การสร้างแนวรั้วหญ้าแฝก

ต่อไปนี้จะให้คำแนะนำในการสร้างแนวรั้วหญ้าแฝกทีละขั้น รวมทั้งคำแนะนำปลีกย่อยต่าง ๆ ในการจัดการกับต้นกล้า เวลาที่เหมาะในการปลูก และสิ่งที่ควรทำหลังจากปลูกหญ้าแฝกไปแล้ว

ขั้นแรกคือ การหาต้นกล้าหญ้าแฝกมา โดยมักจะหาได้จากสถานีเพาะชำหญ้าแฝก หากว่าหญ้าแฝกไม่เป็นที่รู้จักในพื้นที่ของท่าน ให้ลองสอบถามไปยังสวนพฤกษศาสตร์ต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อขอพันธุ์หญ้าแฝก (Vetiveria zizanioides) ถ้ามีการเก็บรวบรวมไว้ในเอกสารประมวลพันธุ์พืช เราสามารถจะดูลักษณะแหล่งที่มา และชื่อพื้นเมืองของหญ้าแฝกได้จากเอกสารดังกล่าว โดยทั่วไปจะพบหญ้าแฝกในแถบเขตร้อน หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตได้ดีในเขตนี้ ไปจนถึงละติจูดที่ 42 องศาเหนือ การตั้งเรือนเพาะชำหญ้าแฝกทำได้ไม่ยากเลย สถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับการเพาะชำ คือ ทางนํ้าไหลลงสู่เขื่อนขนาดเล็กหรืออ่างเก็บน้ำ เพราะทางน้ำไหลนั้น จะเป็นแหล่งทดนํ้าให้แก่หญ้าแฝกพร้อมกันนั้น หญ้าแฝกจะช่วยกรองโคลนตมออกจากนํ้าให้ด้วย แอ่งนํ้าขนาดใหญ่ที่ใช้หญ้าแฝกปกป้องก็เป็นแหล่งเพาะชำ อนุโลมที่ดีได้เช่นกัน เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรปลูกกล้าหญ้าแฝกเป็น 2 หรือ 3 แถว เพื่อเป็นแนวรั้วหญ้าที่ขนานกันกั้นขวางร่องน้ำไว้ แถวของแนวรั้วหญ้า ควรห่างกันประมาณ 30-40 เซนติเมตร

ในการย้ายกอหญ้าแฝกออกจากเรือนเพาะชำ (รูปที่ 25 a) ให้ขุดด้วยจอบหรือเสียม เพราะรากจำนวนมากโยงใยและเหนียวแน่นเกินกว่าจะถอนได้ด้วยมือเปล่า เมื่อได้กอหญ้าแฝกมาแล้ว ให้แยกหญ้าแฝกออกเป็นกำมือโดยมีรากติดอยู่ด้วย (ดู B) ส่วนที่ได้นี้จะเรียกว่ากล้า (Slip) ซึ่งจะใช้ปลูกในพื้นที่ เพาะปลูก (ดู C)

รูปที่ 25 ต้นกล้า

รูปที่ 26 เตรียมแขนงหญ้าแฝก

รูปที่ 27 ส่วนที่ใช้ในการปลูก

ก่อนที่จะนำกล้าหญ้าแฝกไปลงดินในพื้นที่เพาะปลูก ให้ตัดต้นหญ้าแฝกโดยเหลือความยาวไว้ ประมาณ 15-20 เซนติเมตร จากโคนต้น พร้อมทั้งให้เหลือรากยาวประมาณ 10 เซนติเมตรติดอยู่ด้วย การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้กล้าหญ้าแฝกมีโอกาสอยู่รอดได้ เพราะเป็นการลดระดับการคายนํ้า ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้กล้าหญ้าแฝกแห้งเฉาตาย ตามรูปที่ 26 สิ่งที่ต้องใช้ในการเตรียมกล้าหญ้าแฝกเพื่อปลูกก็คือ ไม้ท่อน 1 ท่อน และมีด 1 เล่ม (มีดใหญ่ หรือดาบก็ ใช้ได้) รูปที่ 27 แสดงส่วนที่ใช้ปลูกซึ่งตัดแต่งเรียบร้อยแล้ว

ถึงแม้ว่าจะสามารถแยกกล้าจากกอหญ้าแฝก แล้วใช้ปลูกได้โดยตรง (เมื่อหาต้นหญ้าแฝกได้ยาก) แต่ขอแนะนำไม่ให้นำวิธีนี้ไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูก เพราะว่าจะต้องใช้เวลานานมากในการก่อตัวเป็นแนวรั้ว การใส่ปุ๋ยไดแอมโมเนียฟอสเฟต (DAP) จะช่วยเร่งการแตกกอให้เร็วขึ้น และสามารถทำได้ทั้งในเรือนเพาะชำและพื้นที่เพาะปลูก การให้ปุ๋ยในพื้นที่เพาะปลูกทำได้ง่าย โดยเพียงแต่หยอดปุ๋ย DAP ลงไป ในร่องที่เตรียมไว้ก่อนที่จะปลูกกล้าหญ้าแฝกลงไป

