การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน (Integrated fish farming)

ปัจจุบันผู้ประกอบอาชีพการเกษตรกรรมทางด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะแต่เพียงด้านเดียว เช่น การทำนา ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์ก็ดี ต้องประสบปัญหาในด้านค่าใช้จ่ายในการลงทุน เช่น ค่าที่ดิน ค่าแรงงาน ตลอดจนปัจจัยในการผลิตต่างๆ มีราคาสูงมากขึ้น นอกจากนี้การจำหน่ายผลิตผลต่างๆ ก็ต้องแข่งขันกันในด้านตลาด ราคาที่จำหน่ายได้จึงไม่สูงพอ ดังนั้น การยึดถืออาชีพหลักเพียงด้านเดียวอย่างแต่ก่อนไม่สามารถจะดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยดี จึงควรที่จะส่งเสส่งเสริมแนะนำให้เกษตรกรประกอบอาชีพเสริมเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ได้แก่ การเลี้ยงปลา ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่อยู่แล้ว เช่น นาข้าว บ่อดินซึ่งขุดดิน ไปถมที่สร้างคอกสุกร เล้าเป็ด-ไก่ คู หรือร่องสวนผลไม้ หรืออาจจะขุดหรือสร้างขึ้นใหม่ก็ได้ การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชมีข้อดีหลายประการ ดังนี้

(1) เป็นการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือหรือของเสียจากพืชและสัตว์เลี้ยงอย่างเต็มที่ เช่น มูลสัตว์ นํ้าล้างคอกสัตว์ เศษอาหารที่ตกหล่นจากสัตว์เลี้ยง เศษผักหญ้าต่างๆ สามารถนำกลับเอามาใช้เป็นอาหารปลาและเป็นปุ๋ยสำหรับเติมบ่อปลาแทนที่จะถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากส่วนที่เป็นอาหารปลาโดยตรงแล้ว ส่วนที่เหลือยังเป็นไปในรูปของปุ๋ยอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารธรรมชาติของปลาต่อไปนั้นเอง และในขณะที่น้ำในบ่อปลามีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแพลงก์ตอนพืชสีเขียว ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาภาวะการขาดแคลนออกชิเจนในช่วงเวลากลางคืน เพราะพืชหายใจด้วยคาร์บอนไดออกไซด์และใช้ออกซิเจนในน้ำเช่นเดียวกับปลา จึงจำเป็นต้องถ่ายเทน้ำในบ่อทิ้ง และเติมน้ำใหม่ทดแทน ดังนั้น แทนที่จะถ่ายทิ้งลงในแม่นํ้าลำคลอง ก็นำไปใช้ประโยชน์ต่อพืชได้ เช่น ถ่ายลงสู่พื้นที่นาปลูกข้าว เป็นการใส่ปุ๋ยโดยไม่ต้องลงทุน หรือนำไปใช้ในการรดพืชผักไม้ผลต่างๆ ตลอดจนถ่ายลงในบ่อเลี้ยงปลาที่กินแพลงก์ตอน เช่น ปลานิล ซ่ง นวลจันทร์เทศ เพราะน้ำที่ถ่ายออกมานั้นมีธาตุอาหารและแพลงก์ตอนพืชอุดมสมบูรณ์ โคลนเลนก้นบ่อเลี้ยงปลาที่จำเป็นต้องลอกขึ้นมาก็อุดมไปด้วยธาตุอาหาร สามารถนำไปใช้ประโยชน์โดยเป็นปุ๋ยต่อพืชผักต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้พืชผักเจริญเติบโตดี และออกดอกผล และยังเป็นการอนุรักษ์ดินด้วย นอกจากนี้แล้ว การนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง นับได้ว่าเป็นการช่วยกำจัดของเสียอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ สภาพแวดล้อมโดยส่วนรวมดีขึ้น ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น อาหารปลา อาหารสัตว์เลื้ยง และค่าปุ๋ยลงได้เป็นจำนวนมาก

(2) เป็นการเพิ่มผลผลิตในการเกษตรหลายอย่าง และเป็นการเพิ่มพูนรายได้โดยวิธีประหยัดผลผลิตจากการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานนี้ จะเพิ่มมากขึ้น เพราะมีการทำกิจกรรมหลายๆ อย่าง

ร่วมกัน อย่างน้อยที่สุดก็สามารถใช้บริโภคในครอบครัว นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนปุ๋ยและอาหารโปรตีนได้เป็นอย่างดี ผลผลิตบางอย่างใช้เวลาสั้นก็สามารถจะได้ทุนคืน ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานต่อไป ซึ่งเป็นการประหยัดค่าดอกเบี้ยเงินกู้ และเป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่

(3) เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นดินโดยรอบบ่อเลี้ยงปลา โดยปลูกพืชผักต่างๆ ได้แก่ พืชพักสวนครัว ไม้ผล กล้วย แค อ้อย มันสำปะหลัง ไผ่ และอื่นๆ หรือใช้พื้นที่บนบ่อหรือคันดินสร้างคอกสุกร ไก่ เป็ด ห่าน วัว ควาย ก็ได้โดยไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่าประโยชน์ส่วนบริเวณพื้นน้ำภายในบ่อเลี้ยงปลายังสามารถที่จะปลูกพืชที่มีคุณค่าในทางเศรษฐกิจได้อีก เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด เป็นต้น

(4) เป็นการลดอัตราการเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ดีกว่าทำการเลี้ยงปลาเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชเพียงอย่างเดียวเพราะการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานนี้ช่วยลดต้นทุนได้ เนื่องจากการทำกิจกรรมหลายอย่างดังกล่าวเป็นการประสานประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยไม่มีวัสดุหรือเศษเหลือที่ต้องทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ (ดูรูปที่31และ32 ประกอบ)

ลักษณะและส่วนประกอบทางเคมีของมูลสัตว์ชนิดต่างๆ

มูลสัตว์แต่ละชนิดนั้นก็มีลักษณะและส่วนประกอบทางเคมีแตกต่างกันไป ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ กล่าวคือ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม นอกจากนี้ก็ยังมีพวกแร่ธาตุอื่นๆ อีก เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ทองแดง สังกะสี และเหล็ก เป็นต้น ส่วนปริมาณที่ขับถ่ายออกมาของมูลสัตว์แต่ละวันและคุณสมบัติของการย่อยสลายก็ขึ้นกับชนิดของสัตว์ ขนาด และอายุ รวมทั้งอาหารและน้ำที่ให้ในแต่ละวัน ตลอดจนสภาวะแวดล้อมอีกด้วย (ตารางที่ 25)

มูลสุกร เนื่องจากสุกรเป็นสัตว์ที่สามารถกินอาหารได้หลายชนิด ดังนั้น คุณภาพของมูลสุกรจึงขึ้นอยู่กับอาหารที่สุกรกินเข้าไป โดยทั่วไปแล้วมูลสุกรจะมีธาตุ C : N = 14 : 1 ซึ่งง่ายต่อการย่อยสลายเหมาะแก่การจะนำไปใช้ประโยชน์ เช่น แก๊สชีวภาพ ปุ๋ย และเป็นอาหารของปลาในแต่ละวัน สุกรน้ำหนัก 54.6-72.5 กก. จะให้ปริมาณของเสียที่ขับถ่ายออกมาประมาณ 6.76 กก. (ตารางที่ 26) มูลสุกรนั้นมีความชื้นมาก ปล่อยความร้อนน้อยขณะที่ทำการหมัก

มูลวัว ก็คล้ายกับมูลสุกร มีธาตุ C : N = 25 : 1 ง่ายต่อการนำไปทำแก๊สชีวภาพ เพราะเป็นสัตว์ที่ชอบกินหญ้า มีพวกเส้นใย (fiber) อยู่มาก จึงทำให้มีธาตุคาร์บอนมาก วัวเป็นสัตว์ที่เคี้ยวเอื้องและดื่มน้ำมาก ดังนั้น มูลวัวจึงมีความชื้นมาก แต่สลายตัวช้าและให้ความร้อนน้อยขณะที่ทำการหมัก (fermentation) ในแต่ละปีวัวหนึ่งตัวจะให้มูลประมาณ 9,000 กก.

