การสร้างความสมดุลในการจัดสวน

ความสมดุล (symmetry)

ความสมดุล หมายถึงการวางหรือการจัดจุดสนใจ ต้นไม้หรือวัตถุ) ไว้ในลักษณะที่เกิดความถ่วง (balance) คือมีนํ้าหนักเท่ากันทั้ง 2 ข้าง ความถ่วง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. ความถ่วงแบบประดิษฐ์ (formal balance)

เป็นการจัดให้เห็นได้โดยง่าย เริ่มด้วยการกำหนดจุดศูนย์กลาง (axis) หรือเส้น (line) ไว้ก่อน แล้ววางจุดสนใจ ไว้ 2 ข้าง จุดสนใจต้องเป็นชนิด เดียวกัน รูปทรงเหมือนกัน มีขนาดเท่ากัน มีจำนวนเท่ากันทั้งสองข้างและ ระยะห่างจากจุดศูนย์กลางหรือจากเส้นเท่า ๆ กัน

ภาพแรก ใช้อนุสาวรีย์เป็นจุดศูนย์กลาง เมื่อวางโคมไฟฟ้าไว้ทางด้านซ้าย 1 โคมก็ต้องวางโคมไฟฟ้าที่เป็นชนิดเดียวกัน รูปทรงเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน ไว้ทางด้านขวา 1 โคม (จำนวนเท่ากัน) โดยวางให้มีระยะห่างจาก อนุสาวรีย์เท่ากันทั้ง 2 ข้างและเมื่อปลูกต้นไม้ไว้ทางด้านซ้าย 1 ต้น ก็ต้องปลูกต้นไม้ชนิดเดียวกัน ขนาดของลำต้นและพุ่มใบใกล้เคียงกันไว้ทางด้านขวาจำนวน 1 ต้นเช่นกัน โดยปลูกให้ห่างจากอนุสาวรีย์เท่า ๆ กัน นอกจากนั้น ยัง จะต้องตัดแต่งต้นไม้ทั้ง 2 ข้าง ให้มีรูปทรงเหมือนกันและ มีขนาดเท่ากัน จึงจะเกิดความถ่วง (แบบประดิษฐ์)

ภาพที่ 2 ใช้ขอบถนนเป็นเส้นแนวบังคับ การปลูกต้นไม้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาจะต้องใช้ต้นไม้ชนิดเดียวกัน ขนาดของลำต้นและพุ่มใบใกล้เคียงกัน ปลูกห่างจากขอบถนนเท่า ๆ กัน ระยะห่างระหว่างต้นก็เท่ากันด้วย สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือจะต้องตัดแต่งทรงพุ่มให้มีรูปทรงเหมือนกัน และมีขนาดเท่ากันจึงจะเกิดความถ่วง (แบบประดิษฐ์)

ความถ่วงในลักษณะดังกล่าวเหมาะสำหรับการจัดสวนแบบประดิษฐ์ (Formal styles) ซึ่งจะต้องใช้เนื้อที่ในการจัดมาก ต้องพิถีพิกันในการตัดแต่งต้นไม่ให้มีรูปทรงที่เหมือนกันและมีขนาดเท่ากัน สวนแบบนี้ในกรุงเทพมหานคร พอจะมีให้เห็น เช่น ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ (สะพานควาย) พระบรมมหาราชวัง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร (บางเขน) ฯลฯ สวนแบบประดิษฐ์ไม่เหมาะที่จะนำมาจัดในบริเวณบ้าน เพราะต้นไม้ทุกต้นจะถูกดัดแต่งเป็นแท่งรูปแบบเรขาคณิต (geo­metry) กลมบ้าง เหลี่ยมบ้าง เหมือนถูกบังคับ ไม่มีการเคลื่อนไหว แข็งกระด้าง ไม่มีชีวิตชีวา

2. ความถ่วงแบบธรรมชาติ (informal balance)

คือการจัดให้มีนํ้าหนักของสีเท่ากันทั้ง 2 ข้างโดยใช้จุดสนใจ (ต้นไม้หรือวัตถุ) ที่ไม่เหมือนกัน อาศัยความชำนาญของสายตาพิจารณาดู ถ้านํ้าหนักสีของทั้ง 2 ข้าง เท่ากันก็ถือว่าเกิดความถ่วงแล้ว

ต้นไม้ทั้ง 2 กลุ่มอาจต่างชนิดกัน จำนวนต้นทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน แต่ถ้าสามารถจัดให้นํ้าหนักสีของพุ่มใบทั้ง 2ข้างหนักเท่ากันหรือใกล้เคียงกันก็ถือได้ว่าเกิดความถ่วง (แบบธรรมชาติ)

