การเตรียมดินและการเพาะเมล็ด

การเดรืยมดินคือ การทำดินให้เหมาะแก่การปลูกพืช และเพื่อประโยชน์อื่น ๆ เช่น เพื่อปราบวัชพืช ทำให้ดินแข็งแตกออก รักษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน เพื่อให้ดินบน ซึ่งมีอาหารพืชอยู่มากกลบลงไปข้างล่าง พอเหมาะที่รากพืชจะดูดเข้าไปใช้ได้ ช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้มาก สงวนความชุ่มชื้น ช่วยทำให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวก และเพื่อกลบเอาเศษหญ้า ปุ๋ยหรือตอซังลงไปอยู่ข้างล่าง เพื่อจะได้ผุพังกลายเป็นอินทรีย์วัตถุ ต่อไป

หลักในการเตรียมดินมีดังนี้

1. เตรียมดินในช่วงเวลาที่ดินกำลังร่วนซุย คือหลังฝนตกหรือมีความชื้นพอเหมาะ

2. เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ให้พร้อมและตกแต่งให้คมเสียก่อน

3. ปราบวัชพืชโดยการขุด ไถ พรวน คราด หรือใช้สารเคมี (ถ้าไม่จำเป็นอย่าเผาทิ้ง แต่ควรฝังลึกลงดินหรือเอาไปทำปุ๋ยหมัก)

4. ขุดหรือไถให้ลึกอย่างน้อย 15 ซ.ม. พยายามกลบวัชพืชลงไปใต้ดินและกลับผิวดินบนลงสู่ข้างล่าง ตากดินให้เเหง 2-3 วัน

5. ทำการย่อยดิน และเอาหญ้าออกโดยใช้จอบไถหรือคราด

6. วัดระยะและทำแผนผังการปลูกพืชตามต้องการ

7. ยกร่อง พรวนดิน ใส่ปุ๋ยและปูนขาว ถ้าจะปลูกบนร่อง หรือขุดหลุมแลวใส่ปุ๋ย ถ้าจะปลูกในหลุม

ปัจจัยที่ควบคุมการงอกของเมล็ด

1. น้ำหรือความชื้น ควรรดน้ำพอชุ่มอย่าให้แฉะ

2. อากาศ เมล็ดต้องการอากาศอ๊อกซิเจนเพื่อการเจริญของดินอ่อน

3. ความร้อนหรืออุณหภูมิ ความร้อนจะต้องพอเหมาะเมล็ดจึงจะงอกได้

4. อาหารในเมล็ด คือเนื้อของเมล็ดจะต้องมีอย่างสมบูรณ์เพียงพอและเมล็ดต้องแก่เต็มที่

5. ต้นอ่อนในเมล็ดไม่เป็นหมัน คือจะต้องแข็งแรงและยังมีชีวิตอยู่เมล็ด จึงจะงอกได้

6. ไม่มีโรค รา หรือแมลงกัดกินไปบางส่วน

ประโยชน์หรือข้อดีของการเพาะเมล็ด

1. เมล็ดหายาก มีน้อย ราคาแพง ควรเพาะเสียก่อนเพื่อไม่ให้ตาย

2. เมล็ดมีขนาดเล็ก เช่นเมล็ดผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ฯลฯ ถ้าปลูกเลยอาจไหลไปตามนา ไหลลงหลุมลึก ไม่งอกเสียหายได้

3. การเพาะเมล็ดก่อน จะเปลืองเมล็ดน้อยกว่าใช้เมล็ดปลูกโดยตรง

4. การปลูกโดยการหว่านหรือหยอดหลุมลงในแปลงสิ้นเปลืองเมล็ดมาก ดูแลลำบาก เพราะที่กว้างมีโรคและศัตรูรบกวนมาก ต้นอ่อนถูกแสงแดด ลม ฝน อาจตายมากขึ้น

5. การปลูกโดยตรงด้วยเมล็ด ทำให้พืชผักโตช้า ไม่สม่ำเสมอเพราะงอกไม่พร้อมกันจัดระยะลำบาก โคนต้นลอย ถูกลมพัดล้มได้ง่าย อาจต้องซ่อมกันบ่อย ๆ

6. การปลูกด้วยต้นกล้า เราเลือกเอาต้นที่แข็งแรงไปปลูก จึงจัดระยะได้สวยงาม ดายหญ้า พรวนดิน และใส่ปุ๋ยได้ง่าย ไม่ต้องปลูกซ่อมบ่อยๆ

