คือ คาร์บอนไดออกไซด์ในเม็ดเลือดจะไม่สามารถถ่ายหรือระบายออกมาจากตัวสัตว์น้ำนั้นได้ มันจะกลายเป็นพิษโดยทำให้สัตว์น้ำดังกล่าวสามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ในการหายใจ ซึ่งจะทำให้ตายในที่สุด ดังนั้น การตายของสัตว์น้ำจึงไม่เพียงแต่ขาดออกซิเจนหายใจเท่านั้น ถึงแม้จะมีออกซิเจนเหลืออยู่ในน้ำหรือในภาชนะลำเลียงมากมายเพียงใด ถ้าหากมีคาร์บอนไดออกไซด์มากก็จะทำให้สัตว์น้ำนั้นตายได้เช่นกัน ความทนทานของสัตว์น้ำแต่ละชนิด และขนาดต่อปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ในน้ำนั้นก็มีระดับต่างกันไปด้วย

2. ผลกระทบจากแก๊สออกซิเจนเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปว่า ออกซิเจนมีความจำเป็นสำหรับการหายใจของปลาและสัตว์น้ำทั่วๆ ไป สัตว์น้ำต่างชนิดหรือชนิดเดียวกันแต่ต่างขนาดก็มีความต้องการออกซิเจนสำหรับหายใจในปริมาณต่างกัน ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำได้มากน้อยเพียงใดนั้น มีอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นส่วนประกอบด้วย กล่าวคือ ออกซิเจนจะละลายในน้ำได้ในปริมาณที่สูง หากอุณหภูมิของน้ำต่ำลง และสัตว์น้ำจะหายใจ และใช้ออกซิเจนในปริมาณสูงในอุณหภูมิที่สูงขึ้น มีการทดลองและพบกันว่า ลูกปลาวัยอ่อน (larvae) จะหายใจเอาออกซิเจน 2-5 เท่าของลูกปลา (fry) หากคิดเป็นน้ำหนักรวมของลูกปลาวัยอ่อนและลูกปลาที่มีน้ำหนักเท่ากันพอจะสรุปได้ว่า การใช้ออกซิเจนของลูกปลาแต่ละชนิดจะมากน้อย มีส่วนสัมพันธ์กับขนาดหรือน้ำหนักของตัวปลาด้วย

3. ผลกระทบจากแก๊สแอมโมเนีย แก๊สแอมโมเนียที่เกิ๊ดขึ้นในภาชนะลำเลียงพันธุ์สัตว์นํ้านั้น เกิดจากการสลายตัวของอินทรียวัตถุที่หลงเหลืออยู่ในน้ำจากสัตว์น้ำที่ตายและเน่าเปื่อย และจากการถ่ายของเสียของสัตว์น้ำเองในขณะลำเลียงผลกระทบของแอมโมเนียที่ละลายอยู่ในน้ำจะเป็นพิษต่อสัตว์น้ำโดยตรง ระดับของการเป็นพิษมากน้อยเพียงใดจะแตกต่างต่อชนิดและขนาดของสัตว์น้ำนั้นๆ ด้วย

4. ผลกระทบจากการเป็นกรดและเป็นด่าง (pH) ในน้ำที่ใช้ในการลำเลียงพันธุ์ปลา ได้มีการศึกษาและพบว่าน้ำในระดับของ pH 6.8-8.1 ปลาบางชนิดสามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ได้ประโยชน์สูงสุด และนอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ในน้ำ เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ pH เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย และยังมีนักวิทยาศาสตร์บางท่านได้ให้ความเห็นว่า ลูกปลาต่างชนิดสามารถปรับตัวได้ไนระดับ pH แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้น ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำที่ใช้ในการลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำ จึงควรเป็นข้อหนึ่งที่ควรพิจารณาถึงผลกระทบอันอาจเกิดขึ้นด้วย

ได้มีผู้ค้นคิดเอาสารจำพวกที่รักษาระดับของความเป็นกรดเป็นด่างให้อยู่ระหว่างกลาง (stabilizing of acid level) เรียกสารประเภทนี้ว่าสารกั้นกลาง (buffer) เช่น

