การเพาะเห็ดฟาง

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรร้อยละ 80 มีอาชีพ เกษตรกรรมตามบรรพบุรุษซึ่งได้ผลผลิตในแต่ละปีไม่แน่นอน ถึงจะได้รับวิธีการใหม่ ๆ มาบ้าง แต่ก็ไม่ได้ผลมากนัก เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตขึ้นนั้นเอง และเมื่อเปรียบเทียบกับการเพิ่มของประชากรแล้ว อัตราการเพิ่มของผลผลิตไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เพียงพอ หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ประเทศไทยอาจจะต้องประสพปัญหาการขาดแคลนอาหารได้

จากการสำรวจของกองเศรษฐกิจการเกษตร สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ แต่เรายังขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังในการนำเอาทรัพยากรมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบี 2520 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 48.7 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ยของการปลูกข้าวนาปีได้ประมาณ 141 กก. ต่อไร่ และนาปรัง 364 กก. ต่อไร่ ซึ่งเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตแล้วจะขาดทุนทั้งการปลูกข้าวนาปีและนาปรัง แต่ที่เกษตรกรไม่รู้สึกว่าขาดทุนเพราะการใช้แรงงานและที่ดินของตนเอง ส่วนที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวแล้วคือฟาง ในการปลูกข้าว 1 ไร่ จะได้ฟางประมาณ 1-1.5 ตัน ส่วนใหญ่เกษตรกรมักจะทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งที่ฟางเหล่านี้ยังทำประโยชน์ได้อีก เช่นเพาะเห็ดและทำกระดาษ เป็นต้น

ประเทศไต้หวันและประเทศเกาหลีใต้ประสพปัญหาเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่จากการสนับสนุนส่งเสริมของรัฐบาลอย่างจริงจังในการนำวัสดุเหลือใช้จากเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ส่วนใหญ่ใช้ในการเพาะเห็ด ทำให้ในปัจจุบันประเทศทั้งสองสามารถผลิตเห็ดออกสู่ตลาดต่างประเทศเป็นที่หนึ่งและที่สองของโลกตามลำดับ ทั้งที่ก่อนปี 2500 ของประเทศไต้หวัน และก่อนปี 2516 ของประเทศเกาหลีใต้ ยังผลิตเห็ดไม่เพียงพอต่อการบริโภคของประชาชนภายในประเทศ

สำหรับประเทศไทยสามารถเพาะเห็ดโดยใช้วิทยาแผนใหม่มาตั้งแต่ปี 2480 แล้ว แต่ก็ยังต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาบริโภคเป็นอันดับ 1 ของประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการสนับสนุนของรัฐบาลไม่เพียงพอและจากนักวิชาการบางคนที่ไม่ยอมเปิดเผยเทคนิคและวิธีการอย่างจริงจัง ทำให้การผลิตเห็ดมีน้อยเพราะผู้ผลิตจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาและมีประสบการณ์พอสมควร

ผู้เขียนเมื่อครั้งมีอาชีพเพาะเห็ดฟางก็เคยประสพปัญหาดังกล่าว จนกระทั่งได้มีโอกาสเข้ามาร่วมทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง เรื่องเห็ดมาตั้งแต่ปี 2516 เป็นต้นมา และปัจจุบันรับราชการในสาขาจุลชีวะวิทยาประยุกต์ กองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร มีหน้าที่ค้นคว้าทดลองและส่งเสริมเรื่องเห็ดโดยตรงมีความคิดเห็น ว่าถึงเวลาแล้วที่ทุกคนรวมทั้งนักวิชาการผู้รู้ทั้งหลายควรเสียสละบ้างในการเผยแพร่ วิธีการที่ถูกต้องแก่เกษตรกร

จากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารพบว่า เห็ดฟางเป็นเห็ดที่มีคุณค่าทาง อาหารสูงมาก เห็ดฟางแห้งมีโปรตีนสูงร้อยละ 49.07 ยังอุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์อีกมาก เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบีหนึ่ง บีสอง และวิตามินซี รวมทั้งกรดโฟลิคสูงอีกด้วย เหมาะสำหรับบำรุงร่างกายให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังเป็นอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรทน้อย แคลลอรีตํ่า เหมาะสำหรับการควบคุมน้ำหนักอีกด้วย และจากการวิเคราะห์ทางด้านแพทย์ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยนายเกวีเรนทร์ พร้อมคณะ และที่มหาวิทยาลัยดุกส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยศาสตราจารย์สติเฟน โวเกอร์ พบว่า เห็ดมีสารชนิดหนึ่งสามารถรักษาและบำบัดโรคมะเร็งได้ จะมีมากในเห็ดที่มีโปรตีนสูงและเป็นเห็ดที่เจริญเติบโตเต็มที่ถ้าเป็นเห็ดฟาง คือ ระยะที่ดอ เห็ดบาน