มูลม้า ต่างจากมูลวัว คือจะมีจำนวนอินทรียวัตถุ ไนโตรเจน และเซลลูโลสสูงกว่ามูลวัว และนอกจากนี้มูลม้ายังปล่อยความร้อนเป็นจำนวนมากขณะที่เกิดการหมัก

มูลแกะ แกะเป็นสัตว์ที่กินน้ำน้อย ความชื้นของมูลต่ำ ความเร็วในการหมักและสลายตัวจึงไม่เร็วเท่ากับมูลม้า แต่เร็วกว่ามูลสุกรและมูลวัว เวลาหมักก็ให้ความร้อนเหมือนกันเช่นเดียวกับมูลม้า

มูลของพวกสัตว์ปีก ได้แก่ พวกเป็ด ไก่ และห่าน พวกนี้จะมีส่วนประกอบของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมสูง จึงเป็นปุ๋ยที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างสูง

มูลคน จะมีส่วนประกอบของธาตุไนโตรเจนสูงกว่ามูลสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น ในการหมักและการสลายตัวจึงรวดเร็วกว่ามูลสัตว์ ส่วนประกอบของมูลคนและปัสสาวะก็ขึ้นอยู่กับการกินอาหารของคนแต่ละคน มูลของคนย่อยสลายได้ง่าย แพลงก์ตอนชอบเนื่องจากดูดซึมเอาไปใช้ได้ง่ายกว่า ส่วนประกอบของมูลคนและปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมาแต่ละปีนั้นประมาณ 790 กก./ปี ตามชนบทของจีนนั้นมีการรวบรวมเอามูลคนมาใส่บ่อปลา แต่อาจมีพวกโรคพยาธิติดมาด้วย ต้องนำมาฆ่าเชื้อด้วยปูนขาว 1% คือใช้มูลคน 100 กก.ใส่ปูนขาว 1 กก. แล้วจึงนำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป

รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของมูลสัตว์ในแต่ละชนิด นับว่ามีความสำคัญมากต่อการนำมูลสัตว์ไปใช้ประโยชน์ แม้กระทั่งการรวบรวมเก็บ ตลอดจนอัตราที่จะนำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป

ปริมาณของอาหารสมทบบางชนิดและมูลสัตว์ต่ออัตราส่วนการแลกเนื้อ (F/C) (เมฆ บุญพราหมณ์ 2522)

ชนิดของอาหารหรือมูลสัตว์ สัตว์น้ำ อัตราส่วนการแลกเนื้อ
หญ้าสด เฉา 48:1
ข้าวเปลือกหมัก นิล 4.5-9:1
รำข้าวละเอียด ลูกปลาชนิดต่างๆ 4-6:1
หัวมันสำปะหลัง ปลากินพืช 79:1
ข้าวโพด ปลากินพืช 3:1
กากมะพร้าว กากถั่ว กากเมล็ดปาล์ม ปลากินพืช 2.5-5:1
ปลาเป็ดสด ปลากินเนื้อ 6-8:1
ปลาป่น(คุณภาพดี) ปลากินเนื้อ 1.5-3:1
มูลสุกร ปลาไน 20-30:1
มูลเป็ด ปลาไนที่กินอาหารไม่เลือก 16-25:1

หัวมันสำปะหลังซึ่งเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาได้ และมีปริมาณมากในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่มีข้อเสียก็คือมีอัตราการแลกเนื้อที่ต่ำ ดังนั้น จึงควรใช้ผสมกับอาหารประเภทอื่น เช่น รำและ ปลาป่น โดยต้มให้สุกแล้วคลุกผสมให้เข้ากัน จะทำให้อาหารผสมเหนียว สามารถป้องกันการสูญเสียของอาหารที่ละลายน้ำได้ดี อีกทั้งเป็นการเพิ่มพูนคุณภาพของอาหารปลาอีกด้วย

ส่วนใบมันสำปะหลังมีวิตามิน A, B, C, และ lactoflavin ใช้เลี้ยงปลานิล โดยให้ 15% ของน้ำหนักตัว จะได้ผลผลิต 240-380 กก./ไร่

เนื่องจากประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยทั่วไป ประกอบอาชีพในทางเกษตรและอยู่ในฐานะที่ยากจนเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ ของประเทศไทย การที่จะส่งเสริมให้ราษฎรมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นทั้งในด้านเพิ่มพูนรายได้ต่อครอบครัว หรือปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น อาจทำได้โดยการเสริมอาชีพการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานร่วมกับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพราะมีพื้นที่เหมาะสมในเขตชลประทาน หรือในเขตเกษตรน้ำฝนเอื้ออำนวยอยู่เป็นจำนวนมาก และราษฎรส่วนใหญ่ก็ทำการเกษตร เช่น การทำนา และเลี้ยงสัตว์ที่ใช้งาน เช่น วัว ควาย หรือเป็ด ไก่ กันอยู่แล้วแทบทุกครัวเรือน ดังนั้น การดำเนินการก็เพียงเสนอแนะในด้านเทคโนโลยีด้วยวิธีการส่งเสริมหรือฝึกอบรมให้เกษตรกรเข้าใจ และแนะนำทรัพยากรที่มีอยู่ หรือจัดหาเงินมาลงทุนเพิ่มเติม ก็สามารถจะทำได้ตามรายละเอียดดังนี้

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานแบ่งออกเป็น

การเลี้ยงปลาผสมผสานกับการปลูกพืช

1. การปลูกข้าวและเลี้ยงปลาในนาระหว่างปลูกข้าว หรือใช้น้ำในบ่อเลี้ยงปลาเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นข้าว การเลี้ยงปลาในนาร่วมกับการปลูกข้าวสำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ในเขต ชลประทานที่เหมาะสมจำนวนมากยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการนี้อย่างเต็มที่ และในพื้นที่ดังกล่าวนี้ควรจะได้เสริมให้เกษตรกรบางรายที่สนใจประกอบอาชีพการผลิตลูกปลาจำหน่ายให้มากรายขึ้น ส่วนครอบครัวที่เลี้ยงปลาในนาก็ควรส่งเสริมให้สามารถผลิตลูกปลาขึ้นมาโดยไม่ต้องซื้อหาจากที่อื่น

2. การทำสวนผลไม้ปลูกพืชผัก ซึ่งมีร่องและคูจำนวนมาก สามารถปล่อยปลาลงเลี้ยงได้โดยใช้เศษวัสดุจากพืชผักต่างๆ เป็นอาหารปลา ซึ่งจะได้รับผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง

3. การปลูกพืชไร่ต่างๆ เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว มันสำปะหลัง ซึ่งมักจะขุดบ่อไว้ เพื่อเก็บกักน้ำสำหรับใช้รดพืชดังกล่าวในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง บ่อดังกล่าวนี้สามารถจะใช้เลี้ยงปลาได้โดยใช้วัสดุจากไร่ เช่น ใบมันสำปะหลัง เศษมัน ข้าวโพด เป็นอาหารปลา และน้ำในบ่อที่เลี้ยงปลาซึ่งอุดมไปด้วยธาตุอาหารที่ย่อยสลายแล้ว เมื่อนำไปรดพืชก็จะเจริญงอกงามดีกว่าน้ำจากบ่อที่ไม่ได้เลี้ยงปลา

การเลี้ยงปลาผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ

1. การเลี้ยงปลาร่วมกับการี้เป็ด เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกันในจีนและยุโรปนับเป็นศตวรรษแล้ว การเลี้ยงปลาควบคู่กับการเลี้ยงเป็ดเป็นการเพิ่มผลผลิตอาหารโปรตีนจากสัตว์ในพื้นที่หน่วยเดียวกัน เป็ดหากินในบริเวณที่ตื้นซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำประเภทอื่น เช่น กบ เขียด แมลง หอย และพืชน้ำบางชนิดซึ่งปลาไม่กิน และพืชดังกล่าวยังแย่งธาตุอาหารอันมีประโยชน์ต่อการผลิตอาหารธรรมชาติ ที่ปลามีความต้องการใช้บริโภค

ตามปกติเป็ดจะกินปลาเหมือนกันแต่จะกินปลาขนาดเล็ก ดังนั้น ในบ่อเพาะ บ่ออนุบาล ซึ่งมีปลาขนาดเล็กไม่ควรปล่อยเป็ดลงเลี้ยง ลูกปลาที่แข็งแรงขนาด 5-10 ซม. สามารถหลบหลีก จากการถูกเป็ดกินได้

ผลประโยชน์ที่สำคัญ ซึ่งได้จากการเลี้ยงเป็ดควบคู่กับการเลี้ยงปลาก็คือ มูลเป็ดที่เป็นปุ๋ยซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตทางชีววิทยา และช่วยเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับปลา หรือเป็นอาหารแก่ปลาโดยตรง ผลผลิตของปลาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ผลผลิตพื้นฐานของบ่อ อัตราการปล่อย นิสัยในการกินอาหารของปลา และหรือการเลี้ยงที่ให้อาหารสมทบที่มีคุณภาพแตกต่างกันไป กล่าวโดยสรุปแล้วการเลี้ยงปลาควบคู่กับการเลี้ยงเป็ดให้ประโยชน์หลายทางด้วยกัน คือ

-เป็ดจะถ่ายมูลในบ่อ ทำให้เกิดเป็นปุ๋ยในน้ำและในดินก้นบ่อ ก่อให้เกิดแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ ตลอดจนสัตว์หน้าดิน เช่น หนอน ตัวอ่อนของแมลง ลูกหอย เป็นต้น