– Secondary sodium phosphate ในอัตราความเข้มข้น 1 กรัม/ลิตร ของน้ำ

-Sodium phosphate ในอัตราความเข้มข้น 1.5 กรัม/ลิตร ของน้ำ

-Sigma 7-9 หรือ Trihydroxymethyl-aminomethane ในระดับความเข้มข้น 2-5 กรัม/แกลลอน ของน้ำ

สารดังกล่าวนี้ยังไม่มีผู้ใช้กันแพร่หลายนัก หากจะมีผู้ใดจะใช้เพื่อการลำเลียง ควรจะได้มีการทดลองหาผลที่แน่นอนก่อน

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของน้ำที่ใช้ในการลำเลียงสัตว์น้ำ มีผลกระทบโดยตรงต่อการหายใจของมันในน้ำหรืออากาศที่มีอุณหภูมิสูงจะทำให้สัตว์น้ำหายใจเร็ว และมีส่วนสัมพันธ์ในการใช้ออกซิเจนและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ในทางตรงข้ามหากอุณหภูมิต่ำจะมีผลให้สัตว์น้ำหายใจช้าลงและใช้ออกซิเจนน้อย ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลงด้วย ดังนั้น ในการลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำจึงมีความจำเป็นจะต้องเลือกเวลาในการลำเลียงในขณะที่มีอุณหภูมิต่ำ  เช่น ตอนเย็น กลางคืน หรือตอนเช้า หากจะมีการลำเลียงในเวลาอื่นหรือขณะที่มีอุณหภูมิสูง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องหาทางลดอุณหภูมิในภาชนะที่ลำเลียง หรือภาชนะที่ใช้ลำเลียง เช่น ลำเลียงในรถยนต์ที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือใช้น้ำแข็งใส่ในพาหนะหรือ ภาชนะลำเลียงที่ปิดเพื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำลง เป็นต้น อุณหภูมิที่เหมาะสมในการลำเลียงสัตว์น้ำในประเทศไทยควรจะประมาณ 22-23° ซ.

สัตว์น้ำตื่นตกใจ

การตื่นตกใจของสัตว์น้ำมีผลกระทบโดยตรงต่อการลำเลียง นอกจากการตื่นตกใจของมันจะทำให้มันต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจมากขึ้นแล้ว การตื่นตกใจยังทำให้มันกระโดดและชนภาชนะในการขนส่งซึ่งบางครั้งถึงตายเลยก็มี การลำเลียงขนส่งสัตว์น้ำโดยไม่ได้หาทางแก้ไขเกี่ยวกับการตื่นตกใจไว้ จะทำให้มีเปอร์เซ็นต์ตายของสัตว์น้ำมากขึ้น

ในการแก้ไขการตื่นตกใจของสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกปลานั้นได้มีการใช้สารเคมีจำพวกยาสลบ (anesthetic) ซึ่งมีส่วนช่วยให้ปลามีการเคลื่อนไหวน้อยลง และมีการหายใจ ซึ่งยังผลให้มีการใช้ออกซิเจนน้อยลงไปด้วย สารเคมีจำพวกยาสลบที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่

-Sodium emytal ที่มีความเข้มข้นประมาณ 21-28 ppm.

-MS 222 หรือ Tricane methane sulfonate ที่มีความเข้มข้นประมาณ 40-51 ppm. หรือขนาด 0.4-1 gm/น้ำแกลลอน

-Quinaldine ที่มีความเข้มข้น 2-5 ppm.

