การเลี้ยงปลาหลายชนิด

การเลี้ยงปลาแบบหลายชนิดหรือแบบรวม (Polyculture)

คือการเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันในบ่อเดียวหรือชนิดเดียวแต่มีขนาดแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 2-3 กลุ่ม จุดประสงค์ของการเลี้ยงปลาแบบนี้ก็คือ ต้องการปรับปรุงผลผลิตให้สูงขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนลดต้นทุนในการผลิต

การเลี้ยงปลาหลายชนิดในบ่อเดียว ได้แก่ คัดเลือกปลาที่กินอาหารแตกต่างกัน และไม่เป็นอันตรายซึ่งกันและกัน เช่น ปลากินพืช (เฉา ตะเพียนขาว) ปลากินแพลงก์ตอนพืช (ลิ่น) กินแพลงค์

ตอนสัตว์ (ซ่ง) ปลากินซากพืช (ยี่สกเทศ นวลจันทร์เทศ) กินตัวอ่อนของแมลงตามก้นบ่อ (ไน) และปลาที่กินอาหารไม่เลือก (นิล สวาย) นอกจากนี้ ยังอาจพิจารณาในด้านแหล่งที่อยู่อาศัยในด้านนิเวศน์วิทยาด้วย เช่น ปลาเฉาเป็นปลาที่อาศัยหากินบริเวณผิวน้ำ ปลาลิ่นจากระดับน้ำที่ลึกถัดลงมา ปลาซ่งระดับลึกถัดจากปลาลิ่น ปลายี่สกเทศ นวลจันทร์เทศ กินซากพืชตามก้นบ้อ ปลาไนกินตัวอ่อนของแมลงในน้ำตามก้นบ่อ เป็นต้น ดังนั้น การเลี้ยงปลาแบบรวมจึงอาจกระทำได้หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

(1) การเลี้ยงปลาจีน (เฉา ลิ่น ซ่ง ไน) ปล่อยปลา 4 ตารางเมตรต่อ 1 ตัว มีอัตราส่วน 7 : 2 : 2 :1 ในกรณีที่มีหญ้าสดมาก และถ้ามีหญ้าน้อยใช้อัตราส่วน 2 :1:1:1 การเลี้ยงปลาแบบรวมนี้เป็นแบบดั้งเดิมของชาวจีนซ่งให้หญ้าเป็นอาหารและใส่ปุ๋ยเป็นหลัก ผลผลิตของการเลี้ยงปลาจีนด้วยวิธีดังกล่าวจะได้ผลผลิตไม่สูง นอกจากจะให้อาหารผสมจำพวกแป้ง เช่น มันสำปะหลังหรือปลายข้าวต้มสุกคลุกรำ ปลาป่น หรือเศษอาหารเหลือจากโรงงาน เช่น กากถั่วเหลืองจากโรงงานทำเต้าหู้ แต่ก็จะต้องระมัดระวังเปลี่ยนและถ่ายเทน้ำในบ่อ เนื่องจากปลาเหล่านี้ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิตสูงกว่า

3 ppm. นอกจากนี้ยังมีข้อเสียของการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในเชิงการค้าอีก ได้แก่ ปัญหาด้านตลาด และการเลี้ยงต้องใช้บ่อใหญ่ซึ่งต้องลงทุนสูง ข้อดีคือ ปลาเหล่านี้เหมาะสมที่จะปล่อยในแหล่งน้ำต่างๆ เช่น บ่อเลี้ยงประจำหมู่บ้าน ทำนบปลา อ่างเก็บน้ำ เพื่อช่วยกำจัดวัชพืช และใช้ประโยชน์จากอาหารธรรมชาติที่มีอยู่เป็นผลผลิตปลา ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนอาหารโปรตีนให้แก่ประชาชนในภูมิภาคนี้

(2) การเลี้ยงรวมโดยพิจารณาชนิดปลาที่ตลาดต้องการ และปรับปรุงผลผลิตให้สูงขึ้นด้วยวิธีการเลี้ยงแบบพัฒนาโดยให้อาหารสมทบ ได้แก่ การเลี้ยงปลานิล สวาย และตะเพียนขาวเป็นหลัก แล้วปล่อยปลาเฉา ลิ่น ซ่ง ไน ยี่สกเทศ นวลจันทร์เทศ เลี้ยงรวมด้วยเพื่อใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือที่มีอยู่ในปอ

ผลผลิตของปลาที่เลี้ยงด้วยวิธีนี้ จะได้มากถึง 2,000 กก./ไร่/ปี และไม่มีปัญหา ในด้านตลาด เพราะปลาที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นปลาที่ประชาชนนิยมบริโภค