7. การปลูกด้วยต้นกล้า จะทำให้ต้นโตเร็ว และให้ผลผลิตสูงกว่า เช่น มะเขือ เป็นต้น

การทดสอบความงอกของเมล็ด

เมล็ดพืชหรือผักที่จะใช้ขยายพันธุ์ ควรเป็นเมล็ดที่ใหม่สะอาด เป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีสิ่งเจือปนเช่น โรคและราต่าง ๆ และควรจะรู้อายุของการเก็บด้วย ซึ่งตามปกติบริษัทใหญ่ๆ มักจะพิมพ์ปีที่จะปลูกไว้บนซอง เช่น 2524 หมายถึงว่าเหมาะที่จะปลูกในปี 2524 แต่เพื่อความไม่ประมาทท่านควรจะทดสอบหาความงอกของเมล็ดเสียก่อน เพื่อมิให้เสียเงินค่าเมล็ด เสียเวลาในการเตรียมดิน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ วิธีทดสอบความงอกทำได้ง่าย ๆ คือ

1. ใชจานหรือถาดแบน ๆ แล้วเอาผ้า สำลี กระดาษฟาง หรือกระดาษซับรองพื้น เอาเมล็ดวางบนแล้วเอาผ้าหรือกระดาษฟางวางทับอีกชั้นหนึ่ง ให้ความชุ่มชื้นพอชุ่ม ๆ คอยเปิดอยู่เสมอ แล้วนับจำนวนเมล็ดที่งอก เช่น ถั่วงอก 80 เมล็ดในจำนวน 100 เมล็ด ก็แสดงว่ามีความงอก 80 % เมล็ดพืชผักใดที่มีความงอกต่ำกว่า 80 % นับว่ามีความงอกไม่ดี

2. ใช้วิธีลอยน้ำ เช่นเมล็ดผักบุ้ง เมล็ดที่ดีจะหนักและจมน้ำ ส่วนเมล็ดที่ลอยอาจจะเป็นเมล็ดลีบหรือเมล็ดเสีย

3. ใช้วิธีบี้เมล็ดให้แตกเพื่อดูลักษณะภายใน เมล็ดที่ดีจะมีน้ำมันออกมา ส่วนเมล็ดที่เสียจะแห้งและไม่มีน้ำมัน

4. ใช้วิธีคั่ว เช่นการคั่วข้าวเปลือก เมล็ดผักบางอย่างเมื่อคั่วจะแตกบานออกมา ส่วนเมล็ดที่ไม่แตกแสดงว่าเป็นเมล็ดลีบหรือเสีย

วิธีที่ช่วยทำให้เมล็ดงอกเร็ว

1. กระเทาะเปลือกออก เช่นถั่วลิสง

2. ลวกด้วยน้ำร้อน 5 นาที (ผักชี) ลวกน้ำร้อนและแช่ไว้ 1 คืน (เมล็ดพืชคลุมสวนยาง)

3. แช่น้ำ เช่น เมล็ดข้าว ข้าวโพด หอม กระเทียม

4. ทุบหรือตัดเปลือก เช่น พุดทรา ปาล์ม มะม่วง

การเพาะเมล็ด

การเพาะเมล็ด หมายถึง การนำเมล็ดพันธุ์ที่เก็บรักษาไว้อย่างดี ไปหว่าน โรย หรือปลูกในกะบะเพาะ ในภาชนะหรือในแปลงเพาะที่เตรียมไว้ ตลอดถึงการดูแลและปฏิบัติรักษา จนได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์เหมาะที่จะย้ายไปปลูกต่อไป

พืชผักอะไรที่ควรเพาะเมล็ด

พืชและผักที่ควรเพาะเมล็ดก่อนปลูกได้แก่ กะหล่ำปลี, กะหล่ำดอก, กะหล่ำปม, หัวหอมใหญ่, ผักกาดต่างๆ, มะเขือเทศ, พริก, มะเขือต่าง ๆ มะละกอ, กาแฟ, ยาสูบ และมะพร้าว

พืชผักที่ปลูกโดยการเพาะเมล็ดหรือไม่ต้องเพาะเมล็ดได้เเก่ ผักกาดขาว, ผักกาดเขียว, ผักกวางตุ้ง, คะน้า, ผักกาดหอม, ตั้งโอ๋และข้าว

พืชผักที่ไม่ต้องเพาะเมล็ดได้แก่ถั่วต่าง ๆ ถั่วลันเตา, ถั่วฝักยาว, ถั่วแขก, ถั่วพุ่ม, ถั่วพู, ฟัก, แฟง, แตงกวา, แตงโม, แตงร้าน, นํ้าเต้า, ฟักทอง, บวบต่าง ๆ, มะระ ผักกาดหัว, ผักบุ้ง, ผักชี, หอมแบ่ง, โหระพา, กะเพรา, ข้าว, ข้าวโพด, ฝ้าย, มันแกว, ข้าวฟ่าง กระท้อน, ละมุด, ขนุน, มะม่วง, น้อยหน่า, มะม่วงหิมพาน, ฝรั่งและมะขาม