-สารเคมีประเภทที่ใช้เป็นยาสลบอื่นๆ เช่น Mythyl Penthynol, Urethane Sodium seconal, etc. ก็เคยมีผู้นำมาใช้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในการใช้สารเคมีประเภทยาสลบเพื่อช่วยในการลำเลียงขนส่งพันธุ์สัตว์น้ำนั้น ควรจะได้มีการระมัดระวังผ่านการทดสอบกับสัตว์น้ำแต่ละชนิดแต่ละขนาดเพื่อหาผลที่แน่นอนก่อนจะทำการใช้

ผลกระทบจากการใช้ภาชนะโลหะที่เป็นพิษในการลำเลียงสัตว์น้ำ

เพื่อที่จะได้ระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้โลหะชนิดต่างๆ ทำเป็นภาชนะลำเลียงพันธุ์สัตว์นํ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งปลานั้น ได้มีการศึกษาพบว่าโลหะบางพวก เช่น ทองเหลือง นิเกิล โดยเฉพาะ ทองแดงเป็นโลหะที่เป็นพิษ ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับสังกะสีพบว่าเป็นพิษต่อปลาในอุณหภูมิและความกระด้างของน้ำแตกต่างกัน ดังนั้น การใช้สังกะสีทำภาชนะในการขนส่งพันธุ์ปลานั้น ควรจะได้รับการพิจารณาระมัดระวังด้วย

วิธีการลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำ

ในการลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำนั้นมีวิธีการปฏิบัติงานเป็นขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

การเตรียมพันธ์สัตว์น้ำ

ในขั้นแรกก่อนการลำเลียงจะต้องมีการเตรียมพันธุ์สัตว์น้ำที่จะต้องลำเลียงกล่าวคือ

1. การป้องกันโรคและพาราสิต เริ่มจากจับสัตว์น้ำจากบ่อมาขังไว้ จะต้องป้องกันมิให้โรคและพาราสิตติดตัวสัตว์น้ำไปจนถึงผู้รับปลายทาง สัตว์น้ำที่เป็นโรคและพาราสิตจะอ่อนแอและตายง่ายมากเมื่ออยู่ในระยะการลำเลียง นอกนั้นเชื้อโรคหรือพาราสิตต่างๆ ยังจะแพร่พันธุ์ติดต่อสัตว์นํ้าตัวอื่น ซึ่งอยู่ในภาชนะลำเลียงอันเดียวกันด้วย ดังนั้นทางที่ดีจึงควรจะได้มีการให้น้ำยาเคมีบางอย่างเพื่อฆ่าเชื้อโรค และเป็นการป้องกันเชื้อโรคและพาราสิตก่อนที่จะมีการลำเลียง กล่าวคือ

-ใช้ด่างทับทิมที่มีคว้าเข้มเข้น 10 ppm. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อกำจัดโรครา พาราสิตในเหงือกและพวกโปรโตซัว พาราสิตที่เกาะภายนอกตั้ว

-ใช้ฟอร์มาลิน 15 ppm. เป็นเวลา 6 ชั่วโมง เพื่อกำจัดพยาธิในเหงือกและโปรโตซัวพาราสิตซิ่งเกาะภายนอกตัว

-ใช้ยาเหลือง (acriflavine) ขนาด 1 ppm. เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อลดการตายจากโรคต่างๆ อันเกิดจากพวกแบคทีเรีย เฉพาะยาเหลืองนี้ควรได้รับการพิจารณาใส่ลงในภาชนะลำเลียงในระดับความเข้มข้นเดียวกันนี้ด้วย เพราะเป็นตัวยาที่ให้คุณประโยชน์ และไม่มีผลอันตรายติดตามมาภายหลังด้วย

การใช้ยาดังกล่าวแล้วไม่จำเป็นจะต้องใช้ทั้ง 3 ชนิด แต่ควรพิจารณาเลือกใช้จากการสังเกตว่า มีโรคหรือพาราสิตชนิดใดบ้างที่เคยพบในตัวปลาที่เราทำการขนส่ง แล้วจึงเลือกใช้ยาที่เหมาะสมในการกำจัดก่อนการลำเลียง

2. การให้สัตว์นํ้าอดอาหาร สัตว์น้ำที่ถูกลำเลียงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้อดหารอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อให้อาหารที่มีอยู่ในกระเพาะได้ถูกใช้ให้หมดก่อนที่จะถูกลำเลียงในระยะที่ถูกขังให้อดอาหารนี้จะสังเกตเห็นว่าสัตว์น้ำจะถ่ายของเสียออกเป็นจำนวนมาก และเพื่อป้องกันมิให้สัตว์น้ำถ่ายของเสียลงในภาชนะลำเลียงขนส่ง จึงต้องให้มันถ่ายออกในระยะขังให้อดอาหารนี้ ของเสียดังกล่าวจะเป็นเหตุให้น้ำในภาชนะลำเลียงเกิดเสียเพราะเหตุมีแก๊สแอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์ และพวกซัลไฟด์สะสม อันเป็นสาเหตุให้สัตว์น้ำถึงแก่ความตาย

