การเตรียมดินปลูกพืชผัก

การปลูกพืชผักจำเป็นต้องมีการเตรียมดินให้อุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ เพราะผักเป็นพืชที่เติบโตเร็วต้องการการบำรุงมาก การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยทั่วไป พบว่ายังไม่ถูกต้อง เพราะมีการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นส่วนใหญ่ และบางแห่งก็ใช้แต่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว เพราะสะดวกและง่ายต่อการปฎิบัติ

การใส่แต่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวนาน ๆ ทำให้ดินเสื่อมแห้งแข็ง ไม่ร่วนซุย ไม่ซึมซับน้ำ และข้อสำคัญที่สุดจะเกิดการตรึงธาตุอาหารขึ้นในดิน อาหารของพืชบางชนิดไม่ละลายออกมาให้เป็นประโยชน์ต่อพืช ทำให้พืชเกิดการขาดธาตุอาหาร หรือเกิดการละลายธาตุอาหารบางอย่างมากเกินไปจนเป็นพิษ ทำให้ผักอ่อนแอและ เกิดโรคได้ง่าย

ฉะนั้นในการเตรียมดินที่จะปลูกพืชผักให้งามจะต้องมีการปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุเป็นส่วนใหญ่ ในการปลูกผักแต่ละครั้งจะต้องใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์อื่น ๆ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยอินทรีย์ควรใส่ทั้งหยาบและละเอียดไม่ควรใส่ละเอียดมากนักเพราะจะทำให้ดินแน่นเหนียวและระบาย นํ้าได้ไม่ดี ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้พืชได้อาหารครบทุกชนิดทำให้ผักงามแข็งแรง ปุ๋ยอินทรีย์จะเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์ดินบางชนิดที่คอยทำลายและปราบเชื้อโรคในดินของผักมากขึ้น เช่น เชื้อรา โรครากเน่า และไส้เดือนฝอย

ความจริงเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์จำพวกปุ๋ยคอก-ปุ๋ยหมัก กระทั่งอุจจาระ และปัสสาวะที่ผ่านการหมักแล้ว ทำให้ผักงามเกษตรกรมีความเข้าใจดีมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิมแล้ว แต่พอมีปุ๋ยวิทยาศาสตร์เข้ามาซึ่งมีคุณสมบัติใช้ง่าย ให้ผลผลิตสูงและโตเร็ว จึงมีการหันมาใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น จากปัญหาการปรับปรุงดังกล่าว มาข้างต้นแล้วนั้น เกษตรกรจึงควรใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมากกว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์

สำหรับการเตรียมแปลงปลูกผักนั้น โดยทั่วไปมีการทำกันอยู่ 2 แบบ คือ

1.การยกร่องแบบธรรมดา คือการยกร่องแปลงขึ้นมาให้สูงขึ้น มีทางระบายน้ำและทางเดินรอบแปลงผักได้

2.การยกร่องแบบจีน มีคูนํ้าล้อมรอบ ใช้กันมากในบริเวณภาคกลาง หรือเขตที่ลุ่ม ขนาดของแปลงกว้างประมาณ 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5-2.0 เมตร ลึกประมาณ 1.0-1.5 เมตร

การเตรียมดินในแปลงผัก แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ

1.การเตรียมดินชั้นแรก เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการเตรียมดินปลูกพืช การเตรียมดินขั้นแรกจะเป็นตัวกำหนดความลึกของดินตามต้องการและมีผลไปถึงการรักษาคุณสมบัติของดินและความชื้นในดิน ทำให้ดินร่วนระบายนํ้าและอากาศได้ดีเป็นต้น