-เป็ดหากินในที่ตื้นชายตลิ่ง จะช่วยกำจัดวัชพืชในบ่อ

-การขุดคุ้ยหรือการไซ้อาหารของเป็ด จะช่วยให้ธาตุอาหารในดินฟุ้งกระจาย และละลายน้ำ เป็นประโยชน์ในด้านการผลิตอาหารธรรมชาติ

-อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็ดบางส่วน เมื่อตกหล่นลงไปในน้ำปลาจะกินเป็นอาหาร หรือมีเศษเหลือบางส่วนจะกลายเป็นปุ๋ย

-เป็ดจะช่วยกำจัดหอยซึ่งเป็นพาหะของโรคพยาธิ เช่น หอยคัน ซึ่งเป็นปัญหาในด้านสาธารณสุขของประชาชนในภูมิภาคนี้

-ในกรณเลี้ยงเป็ดร่วมกับปลานิล เป็ดจะคอยควบคุมประชากรของปลานิลให้อยู่ในลักษณะสมดุล ทำให้ปลาที่เลี้ยงตัวโตได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ

อัตราส่วนจำนวนเป็ดที่เลี้ยงกับขนาดของบ่อปลา

ได้มีการคำนวณไว้โดยประมาณว่า จำนวนเป็ด 240 ตัว จะมีมูลเพียงพอที่จะใช้ในบ่อขนาด 1 ไร่ (Peter Edwards และคณะ 1983) หรือเป็ด 30 ตัวต่อเนื้อที่บ่อ 200 ตารางเมตร ซึ่งเป็นบ่อขนาดที่เหมาะสม สำหรับครอบครัวของเกษตรกรระดับพื้นบ้านที่จะพิจารณาเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ดในภูมิภาคนี้โดยทั่วไป

สำหรับพันธุ์เป็ดที่ควรจะใช้เลี้ยงนั้น ควรเป็นเป็ดพันธุ์ไข่ ซึ่งดีกว่าเป็ดพันธุ์เนื้อด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ

1. เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้รับประทานอาหารโปรตีนทุกวันจากไข่เป็ด

2. ไข่เป็ดที่เหลือจากการบริโภคสามารถนำไปจำหน่ายได้ง่ายกว่าจำหน่ายเป็ดทั้งตัว

3. ถ้าเลี้ยงเป็ดไข่จะใช้เวลาประมาณ 18 เดือน จึงจะซื้อลูกเป็ดมาเลี้ยงใหม่ ส่วนการเลี้ยงเป็ดเนื้อจะใช้เวลาเพียง 2-3 เดือนเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีความยุ่งยากพอสมควร ส่วนเป็ดพันธุ์ไข่นั้นมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์กากี แคมเบล อินเดีย รันเนล เป็ดพันธุ์ลูกผสมจากปากน้ำหรือนครปฐม สำหรับพันธุ์ที่ดีที่สุดคือพันธุ์กากีและแคมเบลซึ่งไข่ได้จำนวนมากกว่าพันธุ์อื่นๆ

การสร้างเล้าเป็ดและรั้ว

เนื่องจากมูลเป็ดเป็นปัจจัยที่สำคัญในด้านอาหารและปุ๋ยของปลาที่เลี้ยงร่วมกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างเล้าและรั้วเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย และเป็นที่รวบรวมไข่และมูลสำหรับปลาที่เลี้ยง โดยป้องกันมิให้เป็ดหีออกไปหากินและถ่ายมูลในที่อื่น ขนาดของเล้าเป็ดหรือจำนวนเป็ดที่จะเลี้ยง ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับขนาดของบ่อปลาที่ได้กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น

ส่วนการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ดพันธุ์ไข่ในเชิงการค้านั้น ควรดำเนินการในเขตชลประทานเพราะน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญทั้งในด้านการเลี้ยงปลาและเลี้ยงเป็ดตามที่ได้สังเกตพบว่า ได้มีการเลี้ยงเป็ดพันธุ์ไข่จำนวนตั้งแต่ 500-6,000 ตัวผสมผสานกับการเลี้ยงปลานิลกันอยู่บ้างแล้ว ในพื้นที่ของฟาร์มประมาณ 5-15 ไร่ โดยขุดคันดินทำเป็นคันบ่อโดยรอบพื้นที่ฟาร์มแบบการเลี้ยงปลาในนาข้าว ซึ่งสามารถเก็บกักนํ้าได้ในพื้นนาเดิม 50-60 ซม. และบนคันดินใช้อวนไนลอนตาถี่สูงประมาณ 1 เมตร ล้อมกั้นเป็นรั้วมิให้เป็ดที่เลี้ยงหนีออกไปหากินที่อื่น พื้นที่ด้านใดด้านหนึ่งภายในคันบ่อยกเป็นโคกเพื่อสร้างเป็นเล้าเป็ด โดยนำดินที่ขุดขึ้นมาจากการทำบ่อเลี้ยงปลา บ่อดังกล่าวนี้ไม่มีคันบ่อ กว้างประมาณ ½-1 ไร่ ลึก 1-1.50 เมตร และเมื่อนำดินไปถมเป็นโคกก็จะได้พื้นที่และความสูงเท่ากับดินที่ขุดจากบ่อเลี้ยงปลา พื้นที่บนโคกจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นโรงเรือนสำหรับเป็ดอาศัยพักนอนและวางไข่ในเวลากลางคืน อีกส่วนหนึ่งเป็นลานสำหรับเป็นที่ให้อาหารเป็ดหรือเป็นที่พักผ่อนของเป็ดในเวลากลางวัน และมีพื้นที่ลาดต่ำลงสู่พื้นนาซึ่งเป็ดสามารถจะเดินลงไปได้โดยสะดวกเพื่อเล่นน้ำหรือหาอาหารธรรมชาติในบริเวณพื้นที่ตื้นๆ จากการเก็บกักน้ำไว้โดยยกคันดินโดยรอบ

ปลาที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะอยู่ในบ่อที่ขุดไว้ซึ่งอยู่ติดกับโคกที่สร้างเล้าเป็ด และในบริเวณพื้นที่ตื้นทั่วไปซึ่งมีพื้นที่ตั้งแต่ 3-10 ไร่ ขึ้นอยู่กับขนาดของฟาร์ม

การเลี้ยงปลาร่วมกับเป็ดแบบนี้ จะต้องเก็บกวาดมูลเป็ดจากเล้าในตอนสายหลังจากเก็บไข่แล้วทุกวัน สาดลงไปในน้ำบริเวณชายตลิ่งของโคกซึ่งปลาจะเข้ามากิน และบางส่วนก็จะละลายน้ำเป็นปุ๋ยแก่อาหารธรรมชาดิ และเป็นอาหารของปลาอีกทอดหนึ่ง

โดยทั่วไปขนาดของเล้าเป็ดหรือจำนวนเป็ดที่จะเลี้ยง ควรพิจารณาให้มีความสัมพันธ์กับขนาดพ่อปลารวมทั้งพื้นที่น้ำตื้นสำหรับเป็ดใช้เป็นที่หาอาหารตามธรรมชาติ และพื้นที่น้ำตื้นดังกล่าวนี้อาจจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยของลูกปลาขนาดเล็กที่เลี้ยงรวมกับเป็ดได้ด้วย เล้าเป็ดที่จะสร้างมี 3 แบบ คือ

-สร้างคร่อมบ่อปลา จะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของบ่อปลาก็ได้ เล้าเป็ดจะสร้างด้วยไม้จริง หรือไม้ไผ่ก็ได้ มีหลังคาคลุม และพื้นเล้าเป็ดควรมีร่องเล็กๆ เพื่อให้มูลของเป็ดและเศษอาหารร่วงหล่นตกลงไปในบ่อปลาได้ ส่วนรั้วควรทำด้วยไม้ไผ่หรืออวนไนลอน เพื่อป้องกันมิให้เป็ดหนีออกจากคอก

-สร้างบริเวณขอบคันบ่อด้านใดด้านหนึ่ง ถ้าสร้างแบบถาวรควรเป็นอาคารพื้นซีเมนต์มีลักษณะลาดเทเพื่อสะดวกในการทำความสะอาดเล้าเป็ดและรวบรวมมูลเป็ดใส่ในบ่อปลา โดยมีพื้นที่ภายในบ่อส่วนหนึ่งกั้นเป็นคอกเพื่อให้เป็ดลงเล่นน้ำได้ สำหรับทางขึ้นลงของเป็ดจากเล้าลงบ่อนั้น ควรทำเป็นขั้นบันไดเพื่อให้เป็ดเดินขึ้นลงโดยสะดวก(รูปที่ 2)

-สร้างเป็นแพไม้ไผ่ และใช้เสาปักยึดไว้ให้แน่นภายในบ่อปลา และสร้างรั้วไม้ไผ่ให้มีบริเวณพอที่เป็ดจะลงไปเล่นน้ำได้