3. การคัดเลือกขนาดของสัตว์น้ำที่จะลำเลียง การคัดเลือกสัตว์น้ำขนาดเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน เพื่อการลำเลียงขนส่งในภาชนะลำเลียงเดียวกันนั้น มีความจำเป็นที่ควรได้รับการพิจารณาอย่างยิ่ง เพราะสัตว์น้ำที่ให้อดอาหารนั้นจะแสดงอาการดุร้าย หงุดหงิด ชอบทำร้ายขนาดที่เล็กกว่าและเป็นสัตว์น้ำที่อ่อนแอกว่า หรือตายขณะลำเลียงด้วยแล้ว อาจถูกรุมกัดและกินเป็นอาหารไปเลย ในกรณีเช่นนี้ เศาซากที่เหลือจากการกิน ตลอดจนการขับถ่ายของเสียออกจากสัตว์น้ำที่กินกันเองเข้าไป จะทำให้น้ำในภาชนะลำเสียงเสียง่ายและเป็นอันตรายต่อสัตว์นํ้าที่เหลืออยู่ได้

การเลือกภาชนะที่ใช้ในการลำเลียงและวิธีการ

ภาชนะที่ใช้ในการลำเลียงสัตว์นํ้าอาจแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

1. ภาชนะแบบเปิด เป็นภาชนะที่ใช้ลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำแบบเปิดฝา หรือปิดฝา แต่มีรูถ่ายอากาศเข้า-ออกในภาชนะลำเลียงได้ ภาชนะดังกล่าวอาจทำด้วยโลหะ พลาสติก เป็นตะกร้าไม้ไผ่ สารเเละทาด้วยชันหรือน้ำมันดิน หม้อดิน ถังไม้ ฯลฯ การเคลื่อนไหวขณะลำเลียงหรือการกระทุ่มน้ำด้วยไม้เป็นวิธีเพิ่มออกซิเจนในน้ำที่ใช่เในการลำเลียงด้วย

ต่อมาได้มีการพัฒนาภาชนะเปิด สำหรับลำเลียงพันธุ์สัตว์นํ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกกุ้ง-ปลาที่ต้องการขนส่งจำนวนมากในระยะทางไกล ได้มีการประดิษฐ์เครื่องให้อากาศ (Airator) หรือออกซิเจนทางท่อโดยตรงไปยังถังลำเลียงสัตว์น้ำ วิธีการดังกล่าวอาจใช้กับการลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำโดยตรง หรือนำพันธุ์สัตว์นํ้าขนาดใหญ่เพื่อไปส่งขายในตลาด

ในการลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำแบบเปิดโดยใช้ภาชนะขนาดเล็กสำหรับเจ้าของบ่อรายย่อยที่มีเนื้อที่บ่อเลี้ยงน้อยนั้น ส่วนใหญ่จะลำเลียงด้วยถังนํ้าธรรมดาแล้วใส่จักรยานหรือใช้รถกระบะ

ขนาดเล็กลำเลียง บางครั้งจะทำให้สัตว์น้ำตื่นตกใจ มีความจำเป็นจะต้องหาพันธุ์ไม้น้ำ ใบตองกล้วย หรือใบไม้ชนิดอื่นใส่ลงไปเล็กน้อย เพื่อให้เป็นร่มเงาหลบซ่อนไม่ให้ตื่นตกใจและไม่ให้น้ำกระฉอกหก แต่ต้องระมัดระวังคัดเลือกเอาพันธุ์ไม้น้ำหรือใบไม้ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสัตว์น้ำ