การเพาะเมล็ดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การเพาะในกะบะ(ภาชนะต่าง ๆ) และการเพาะในแปลงภาชนะที่จะใช้เพาะเมล็ด อาจจะเป็นกระถาง กะบะ อ่าง ลังไม้ กระบอกไม้ไผ่ ถุงพลาสติก หรือภาชนะอื่น ๆ

กะบะเพาะเมล็ดอาจใช้ลังนม ขนาด กว้างXยาวXลึก 30X45X15 ซ.ม. หรือจะทำขึ้นเองด้วยไม้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด 1-1.5 เมตร ลึก 15 ซ.ม. หรือเล็กกว่านี้ก็ได้ ด้านล่างของกะบะควรเจาะรูให้น้ำระบายได้

ดินเพาะเมล็ดมีหลายอย่าง เช่น

สูตร 1 ดินร่วนธรรมดา                                 3        ส่วน

ปุ๋ยหมัก                                             1        ส่วน

ปุ๋ยคอกผุดีแล้ว                                   1        ส่วน

สูตร 2 ดินเหนียวตากแห้งกรอบเป็นผงหยาบ 2       ส่วน

ทรายหยาบหรือละเอียด                      1        ส่วน

ปุ๋ยหมัก                                             1        ส่วน

ปุ๋ยคอกที่ผุดีแล้ว                                1        ส่วน

สูตร 3 ดินร่วน                                              1        ส่วน

ทรายก่อสร้าง                                     1        ส่วน

ปุ๋ยหมัก                                             1        ส่วน

ปุ๋ยคอกเก่า ๆ                                      1        ส่วน

สูตร 4 ชั้นบน  5 นิ้ว ประกอบด้วยขี้เถ้าแกลบ      3          ส่วน

ทราย 1 ส่วน  ชั้นล่าง ใช้สูตร 3 รองพื้น

สูตร 5 ชั้นล่าง ใส่อิฐเล็ก 1 ส่วน ตามด้วยหญ้าผุ 2          ส่วน

ดินอุดมสมบูรณ์ 1 ส่วน ดินคั่ว      1 ส่วน

การหว่านเมล็ดลงในกะบะเพาะอาจใช้วิธีหว่านลงไปเลยก็ได้ แต่ต้องมีความชำนาญ อย่าให้เมล็ดห่างกันเกินไปหรืออย่าให้อยู่รวมกันเป็นกระจุก ใหม่ ๆ อาจใช้วิธีโรยเมล็ดเป็นแถวๆ โดยใช้ไม้กดผิวดินให้เป็นร่องลึกไม่เกิน 1 ซ.ม. ร่องห่างกันประมาณ 4-5 ซ.ม. (สำหรับเพาะเมล็ดผัก) แล้วโรยเมล็ดให้ห่างกันพองาม เกลี่ยดินกลบเมล็ด ตบให้แน่นพอควร คลุมด้วยฟาง หรือหญ้าแห้งอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันมิให้เมล็ดกระเด็นขณะฝนตกและรดน้ำ แลวรดน้ำด้วยบัวฝอย ถ้าหว่านเมล็ดลงไปเลยต้องเอาดินเพาะโรยปิดเมล็ด (หนาไม่เกิน 1 ซ.ม) ตบดินเบา ๆ รดน้ำด้วยบัวฝอยเช่นกัน วางกะบะไว้ในร่ม หรือในเรือนเพาะชำ และควรมีหลังคา หรือจากหิดเพื่อ กันฝนชะ ตามปกติเมล็ดจะเริ่มงอกภายใน 3-5 วัน ถ้าต้นกล้าหนาแน่นเกินไปควรถอนทิ้งเสียบ้าง เมื่อเมล็ดงอกแล้วต้องให้ต้นกล้าถูกแสงเพิ่มขึ้น ๆ มิฉนั้นต้นกล้าจะสูงชลูด

การเพาะในแปลงเพาะ

1. ต้องเลือกดินที่อุดมสมบูรณ์ น้ำไม่ท่วม ระบายนํ้าดี ไม่มีโรค ใกล้แปลงผัก อาจ มีรั้วกันสัตว์ต่าง ๆ ตอนเช้าควรถูกแดด ขนาดของแปลงควรกว้างไม่เกิน 1 ม. ยาว 2-4 ม. ก็ได้

2. ขุดดินตากแดด ทำลายวัชพืช ขุดดินให้ลึกได้ 12 นิ้วจะดีมาก ทิ้งไว้ 1-2 อาทิตย์เพื่อทำลายหญ้าและโรคแมลงต่าง ๆ

3. ย่อยดินใหละเอียด กำจัดวัชพืชให้หมด ขุดดินยกแปลงและจัดขนาคของแปลง ให้ได้ตามต้องการเช่น 1×4 เมตร สูงประมาณ10-15 ซ.ม. ใส่ปุ๋ยในแปลงเพาะ โดยใช้ปุ๋ยคอก 4-6 ปุ้งกี๋ เสร็จแล้วจะต้องคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ทั่ว

4. ถ้าดินในแปลงไม่ดีให้เอาดินเพาะที่เตรียมไว้มาใส่ข้างบนให้หนา 10 ซ.ม.

