การเตรียมแปลงปลูกกุหลาบ

แบบแปลนของแปลงปลูก จะมีความเกี่ยวโยงกับจำนวนต้นที่ปลูกต่อพื้นที่(ไร่) หรือระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถว ทั้งนี้ แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการปลูก สภาพพื้นที่และลักษณะของดินที่จะทำการปลูก

แผนผังที่ 1 จากแผนผังข้างต้นเป็นแปลง ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 80 เมตร จัดเป็นแปลงปลูกขนาดกว้าง 1.20 เมตร ยาวประมาณ 75 เมตรได้ 4 แปลงได้ 4 แปลง ยกแปลงสูงจากระดับทางเดินเล็กน้อย ริมแปลงยกเป็นขอบ กั้นน้ำ แต่ละแปลงปลูก 2 แถว ระยะระหว่างแถว 0.70 เมตร ระหว่างต้น 0.50 เมตร มีทางเดินกลางกว้าง 1.50 เมตร ทางเดินระหว่างแปลง 2 ข้าง กว้าง 1.00 เมตร ส่วนที่เหลือเป็นทางเดินริม 2 ข้าง ซึ่งกว้างประมาณ 0.85 เมตร ทางเดินทั้งหมดปลูกด้วยหญ้านวลจันทร์ ใน 1 แปลงใหญ่จะปลูกได้ประมาณ 1,200 ต้น หรือไร่ละ 2,400 ต้น

เป็นแบบที่ควรใช้ปลูกสำหรับผู้ที่ปลูกกุหลาบเป็นงานอดิเรก ซึ่งปลูกจำนวนต้นไม่มากนัก และก็ใช้เป็นที่พักผ่อนไปในตัว พร้อมกับมีรายได้จากการจำหน่ายดอกพอที่จะใช้จ่ายในการดูแลรักษาให้ต้นกุหลาบอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ได้

เนื่องจากแปลงปลูกไม่ยกสูงจากระดับทางเดินมากนัก ฉะนั้นจึงเหมาะสำหรับดินที่ระบายน้ำสะดวกเช่นพื้นที่ ๆ เป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วม และดินปนทราย หรือดินทราย แต่ถ้าเป็นดินเหนียวจะต้องมีการเตรียมดินที่ดินคือขุดดินลึก ตากดินแห้ง มีระบบระบายน้ำทั้งบนแปลงและด้านล่างแปลงปลูก ที่สำคัญก็คือจะต้องรักษาระดับน้ำในท้องร่องไม่ให้ขึ้นสูง คือมีความลึก หน้าดินจากระดับทางเดินถึงระดับน้ำในท้องร่องไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร และเนื่องจากได้ ปลูกหญ้าบริเวณที่เป็นทางเดินได้ ฉะนั้น แม้ฝนจะตกและแปลงเปียก แต่เมื่อฝนหยุดก็สามารถลงปฏิบัติงานในแปลงได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้พื้นทางเดินแห้ง ทำให้สะดวกในการดูแลรักษาอีกด้วย

แผนผังที่ 2 เป็นแปลงปลูกขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 80 เมตร จัดแปลงปลูกเป็นแปลงใหญ่แปลงเดียวกว้าง ฐานแปลง 2.60 เมตร บนแปลง 2.00 เมตร ตัวแปลงยกสูงจากพื้นทางเดินประมาณ 0.50 เมตร และยกขอบกั้นน้ำเล็กน้อย มีทางเดิน 2 ข้างกว้างประมาณ 1.20 เมตร ปลูกต้นกุหลาบเป็นแถวตามขวางแถวละ 5 ต้น แต่ละต้นห่างกันประมาณ 0.40 เมตร ระยะระหว่างแถวห่างประมาณ 0.70 เมตร ใน 1 แปลง จะปลูกได้ประมาณ 535 ด้น หรือราว 2,140 ต้นต่อไร่

แบบที่ 2 ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนแปลงมาจากแปลงผัก แต่เนื่องจากเป็นแปลงที่ปลูกกันอยู่ในบริเวณชานเมืองหลวง ซึ่งเป็นที่ราบและเป็นดินเหนียว ประกอบกับกุหลาบเป็นพืชถาวร และมีระบบรากลึกกว่าผักทั่ว ๆ ไป ฉะนั้น แปลงปลูกจึงต้องยกสูงจากระดับทางเดินมาก

ข้อเสียเปรียบ สำหรับแปลงปลูกแบบนี้ก็คือ เสียเนื้อที่ปลูกมาก ไม่เหมาะสำหรับผู้มีเนื้อที่น้อยหรือปลูกเพื่อการศึกษาและพักผ่อน แต่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อที่ปลูกมาก ๆ และทำการปลูกมาก ๆ ส่วนข้อดีก็คือมีความสะดวกในการให้น้ำแบบประพรม โดยใช้เรือแบบที่ชาวสวนปฏิบัติกันในปัจจุบัน อีกทั้งการรักษาไหล่แปลงปลูก โดยการไล้ไหล่แปลงด้วยขี้ลอก จากท้องร่อง ซึ่งจะต้องทำทุกปีก็ทำได้สะดวก

แผนผังที่ 3 เป็นแปลงกว้าง 10 เมตร ยาว 80 เมตร จัดเป็นแปลงปลูกใหญ่ ๆ ได้ 2 แปลง คู่ โดยมีทางเดินเชื่อมกลางกว้าง 2.00 เมตร ทางเดินริมกว้าง 1.4 เมตร ขนาดของแปลงปลูกเท่ากับแปลงแบบที่ 2 การปลูกทำเช่นเดียวกับแบบที่ 2 ฉะนั้น ในพื้นที่ 1 ไร่ (พื้นที่แปลงปลูก) จะปลูกได้ 2,140 ต้นเช่นเดียวกัน ประโยชน์ของการจัดแปลงแบบนี้คือประหยัดพื้นที่ร่องน้ำและทางเดินได้ 1 ข้าง ทำให้การปลูกต้นกุหลาบจำนวนต่อไร่เพิ่มขึ้น คิดจากพื้นที่เดิม

เป็นแปลงปลูกในพื้นที่ ๆ เป็นดินเหนียว เพื่อแก้ระบบระบายน้ำหรือระดับน้ำในท้องร่องที่สูงขึ้น อีกทั้งเป็นการประหยัดพื้นที่ปลูกโดย ไม่ต้องมีร่องน้ำเช่นแบบที่ 2 มีทางเดินกลางกว้าง สามารถปฏิบัติงานแปลง การพ่นยา และตัดดอกได้สะดวก ที่ทางเดินอาจปลูกหญ้าหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าเป็นแปลงกิ่งประดับกิ่งตัดดอกควรจัดทำจะสะดวกและแลดูสวยงามดี ข้อเสีย ไม่อาจรักษาไหล่แปลงด้านในโดยการไล้ด้วยขี้ลอกได้ ระบบการใช้น้ำจะต้องเปลี่ยนแปลงจากที่ชาวสวนใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

แผนผังที่ 4 เป็นแปลงปลูกขนาดกว้าง 1.25 เมตร ยาวประมาณ 40 เมตร ทางเดินระหว่าง แปลงกว้าง 0.75 เมตร จัดเป็นแถวตามยาว 4 แถว ระยะระหว่างแถวห่างกัน 0.30 เมตร ระยะระหว่างต้น 0.25 เมตร แปลงหนึ่งจะปลูก ได้ 640 ต้น 20 แปลง หรือ 1 ไร่ จะปลูกได้ 12,800 ต้น

แบบที่ 4 แม้จะเป็นแบบที่ปลูกในเรือนกระจก แต่ถ้าจะนำมาปลูกในบ้านเรา โดยเฉพาะการปลูกกุหลาบส่งตลาดยุโรป ควรจะได้จัดแปลงแบบนี้ เนื่องจากระยะปลูกค่อนข้างถี่มาก จึงสามารถปลูกได้มากต้นคือประมาณ 12,800 ต้นต่อไร่ หรือเท่ากับที่ชาวสวนปลูกกันเป็น จำนวน 5 ไร่ ฉะนั้นการดูแลเอาใจใส่จึงต้องละเอียดและประณีตกว่าที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน แต่เนื่องจากเนื้อที่น้อย จึงสามารถประหยัดยา และปุ๋ยได้มาก หรือประหยัดได้ประมาณ 4 เท่าของการปลูกแบบที่ชาวสวนทำอยู่ในขณะนี้ และโดยที่แปลงปลูกมีความกว้างไม่มากนัก ประกอบกับเนื้อที่ที่ปลูกมีไม่มากนัก การดูแลจึงทำได้ทั่วถึง

จะเห็นได้ว่า เราอาจจัดแบบแปลนของแปลงปลูกได้หลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ของแบบแปลนข้างต้น มักจะเน้นหนักไปในเรื่องแบบแปลนของพื้นที่ ๆ เป็นที่ลุ่มดินเหนียวของภาคกลาง ซึ่งจะต้องพิจารณามากกว่าพื้นที่ ๆ เป็นดินดอน และมีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินทราย อย่างไรก็ตามเราอาจดัดแปลงแบบแปลนข้างต้นมาใช้สำหรับพื้นที่ดอนได้ไม่ยาก

ระบบการให้น้ำ จะต้องคิดไปพร้อมกับการจัดแบบแปลนของแปลงเพราะแบบแปลนแต่ละแบบ จะมีความสะดวกในการให้น้ำได้ไม่เหมือนกัน