2. ภาชนะแบบปิด เป็นภาชนะลำเลียงที่มีแพร่หลายในปัจจุบัน ภาชนะชนิดนี้ หมายถึงภาชนะที่มีฝาปิด หรือใช้วัสดุชนิดหนึ่งชนิดใดปิดภาชนะที่ใช้ลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำ ภาชนะชนิดนี้จำเป็นต้องอัดเอาออกซิเจนหรืออากาศใส่ลงไปในภาชนะก่อนปิด เพื่อเป็นการเพิ่มออกซิเจนในภาชนะลำเลียง ส่วนใหญ่จะใช้ออกซิเจนบริสุทธิ์บรรจุลงไป เพราะมีปริมาณออกซิเจนมากกว่าอากาศธรรมดาในปรมาณเท่ากัน

ในสมัยก่อนได้มีการประดิษฐ์ภาชนะลำเลียงปิด โดยใช้ปีบหรือถังแบบถังน้ำเป็นภาชนะ หลังจากบรรจุน้ำและสัตว์น้ำลงไปแล้ว ก็จะอัดเอาออกซิเจนลงไปแทนน้ำประมาณ 2 ใน ถึง 3 ใน 4 ส่วน แต่ในปัจจุบันการใช้ถุงพลาสติกเป็นภาชนะลำเลียงราคาถูกกว่าและสะดวกกว่า จึงไม่มีผู้นิยมใช้ภาชนะแบบโลหะหรือถังชนิดอื่นๆ นอกจากการลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำขนาดใหญ่

ลำเลียงสัตว์น้ำแบบปิด มีการเตรียมการเช่นเดียวกับการลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำแบบเปิด

ขั้นตอนในการลำเลียงสัตว์น้ำแบบปิดทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นการลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำ โดยใช้ถุงพลาสติกอัดออกซิเจน อันเป็นการลำเลียงแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

ก. การเตรียมถุงพลาสติก ถุงพลาสติกที่ใช้ในการลำเลียงพันธุ์สัตว์นาไปเลี้ยงเพื่อบริโภค หรือเลี้ยงในตู้กระจกเพื่อความสวยงามนั้นมีขนาดต่างๆ กัน แต่ขนาดที่ใช้กันมากที่สุดนั้นเป็น ขนาด 20×30 นิ้ว ขนาดดังกล่าวมีทั้งชนิดหนาและชนิดบาง ชนิดหนาเหมาะสำหรับใส่ลำเลียงพวกปลาที่มีเงี่ยง เช่น ปลาสวาย ปลาดุก กุ้งก้ามกราม ส่วนชนิดบางนั้นเป็นชนิดที่ใช้กับปลาและลูกปลาทั่วๆ ไปการลำเลียงสัตว์น้ำในระยะทางไกลหรือในท้องถิ่นทุรกันดารมักจะใช้ซ้อนกัน 2-3 ชั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการรั่วหรือฉีกขาดในชั้นใดชั้นหนึ่งซึ่งมักจะเกิดขึ้นเสมอ

ข. น้ำที่ใช้บรรจุนั้นควรเป็นน้ำกรองและสะอาด น้ำที่ใช้นี้ควรเป็นน้ำที่มาจากแหล่งเดียวกับที่ใช้ขังสัตว์น้ำให้อดอาหารก่อนการลำเลียง ทั้งนี้เคยปรากฎว่าสัตว์น้ำบางชนิดไม่เคยชินกับนํ้าใหม่เวลาบรรจุลงไปในถุงจะมีอาการช็อคหรือตื่นผิดปกติ และอาจถึงตายไปก็มี จึงควรตั้งข้อสังเกตไว้และหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นดังกล่าว ปริมาณน้ำที่ใช้ในการบรรจุลงในถุงนั้น ควรจะประมาณ 1/3-1/4 ของปริมาตรของถุง

ค. การนำพันธุ์สัตว์น้ำลงถุง การนำพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อบรรจุลงถุงนั้น ควรพิจารณาบรรจุตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