รูปที่ 28 การปลูกแขนงหญ้าแฝก

รูปที่ 29 สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง

การปลูกกล้าหญ้าแฝกควรทำในตอนต้นฤดูฝนเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่ากล้าหญ้าแฝกจะได้รับประโยชน์ จากน้ำฝนอย่างเต็มที่ การปลูกกล้าหญ้าแฝกคล้ายกับการปักดำต้นกล้าของข้าว คือขุดรูเล็ก ๆ ในร่องที่ไถคราดไว้สำหรับเป็นแนวระดับแล้วหย่อนกล้าหญ้าแฝกลงไป ระวังอย่าให้รากโผล่พ้นดินขึ้นมา จากนั้นอัดดินให้กล้าหญ้าแฝกติดแน่น ปลูกกล้าหญ้าแฝกเป็นแถวเดี่ยวเพียงแถวเดียวตามร่องที่เป็นแนวระดับ โดยให้แต่ละต้นห่างกัน 10-15 เซนติเมตร (ดูรูปที่ 28) ถ้าปลูกอย่างถูกต้องแล้วกล้าหญ้าแฝกจะสามารถทนความแห้งแล้งได้นานถึงหนึ่งเดือน อย่างไรก็ตามกล้าหญ้าแฝกบางต้นอาจจะตายและทิ้งช่องว่างไว้ในแนวรั้วหญ้าช่องว่างเหล่านี้ ฉะนั้นควรจะมีการปลูกเสริมด้วยกล้าหญ้าแฝกต้นใหม่ ในบางกรณีอาจเป็นไปได้ที่จะใช้ลำต้นหรือกอของต้นที่อยู่ใกล้เคียงก็ได้ โดยเพียงแต่โน้มกอหญ้าแฝกให้อยู่เหนือช่องว่างและเอาดินกลบไว้ ลำต้นที่ยังมีชีวิตนั้นจะแทงรากและแตกใบจากส่วนที่เป็นตาของต้นหญ้าแฝก

แน่นอนว่าในการทำงานของระบบหญ้าแฝก หรือระบบของพืชใด ๆ ต้นพืชจะต้องก่อตัวเป็นแนวรั้วหญ้า มิฉะนั้นแล้วระบบนี้จะไม่สามารถทำหน้าที่เป็นแนวกั้นการสูญเสียดินได้ การปลูกกล้าหญ้าแฝกห่างกันจนเกินไป (ดูรูปที่ 29) จะทำให้ระบบนี้แทบจะไม่มีประโยชน์เลย เพราะว่าหญ้าแฝกจะต้องใช้เวลานานเกินไปในการก่อตัวเป็นแนวรั้วหญ้า และจะปกป้องดินได้ไม่มากนัก นอกจากนี้แล้ว เมื่อไม่มีแนวรั้วหญ้าแฝกให้ความช่วยเหลือพิเศษในการยึด เหนี่ยวดิน ปุ๋ย และความชื้น พืชที่ปลูกไว้อาจจะไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ท่ามกลางความแห้งแล้งที่รุนแรงมาก ๆ แม้แต่ในพื้นที่แห้งแล้ง ซึ่งได้รับปริมาณนํ้าฝนน้อยกว่า 200 มิลลิเมตรต่อปี แนวรั้วหญ้าแฝกที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถทำให้เกษตรกรมั่นใจได้ ในประโยชน์ของมัน ผลร่วมกันระหว่างการเพาะปลูกแบบขั้นบันไดกับแบบใช้แนวรั้วหญ้าแฝกในการชะลอ และการกระจายไหลบ่าของนํ้าก็คือ การเพิ่มการแทรกซึมของนํ้าลงสู่พื้นดิน ดังนั้น ระบบแนวรั้วหญ้าแฝกอาจจะให้ผลที่เทียบเคียงได้กับมีฝนตกลงมาอีกครั้งหนึ่ง

ในการที่ระบบแนวรั้วหญ้าแฝกจะป้องกัน การชะล้างพังทลายของดินได้มากที่สุดนั้น แถวของแนวรั้วหญ้าควรจะมีช่องว่างด้วยการเว้นระยะตาม แนวดิ่งอย่างถูกต้อง (VI) ระยะ VI คือระยะแนวดิ่ง จากแนวหนึ่งลงไปยังอีกแนวหนึ่งบนทางลาดเอียง ระยะทางจริงซึ่งมีการวัดไปตามพื้นผิวดินและเรียก กันว่าระยะต่อเนื่องของผิวดินนั้น (surface run) จะขึ้นอยู่กับความชันของพื้นที่ลาดเอียง ตัวอย่างเช่น ถ้าระยะตามแนวดิ่งคือ 2 เมตร แนวรั้วหญ้า ณ ความ ลาดเอียง 5% จะอยู่ห่างกันประมาณ 40 เมตร ในขณะที่แนวรั้วหญ้า ณ ความลาดเอียง 2% จะอยู่ห่างกันประมาณ 100 เมตร ตามที่แสดงไว้ในรูปที่ 30 ระยะต่อเนื่องของผิวดินระหว่างแนวรั้วหญ้าแฝก ณ ความลาดเอียง 57% โดยเว้นระยะห่างตามแนวดิ่ง (VI) 2 เมตร จะเท่ากับ 4 เมตร ในทางปฏิบัติแล้วระยะ ห่างตามแนวดิ่ง 2 เมตร ก็เป็นการเพียงพอแล้ว

เมื่อมีการสร้างแนวรั้วหญ้าแฝกขึ้นในพื้นที่เพาะปลูกแล้ว การดูแลรักษาที่จำเป็นเพียงอย่างเดียวก็คือ การตัดเล็มความสูงให้อยู่ในระดับประมาณ 30-50 เซนติเมตร เป็นประจำทุกปี เพื่อเร่งให้หญ้าแฝกแตกกอและป้องกันมิให้เป็นเงาบังพืชที่ปลูกไว้ การไถคราดตามขอบริมแถวแนวรั้วหญ้าแฝกจะช่วยกันมิให้กอหญ้าแฝกเข้าไปใกล้บริเวณพื้นที่เพาะปลูก และจะช่วยป้องกันแนวรั้วหญ้าแฝกมิให้กว้างจนเกินไป