อาหารและการให้อาหาร

ลูกเป็ดที่ซื้อมาเลี้ยงจะเป็นเป็ดที่มีอายุประมาณ 1 วัน อาหารของลูกเป็ดขนาดนี้ควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพดี จนกระทั่งลูกเป็ดโตขึ้นมีอายุ 1 เดือน จึงสามารถปล่อยลงเลี้ยงในน้ำหรือในบริเวณที่ตื้นของฟาร์มได้ เมื่อเลี้ยงต่อไปอีก 4-5 เดือน เป็ดก็จะเริ่มวางไข่ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีเล้าเป็ดเพื่อให้เป็ดไข่และสะดวกต่อการรวบรวมไข่ สำหรับอาหารของเป็ดควรมีส่วนผสม ดังนี้

ปลายข้าว 50%

รำละเอียด 30%

หัวอาหาร 20%

หรือจะทำการผสมเพื่อใช้ได้นานวัน คือ ปลายข้าว 1 กระสอบ (100 กก.) รำละเอียด 1 กระสอบ (60 กก.) และหัวอาหาร 1-1/2 กระสอบ (45 กก.) เมื่อรวมแล้วจะมีน้ำหนัก 205 กก. อาหารดังกล่าว(ต้องใช้เลี้ยงเป็ด 1 ตัว/วัน ประมาณ 150 กรัม ดังนั้น ถ้าการเลี้ยงปลาร่วมกับเป็ดในบ่อ 200 ตารางเมตร ซึ่งเลี้ยงเป็ด 30 ตัว จากอาหาร 205 กก. จะกินอาหารหมดภายในเวลา 45 วัน และข้อมูลดังกล่าวนี้เป็นมาตรฐานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับฟาร์มที่เลี้ยงปลาและเป็ดรวมกันขนาดใดก็ได้ แผนภูมิการเลี้ยงปลาร่วมกับ

การเลี้ยงเป็ด (ดูรูปที่ 33 และ 34 ประกอบ)

พันธุ์ปลาที่เลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงเป็ด

พันธุ์ปลาที่เหมาะสมเลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงเป็ดนั้นควรเป็นพันธุ์ปลาที่กินอาหารไม่เลือก หรือกินแพลงก์ตอน เช่น ปลานิล นวลจันทร์เทศ และปลาซ่ง โดยใช้ปลานิลเป็นหลัก ส่วนลูกปลาควรมีขนาด 5-7 ซม. ซึ่งเป็นขนาดที่โตพอจะหลบหลีกจากถูกกินเป็นอาหารของเป็ดได้ อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ จำนวนปลานิลขนาด 5 ซม. 2,000 ตัว/ไร่ ถ้าเป็นปลาขนาด 3 ซม. ควรเพิ่มจำนวนขึ้นได้อีก 1-2 เท่าตัวต่อเป็ดไข่ที่เลี้ยง 240 ตัว

การดูแลรักษา

คอกเป็ดประเภทที่สร้างคร่อมในบ่อปลา มูลที่ถ่ายออกมาจะหล่นลงบ่อปลาโดยตรง ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดทุกวัน แต่ถ้าเป็นคอกที่สร้างบนโคกหรือบริเวณขอบบ่อปลาจะต้องทำความสะอาดทุกวัน เพื่อรวบรวมมูลเป็ดใส่ลงไปในบ่อเพื่อเป็นอาหารปลาและเป็นปุ๋ยของอาหารธรรมชาติในบ่อปลา

ส่วนคุณสมบัติของน้ำในบ่อก็จะต้องตรวจและป้องกันมิให้เกิดภาวะน้ำเสีย โดยควบคุมระดับในบ่อให้มีความลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร และบริเวณที่ตื้นประมาณ 50 ซม.

นอกจากนี้เป็ดที่เลี้ยงควรที่จะได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ตามที่สัตวแพทย์ได้กำหนดในช่วงระยะการเลี้ยงด้วย

ผลผลิตและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

จากรายงานผลการทดลองของสถาบัน Asian Institute of Technology 1983 (AIT Resears! Report No. 163) การทดลองเลี้ยงปลานิลร่วมกับการเลี้ยงเป็ดในบ่อเนื้อที่ 200 ตารางเมตร ปลอยปลานิลขนาด 3 ซม. จำนวน 800 ตัว และเลี้ยงเป็ดไข่ 30 ตัว ที่จังหวัดอุดรธานี ปรากฏว่าได้ผลดังนี้

ผลผลิตปลานิล 182 กก./200 ม.2/ปี หรือ 1,456 กก./ไร่/ปี ปลาจำหน่ายได้กิโลกรัมละ 22.5 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายในส่วนที่ลงทุนเกี่ยวกับการเลี้ยงปลา (ยกเว้นค่าขุดบ่อ) แล้ว จะมีกำไร 4,095 บาท

ผลผลิตจากเป็ดไข่ จากการจำหน่ายไข่และเป็ดแก่ ได้เงินรวม 5,437 บาท จากการลงทุนในส่วนนี้ 11,223 บาท (ไม่คิดค่าแรงงาน) ซึ่งขาดทุน 5,786 บาท

เมื่อนำรายได้จากปลามาถัวเฉลี่ยจะขาดทุนทั้งระบบการเลี้ยงเท่ากับ 1,671 บาท ดังนั้นการทดลองครั้งนํ้สรุปได้ว่า การเลี้ยงปลาร่วมกับเป็ดยังไม่เอื้ออำนวยในด้านเศรษฐกิจในขณะนั้น ซึ่งสมควรจะต้องแก้ไขปรับปรุงที่การเลี้ยงเป็ด อาทิ การใช้พันธุ์เป็ดที่ดีและมีอายุเหมาะสม และมีเทคโนโลยีในการเลี้ยง ตลอดจนอาหารและการให้อาหารเพื่อให้เป็ดไข่ได้เฉลี่ยสูงกว่า 70% ขึ้นไป หาทางลดค่าใช้จ่ายในด้านอาหาร ซึ่งจะทำได้โดยขยายคอกหรือรั้วออกไปในบริเวณพื้นที่นาที่สามารถเก็บกักน้ำได้สูง 50 ซม. ให้มากขึ้นตามความเหมาะสม พื้นที่นํ้าตื้นดังกล่าวจะเป็นแหล่งเพาะอาหารธรรมชาติของเป็ด เช่น หอย ลูกกุ้ง ลูกปลานิลที่มีจำนวนมากเกินความต้องการ แมลงและสาหร่าย วัชพืชน้ำต่างๆ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มอาหารแก่เป็ดที่เลี้ยงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และส่งผลทำให้เป็ดไข่ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังลดค่าใช้จ่ายของอาหารเป็ดที่ต้องซื้อหามาด้วย หากปฎิบัติได้ตามนี้คาดว่าการเลี้ยงปลากับเป็ดจะต้องประสพความสำเร็จอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตามรายงานเกี่ยวกับการเลี้ยงปลากับการเลี้ยงเป็ดแบบผสมผสานของสถานประมงนํ้าจืดจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2519 ก็มีผลออกมาว่ายังสามารถทำกำไรได้ นอกจากนั้นยังได้รับการยืนยันจากผู้เลี้ยงอีกหลายราย เช่น

รายแรกเป็นผู้เลี้ยงในหมู่บ้านโคกนางงาม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้เลี้ยงเป็ดกับการเลี้ยงปลาในนาข้าว ซึ่งได้รับการยืนยันว่าสามารถทำกำไรได้ดี

รายที่ 2 เป็นผู้เลี้ยงในหมู่บ้านสงเปือย ตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้ทำการเลี้ยงปลาทั้งในบ่อ ในนา ผสมผสานกับการเลี้ยงเป็ดและปลูกผักสวนครัว ก็ปรากฎว่าสามารถทำกำไรได้ดี และได้มีราษฎรรายอื่นๆ ในตำบลเดียวกันนำเอาวิธีการเลี้ยงแบบเดียวกันนี้ไปทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

รูปที่ 34 แผนภูมิแสดงการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ดโดยใช้มูลเป็ดและให้อาหารสมทบแก่ปลาที่เลี้ยงด้วย

การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่

ซึ่งมีจุดประสงค์คล้ายคลึงกับการเลี้ยงปลารวมกับการเลี้ยงเป็ดคือใช้มูลเป็นอาหารของปลาที่เลี้ยงหรือปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโตของอาหารธรรมชาติ และเป็นอาหารของปลาอีกทอดหนึ่ง สำหรับคุณภาพของมูลไก่นั้นได้มีการวิเคราะห์ในทางวิชาการแล้วว่า ดีกว่ามูลเป็ดหรือมีคุณสมบัติเท่าเทียมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์

ลักษณะบ่อปลาและเล้าไก่

บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่นั้น ใช้บ่อดินที่มีลักษณะเดียวกับบ่อเลี้ยงปลาโดยทั่วไป แต่ควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความลึกประมาณ 1.50 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้โดยเฉลี่ย 1 เมตร ในช่วงที่มีการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่