-ในระยะทางเท่าๆ กัน บรรจุสัตว์น้ำขนาดเล็กได้ปริมาณมากกว่าสัตว์น้ำขาดโต

-อุณหภูมิของอากาศหรือน้ำที่ต่ำกว่า บรรจุปริมาณสัตว์น้ำขนาดเดียวกันได้มากกว่า

-ในการขนส่งทางไกลหรือระยะทาง ซึ่งต้องใช้เวลานาน ให้ลด

ปริมาณสัตว์น้ำลงตามสัดส่วนที่พอเหมาะ

ปริมาณของสัตวน้ำที่จะบรรจุลงถุงมากน้อยเพียงใดมัน ได้นำมาจากผลการทดลอง และจากคำบอกเล่าของผู้ที่พอเชื่อถือได้ ดังต่อไปนี้

ชนิดของปลา ขนาดยาว (ซม.) จำนวนตัว/1ถุง ในระยะเวลาที่ลำเลียง (ชม.)
6-12 24 48
ปลานิล 1-2.5 1,500 1,000 500
ปลาไน 1-2 2,500 1,500 500
ปลาสลิด 1.5-2.5 1,500 500 500
ปลาดุก 2-3 2,000
  3-5 1,500 500
ปลาหมอตาล 2-2.5 500 500
ปลาตะเพียนขาว 1.5-3 1,000
กุ้งก้ามกราม เพิ่งคว่ำ 2,000-2,500
  2-2.5 1,500

ง. การอัดออกซิเจน ในการอัดออกซิเจนลงในถุงพลาสตกนั้นจะปล่อยแก๊สจากถังตามสายยางซึ่งจุ่มลงน้ำภายในถุง โดยปล่อยให้ฟองแก๊สแทนที่อากาศภายในถุง 2 ใน 3 ส่วน ถึง 3 ใน 4 ส่วนของปริมาตรความจุของถุง (ดูรูปที่ 35)

สัตว์น้ำบางประเภทที่มีอวัยวะช่วยในการหายใจ เช่น ลูกปลาช่อน ลูกปลาดุก ฯลฯ ต้องการเนื้อที่บรรจุถุงแก๊สภายในถุงมากกว่าน้ำ อาจถึง 3 ใน 4 หรือ 4 ใน 5 ส่วน ของความจุของถุง

จ. การวางถุงอัดออกซิเจนเพื่อลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำ ควรวางตามแนวนอน เพื่อเพิ่มเนื้อที่ของสัตว์น้ำได้มากขึ้น

ในการขนส่งทางไกลซึ่งอาจต้องกินเวลานานถึง 2-3 วัน ควรหาทางลดอุณหภูมิหรือรักษาอุณหภูมิเพื่อให้สัตว์น้ำเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เช่น ใช้กล่องโฟมบรรจุถุงพลาสติกซึ่งมีอุปกรณ์ช่วยลดอุณหภูมิ (ดูรูปที่ 36)

รูปที่ 35 แสดงการอัดออกซิเจนลงถุงพลาสติกในการขนส่งพันธุ์ปลา โดยการบรรจุน้ำและพันธุ์ปลาลงถุงแล้วไล่อากาศออกโดยบรรจุออกซิเจนเข้าแทนที่


รูปที่ 36 แสดงการขนส่งพันธุ์ปลาในระยะทางไกล โดยใส่ถุงพลาสติกอัดออกซิเจน

1. ฝาปิด

2. ฉนวนซึ่งเป็นเศษโฟมหรือกระดาษ

3. ออกซิเจน

4. นํ้าและปลา

5. น้ำแข็งห่อด้วยถุงพลาสติก

6. ตัวถังทำด้วยสไตโรโฟม

ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำ

ยานพาหนะที่ใช้ในการลำเลียงขนส่งพันธุ์สัตว์น้ำในปัจจุบันได้พัฒนาไปมาก แต่พอจะจำแนกได้ ดังนี้

1. เครื่องบิน การลำเลียงขนส่งทางเครื่องบินในปัจจุบันนี้ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากหากขนส่งภายในประเทศซึ่งเป็นระยะสั้น จะเอาสัตว์น้ำลงถุงพลาสติกอัดออกซิเจน และมีกล่องกระดาษลำเลียงอย่างธรรมดา แต่ถ้าเป็นการส่งออกนอกประเทศซึ่งต้องใช้เวลานานนับชั่วโมง ส่วนใหญ่จะบรรจุถุงพลาสติกลำเลียงใส่ลงในถังโฟม (แบบรูปที่ 36) และโดยที่เครื่องบินมีเครื่องปรับอากาศดีอยู่แล้ว การลำเลียงจึงไม่ค่อยจะมีปัญหาอะไร