(3) การเลี้ยงปลาไม่กินเนื้อที่มีลูกดก เช่น ปลานิล แล้วใช้ปลาช่อนหรือปลาบู่ซึ่งเป็นปลากินเนื้อคอยกินลูกปลาที่มีมากเกินความต้องการ การเลี้ยงปลาด้วยวิธีนี้เป็นการปรับปรุงคุณภาพของปลา คือ ถ้าเลี้ยงปลานิลอย่างเดียว ปลานิลจะเพิ่มทวีจำนวนมากขึ้นและมีความหนาแน่นสูง และปลาส่วนใหญ่จะไม่โตหรือแคระแกรน จึงจำเป็นต้องปล่อยปลาช่อนหรือปลาบู่ขนาดเล็กลงเลี้ยง ภายหลังที่ปล่อยปลานิลลงเลี้ยงประมาณ 2 เดือน เพื่อควบคุมประชากรของปลานิลที่เลี้ยงให้อยู่ในลักษณะสมดุล

ผลผลิตของปลาที่เลี้ยงด้วยวิธีนี้จะได้สูง และปลานิลโตได้ขนาดที่ตลาดต้องการและนอกจากนี้ยังได้ปลาช่อนหรือปลาบู่เป็นผลพลอยได้ที่มีราคาสูงอีกจำนวนหนึ่งด้วย

(4) การเลี้ยงปลาไม่กินเนื้อ เช่น ปลาสวาย ตะเพียนขาว จีน ยี่สกเทศ นวลจันทร์ทะเล ซึ่งปลาเหล่านี้จะไม่บริโภคสัตว์น้ำขนาดเล็กที่มีอยู่ในบ่อ เช่น กุ้งฝอย ปลาซิว ปลาขนาดเล็กออื่นๆ ที่ไม่ได้เลี้ยง แต่ติดเข้ามาจากการชักน้ำหรือสูบน้ำเข้าบ่อ ดังนั้น จึงควรปล่อยปลาช่อนหรือปลาบู่ขนาดเล็กเพื่อกินหรือกำจัดสัตว์น้ำดังกล่าวซึ่งจะทำให้ผลผลิตของปลาที่เลี้ยงเพิ่มขึ้น

(5) การเลี้ยงปลาชนิดเดียวกันแต่มีกลุ่มอายุหรือขนาดต่างกัน (mixed culture) เช่น การเลี้ยงปลานิลซึ่งมีขนาดแตกต่างกัน 3-4 กลุ่มในบ่อเดียว ปลาเหล่านี้แต่ละกลุ่มจะกินอาหารที่มีขนาดและชนิดแตกต่างกันไปบ้างตามสมควร ซึ่งลดภาวะการแก่งแย่งอาหารที่มี และผลผลิตของปลาจะเพิ่มมากขึ้นถ้าได้ใช้ข่ายคัดเลือกจับปลาที่มีขนาดใหญ่ออกทุกสัปดาห์เป็นประจำ ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า ปลาใหญ่กินอาหารมากและมีอัตราการแลกเนื้อที่เลวกว่าขนาดเล็ก และเมื่อจับปลาที่มีขนาดใหญ่ออกจะลดความหนาแน่นลง กลุ่มปลาขนาดเล็กก็จะได้มีโอกาสโตขึ้นมาแทนที่ได้

ตามที่ได้ยกตัวอย่างการเลี้ยงปลาแบบรวมหลายวิธีดังกล่าวข้างต้น เพื่อความกระจ่าง และสะดวกที่จะนำไปประยุกต์ใช้ จึงได้จัดทำตารางสรุปเพื่อพิจารณาปล่อยปลาลงเลี้ยงแบบรวม ดังนี้

ตารางที่ 24 แสดงอัตราส่วนและจำนวนการปล่อยปลาแบบรวม หลายแบบที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

ที่มา: ข้อมูลปรับปรุงจากหลักสูตรการเลี้ยงสัตว์น้ำจืดขั้นพื้นฐาน (2530) กรมประมง

อาหารและการให้อาหาร

ชนิดของปลาที่เลี้ยงแบบรวมที่ได้เสนอในเอกสารนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่กินอาหารไม่เลือก กินพืช และมีปลาที่กินแพลงก์ตอนรวมอยู่ด้วยเป็นอัตราส่วนน้อยสำหรับประเภทปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน และปลาบู่ก็เป็นปลาที่เลี้ยงเสริมเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมประชากรของปลาที่มีลูกดก หรือเพื่อใช้กำจัดสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ ที่ไม่ต้องการ ดังนั้น การจัดอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาจึงง่ายและสะดวก