เล้าไก่ซึ่งเป็นอาคารและโรงเรือนจะต้องสร้างขึ้นคร่อมบ่อที่เลี้ยงปลา เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่เดียวกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเหมาะสมที่เมื่อไก่ที่เลี้ยงถ่ายมูลหรือเศษอาหารตกลงในบ่อเป็นประโยชน์ต่อปลาโดยตรง โดยมิต้องเสียเวลาในการทำความสะอาด เป็นการตัดภาระในด้านค่าใช้จ่ายสำหรับรูปร่างของเล้าไก่นั้นก็ควรสร้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกัน พื้นเล้าไก่สูงกว่าระดับผิวน้ำในบ่อ เฉลี่ย 1.20 เมตร

เนื่องจากไก่ที่เลี้ยงร่วมกับปลามี 2 พันธุ์ คือพันธุ์เนื้อและพันธุ์ไข่ การเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อต้องเลี้ยงแบบฝูง และเริ่มจากไก่อายุ 1 วัน รุ่นเดียวกัน ใช้อาหารสำเร็จรูป รุ่นหนึ่งจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 50 วัน ได้น้ำหนักไก่เฉลี่ยตัวละ 1.5-1.9 กก. เป็นขนาดที่ตลาดต้องการ ส่วนไก่พันธุ์ไข่จะเลี้ยงในกรงตับกรงละ 1 ตัว ใช้อาหารสำเร็จรูปเช่นเดียวกัน

อัตราส่วนจำนวนไก่และขนาดของบ่อปลา

เนื่องจากไก่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ดังได้วิเคราะห์ไว้แล้ว ตามตารางธาตุอาหารในทางเคมีเบื้องต้น ดังนั้น มูลไก่จึงเหมาะสมที่จะใช้เป็นอาหารปลาและปุ๋ยในบ่อเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน มูลไกนี้ มีผลดีต่อการเจริญเติบโตของปลาและอาหารธรรมชาติในบ่ออย่างรวดเร็วดีกว่ามูลสัตว์ชนิดอื่นๆ และถ้าจะจัดอัตราส่วนจำนวนไก่กับบ่อที่เลี้ยงปลาหรือจำนวนปลาไม่สัมพันธ์กันอย่างถูกต้องแล้ว ก็มักจะเกิดปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสีย อันเนื่องจากปริมาณมูลไก่มีมากเกินไป หรือน้ำในบ่อมีปริมาณของแพลงค์ตอนพืชมาก มีสีเขียวจัดเป็นสาเหตุทำให้ปลาลอยหัวในตอนเช้าหรือตาย เนื่องมาจากขาดออกซิเจนในตอนกลางคืน

ดังนั้น ขนาดของบ่อปลาหรือชนิดของปลาที่เลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงไก่ นอกจากจะต้องจัดให้มีความสัมพันธ์กันแล้ว จึงควรยึดหลักในการป้องกันโดยพิจารณาเลือกชนิดปลาที่มีความอดทนต่อภาวะการขาดออกซิเจนด้วย เช่น ปลานิล ปลาสวาย เป็นต้น สำหรับปลาชนิดอื่นๆ เช่น ปลาไน ยี่สกเทศ นวลจันทร์เทศ ปลาจีนชนิดต่างๆ ก็สามารถเลี้ยงรวมด้วยกันได้ แต่ต้องดูแลระมัดระวังในเรื่องคุณสมบัติของน้ำให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอ โดยวิธีสูบเปลี่ยนถ่ายเทน้ำเมื่อเกิดปัญหาขึ้น สำหรับอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาผสมผสานกับการเลี้ยงไก่ มีดังนี้

ชนิดของไก่ จำนวนตัว/บ่อ 1 ไร่ หมายเหตุ
ไก่พันธุ์เนื้อ(ไก่กระทง) 1,000 เลี้ยงตั้งแต่อายุ 1 วัน รุ่นละ 50 วัน ปีละ 5 วัน เลี้ยงในกรงตับ
ไก่พันธุ์ไข่ 200  
ชนิดของปลา ขนาด(ซม.) จำนวนตัว/ไร่  
นิล    

 

จำนวนเท่ากัน

 

 

นิล สวาย  
(นิล สวาย ตะเพียน ยี่สกเทศ นิลจันทร์เทศ จีน)  
   

 

อาหารและการให้อาหาร

ในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานกับเลี้ยงไก่นั้น โดยปกติถ้าจัดอัตราส่วนที่เลี้ยงให้เหมาะสมต่อกันแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้อาหารสมทบ เพราะปลาได้อาศัยกินมูลไก่และเศษอาหารที่ไก่กินตกหล่นไปในบ่อ และอาหารธรรมชาติอื่นๆ เช่น แพลงก์ตอนพืชและสัตว์ ตลอดจนตะไคร่นํ้า ตัวอ่อนของแมลง ฯลฯ เพียงพอ

ส่วนในระยะแรกที่ปล่อยพันธุ์ปลาลงเลี้ยงในบ่อนั้น ลูกปลายังมีขนาดเล็ก ไม่แข็งแรง และไม่คุ้นกับมูลไก่ที่ใช้เป็นอาหาร ดังนั้น จึงควรใช้รำข้าวละเอียดโยนโปรยให้ลูกปลากิน หรือใช้อาหารผสม เช่นปลายข้าวต้มผสมรำและปลาป่น ปั้นเป็นก้อนโยนให้ปลากิน หรือจะใช้อาหารที่มีราคาถูก เช่น กากถั่ว หรือเศษอาหารจากภัตตาคารก็ได้ ปริมาณอาหารสมทบที่ให้ควรลดลงตามลำดับ และงดเมื่อปลาที่เลี้ยงโตขึ้นและคุ้นกับมูลไก่ที่ใช้เป็นอาหารแล้ว

การจับปลาจำหน่าย

ในกรณีที่เลี้ยงปลานิลกับไก่นั้น จะต้องทำการคัดจับปลานิลตัวขนาดใหญ่ออกจำหน่ายเมื่อเลี้ยงมาแล้ว 4-5 เดือน เพราะปลานิลที่เลี้ยงไว้จะออกลูกและเพิ่มอัตราความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้ปลาส่วนใหญ่ไม่เจริญเติบโตหรือแคระแกรน การคัดจับปลานิลทำได้ง่าย โดยใช้ข่ายไนลอนขนาดช่องตา 6-8 ซม. ในช่วงตอนบ่าย กะเวลาให้พอเหมาะกับเวลาที่จะนำปลาไปจำหน่ายให้แก่ผู้ซื้อในตลาด การคัดจับปลานิลจะต้องปฎบัติเป็นประจำบ่อขนาดใหญ่เนื้อที่ตั้งแต่ 3-5 ไร่

ส่วนการเลี้ยงปลานิลกับปลาสวาย หรือในการเลี้ยงปลาแบบรวม เมื่อเลี้ยงปลามาได้ 6-8 เดือน ก็ควรจะใช้อวนขนาดใหญ่คัดจับปลาที่มีขนาดโตออกจำหน่ายเสียบ้าง เพื่อลดอัตราความหนาแน่นลง และทำการวิดน้ำจับปลาทั้งหมดเมื่อเลี้ยงปลามาครบรอบ 1 ปี หรือรอจับในช่วงระยะเวลาที่ปลามีราคาสูงขึ้น

การจัดการและการดูแลรักษา

การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการเลี้ยงไก่ ถ้าเป็นรูปแบบการค้าจะต้องมีการจัดการที่ดี โดยเฉพาะไก่ที่เลี้ยงจะต้องให้อาหารตามสูตร และทำการฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลาอย่างถูกต้อง มิฉะนั้นการเลี้ยงไก่ ก็จะให้ไข่น้อย หรือไก่กระทงก็จะโตไม่ได้ขนาดตามเวลาที่กำหนด ดังนั้นจึงมีอัตราการเสี่ยงต่อการขาดทุนค่อนข้างสูง ส่วนปลาที่เลี้ยงก็มีปัญหาอยู่ 2 ประการ คือ ปริมาณมูลไก่ไม่เพียงพอ เพราะจำนวนไก่ไม่สัมพันธ์กับบ่อหรือชนิดปริมาณของปลาที่เลี้ยง ทำให้ปลาไม่เจริญเติบโตประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็คือ จำนวนไก่หรือมูลไก่มีมากเกินไป ทำให้น้ำในบ่อเสียหรือเกิดแพลงก์ตอนพืชมากและเน่าสลายจมก้นบ่อ ทำให้เกิดแก๊สพิษเป็นอันตรายต่อปลา สาเหตุทั้งสองประการนี้สามารถดำเนินการแก้ไขได้โดยวิธีแรก ควรให้อาหารสมทบแก่ปลาที่เลี้ยงด้วย และสาเหตุอันหลังจะต้องทำการถ่ายเทน้ำออกจากบ่อและเติมน้ำใหม่เข้ามาแทน หรือใช้เสื่อลำแพนไม้ไผ่รองรับมูลไก่บางส่วนมิให้ตกลงในบ่อมากเกินไป

วิธีทยอยจับปลาโตจำหน่ายหรือบริโภคในครัวเรือนเป็นการปฎบัติที่ถูกต้องที่จะช่วยทั้งทางเพิ่มผลผลิต และนำรายได้มาใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับค่าใช้จ่ายในด้านอาหารสัตว์เลี้ยงและรายจ่ายอื่นๆ อันเป็นการประหยัดทั้งทุนและค่าดอกเบี้ยด้วย นอกจากนี้การเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อจำเป็นต้องศึกษาในด้านตลาดให้รอบคอบ

น้ำหนักและมูลค่าสัตว์น้ำที่เลี้ยงร่วมกับไก่(ภาคกลาง) (ผศ.สะเทื้อน  ปิ่นน้อย 2528)

ชนิดสัตว์น้ำ น้ำหนักเฉลี่ย/ไร่(กก.) มูลค่า(บาท) ราคาเฉลี่ยที่ฟาร์ม(บาท/กก.)
นิล 589.33 4,691.07 7.96
นิลและสวาย 1,222.19 10,437.50 8.54
นิล-สวาย และตะเพียน 666.64 7,079.72 10.62

จากตารางดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การเลี้ยงปลานิลและสวายร่วมกับไก่ได้ผลผลิตสูงถึง 1,222.19 กก./ไร่/ปี ทั้งนี้ก็เพราะปลาสวายสามารถใช้ประโยชน์จากอาหารที่มีเหลือในบ่อได้มากขึ้นอีกประมาณ 50% เมื่อเปรียบเทียบการเลี้ยงปลานิลชนิดเดียวซึ่งควรที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนการเลี้ยงปลานิล สวาย และตะเพียนที่ได้ผลผลิตตํ่า เพราะปลาตะเพียนขาวมีอัตราการรอดต่ำและการเจริญเติบโตไม่ดี

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดหาพ่อ-แม่พันธุ์สัตว์น้ำ

จาก Dr. Roger W. Doyle ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาของโครงการพัฒนาประมงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจ เพื่อเป็นข้อคิดพิจารณาถือเป็นหลักการเกี่ยวกับการจัดหาพ่อ-แม่พันธุ์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีดังนี้

1. เลือกสัตว์น้ำที่มีคุณสมบัติดี

มีปัญหาอยู่ว่าการที่จะหาพันธุ์สัตว์น้ำที่ดีเลิศมาใช้ในการผสมพันธุ์นั้นทำอย่างไร เท่าที่ได้ปฏบัติอยู่ในปัจจุบัน เมื่อจะทำการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ผู้เพาะพันธุ์ปลาก็จะหาเอาพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีลักษณะดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เท่าที่จะหาได้มาทำการเพาะพันธุ์ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ทำการเพาะพันธุ์นั้นจะได้พันธุ์สัตว์น้ำที่เจริญเติบโตเร็วอย่างที่ต้องการ เพราะว่าก่อนที่พวกเขาจะได้เก็บเอาสัตว์น้ำที่จะมาทำพันธุ์นั้น พวกเขาได้จับเอาสัตว์น้ำที่เลี้ยงไปขายหลายครั้งหลายหนแล้ว ดังนั้น แม่กุ้งที่จับเอามาทำพันธุ์นั้นแม้ว่าจะ เป็นแม่กุ้งขนาดโตขณะนั้น แต่กุ้งที่มีขนาดโตเร็วกว่านั้นได้ถูกจับออกไปขายก่อนแล้ว ตามความเป็นจริง จึงไม่ได้พันธุ์กุ้งที่โตเร็วอย่างที่ต้องการ จึงเป็นที่กล่าวขานกันทั่วๆ ไปว่าพันธุ์กุ้งเล็กลงและโตช้าลงกว่าที่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งพฤตการณ์แบบนี้เป็นการคัดเลือกพันธุ์ที่เจริญเติบโตช้าโดยไม่ได้ตั้งใจ และก็เช่นเดียวกับการคัดเลือกพันธุ์ปลานิลและตะเพียนที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

ข้อเสนอแนะข้อแรก ในการคัดเลือกปลาไว้ทำพ่อ-แม่พันธุ์นั้นควรทำการคัดเลือกปลาที่เลี้ยงก่อนที่จะนำไปขาย คือคัดเอาแต่ลูกปลาขนาดใหญ่หรือวัยรุ่นที่โตเร็วก่อนที่จะถึงขนาดที่จะส่งขาย หรือส่งตลาดแล้วนำเอาไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้เป็นพิเศษ จนกระทั่งปลาโตขนาดทำพันธุ์ได้ หรือเลือกเอาปลาขนาดทำพันธุ์ได้มาทำการตัดครีบส่วนใดส่วนหนึ่งให้ลึกพอที่จะไม่งอกขึ้นทันและพอสังเกตเห็นง่ายแล้วปล่อยลงบ่อธรรมดาไป ในทั้งสองกรณีนี้ ผู้เพาะเลี้ยงปลาจะได้ไม่ขายปลาที่มีเครื่องหมายหรือปลาที่เตรียมสำหรับทำพันธุ์ โดยที่ผู้เพาะเลี้ยงปลาก็จะมีแต่พ่อ-แม่พันธุ์ไว้ทำการเพาะพันธุ์ได้เมื่อต้องการ

2. หลีกเลี่ยงในการผสมเลือดชิด

เมื่อมการผสมพันธุ์กันระหว่างสายพันธุ์ที่ใกล้ชิด ความสมบูรณ์และอัตราการรอดของลูกปลา รุ่นต่อไปก็จะลดลงเช่นเดียวกับคนเรา ได้มีการประมาณไว้ว่า หากมีการสืบพันธุ์ระหว่างพี่-น้องท้องเดียว

กันแล้ว ความสมบูรณ์และอัตราการรอดจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดถึง 20% และถ้ามีการผสมพันธุ์ระหว่างเครือญาติใกล้กันแล้วก็จะมีผลเกิดขึ้นในทำนองเดียวกัน แต่ช้ากว่าหรือประมาณ 4 ชั้นอายุ (generation! ความเสื่อมของสายพันธุ์ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต การผสมพันธุ์ การต่อต้านเชื้อโรคจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อพ่อ-แม่พันธุ์ได้ลดจำนวนลงในขีดจำกัดจำนวนหนึ่งแล้ว โอกาสที่จะมีการผสมพันธุ์ระหว่างวงศ์ญาติกันมีมากน้อยตามโอกาส แม่ในฟาร์มเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ ถ้าหากมีพ่อ-แม่พันธุ์เพียง 1 ชุด หรือ 2 ชุด แม่ปลาที่ดีที่จะใช้ทำพันธุ์ก็จะลดปริมาณลง และตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็ได้แก่ พวกปลาตะเพียน ปลาไนที่มีลูกดก การผสมเลือดชิดปรากฎชัดเมื่อพ่อ-แม่พันธุ์ถูกใช้แล้วใช้อีกเป็นเวลาหลายปี พวกลูกหลานเกิดมาก็ย่อมมีโอกาสผสมพันธุ์กับรุ่นพ่อ-แม่พันธุ์ด้วย

-ข้อเสนอแนะที่สอง ให้เริ่มจากใช้พ่อ-แม่พันธุ์อย่างน้อยเพศละ 30 ตัว เพื่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ เช่น ใช้อัตราตัวผู้ 3 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว จำนวน 30 ชุด หรือตัวผู้ 3 ตัว ตัวเมีย 2 ตัว จำนวน 15 ชุด ในกรณีของปลาไน เพื่อใช้ผสมพันธุ์ตลอดฤดู ทั้งนี้ไม่จำเป็นจะต้องทำให้เสร็จในครั้งเดียว

-ข้อเสนอแนะที่สาม ใช้พ่อ-แม่พันธุ์มาจากหลายๆ แหล่ง หลายชุดเพื่อมาผสมพันธุ์และวางไข่ เพื่อกันไม่ให้มีพี่-น้อง และญาติใกล้ชิดผสมกันเอง

-ข้อเสนอแนะที่สี่ เก็บแยกพ่อ-แม่พันธุ์หลายพันธุ์ไว้ต่างหาก เพื่อป้องกันการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อ-แม่ และลูกหลานของมันเอง

วิธีที่ดีที่สุดที่จะปฏิบัติตามข้อเสนอแนะข้อ 1, 3 และ 4 ก็คือ แยกบ่อเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ และแยกเอาลูกขนาดโตที่ได้มาจากการผสมพันธุ์แต่ละครั้งลงบ่ออีกต่างหาก ก่อนที่ลูกปลาเหล่านี้จะถึงขนาดผสมพันธุ์หรือขนาดโตเต็มที่ แล้วอย่าได้เอาปลาที่ผสมพันธุ์แล้วปล่อยคืนลงบ่อพ่อ-แม่พันธุ์เดิมอีกเป็นอันขาด

3. นำเอาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพเยี่ยมมาทำพันธุ์

อาจมีผู้เลี้ยงปลาคนหนึ่งคนใดนำเอาสายพันธุ์ที่ดีที่สุดมาทำพันธุ์อยู่แล้ว ถ้าหากพันธุ์ปลาของเขามีอัตราการรอดสูงและโตเร็ว ซึ่งเขาได้ใช้ทำพันธุ์มาแล้วหลายปี หากเขาได้มีการจัดการเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์และถูกต้องแล้ว พันธุ์ปลาของเขาจะมีการเจริญเติบโตที่เร็ว และมีความต้านทานต่อโรคดีเสียยิ่งกว่าพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่หามาได้จากแม่นํ้าและหนองบึงเสียอีก ปกติพันธุ์ปลาที่หาได้จากธรรมชาตินั้นจะไม่ถูกคัดเลือกมาใช้ทำพันธุ์ในการเพาะเลี้ยง ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปแล้วพันธุ์ปลาที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณสมบัติ

ต้านทานโรคได้ดีนั้นควรจะมาจากสายพันธุ์ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามหลักวิชาการเท่านั้น ผู้เลี้ยงปลาควรนำสายพันธุ์ที่ดีเด่นมาทำพันธุ์ในฟาร์มของตัวได้ ก็ต่อเมื่อได้มีการพิสูจน์ให้แน่ชัดว่าดี

สำหรับเหตุผลที่ใช้คอกขนาดดังกล่าวเลี้ยงสุกรคอกละประมาณ 10 ตัว ก็เพื่อสะดวกในการดูแล และป้องกันสุกรทำร้ายซึ่งกันและกัน และในฟาร์มขนาดใหญ่มีความจำเป็นที่ต้องมีคอกขนาดดังกล่าวจำนวนมาก เพื่อคัดเลือกสุกรขนาดไล่เลี่ยเลี้ยงรวมในคอกเดียวกัน ตลอดจนการใช้เลี้ยงสุกรพ่อแม่พันธุ์ด้วย

ตารางที่ 26 แสดงปริมาณของเสียที่ขับถ่ายออกมาตามน้ำหนักสุกร

น้ำหนักหมูเป็น(กก.) ปริมาณของเสียที่ขับถ่ายออก(กก./วัน/ตัว)
ปัสสาวะ มูล รวม
5.5-18.2 0.86 0.70 1.56
18.3-36.3 1.29 1.44 2.73
36.4-54.5 2.43 2.75 5.18
54.6-72.5 2.99 3.77 6.76
72.6-90.0 4.23 4.59 8.82

 

ที่มา : สมศักดิ์และคณะ (2527) อ้างวิทย์ ธารชลานุกิจ (2521) ซึ่งอ้างถึง Robinson et. al (1971)

อัตราส่วนจำนวนสุกรและขนาดของบ่อปลา

จากรายงานและประสบการณ์โดยทั่วไปพบว่า ใช้สุกร 5-10 ตัว พอเหมาะกับบ่อเลี้ยงปลาขนาด 1ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาที่เลี้ยงด้วย เมื่อพิจารณาจากตารางปริมาณการขับถ่ายของสุกรจะเห็นได้ว่า ในขณะนี้สุกรมีขนาดเล็กการขับถ่ายมูลและปัสสาวะมีไม่มากเพียงพอกับปลาที่จะเลี้ยงในบ่อขนาด 1 ไร่ ซึ่งโดยทั่วไปจะปล่อยปลาขนาด 3-5 ซม. จำนวนประมาณ 2,000 ตัว ดังนั้น ขณะที่สุกรยังเล็กอยู่จำเป็นต้องให้อาหารสมทบราคาถูกๆ เช่น รำข้าว เศษอาหารเหลือ เศษพืชผัก ฯลฯ แก่ปลาที่เลี้ยงด้วย หรือในขณะที่สุกรยังเล็กก็เพิ่มจำนวนสุกรให้มากขึ้น เพื่อให้มีสิ่งขับถ่ายเพียงพอ และเมื่อสุกรโตขึ้นมีขนาดเฉลี่ยตัวละ 50 กก. ขึ้นไป อัตราส่วนสุกร 10 ตัว จึงเหมาะสมกับบ่อเลี้ยงขนาด 1 ไร่

พันธุ์ปลาที่เหมาะสมจะเลี้ยงร่วมกับสุกร

พันธุ์ปลาที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงร่วมกับสุกร พิจารณาในแง่ชีววิทยาและนิเวศน์วิทยา ตลอดด้านตลาด ควรเลี้ยงปลานิลและปลาสวาย เพราะเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพแวดล้อมและคุณสมบัติของน้ำเกี่ยวกับปริมาณของออกซิเจนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงกลางวันและกลางคืน ดังนั้น จึงสามารถปล่อยลงเลี้ยงได้ในอัตราความหนาแน่นสูง เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มผลผลิตให้ใด้มากที่สุด สำหรับอัตราส่วนที่ปล่อยมีดังนี้

ชนิดปลา ขนาด จำนวนตัว/ไร่ หมายเหตุ
นิล 3-5 2,000 เลี้ยงเดี่ยว
นิล สวาย 3-5 2,000 เลี้ยงรวม

 

นอกจากปลาดังกล่าวทั้งสองชนิดที่ใช้เป็นหลักในการเลี้ยงร่วมกับสุกรแล้ว อาจปล่อยปลาประเภทกินแพลงก์ตอน เช่น ปลาซ่ง ลิ่น หรือนวลจันทร์เทศ ลงเลี้ยงรวมได้อีกจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม ส่วนปลากินพืช เช่น ปลาตะเพียนขาว เมื่อปล่อยลงเลี้ยงรวมด้วยจะมีอัตราการรอดตายต่ำ

พันธุ์สุกรและอาหารที่ใช้เลี้ยง

เนื่องจากการเลี้ยงสุกรมักประสบปัญหาการขาดทุนเกี่ยวกับราคาตกต่ำประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือผลผลิตตํ่าไม่ได้มาตรฐานอันเนื่องมาจากพันธุ์สุกรที่เลี้ยงและคุณภาพของอาหารไม่เหมาะสม ดังนั้น ในเรื่องพันธุ์สุกรควรใช้พันธุ์ลูกผสม 3 หรือ 4 สายเลือด (ลาร์จไวท์ + แลนด์เรซ + ดูรอค + เพรียวเทียน)

ขนาดเริ่มต้นเฉลี่ยตัวละ 10 กก. ซึ่งจะต้องผ่านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ มาแล้ว ส่วนพันธุ์ผสมระหว่างสุกรพันธุ์แท้กับพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆ ก็ใช้ได้ แต่ราคาที่จำหน่ายได้อาจไม่ดี เพราะคุณภาพของเนื้อไม่ได้มาตรฐาน แต่ในแง่ดีก็คือลดค่าใช้จ่ายในด้านอาหารลง เพราะสุกรลูกผสมพื้นเมืองกินอาหารไม่เลือก และมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมดีกว่าพันธุ์ลูกผสมแท้

ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรจะผสมขึ้นใช้เอง โดยใช้วัสดุที่พอจะหาได้ในท้องถิ่นและซื้อหัวอาหารมาผสมเองก็ได้

สูตรอาหารสุกร

ใช้อาหารพื้นบ้านประเภทรำข้าว ปลายข้าว ปลาป่นผสมหัวอาหาร ในส่วนของปลายข้าวอาจใช้มันสำปะหลังทดแทนได้บางส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้ค่าอาหารถูกลง โดยมีปริมาณของโปรตีนตามขนาดของสุกรที่เลี้ยงดังนี้

สุกรขุน                             14%

สุกรเตรียมพ่อ-แม่พันธุ์     13%

สุกรก่อนคลอดมากกว่า    14%

สุกรหลังคลอด                 14%

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

ในบ่อซึ่งเลี้ยงปลานิลชนิดเดียว ภายหลังที่เลี้ยงปลามาแล้ว 4-5 เดือน ก็ควรจะได้ใช้อวนตาห่าง หรือตาข่ายไนลอนขนาดช่องตา 6-8 ซม. ทยอยคัดจับปลานิลออกจำหน่าย เพื่อลดอัตราความหนาแน่นลง ส่วนปลานิลขนาดเล็กถ้ามีมากก็ควรใช้อวนตาถี่จับขึ้นมาตากแห้งแล้วบดผสมเป็นอาหารปลา หรืออาจจะจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่ต้องการนำไปเลี้ยง ซึ่งวิธีหลังนี้จะทำรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงดีกว่าวิธีแรก เพราะในภูมิภาคนี้โดยทั่วไปยังขาดแคลนลูกปลาในการเพาะเลี้ยงเป็นอันมาก จึงสามารถจำหน่ายได้ราคาค่อนข้างสูง

ส่วนบ่อที่เลี้ยงปลานิลกับปลาสวาย ก็ควรใช้อวนตาห่างคัดจับปลานิลขนาดใหญ่ออกเป็นครั้งคราว และวิดบ่อจับปลาทั้งหมดเมื่อสวายที่เลี้ยงไว้โตมีขนาด 1.00-1.5 กก. ซึ่งจะใช้เวลาที่เลี้ยงประมาณ 1 ปี