เครื่องมือที่ใช้ในการขุดพลิกดินขั้นแรก อาจจะเป็นไถหัวหมูในพื้นที่ที่ปรับระดับเรียบร้อย ไม่มีหิน รากไม้ ตอไม้ ถ้าเป็นดินเหนียวหรือมีชั้นดานใต้ผิวดิน มีรากไม้ ตอไม้ ก็ใช้ไถจาน ในพื้นที่ที่มีดินแห้งและแข็งมากใช้เครื่องไถหัวสิ่ว สำหรับชาวสวนที่ทำแปลงแบบยกร่อง มีคูน้ำล้อมรอบและให้แรงงานคนในการขุดพลิกดิน เครื่องมือที่ใช้คือจอบสองง่าม การขุดพลิกดินในชั้นนี้จะขุดลึกประมาณ 30-40 เซนติเมตรหลังจากขุดพลิกแล้ว ต้องตากดินให้แห้งประมาณ 7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดินและแมลงศัตรูที่อยู่ในดิน

2.การเตรียมดินชั้นที่สอง เป็นการเตรียมดินต่อเนื่องจากการขุดพลิกดิน และตากในชั้นตอนแรกจุดประสงค์ก็เพื่อพรวนหรือย่อยดินให้แตกเป็นก้อนเล็กลง มีสภาพเหมาะสมกับเมล็ดหรือกล้าที่จะปลูก โดยใช้ลูกกลิ้งขนาดเบาหรือจอบ  เมื่อพรวนดินเป็นก้อนเล็กแล้ว ควรจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน หรือหากจำเป็นต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับดินให้เป็นกลาง (พีเอชระหว่าง 5.5-6.8) ที่ใส่ในขั้น ตอนนี้แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน รดน้ำให้ชุ่มและเตรียมหว่านเมล็ดหรือปลูกกล้าต่อไป  แปลงปลูกผักควรจะทำความสะอาดอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรค และเป็นที่หลบซ่อนตัวของหนอนและแมลงศัตรูพืช  เป็นการลดหรือป้องกันอันตรายต่อผักที่จะปลูกใหม่ สวนของผักที่พบว่าเป็นโรคควรถอนไปเผาทำลายเสีย มีการกำจัดวัชพืชอยู่เสมอ ๆ โดยใช้วิธีถากหรือถอนออกให้หมดดีกว่าการใช้สารเคมี

การทำสวนผักให้ได้ผลดีนั้นไม่ควรทำเป็นแปลงใหญ่โตเหมือนการปลูก พืชไร่อื่น ๆ ต้องทำในเนื้อที่ที่จำกัดเท่าที่กำลังแรงงานและความสามารถในการปรับปรุงดินและการดูแลเอาใจใส่พืชผักอย่างใกล้ชิด ในการทำสวนผักเพื่อการค้านั้นนับว่าจะหาปุ๋ยอินทรีย์ได้ยากขึ้นทุกที วิธีแก้ไขในเรื่องนี้น่าจะทำได้โดยเกษตรกรช่วยกันเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู เป็ด ไก่ วัว ฯลฯ เพื่อสร้างปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นมาใช้เอง และทางที่ดี ควรหมักด้วย เพราะจะทำให้ได้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัว นอกจากนั้นเศษใบพืช ที่เหลือก็นำกลับมาหมักเป็นปุ๋ยใช้ในแปลงได้อีก เกษตรกรควรรีบเร่งทำปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นใช้เอง  เพราะจะได้ลดต้นทุนการผลิตโดยไม่ต้องซื้อปุ๋ยคอก และลดการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น และที่สำคัญคือทำให้ผักงามสมบูรณ์มีภูมิต้านทานโรค ต่าง ๆ ได้ดี ลดการใช้สารเคมีลงไปได้อีกด้วย ซึ่งวิธีการนี้ในต่างประเทศกำลังตื่นตัว กันมาก เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่เกษตรกรพยายามใช้ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยหมักแทนการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีอย่างได้ผล

การฆ่าเชื้อในดิน ผักบางประเภทที่เมล็ดพันธุ์มีราคาแพงผู้ปลูกจะใช้วิธีเพาะเมล็ดให้งอกก่อนแล้วค่อยย้ายไปปลูกในแปลงอีกครั้งหนึ่ง การเพาะเมล็ดเหล่านี้อาจจะเพาะใน กระบะเพาะ ในเเปลงเพาะ หรือในภาชนะอื่น เช่นถุงกระดาษ หรือถุงพลาสติก เป็นต้น ในการเพาะเมล็ดนั้น วัตถุที่ใช้เพาะโดยเฉพาะดินหรือส่วนผสมของดิน มักจะมีโรคแมลง ไส้เดือนฝอย หรือเมล็ดวัชพืชปะปนอยู่เสมอ ซึ่งนับเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งที่ทำให้การเพาะเมล็ดไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องกำจัดโรคแมลง และอุปสรรคอื่น ๆ ให้หมดเสียก่อนที่จะทำการเพาะเมล็ด

วิธีการที่นิยมปฎิบัติกันมาก ได้แก่

1.นำอุปกรณ์ที่ใช้เพาะ เช่น กระบะ เครื่องหยอดเมล็ด จอบ เสียม มาจุ่มลงในนํ้าเดือดหรือจุ่มในนํ้ายา carbolic acid 1 % หรือ formaldehy de 2 %

2.วัสดุที่ใช้เพาะ เช่น ดินผสม,ขุยมะพร้าว,ทราย หรือวัสดุอื่น ๆ ซึ่ง จะรวมเรียกว่าดิน สามารถทำการฆ่าเชื้อได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การคั่ว,ราดด้วยน้ำร้อน,การอบด้วยไอนํ้าร้อน (steam) การอบด้วยไอร้อน (heated in the oven), และการใช้สารเคมี

3.การฆ่าเชื้อในดินโดยวิธีอบด้วยไอนํ้าร้อนและการอบด้วยไอร้อน ต้อง ทำให้ดินมีความชื้นเสียก่อนแล้วจึงผ่านไอน้ำร้อน หรืออบด้วยไอร้อนที่อุณหภูมิ180° F เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง

4.การคั่ว นำดินนั้นมาคั่วในกะทะธรรมดาหรือจะใช้ภาชนะอื่น เช่น ถัง 200 ลิตร ดัดแปลงติดมือหมุนก็ได้

5.การราดด้วยน้ำร้อน วิธีนี้ต้องตากดินให้แห้งก่อนประมาณ 7 วัน แล้ว ใช้น้ำที่กำลังร้อนราดลงไปบนดินนั้น

6.การใช้สารเคมี วิธีนี้สามารถฆ่าเชื้อต่าง ๆ ในดินได้ดี แต่ดินนั้นควรมีความชื้นและมีอุณหภูมิ 6 5 – 7 5 °F สารเคมีที่จะนำมาใช้ได้แก่ Formaldehyde เป็นสารเคมีที่สามารถฆ่าเชื้อราได้ดี และฆ่าเมล็ด วัชพืชบางชนิดได้ด้วย ใช้ Formalin 40 % ผสมกับน้ำ อัตรา 1:50 โดยปริมาตร ราดสารนี้ลงไปในดินแล้วใช้ผ้าพลาสติกคลุมไว้ 1 วัน แล้วจึงเปิดผ้าพลาสติกออก เพื่อให้แก๊สระเหยจนหมด ซึ่งจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 อาทิตย์ จึงจะใช้ได้

7.Methyl bromideสารเคมีชนิดนี้ไม่มีกลิ่น เวลาใช้ต้องสวมหน้ากาก ป้องกันพิษ ใช้ฉีด (inject) ลงไปโนดินอัตรา 4 ปอนด์/100 ตารางฟุต โดยวิธีบรรจุสารในภาชนะอัดลมซึ่งมีท่อเล็กติดอยู่ เวลาใช้เปิดปลายท่อลงดิน เสร็จแล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติกไว้ 2 วัน