จากภาพ ด้านซ้ายเป็นกลุ่มก้อนหิน ส่วนด้านขวา เป็นกลุ่มไม้พุ่ม ถ้าจัดให้ทั้ง 2 ข้างมีนํ้าหนักสีเท่ากันหรือใกล้เคียงกันก็ถือได้ว่าเกิดความถ่วง (แบบธรรมชาติ) ทั้ง ๆ ที่ทั้งสองข้างมิใช่เป็นสิ่งเดียวกัน

การวางก้อนหิน

จากประวัติการจัดสวนญี่ปุ่น พระสงฆ์ในศาสนาพุทธ นิกายเซ็น (Zen) เป็นผู้กำหนดแบบของสวนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสวนแห่งการสมมุติ ภายในสวนประกอบด้วย พื้นที่ราบเรียบ และมีก้อนหินวางไว้เป็นกลุ่ม ๆ โดยสมมุติให้พื้นสนามหญ้าหรือพื้นที่โรยด้วยกรวดทรายที่ราบเรียบเป็น “น้ำ” อาจจะเป็นทะเลหรือมหาสมุทร ส่วนกลุ่มก้อนหิน สมมุติว่าเป็น “เกาะ” ที่โผล่ขึ้นมากลางนํ้า

การจัดวางก้อนหินในสวนไม่นิยมวางหินก้อนเดียวโดด ๆ อย่างน้อยก็จะต้องมีก้อนอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า วางไว้ข้าง ๆ เป็นส่วนประกอบ ระยะห่างระหว่างก้อนขึ้นอยู่กับขนาดของหิน ถ้าหินก้อนใหญ่มากก็อาจวางห่างกันมากหน่อย ญี่ปุ่นพิถีพิกันในการเลือกรูปร่างลักษณะของก้อนหินและนำมาจัดวางอย่างสวยงาม มีรูปแบบที่แน่นอน แบบไหนชื่ออะไร จะต้องประกอบด้วยก้อนหิน รูปร่างอย่างไร กี่ก้อนและจัดวางในตำแหน่งไหนบ้าง ดังตัวอย่าง

ก้อนหินที่ใช้ประดับสวนนิยมใช้ก้อนหินที่มีสีเข้ม เช่น สีเทาหรือสีดำ ทำให้รู้สึกว่ามืด ๆ ทึม ๆ เข้ากับสีเขียว ของพุ่มไม้เป็นอย่างดี ถ้าไม่จำเป็นพยายามอย่าใช้หินที่มีสีขาว เพราะจะขาวโพลงสว่างมากเกินไป ก้อนหินต้อง ไม่มีรอยตกแต่ง อาจมีรูปร่างแหว่งเว้า หรือเป็นรูไปบ้าง ก็ควรเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นเองตามธรรมขาติมิใช่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ก้อนหินที่จัดวางไว้ในกลุ่มเดียวกัน ทุกก้อนควรมีลักษณะผิวและสีเหมือนกัน แต่ละก้อนควรมี ขนาดที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปในกลุ่มหนึ่ง ๆ จะมีจำนวนก้อนเป็นเลขคี่ เช่น 3, 5, 7 ฯลฯ โดยจัดวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ดังกล่าวแล้ว แต่ก็มีบางครั้งที่วางก้อนหินเพียง 2 ก้อน แล้วก็ปลูกต้นไม้ลงไปอีก 1 ต้นหรือ 1 กอ ก็จะทำให้มองดูแล้วเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมได้เหมือนกัน

ในการวางก้อนหิน/กรวด ที่มีขนาดแตกต่างกัน ควรวางก้อนที่มีขนาดใหญ่ไว้ด้านหลัง เพื่อจะได้ไม่บังก้อนที่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนก้อนที่มีขนาดเล็กที่สุดควรอยู่ด้านหน้าก้อนหิน/กรวด กลุ่มนี้อาจสมมุติให้ก้อนที่มีขนาดใหญ่เป็น ภูเขาและมีน้ำตก ความแรงของกระแสนํ้าจะพัดพา เอาก้อนกรวดที่มีขนาดเล็กและมีนํ้าหนักน้อยกว่าให้กลิ้งออกไป ไกลกว่าก้อนที่มีขนาดโต เป็นการจำลองแบบจากธรรมชาติ และย่อส่วนให้เล็กลง

ในการประดับก้อนหินภายในบริเวณสวน ควรฝังบางส่วนของก้อนหินลงไปในดิน โดยฝังส่วนที่เป็นรอยคอดตอนล่างให้จมลง ส่วนล่างของก้อนหินที่ระดับผิวดินจะต้องเป็นส่วนที่มีความกว้างหรือใหญ่กว่าส่วนบนที่อยู่เหนือ

ขึ้นไป จะทำให้รู้สึกว่าก้อนหินก้อนนั้นตั้งอยู่อย่างแข็งแรง มั่นคง มีลักษณะเหมือนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