ผลผลิตปลา

ผลผลิตของการเลี้ยงสุกรร่วมกับปลา โดยใช้ปลานิลหรือปลาสวายเป็นหลักจากฟาร์มบางแห่ง ที่มีการจัดการที่ดี อาทิ การเตรียมบ่อ การใส่ปุ๋ยและปูนขาว การอนุบาลลูกปลาให้โตขึ้นได้ขนาด 5-7 ซม. แล้วจึงนำปล่อยลงเลี้ยงร่วมกับสุกร ตลอดจนการคัดจับปลาโตจำหน่าย และวิดน้ำจับปลาทั้งหมดเมื่อใช้เวลาเลี้ยงปลาในช่วงระยะเวลาประมาณ 1 ปี ในภูมิภาคนี้พบว่าได้ผลผลิต 1,800-2,000 กก./ไร่/ปี ซึ่งเป็นผลผลิตค่อนข้างสูงมาก

4. การผลิตลูกปลาร่วมกับการเลี้ยงสัตว์

จากการสังเกตได้พบว่า ได้มีฟาร์มขนาดเล็กของเกษตรกรหลายแห่งที่มีหัวก้าวหน้า ภายหลังที่ได้รับการฝึกอบรมจากสถานประมงในภูมิภาคนี้ในด้านการเพาะเลี้ยงปลาแล้ว ได้นำเอาความรู้ไปใช้ในการผลิตลูกปลานิล ไน ตะเพียนขาว นวลจันทร์เทศ ฯลฯ จำหน่ายโดยใช้มูลของสัตว์เลี้ยง เช่น สุกร ไก่ วัว ควาย เป็นปุ๋ยเพื่อเพาะอาหารธรรมชาติทั้งในบ่ออนุบาลและนาข้าว ซึ่งดัดแปลงเป็นบ่ออนุบาล เกษตรกรดังกล่าวนี้ มีรายได้และฐานะดีขึ้น เพราะสามารถผลิตลูกปลาได้มากและจำหน่ายได้ราคาสูงด้วยต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างตํ่า

ดังนั้นทางราชการจึงควรสนับสนุนให้เกษตรกรที่มีพื้นที่และทำเลเหมาะสมทำการผลิตลูกปลา ให้มากแห่งแพร่หลายยิ่งขึ้น ก็จะเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนพันธุ์ปลาที่ใช้ในการส่งเสริมได้เป็นอย่างดี กับทั้งเป็นการเพิ่มอาชีพใหม่ขึ้นได้อีกทางหนึ่งด้วย

ปัญหาและแนวทางในการแก้ไข

1. การฝึกอบรม มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาการเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมกับการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน การดำเนินทั้งในระดับนักวิชาการ พนักงานส่งเสริมและเกษตรกรผู้สนใจการเลี้ยง ปลาแบบผสมผสาน ในการนี้ ควรจะได้ร่วมมือกับกรมปศุสัตว์จัดหานักสัตวบาล สัตวแพทย์ มาร่วมในการบรรยายด้วย เพราะในด้านการเลี้ยงสัตว์นั้นมีจุดอ่อนและอัตราการเสี่ยงที่สูง ในระหว่างการอบรมก็ควรนำผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมไปดูฟาร์มหรือบ่อเลี้ยงปลาร่วมกับปศุสัตว์ชนิดต่างๆ ของเอกชน เพื่อเสริมความรู้ในด้านปฎิบัติ ตลอดจนปัญหาและการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง

2. ปัญหาการขาดทุนในฟาร์มขนาดเล็กในด้านสัตว์เลี้ยง เพราะใช้ต้นทุนการผลิตสูง และจำหน่ายผลผลิตได้ราคาต่ำ ส่วนฟาร์มขนาดใหญ่ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ เพราะมีสัญญาผูกมัดกับบริษัทที่บริการในด้านพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ตลอดจนการประกันราคาผลผลิต พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด ในด้านเทคโนโลยีการเลี้ยง และการป้องกันโรค

สำหรับการแก้ปัญหาในเรื่องนี้นั้น ก็ควรจะให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันจัดตลาดกลางสำหรับจำหน่ายผลิตผลและซื้อวัสดุอาหารสัตว์ได้ในราคาถูกกว่าท้องตลาด ถ้ามีทางเป็นไปได้ก็ควรปฎิบัติทำนองเดียวกับการดำเนินงานของฟาร์มขนาดใหญ่ดังกล่าวแล้วในรูปของกลุ่ม เพื่อมีสินค้าเพียงพอในเชิงธุรกิจการค้า

3. จำนวนของสัตว์ที่เลี้ยงร่วมกับปลาไม่สัมพันธ์กัน คือถ้าเลี้ยงสัตว์น้อยหรือปล่อยปลามีความหนาแน่นสูง ปริมาณมูลสัตว์ก็ไม่เพียงพอ ปลาก็จะโตช้า ดังนั้นจะต้องให้อาหารสมทบแก่ปลา ที่เลี้ยงด้วยอีกทางหนึ่ง

4. การเลือกสัตว์และชนิดปลาที่เลี้ยงชนิดใดๆ ก็ตาม จะต้องคำนึงถึงตลาดเป็นสำคัญ ถ้าตลาดแคบอัตราการเสี่ยงก็สูง เช่น การเลี้ยงเป็ดเนื้อพันธุ์ปักกิ่ง ปัจจุบันประชาชนยังไม่นิยมบริโภค จึงมี ปัญหาเรื่องการจำหน่ายผลผลิต ถ้าผู้ซื้อไม่มาจับเป็ดตามกำหนด ต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้นทุกวัน ทำให้ได้กำไรน้อยลงหรือขาดทุน

5. สาเหตุการตายของปลามี 2 ประการ คือ

-การตายอันเนื่องมาจากการขาดแคลนออกซิเจนที่ละลายอยู่ในนํ้าเกิดขึ้นได้โดยน้ำในบ่อปลาได้รับปุ๋ยมาก มีความอุดมสมบูรณ์จากธาตุอาหารของมูลสัตว์ ทำให้แพลงก็ตอนพืชเจริญ แพร่พันธุ์ได้มาก น้ำจะมีสีเขียวจัด แพลงก์ตอนพืชหรือสัตว์ก็ตามจะแย่งออกซิเจนไปใช้โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งทำให้น้ำในบ่อขาดแคลนออกซิเจนถึงขั้นที่ทำให้ปลาตายได้ นอกจากน้ำเน่าเสียเป็นอันตรายต่อปลาเช่นกัน วิธีป้องกันก็คือ ต้องหมั่นสังเกตดูสีของน้ำว่ามีความอุดมสมบูรณ์แค่ไหน จึงจะต้องทำการถ่ายเทน้ำเพื่อนำไปใช้ในบ่อที่เลี้ยงปลากินแพลงก็ตอน หรือลงแปลงนาข้าวเพื่อใช้เป็นปุ๋ย วิธีที่ดีก็คือการควบคุมปริมาณของมูลสัตว์โดยมีถังรองรับก่อนปล่อยในกรณีเลี้ยงสุกร และใช้เสื่อลำแพนรองรับมูลไก่ ถ้ามีปริมาณมากเกินสมควร

-การตายของปลาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนค่าความเป็นกรด-ด่าง และอุณหภูมิอย่างกะทันหันในขณะที่มีฝนตกหนัก ส่วนมากจะเกิดกับบ่อที่ขุดใหม่ โดยเฉพาะในดินที่มีลักษณะเป็นกรดจัด เมื่อเวลาฝนตก นำฝนก็จะไหลชะล้างเอากรดจากดินบนคันบ่อลงไปในบ่อ ทำให้คุณสมบัติของน้ำในบ่อเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด-ด่าง และอุณหภูมิอย่างกะทันหัน ทำให้ปลาตายได้ วิธีป้องกันก็คือปลูก

หญ้าบนคันบ่อป้องกันการชะล้างของดิน หรือโรยปูนขาวให้ทั่วบนคันบ่อ และขณะฝนตกหนักถ้าปลาลอยหัวก็ควรสูบเปลี่ยนถ่ายเทน้ำ

6. การใช้ประโยชน์ของที่ดิน โดยเฉพาะที่ดินส่วนที่เป็นคันบ่อซึ่งสามารถจะปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคในครัวเรือน และเหลือก็จำหน่ายได้ นอกจากนี้พืชยืนต้น เช่น แค และกระถิน ทั้งดอกและใบอ่อนเท่าที่สังเกตประชาชนในภูมิภาคนี้นิยมบริโภค ตลาดมีความต้องการสูง จำหน่ายได้ราคาดี นอกจากนี้แล้วใบของพืชดังกล่าวยังใช้เป็นอาหารของปลากินพืชได้เป็นอย่างดีด้วย