อีกทั้งราคาถูก เช่น มันสำปะหลัง รำ ปลายข้าว แหนเป็ด สาหร่าย เศษผัก และปุยคอก เป็นต้น ซึ่งเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและทรัพยากรในด้านอาหารปลาของภูมิภาคนี้ อนึ่ง ในการเลี้ยงปลาแบบรวมนี้จะต้องหมั่นสังเกตเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่ให้ว่าเพียงพอหรือไม่เพียงใด และถ้าสีของน้ำเป็นสีเขียวจัดอันเนื่องมาจากแพลงก์ตอนพืช ก็ควรพิจารณาปล่อยปลาที่กินแพลงก์ตอนเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากอาหารธรรมชาติ ดังกล่าว ความหนาแน่นของปลาก็อาจเป็นปัญหาที่ปลาเลี้ยงไม่โต จะสังเกตได้จากปลาลอยหัวในตอนเช้า หรือมีฝูงปลานิลขนาดเล็กขึ้นมาออที่ผิวน้ำจำนวนมาก จะต้องแก้ไขคือ

1. จับปลาขนาดใหญ่จำหน่ายเป็นครั้งคราว

2. เปลี่ยนหรือถ่ายเทน้ำใหม่

3. พิจารณาเพิ่มปริมาณลูกปลากินเนื้อในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อควบคุมประชากรของปลานิลให้อยู่ในลักษณะสมดุล

สำหรับเวลาที่ให้อาหารก็เป็นเวลาประมาณ 10.00 น. เพราะคุณภาพของน้ำในบ่อ จะมีปริมาณออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นจากการสังเคราะห์แสงของพืชในน้ำ ปลาจะกินอาหารดี และในช่วงบ่าย ก็ควรเป็นเวลาประมาณ 15.00 น. สำหรับปริมาณอาหารที่ให้ประมาณ 3% ของน้ำหนักปลาทั้งหมด เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบและปรับปริมาณอาหารที่ให้ประจำวัน ควรให้อาหารปลาเป็นที่ และนำอาหารใส่กระบะไว้ใต้น้ำ 30-50 ซม. ถ้าเป็นบ่อขนาดใหญ่ก็ควรจัดที่ให้อาหารปลาไว้สัก 2-3 แห่ง

การจัดการ

ต้องคอยสังเกตดูแลในเรื่องอาหารปลา โดยเฉพาะปลาที่เลี้ยงเป็นหลัก จะต้องกะปริมาณที่ให้อย่างเหมาะสมเมื่อปลาที่เลี้ยงโตขึ้นตามลำดับ และมิให้เศษอาหารเหลือ ซึ่งจะเป็นสาเหตุของน้ำเสียและเชื้อโรค สำหรับปลาจำพวกปลาจีน นวลจันทร์เทศ ยี่สกเทศ ตะเพียนขาว เมื่อจับปลาโตออก จำหน่ายก็ควรพิจารณาปล่อยเพิ่มได้อีกตามความเหมาะสม เมื่อการเลี้ยงครบรอบ 1 ปี ควรวิดบ่อจับปลาทั้งหมด และทำการปรับปรุงบ่อเพื่อเลี้ยงปลารุ่นต่อไป

ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบรวม

(1) การใช้ประโยชน์จากอาหารที่มีในปอปลาอย่างเต็มที่ เพราะมีปลาหลายชนิดเลี้ยงรวมกัน และกินอาหารที่แตกต่างกัน

(2) สะดวกในการจัดหาอาหารซึ่งวัสดุที่มีในท้องถิ่นและราคาถูก บางอย่างไม่ต้องซื้อจึงเป็นการประหยัดในด้านค่าอาหาร นอกจากนี้เศษเหลือของอาหารที่ให้แก่ปลาชนิดหนึ่ง รวมทั้งสิ่งขับถ่ายจากปลาชนิดต่างๆ มีธาตุอาหารซึ่งจะเป็นประโยชน์ในแง่ของปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนและสัตว์ ซึ่งปลาสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้อีก

(3) สามารถทยอยจับปลาใหญ่ออกจำหน่ายได้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด จึงทำให้ได้ราคาดี และเกิดรายได้อย่างต่อเนื่องในช่วงของการเลี้ยง ซึ่งเพียงพอในการซื้ออาหารปลาหรือ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการดำเนินงาน โดยไม่ต้องเสียค่าดอกเบี้ยจากการกู้เงินมาลงทุน