การเกษตรโดยอาศัยนํ้าฝน

ไม่ว่าพื้นดินจะราบเรียบเพียงใดก็ตาม วิธีการเพาะปลูกแบบดั้งเดิมในพื้นที่ที่อาศัยนํ้าฝน จะทำตามแนวยาวของพื้นที่ลาดเอียง หรือขึ้นลงตามแนวเนินดิน (รูปที่ 4) ระบบนี้เป็นการเพิ่มการไหลบ่าของนํ้า (runoff) และการสูญเสียดินซึ่งจะยังผลให้การพังทลายของดินเลวร้ายยิ่งขึ้น มากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณนํ้าฝนได้สูญเสียไปในขณะที่เกิดนํ้าไหลบ่า ซึ่งเป็นผลให้พืชไม่ได้รับประโยชน์จากนํ้าฝนส่วนนั้นเลย ยิ่งพื้นที่มีความลาดเอียงมากขึ้นเท่าใด ความเร็ว และการพังทลายของดินจากน้ำไหลบ่าก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ประโยชน์ของน้ำฝนจะมีน้อยเพราะว่าไม่มีโอกาสซึมลงในดิน การไถคราดตามแนวยาวของพื้นที่ลาดเอียงดังในรูปที่ 4 นั้น เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำฝนให้ไหลออกจากไร่นามากขึ้น โดยที่เกษตรกรไมรู้ตัว

รูปที่ 4 การทำการเกษตรแบบดั้งเดิมใดยอาศัยนํ้าฝน


รูปที่ 5 การเพาะปลูกโดยใช้แนวรั้วของพืชตามแนวระดับ


รูปที่ 5 เป็นตัวอย่างที่ได้แนะนำ การใช้แนวรั้วหญ้าแฝกตามแนวระดับ เพื่อ ป้องกันการชะล้างพังทลายและรักษาความชื้นตามธรรมชาติของดินไว้ แนวรั้วนี้นอกจากไม่ต้องการ การบำรุงรักษาแล้ว ยังทำหน้าที่ปกป้องพื้นดินจากการพังทลายได้นานหลายปี เพราะว่าแนวรั้วหญ้าแฝกนั้นจะสร้างเนินดินธรรมชาติขึ้น ร่องที่ไถคราด ณ ตำแหน่ง A ในรูปที่ 5 ทอดตัวไปในทิศทางเดียวกันกับแนวรั้วหญ้าแฝก ซึ่งตรงกันข้ามกับร่องที่ไถคราดไว้สำหรับเพาะปลูกในรูปที่ 4

รูปที่ 6 วิธีการที่สร้างขึ้นเพื่ออนุรักษ์ดิน

นับตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2473-2482 (ทศวรรษ 1930) เรื่อยมา การพังทลายของดินทั่วโลกเกิดช้าลง เพราะมีคันดินกั้นนํ้า อย่างไรก็ดี การใช้วิธีนี้อนุรักษ์ดิน ก่อให้เกิดการระบายนํ้าที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ อีกทั้งยังได้รับการพิจารณาว่าไม่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย คันดินกั้นน้ำในรูปที่ 6 ก่อขึ้นจากดินชั้นบน ที่นำมาจากบริเวณชุด A ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนไปเป็นช่องส่งนํ้าไหลบ่าไปทางด้านข้าง  แต่คันดินสร้างขึ้นมาจากดินชนิดเดียวกันกับที่มันควรจะต้องป้องกันนั่นเอง และเนื่องจากการสร้างคันดินทำให้พื้นที่ลาดเอียงมีความชันมากยิ่งขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปคันดินจึงกร่อนและสลายตัวไป ดังนั้นเกษตรกรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายอีก เพื่อสร้างคันดินใหม่ขึ้นมาทดแทน นอกจากนี้แล้ว การรวบรวมดินให้เพียงพอแก่การสร้างคันดิน และช่องส่งนํ้าไหลบ่าดังแสดงในรูปที่ 6 นั้นทำให้ไม่สามารถทำการเพาะปลูกในบริเวณแถบผืนดินที่สร้างคันดิน ซึ่งกว้าง 5 เมตร และมีความยาวจรดแนวของคันดิน การกระทำเช่นนี้แสดงถึงการสูญเสียผืนดิน ที่ใช้เพาะปลูกไปประมาณ 6.25 ไร่ (1 เฮคตาร์) ต่อผืนดินที่มีการสร้างคันดินทุก ๆ 125 ไร่ (20 เฮคตาร์)