2. รถปรับอากาศ เป็นรถที่ใช้เครื่องปรับอากาศที่สามารถปรับอุฌหภูมิได้ อาจแผ่ออกเป็น

-รถปรับแบบที่ทำขึ้น เพื่อขนส่งพันธุ์สัตว์น้ำโดยเฉพาะส่วนรูปแบบคล้ายกับรถห้องเย็นทั่วไป

-รถปรับอากาศที่ดัดแปลง หรือใช้รถปรับอากาศสำหรับรับ-ส่งคนโดยสารมาใช้เป็นครั้งคราว

3. รถยนต์บรรทุกเล็กที่มีหลังคาผ้าใบแบบธรรมดามาดัดแปลงโดยปูพื้นด้วยกระสอบชุบน้ำ แล้วใส่ขี้เลื่อยหรือใช้ต้นกล้วยใส่รองพื้นกระบะรถยนต์แล้วนำเอาน้ำแข็งห่อด้วยกระสอบใส่ขี้เลื่อย เพื่อให้น้ำแข็งละลายมาก-น้อยตามต้องการ จากนั้นก็นำถุงพลาสติกลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำวางลงไป แล้วคลุมหรือปิดผ้าใบภายในรถเพื่อรักษาอุณหภูมิให้เย็นคงที่ และกันไม่ให้อากาศภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าเข้าไปภายในรถหรือให้เข้าไปน้อยที่สุด

4. ใช้รถยนต์บรรทุกเล็ก แล้วนำตู้ลำเลียงตั้งบนกระบะรถมีโครงชั้นนอกประกอบด้วยไม้อัด ส่วนภายในใช้แผ่นโฟมหนา 1 ซม. เพื่อเป็นฉนวนกันความร้อน ภายในตู้ทำเป็นชั้นเพื่อใช้วางถุงพลาสติกบรรจุพันธุ์สัตว์น้ำ และใช้น้ำแข็งบรรจุในถังพลาสติกขนาดถังละ 16 แกลลอน ใส่ลงไปในตุ้เพื่อให้ความเย็น ถ้าต้องการให้อุณหภูมิต่ำลงหรือน้อยลงเท่าใด ก็ให้ใส่น้ำแข็งมากขึ้นเป็นสัดส่วน ส่วนที่หมุนเวียนของอากาศภายในนั้นใช้พัดลมติดรถยนต์ 1 ตัว (ดูรูปที่ 37) เดิมการทำตู้ลำเลียงนี้มีจุดประสงค์เพื่อลำลียงลูกกุ้งก้ามกราม แต่เห็นว่านำไปใช้ลำเลียงพันธุ์ปลาได้เช่นกัน

หลักการโดยทั่วไปในการขนส่งสัตว์น้ำนั้น ไม่ว่าจะเลือกภาชนะในการลำเลียงชนิดใด และขนส่งด้วยวิธีใด ควรต้องพิจารณาถึงปัจจัยอันเป็นผลกระทบที่จะเป็นสาเหตุทำให้สัตว์น้ำตายในระหว่างเดินทางจนถึงปลายทางตามที่กล่าวมาแล้ว และเมื่อถึงปลายทางก่อนจะปล่อยลงบ่อหรือภาชนะขัง ก็ควรจะพิจารณาถึงอุณหภูมิของน้ำในบ่อ ตลอดจนคุณสมบัติของน้ำที่จะเลี้ยงหรือขังขั้นต่อไปด้วย โดยเฉพาะอุณหภูมินั้นควรจะปรับอุณหภูมิของน้ำที่ใส่ลำเลียงและน้ำที่จะปล่อยลงให้ใกล้เคียงกันก่อน จึงควรปล่อยลงไป

รูปที่ 37 แสดงถึงรูปร่างและลักษณะของตู้ลำเลียงพันธุ์กุ้งก้ามกราม