เห็ดฟางเป็นเห็ดที่มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในประเทศไทย การเรียกชื่อ แต่ก่อนเรียกตามวัสดุที่ขึ้น เช่น ขึ้นตามกองเปลือกเมล็ดบัว ก็เรียกว่า เห็ดบัว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2480 อาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ ได้ทำการค้นคว้าทดลองทำเชื้อ และเพาะเห็ดบัว โดยใช้เทคนิคแผนใหม่ได้เป็นผลสำเร็จ โดยใช้ฟางเพาะ ตอนหลังซึ่งนิยมเรียกชื่อเห็ดฟาง และได้เผยแพร่ในบี พ.ศ. 2481 เป็นต้นมา จากผลงานของท่านเป็นผลให้มีการค้นคว้าเพาะเห็ดอื่น ๆ ตามมาอย่างมากมาย นับว่าท่านเป็นผู้บุกเบิกหรือปรมาจารย์ในวงการเห็ดคนแรกของประเทศไทย แต่หลังจากนั้นผู้ที่รับช่วงต่อมาไม่ได้ทำการส่งเสริมอย่างจริงจัง ทำให้การเพาะเห็ดฟางไม่กว้างขวางมากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2515 ได้มีการก่อตั้งชมรมเห็ด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นเพื่อทำการอบรมแนะนำส่งเสริมเห็ดอย่างจริงจัง ผู้เขียนได้ร่วมกิจกรรมของชมรมเห็ดมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2516-2519 ปรากฏว่า ได้รับความสนใจจากเกษตรกรและประชาชนอย่างกว้างขวาง

ปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้ปรับปรุงวิธีการทำเชื้อและวิธีการเพาะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถยึดเป็นอาชีพหรือทำเป็นแบบอุตสาหกรรมได้

ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟาง แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ

1. การทำเชื้อเห็ดฟาง

2. การเพาะเห็ดฟางเพื่อจะทำให้เกิดดอก

การเพาะเห็ดฟางไม่จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอนก็ได้ กล่าวคือ ถ้าต้องการเพาะให้ออกดอกก็ไม่จำเป็นต้องทำเชื้อ ให้เป็นหน้าที่ของผายผลิตเชื้อเห็ดก็ได้

การทำเชื้อเห็ดฟาง

เชื้อเห็ดฟาง เป็นพันธุ์พืชชนิดหนึ่งซึ่งมีความแปรปรวนทางกรรมพันธุ์ และความเสื่อมสูงมาก ดังนั้น ผู้ผลิตเชื้อเห็ดฟาง จำเป็นต้องใช้เทคนิคและวิธีการ ตลอดจนการทดสอบเชื้อเห็ดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงจะสามารถผลิตเชื้อเห็ดฟางที่มีคุณภาพดีได้ หัวใจสำคัญที่สุดในการเพาะเห็ดฟาง คือ เชื้อเห็ดฟาง เพราะหา เชื้อเห็ดคุณภาพไม่ดีไม่ว่าจะมีวิธีการเพาะที่ดีอย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถทำให้ผลผลิตสูงได้

เชื้อเห็ดฟาง สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1. เชื้อเห็ดที่ได้มาจากสปอร์หรือเมล็ดเห็ด วิธีนี้ไม่นิยมทำกันนัก เพราะ เป็นเทคนิคและวิธีการที่ยังยาก ผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอน อาจจะกลายพันธุ์ได้ เหมือนกับการปลูกพืชโดยใช้เมล็ดนั่นเอง (ดูรูปที่ 1 วงจรชีวิตของเห็ด)

2. เชื้อเห็ดที่ได้จากการเลี้ยงเส้นใยที่งอกจากเนื้อเยื่อของดอกเห็ด เป็นวิธี

ที่นิยมทำกกันมาก เพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากเหมือนการทำเชื้อจากสปอร์ โดยอาศัยหลักที่ว่าดอกเห็ด คือเชื้อเห็ดที่ผ่านการผสมพันธุ์กันแล้วจำนวนมากมารวมกัน เมื่อเอาเนื้อจากดอกเห็ดมาทำเชื้อก็จะได้ตรงตามพันธุ์ทุกประการ เหมือนกับการปลูกพืชโดยการติดตา ต่อกิ่ง เป็นต้น

ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะการทำเชื้อเห็ดจากเนื้อเยื่อหรือเนื้อดอกเห็ดเท่านั้น

ขั้นตอนในการทำเชื้อเห็ดฟาง

1. การเลี้ยงเชื้อเห็ดฟางบนอาหารวุ้น

2. การเลี้ยงเชื้อเห็ดฟางในเมล็ดธัญพืช

3. การเลี้ยงเชื้อเห็ดฟางในปุ๋ยหมัก

โดย:นายอานนท์  เอื้อตระกูล

* นักวิชาการโรคพืช (งานวิจัยเห็ดรับประทานได้) กองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร เลขาธิการสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทยคนแรก, สมาชิกกิตติมศักดิ์สมาคมสโมสรไลออนส์กรุงเทพ(เอราวัณ) ที่มีอายุน้อยที่สุด