รูปที่ 7  การระบายด้วยระบบที่สร้างขึ้น

รูปที่ 7 แสดงวิธีการที่น้ำถูกระบายออกไปด้วย ระบบคันดิน ซึ่งไม่เป็นธรรมชาติ น้ำไหลบ่าทั้งหมดจะถูกควบคุมให้ไหลมาตามช่องข้าง และก่อนจะไหลหลากลงสู่ทางนํ้าไหล ซึ่งไม่มีเกษตรกรรายย่อยรายใดต้องการให้ไหลผ่านพื้นที่เพาะปลูกของตน ระบบนี้จะทำให้บริเวณใต้คันดินแห้งแล้งเกินไป แต่บริเวณช่องส่งนํ้าจะชุ่มน้ำจนเกินสภาพที่พืชต้องการ

รูปที่ 8  ระบบที่ใช้พืชในการอนุรักษ์ดิน

ในทางกลับกัน วิธีการใช้พืชเพื่อการอนุรักษ์ดิน และรักษาความชื้นของดินเป็นการใช้ธรรมชาติเพื่อปกป้องตัวของมันเอง ด้วยระบบหญ้าแฝก จะมีแถบผืนดินกว้างเพียง 50 เซนติเมตร (หรือ 1 ใน 10 ของพื้นที่ดินที่ใช้ใน วิธีการของคันดิน) เท่านั้น ที่ไม่สามารถใช้เพาะปลูกได้ (รูปที่ 8 ) เพราะว่าใช้ดินเพียงเล็กน้อยในกา เตรียมปลูกหญ้าแฝก กล่าวคือ แขนงหญ้าแฝกจะ เจริญเติบโตอยู่ภายในร่องที่ไถคราดเพียงร่องเดียว ซึ่งใช้ดินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่การสร้างคันดินต้องใช้รถปรับหน้าดินหรือแรงงานจ้าง การ ปลูกหญ้าแฝกกลับไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษหรือแรงงานอื่นใดเลยนอกเหนือจากที่เกษตรกรมีอยู่

รูปที่ 8 ตัวอย่างล่าง แสดงสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบหญ้าแฝกเมื่อเวลาผ่านไป นํ้าไหลบ่าและทิ้งดินตะกอนไว้ หญ้าแฝกจะงอกขึ้นมาอยู่เหนือดินตะกอน หลังจากนั้นทางลาดตามธรรมชาติจะก่อตัวขึ้นทางลาดนี้จะกลายเป็นส่วนที่ถาวรของพื้นที่ และเป็นแนวป้องกันที่จะคงอยู่อย่างมีประสิทธิภาพนานนับ 10 ปี หรือแม้แต่ร้อย ๆ ปี

รูปที่ 9  การระบายภายใต้ระบบของต้นพืช

เมื่อนํ้าไหลมาปะทะแนวรั้วหญ้าแฝก ความเร็วของนํ้าจะถูกชะลอลงแล้วน้ำจะกระจายตัวออกไป ทิ้งดินตะกอนโคลนตมที่พัดพามาไว้ก่อนจะไหลผ่าน แนวรั้วหญ้าแฝกไป น้ำส่วนใหญ่จะซึมลงไปในดินตลอดทาง (รูปที่ 9) โดยวิธีการเน้นการไหลบ่าของนํ้าในพื้นที่เฉพาะนี้ การสูญเสียดินและน้ำจะไม่ เกิดขึ้น ระบบนี้ไม่ต้องอาศัยงานด้านวิศวกรรมแต่อย่างใด เกษตรกรสามารถทำระบบทั้งหมดนี้ได้ด้วยตนเอง

แถบเมืองไมซอร์ ในรัฐการ์นาตากา ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย (ตัวอย่างเช่น ในบรรดาหมู่บ้านและกลุ่มบ้านเล็ก ๆ ใน Gundalpet และ

Nunjangud) เกษตรกรยังคงรักษาการปลูกแนวรั้วหญ้าแฝกไว้โดยรอบพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งดำเนินมากว่าร้อยปีแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้แนวรั้วหญ้าแฝกขยายตัวออกไป เกษตรกรเพียงแต่ไถรอบ ๆ ริมขอบแนวรั้วหญ้าแฝกในเวลาที่จะต้องไถพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูก เพียงแค่นี้แนวรั้วหญ้าแฝกก็จะอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และสามารถป้องกันการพังทลายของดินได้อย่างถาวร