5. ถ้าจำเป็นอาจต้องกำจัดโรคแมลงในแปลงเพาะก่อนเช่นใช้ยาเนมากอน คลุกดินกำจัดไส้เดือนฝอย โรยคูปราวิทกันเชื้อรา หรือเผาบนแปลง ฆ่าโรคและแมลงต่างๆ

6. การเร่งให้เมล็ดงอกเร็ว (สำหรับพืชบางชนิด) อาจทำได้โดยการแช่นํ้าธรรมดา น้ำฝน หรือบางอย่างแช่น้ำอุ่น

7. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยยากันรา เช่นยา คูปราวิฑ แคบแตน โลนาโคล และยากันมด ปลวก เช่น ดิพเทอเรกช์, ออโธไซค์, เซรี่แซน, ออลเดร็กซ็-40 และ อาลามอน-40

8. หว่านหรือหยอดเมล็ดลงในแปลงอย่าให้ถี่เกินไป ก่อนหว่านเมล็ดควรรดน้ำบนแปลงเล็กน้อยก่อน

9. ถ้าเมล็ดเล็ก ๆ ควรใช้ปูนขาวหรือขี้เถ้าผสมกับเมล็ดในอัตรา 1:1 เพื่อให้มองเห็นขณะหว่าน

10. หว่านเสร็จใช้ดินเพาะโรยทับบางๆ คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง รดน้ำด้วยบัวฝอย

11. ถ้าฝนตกมาก ควรทำหลังคา แผง หรือผ้าคลุมแปลงด้วยแต่ในหน้าหนาว อาจ ใช้เเกลบ ขี้เลื่อย ฟาง คลุมเพียงบาง ๆ

12. การดูแลแปลงเพาะ กะบะเพาะ ทำดังนี้

12.1 ในระยะ 2-3 วันแรก ต้องรดน้ำบ่อย ๆ แต่รดน้อย ๆ พอให้ดินชื้น อย่าให้แฉะ

12.2 เมื่อเมล็ดเริ่มงอก ต้องค่อย ๆ ให้ถูกแสงทีละนิด มิฉะนั้น ต้นจะสูงชลูด ล้มและหักง่าย ทำโดยระยะแรก เปิดแปลง (กะบะ) ให้ถูกแสงระหว่าง 6-8 น. ปิด 8-16 น. เปิดอีก 16 น. ไป ถ้าฝนไม่ตก เปิดตลอดคืน ทำเช่นนี้ 3 วัน ระยะสอง เปิดแปลง 6-9 น. ปิด 9-16 น. เปิดอีกครั้ง 16 น. เป็นต้นไป ทำ 5-6 วัน ระยะสาม(กล้ามีอายุ 12-25 วัน) ควรเปิดให้ถูกแสงทั้งวัน ถ้าร้อนจัดจริงๆ อาจปิดด้วยทางมะพร้าวบาง ๆ ถ้าฝนตกต้องปิดหลังคาเพื่อกันต้นล้มหักพัง

12.3 การใส่ปุ๋ยกล้าอ่อน อาจใช้ปุ๋ยนํ้า เช่น ไนโตรฟอสก้าละลายน้ำ (1 ช้อนต่อน้ำ 1 บัว) รค 2-3 ครั้ง หรือจะใช้แอมโมเนียมซัลเฟต 3-4 กำมือหรือยูเรีย 1-2 กำมือละลายน้ำ 1 ปีบก็ได้

12.4 คอยกำจัด มด เพลี้ย หนอน ด้วยยาฆ่าแมลง เช่น ยาแลนเนท, เซฟ วิน 85, ดิพเทอเร็กซ ถ้ากล้าอ่อนเป็นราหรือโรคเน่าคอดิน ควรระวังเรื่องนํ้าอย่าให้แฉะเกินไป ต้องให้เเปลงถูกแดด ขุดดิน(ต้นกล้า)ที่เป็นโรคไปเผาเสีย และอาจใช้ยากันราฉีดด้วย (เช่นโลนาโคล คูปราวิทหรือเบนเลท)

13. ต้นกล้าที่มีอายุ 25-30 วัน เช่น กล้าของผักต่าง ๆ จะโตพอที่จะย้ายไปปลูกได้ ก่อนย้ายต้องรดน้ำทิ้งไว้ 30 นาที ใช้ช้อนส้อมช่วย ถอนต้นที่โต ๆ แน่น เป็นกระจุกไปปลูกก่อน ควรย้ายไปปลูกตอนเย็นเพื่อจะได้รับความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน