การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เป็นการวิวัฒนาการมาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง โดยทำการปรับสภาพแวดล้อม และความต้องการให้สอดคล้องกับธรรมชาติและอุปนิสัยของเห็ดฟาง มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการลดต้นทุนในการผลิต มีวิธีการที่ง่ายเข้า ตลอดจนใช้วัสดุในการเพาะ สถานที่ ระยะเวลาที่ไม่มากนัก รวมทั้งให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น

หลังจากกรมวิชาการเกษตรได้คนพบวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เมื่อ พ.ศ. 2508 และได้เผยแพร่ให้แก่เกษตรกร ปรากฎว่าได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างดี ทำให้กิจการเกี่ยวกับเห็ดฟาง ทั้งทางด้านการเพาะและการผลิตเชื้อเห็ดขยายตัวมากยิ่งขึ้น

ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะ แบบกองสูง เช่น

1. ใช้วัสดุได้มากชนิดกว่า เช่น ตอซัง, ปลายฟาง, ผักตบชวา, ต้นกล้วย ขี้ฝ้าย, ไส้นุ่น, ชานอ้อย, ขี้เลื่อย, หญ้าขจรจบ, หญ้าคา เป็นต้น

2. วิธีการไม่ยุ่งยากมากนัก ประหยัดแรงงานคน ๆ หนึ่งอาจทำกองได้ วันละ 20-30 กอง

3. ใช้พื้นที่น้อย และสามารถกำหนดระยะเวลาในการเก็บผลผลิตได้

แน่นอน

4. ต้นทุนไม่สูงนัก เพราะสามารถใช้วัสดุได้หลายอย่าง ราคาถูก และได้ผลผลิตค่อนข้างสูง

5. มีการเสี่ยงน้อยกว่า เพราะถ้าเสียก็เสียเพียงกองเล็ก ๆ เท่านั้น

วัสดุและอุปกรณในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

1. วัสดุที่ใช้เพาะ สามารถใช้วัสดุที่เหลือใช้จากเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมได้มากมายหลายอย่าง ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

ก. พวกที่สลายตัวยาก เช่น ตอซัง, ปลายฟาง, หญ้าคา, หญ้าขน, หญ้าขจรจบ, ชานอ้อย, ขี้เลื่อย วัสดุเหล่านี้ถ้านำไปเพาะควรใช้อาหารเสริมเข้าช่วย

ข. พวกที่สลายตัวเร็ว เช่น ทุกส่วนของผักตบชวา ทุกส่วนของต้นกล้วย, ขี้ฝ้าย ไส้นุ่น วัสดุเหล่านี้สามารถนำไปเพาะได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเสริมอาหารก็ได้ ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างสูง แต่หมดเร็ว ดังนั้นจึงนิยมใช้เป็นอาหาร เสริมให้แก่วัสดุที่สลายตัวยาก

วัสดุทุกอย่างที่ใช้เพาะเห็ดฟางจะต้องตากให้แห้งสนิทเสียก่อน หาก ต้องการเก็บไว้นาน อย่าให้ถูกฝน หรือได้รับความชื้นสูง และต้องเป็นวัสดุที่ไม่เคยนำไปเพาะเห็ดมาก่อน

2. อาหารเสริม เนื่องจากเห็ดฟางเป็นเห็ดที่ไม่สามารถย่อยอาหารบาง

อย่างได้ด้วยตัวของมันเอง จำต้องอาศัยเชื้อจุลินทรีย์ตามธรรมชาติช่วยย่อยเสียก่อน วัสดุบางอย่างได้แก่วัสดุชนิดแรกที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นพวกที่ต้องอาศัยจุลินทรีย์ ช่วยย่อยสลายเสียก่อน อาหารของเห็ดฟางมีน้อย ความสามารถในการเก็บความชื้น และความร้อนไม่ดีพอ จึงจำเป็นต้องเสริมอาหารเข้าไป

อาหารเสริมที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะของวัสดุที่ใช้ คือ

ก. อาหารเสริมที่มีอาหารเห็ดอยู่มาก สามารถเก็บความร้อนและความชื้น ได้ดี เช่น ทุกส่วนของผักตบชวา ทุกส่วนของต้นกล้วย ขี้ฝ้าย ไส้นุ่น ใบและ ผักถั่วเหลือง และถั่วเขียว เป็นต้น อาหารเสริมเหล่านี้ใช้เสริมให้กับวัสดุที่สลายช้า

ข. อาหารเสริมที่มีอาหารเห็ดอยู่มาก แต่ไม่สามารถเก็บความร้อนและ ความชื้นไว้ได้ ได้แก่ดินผสมมูลสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งมี มูลไก่, มูลเป็ด, มูลวัว, มูลควายและมูลม้า เป็นต้น ใช้ดินร่วนปนทราย 2-4 ส่วน โดยปริมาตรทุบให้ละเอียดแบบลูกรัง (มีทั้งละเอียดและหยาบปนกัน) ผสมกับมูลสัตว์แห้งอย่างใดอย่างหนึ่ง ประมาณ 1 ส่วนโดยปริมาตร อาหารเสริมชนิดนี้นิยมใช้กับวัสดุที่สลายตัวเร็ว หรือใช้กับวัสดุสลายตัวยากบางอย่าง เช่น ฟางและหญ้าแห้งต่าง ๆ

3. นํ้าที่ใช้แช่วัสดุเพาะหรืออาหารเสริม น้ำที่ใช้ควรมีฤทธิ์เป็นกลาง ไม่เป็นกรดหรือด่างและไม่ควรมีเกลือแร่หรือสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเชื้อเห็ด เช่น เกลือแกง, จุนสี, ปรอท, น้ำมัน ผงซักฟอก และคลอรีน เป็นต้น

น้ำที่มีคลอรีนสูง เช่น น้ำประปา หากต้องการใช้ต้องใส่ภาชนะปาก กว้าง แล้วทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วันก่อน ถ้าจะใช้ให้เร็วกว่านี้ควรใส่เหล้าหรือแอลกอฮอล์ลงไปเพียงเล็กน้อยจะไล่คลอรีนออกเร็วยิ่งขึ้น วันเดียวก็ใช้ได้ และจากการสังเกตพบว่า นํ้ายิ่งมีกลิ่นเหม็นเน่าจากการหมักหมมของมูลสัตว์ ใช้ได้ผลดี ทั้งยังให้ผลผลิตสูงอีกด้วย

4. แบบพิมพ์ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย จะต้องทำกองคล้ายกับการ เพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ต่างกันตรงที่ขนาดของกองที่เล็กกว่าเท่านั้น ดังนั้นในการทำกอง จึงจำเป็นที่จะต้องใช้แบบพิมพ์ เพื่อสะดวกในการทำกอง

ขนาดของแบบพิมพ์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู กลวง ฐานกว้าง 35-40 ซม. ด้านบนกว้าง 25-30 ซม. สูง 35-40 ซม. ยาว 1.20-1.50 ม. หรือยาวกว่านั้นก็ได้

แต่มีแบบพิมพ์อีกขนาดหนึ่งที่ใช้ สำหรับวัสดุเพาะที่ใช้ฟางหรือหญ้า แห้งเพียงอย่างเดียว หรือใช้วัสดุดังกล่าวกับอาหารเสริมที่ไม่สามารถเก็บความร้อนและความชื้นได้ ควรใช้แบบพิมพ์ขนาดฐานกว้าง 25-30 ซม. ข้างบนกว้าง 15 – 20 ซม. สูง 40-45 ซม. และยาว 1.20-1.50 ม. (ดังรูป)

5. สถานที่สำหรับเพาะแบบกองเตี้ย จะต้องเป็นพื้นที่ราบ พื้นดินหรือ พื้นคอนกรีต ในที่ร่มหรือกลางแดด หรือในโรงเรือนก็ได้

พื้นดิน จะต้องไม่มีน้ำมัน ยาฆ่าศัตรูพืช และควรเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยเพาะ เห็ดฟางมาก่อน หรือถ้าเคยเพาะก็ควรทิ้งไว้ประมาณ 1-2 เดือนเสียก่อน แต่ถ้าพื้นดินนั้นมีปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว เช่น ขี้เลื่อย, มูลสัตว์ และเปลือกถั่วต่าง ๆ ยิ่งดี เพราะบางครั้งอาจเก็บผลผลิตบนปุ๋ยหมักนั้นได้อีกด้วย

พื้นคอนกรีต ควรอยู่กลางแดด เพราะถ้าหากอยู่ในที่ร่มแล้ว พื้นคอนกรีต จะเย็นทำให้อุณหภูมิไม่เพียงพอ

ปัญหาเกี่ยวกับสถานที่เพาะเห็ดนับเป็นปัญหามาก สำหรับผู้เพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เพราะพื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถเพาะซ้ำที่เดิมได้ และปัญหาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายในกอง ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในบรรยากาศ

จากการทดลองหาวิธีแก้ปัญหา ปรากฏว่าพื้นที่ที่ใช้เพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยได้ผลและเพาะได้ตลอดทั้งปีในทุกสภาพบรรยากาศให้ผลผลิตสูง ดูแลรักษาง่าย คือ การเพาะเป็นกองบนไม้แคร่แล้วยกขึ้นเก็บไว้ในโรงเรือน โรงเรือนที่ใช้เพาะสามารถใช้โรงเรือนที่ใช้เพาะเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรม  แต่ตัวโรงเรือนอาจใช้กระเบื้องแผ่นเรียบ หรือฝาพลาสติกบุภายใน มุงจากด้านนอกก็ได้ หรืออาจทำแบบง่าย ๆ โดยการนำเอากองเพาะเห็ดขึ้นวางบนชั้นที่เตรียมไว้แล้ว ใช้ฝาพลาสติกสีทึบคลุมจากนั้นก็เอากระสอบมาคลุมอีกชั้นหนึ่ง แทนตัวโรงเรือนเกิน 1 สัปดาห์ หรือใช้เชื้อเห็ดฟางที่ได้จากการเพิ่มเชื้อก็ได้ แต่ต้องเป็นเชื้อเห็ดฟางที่เชื่อถือได้ และผ่านการตักต่อไม่มากนัก รวมทั้งผ่านการทดสอบเชื้อเห็ดแล้ว

ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

1. การแช่นํ้าของวัสดุ และอาหารเสริม

2. วิธีทำกอง

3. การดูแลรักษา

4. การเก็บเกี่ยวผลผลิต

การแช่น้ำของวัสดุ แสะอาหารเสริม

วัสดุที่ใช้เพาะรวมทั้งอาหารเสริมทุกชนิดก่อนที่จะนำไปใช้เพาะจะต้อง แช่น้ำให้โชกเสียก่อน ยกเว้นอาหารเสริมที่ได้จากมูลสัตว์ผสมดิน ไม่ต้องแช่นํ้าใช้ ได้เลย

การแช่น้ำถ้าเป็นวัสดุที่สลายตัวเร็ว รวมทั้งตอซังถอน และชานอ้อย ให้ แช่น้ำประมาณ 25-30 นาทีก็สามารถนำไปใช้ได้เลย แต่ถ้าเป็นวัสดุที่สลายตัวช้าอย่างอื่น เช่นปลายฟาง, ขี้เลื่อย, ดินหญ้าคา หญ้าขจรจบ ควรแช่น้ำไว้อย่างน้อย 1-2 วัน (ปลายฟางและหญ้าต่าง ๆ ควรแช่ไว้ 2 วัน)

วิธีการทำกอง

ก่อนทำกองควรปรับระดับพื้นที่ให้ราบเรียบเสียก่อน แล้วทดนํ้าเข้า เพื่อให้พื้นดินเปียกชุ่มดูดน้ำจนถึงจุดอิ่มตัวเสียก่อน แต่หากไม่สามารถทดนํ้าเข้าได้ ก็ให้รดน้ำบริเวณที่จะทำการเพาะเสียก่อน

การทำกอง ให้วางไม้แบบพิมพ์ โดยเอาด้านบานลงใส่วัสดุที่ใช้เพาะลงไป ในแบบพิมพ์ให้หนาประมาณ 8-12 ซม. (1 ฝ่ามือ) ใช้มือกดให้แน่นพอสมควร แต่ถ้าใช้ปลายฟางหรือหญ้า ควรขึ้นเหยียบสัก 1-2 เที่ยว แล้วจึงใส่อาหารเสริม

การใส่อาหารเสริม หากใช้วัสดุที่สลายตัวเร็วเพาะ ไม่จำเป็นต้องใส่อาหารเสริมก็ได้ แต่ถ้าเสริมอาหารจำพวกดินร่วนผสมมูลสัตว์อัตรา 1 ต่อ 4 โดยปริมาตรจะได้ผลผลิตสูงขึ้น

หากใช้วัสดุที่สลายช้าเพาะ ควรเสริมอาหารจากวัสดุที่สลายเร็ว ซึ่งวัสดุ

เหล่านี้ก่อนจะใช้เป็นอาหารเสริมจะต้องแช่น้ำให้โชกก่อน หรือแช่น้ำแล้วดีให้เละ ได้ยิ่งดี

การใส่อาหารเสริม ให้ใส่เฉพาะบริเวณขอบโดยรอบ หนาประมาณ 5-7 ซม. อย่าบีบน้ำออก เพราะนํ้าจากอาหารเสริมจะทำให้กองมีความชื้นเพียงพอ แต่ถ้าใช้ดินร่วนผสมมูลสัตว์ให้ โรยเฉพาะด้านขอบบาง ๆ เท่านั้น

การโรยเชื้อเห็ด ขยี้ให้เชื้อเห็ดแตกออกจากกันเสียก่อน แล้วจึงโรยเชื้อ เห็ดไปบนอาหารเสริม ในการโรยเชื้อไม่จำเป็นต้องโรยมากนัก เพราะผลผลิตสูงหรือต่ำไม่ได้ขึ้นอยู่กับการโรยเชื้อมากหรือน้อย เมื่อโรยเชื้อเสร็จแล้วก็เป็นการเสร็จชั้นที่หนึ่งสำหรับขั้นต่อไปก็ทำเช่นเดียวกันกับชั้นแรก คือ เอาวัสดุที่เพาะใส่ในแบบพิมพ์กดให้แน่น ใส่อาหารเสริม โรยเชื้อ เวลาคลุมฟางให้หนา ๆ ประมาณวันที่ 7-8 ดอกเห็ดจะเกิดขึ้นและจะเก็บได้ในฤดูนี้ผู้เพาะส่วนใหญ่ประสพปัญหาผลผลิตต่ำ เพราะอากาศร้อนเกินไป มีวิธีแก้คือในวันที่เริ่มเห็นดอกเห็ด ให้ทดน้ำเข้าจนกระทั่งดินแฉะ จะมีนํ้าขังบ้างเล็กน้อย หรือใช้ตาข่ายไนล่อนคลุมกองก่อนแล้วจึงคลุมฟางเปียกในวันที่เริ่มเห็นดอกเห็ด คลุมฟาง แห้งทับอีกชั้นหนึ่งด้วย

วิธีที่ 2 หลังจากทำกองเสร็จแล้วให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์คลุมกองเห็ด แต่ละกองให้มิด แล้วใช้ฟางแห้งคลุมกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่ง วิธีนี้เหมาะสำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน เมื่อครบ 3 วัน ให้เอากระดาษหนังสือพิมพ์ออก ใช้ปลายฟางแห้งโรยบาง ๆ แล้วจุดไฟเผา แต่ถ้าใช้วัสดุอย่างอื่นที่ไม่ใช่ฟางไม่ต้องเผา และถ้าเป็นฤดูฝนไม่จำเป็นต้องเผาเพียงแต่ใช้กรรไกรตัดหญ้าตัดส่วนที่ไม่เป็นระเบียบออก เมื่อเผาหรือตัดแต่งแล้ว ให้ทำการรดน้ำ ในฤดูร้อนให้รดมาก ๆ แต่ถ้าเป็นฤดูฝนรดพอขนาดด้านข้างชุ่มก็พอ จากนั้นใช้ตาข่ายไนล่อนคลุมกองทั้งหมด (ตาข่ายทำหน้าที่คล้ายโครงไม้กั้นไม่ให้วัสดุคลุมสัมผัสดอกเห็ด เพราะถ้าสัมผัสถูกดอกเห็ดแล้ว ดอกเห็ดมักจะฝ่อตาย) แล้วใช้ฟางแห้งคลุมให้หนา ๆ เพื่อป้องกันความชื้นระเหยและแสงแดดส่องจากนั้นอีก 2-3 วันดอกเห็ดก็จะเกิดขึ้น ระยะนี้จงระวังอย่างมากเกี่ยวกับฝนตกหากฝนตกให้ใช้ผ้าพลาสติกคลุมทับอีกทีเพื่อกันไม่ให้ฝนตกถูกกองโดยตรง ไม่ จำเป็นต้องคลุมมิดชิด เพียงแต่คลุมเฉพาะหลังกองเท่านั้น วิธีนี้จะให้ผลผลิตสูงมาก โดยเฉพาะในฤดูฝน

วิธีที่ 3 หลังจากทำกองเสร็จแล้ว ทำจากเป็นแผงทึบ ๆ แล้วสร้างโรงเรือนเตี้ย ๆ ครอบกองให้ได้ทั้งหมด ใน 3-4 วันแรกให้ใช้ผ้าพลาสติกคลุมทับไว้ จากนั้นถ้าเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝนให้เอาผ้าพลาสติกออก แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวให้คลุมไว้ เหมือนเดิม สำหรับความชื้นให้ตรวจดูข้างกอง ถ้าข้างกองแห้งใช้บัวรดน้ำให้ชุ่ม

วิธีนี้ดอกเห็ดจะออกทุกส่วนที่สัมผัสอากาศ ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง แต่ต้นทุนสูงกว่าวิธีแรก

วิธีที่ 4 เพาะบนแคร่ไม้ไผ่ หลังจากทำกองเสร็จแล้ว ให้ใช้ไม้หรือไม้ไผ่สูงประมาณ 5-8 ชม. หนุนให้สูงจากพื้นดินโดยไม่ให้กองเห็ดวางติดกับพื้นทำ หลาย ๆ กอง แต่ละกองวางห่างกันประมาณ 1 คืบ ส่วนการดูแลรักษาปฏิบัติเช่น เดียวกับวิธีที่ 1,2 หรือ 3 วิธีนี้สามารถแก้ปัญหาเรื่องเพาะซ้ำที่เดิมได้และสะดวกในการฆ่าแมลงศัตรูเห็ดอีกด้วย

วิธีที่ 5 เพาะบนแคร่ไม้ไผ่หลังจากทำกองเสร็จแล้วให้ใช้มีดหรือกรรไกรตัดหญ้าตัดแต่งให้เรียบร้อยแล้วยกเข้าไว้ในโรงเรือน ควรวางห่างกันประมาณ 2 – 3 คืบ อย่าให้ชิดกันมากนักเพราะจะร้อนเกินไป ไม่สะดวกในการทำงานและอากาศไม่พอ

ดังได้กล่าวมาแล้วโรงเรือนสามารถใช้ โรงเรือนที่เพาะเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรมก็ได้ หรือโรงเรือนที่สร้างแบบเดียวกับเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรม แต่ฝาผนัง อาจใช้กระเบื้องแผ่นเรียบ หรือผ้าพลาสติกธรรมดาบุภายใน ภายนอกมุงจากหรือหญ้าคาก็ได้ สำหรับชั้นไม้ระแนงทำด้วยไม้ไผ่ดีที่สุด เพราะปัญหาเรื่องโรคแมลงมีน้อยกว่าใช้ไม้ธรรมดา และไม่จำเป็นต้องทำให้ถี่ พื้นควรเป็นคอนกรีต เพราะสะดวกในการทำความสะอาด

ก่อนที่จะยกกองขึ้นควรฉีดยาฆ่าแมลง ไร และ มด บริเวณรอบนอก โรงเรือนและภายในเสียก่อน เช่น ยาเคลแทน เซฟวิน มาลาไทออน ดีดีวีพี เป็นต้น แต่สำหรับชั้นควรโรยปูนขาวอีกทีจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องไรได้ (ห้ามฉีด ทุกชนิดเข้าไปในกองเพาะเป็นเด็ดขาด เพราะนอกจากเป็นพิษต่อเห็ดแล้วยังเป็นพิษต่อผู้บริโภคอีกด้วย)

หลังจากนำกองเข้าใส่ในโรงเรือนเรียบร้อยแล้ว ทำการรดนํ้าบนกองให้ เปียก หรืออาจรดน้ำก่อนนำขึ้นชั้นก็ได้ 3 วันแรกควรปิดประตูห้องพร้อมช่อง ระบายอากาศไว้ เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในกองให้สูงไว้ ควรจะอยู่ระหว่าง 34-38 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ให้เปิดช่องระบายอากาศในระหว่างตอนกลางวัน ประมาณสัก 15-30 นาที วันละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายในห้อง แต่ถ้าอุณหภูมิตํ่ากว่า 30 องศาเซลเซียส มักเกิดในฤดูหนาว ให้พ่นไอนํ้าเข้าไปให้ได้อุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส ในวันที่ 5 เป็นต้นไป จะต้องเปิดแสงสว่างขนาดพอเห็นได้ชัด แสงสว่างจะช่วยกระตุ้นให้เส้นใยเห็ดรวมตัวกันเป็นดอกเห็ด ระยะนี้นอกจากจะให้แสงแล้วยังต้องตรวจดูความชื้นด้านข้างของกองด้วย หากข้างกองแห้งให้ใช้สเปรย์หรือเครื่องพ่นฝอยฉีดให้ด้านข้างชุ่ม และต้องทำการลดอุณหภูมิภายในห้องให้อยู่ระหว่าง 28-30 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจทำได้โดยการเปิดช่องระบายอากาศนานๆ โดยเฉพาะในเวลากลางวันควบคู่ไปกับการให้ความชื้น แล้วควรเอาน้ำขังไว้ที่พื้นด้วยประมาณวันที่ 5-6 ดอกเห็ดจะปรากฏให้เห็น และโตขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะนี้ให้สังเกตความชื้น หากด้านข้างแห้งให้ใช้สเปรย์พ่นไปด้วย การพ่นน้ำในระยะนี้หากเติมปุ๋ยยูเรีย (อัตราส่วนน้ำ 1 ปีบต่อยูเรีย 1 ขีด) จะทำให้ดอกเห็ดน้ำหนักดี และผลผลิต สูงขึ้น การรดน้ำต้องระวังเป็นพิเศษ ควรรดผ่านอย่างรวดเร็ว อย่าให้ละอองน้ำ รวมกันเป็นหยดเป็นเด็ดขาด เพราะจะทำให้ดอกเห็ดดอกเล็ก ๆ ฝ่อตายได้

ผลผลิตจะเก็บได้ในราววันที่ 7-9 ดอกเห็ดจะออกทุกส่วนที่สัมผัสกับอากาศ กล่าวคือ พื้นที่ผิวของกองไม่ว่าด้านข้าง หัวท้าย ด้านล่าง-บน ดอกเห็ดก็สามารถออกได้ จะมีผลผลิตสูงกว่าวิธีการต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ทั้งยังสามารถเก็บผลผลิต ครั้งที่ 2 ได้อีก กล่าวคือ หลังจากเก็บดอกเห็ดชุดแรกแล้ว รดนํ้าใหม่อีกประมาณ 4-5 วัน ดอกเห็ดชุดที่ 2 ก็จะเกิดขึ้นอีก นอกจากนี้ยังมีวิธีการทำให้ดอกเห็ดมีสีขาวดอกโตและน้ำหนักดีได้ด้วยวิธีอบไอน้ำ ขณะที่ดอกเห็ดเกิดขึ้นดอกเล็ก ๆ ขนาด เท่านิ้วก้อย โดยหยุดให้แสงสว่าง จากนั้นในเวลาตอนเช้าประมาณ 3.00-5.00 น. อบไอน้ำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงกว่า 32 องศาเซลเซียล เพราะระยะนี้ดอกเห็ดจะหยุดเจริญเติบโต เนื่องจากอุณหภูมิมักต่ำเกินไป แต่ถ้าอบไอนํ้าเข้าไปจะทำให้ดอกเห็ด เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว น้ำหนักดี ปลอกสีขาว บานช้าเป็นที่นิยมของท้องตลาด และมีผลผลิตสูงอีกด้วย

การดูแลรักษาด้วยวิธีนี้ หลังจากรื้อเอาวัสดุที่เหลือใช้จากการเพาะเห็ดออกไปจากโรงเรือนแล้ว ให้ล้างโรงเรือนให้สะอาด แล้วผึ่งไว้ให้แห้งก็สามารถทำการเพาะได้อีก แต่ก่อนเพาะใหม่ทุกครั้งควรฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และแมลงศัตรูเห็ด วิธีที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดคือ การอบไอนํ้าที่อุณหภูมิประมาณ 65-70 องศาเซล­เซียส นาน 2 ชั่วโมง หรืออบด้วยด่างทับทิม 1 ปอนด์ต่อ 1000 ลูกบาศก์ฟุต ถ้าโรงเรือนขนาดเล็กให้ลดลงตามส่วน วิธีทำคือ ใช้ด่างทับทิมใส่ไว้ในภาชนะแก้ว หรือเครื่องเคลือบ แล้วเทน้ำยาฟอร์มาลินให้ท่วมด่างทับทิม จะเกิดปฏิกริยามีควันสีม่วงแดงเกิดขึ้น ควันนี้จะเป็นตัวฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิดภายในโรงเรือน ส่วนรอบ ๆ และผนังของโรงเรือน ให้ฉีดยาฆ่าแมลงดังได้กล่าวมาแล้ว

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

เมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเต่งตึง ปลอกหุ้มขยายตัวเต็มที่ แต่ ปลอกจะต้องไม่แตกออก ซึ่งวิธีเก็บดอกเห็ดก็คล้ายกับการเก็บดอกเห็ดในการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงทุกประการ