การเลือกที่ดินทำฟาร์ม

การเลือกที่ทำฟาร์มย่อมแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์และประเภทของฟาร์มที่จะทำ กล่าวโดยทั่ว ๆไปแล้ว การปลูกพืชย่อมจะใช้เนื้อที่มากกว่าการเลี้ยงสัตว์ นั่นคือในเนื้อที่หนึ่ง ไร่เราสามารถจะทำการเลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ได้เงินเป็นหมื่น ๆ แต่ถ้าใช้ดินเพียงหนึ่งไร่ปลูกข้าวโพดก็คงไม่ได้เงินมากเท่าใด นอกจากนั้นการเลือกที่เลี้ยงสัตว์ก็คงจะเป็นที่ดอนหรือเป็นที่ที่นํ้าไม่ท่วม ส่วนการเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ จะต้องใช้ที่ที่มีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์ และการปลูกพืชย่อมใช้ที่ กว้าง ๆ มีน้ำหรืออยู่ใกล้เหล่งการชลประทาน สำหรับการเพาะปลูกผักก็จะต้องอยู่ไกลน้ำ อย่างบริบูรณ์ ถ้าจะใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเลือกที่ทำฟาร์มแล้ว ก็พอจะสรุปได้ดังนี้

1. พิจารณาให้มีแหล่งน้ำอย่างพอเพียง หากไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติก็ควรจะตรวจสอบดูว่า จะเจาะน้ำบาดาลมาใช้ได้หรือไม่ ในการเลือกที่ดินและน้ำนี้ เราควรจะไปดูดินอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ ไปดูดินและน้ำในหน้าแล้งจัด ๆ ครั้งหนึ่ง และไปดูที่ในหน้าฝนชุกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาดูว่า สภาพพื้นที่นั้น ๆ จะเหมาะกับการทำฟาร์มประเภทใด

2. ดูดินและความลาดชัน ดินดีมีความสมบูรณ์เป็นสิ่งที่เราพึงปรารถนาแต่ดินดี ๆ ที่จะใช้ทำฟาร์มสมัยนี้หายาก ดินดีก็อาจจะมีบ้างแต่มักจะอยู่ในป่าห่างไกลเกินไป ดังนั้นเราจึงมีหลักอยู่ว่า “จงเลือกปลูกพืชให้เหมาะกับดิน แต่อย่าไปเลือกหรือ เปลี่ยนดินให้เหมาะกับพืช” เพราะการปรับปรุงดินให้เหมาะกับพืชเป็นวิธีการที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าดินของเราไม่ดีไม่มีความอุดมสมบูรณ์ปลูกอะไรไม่ค่อยขึ้น ก็ขอแนะนำให้ปลูกมะม่วงหิมพานฅ์ เพราะพืชชนิดนี้ขึ้นงอกงามได้ดีในสภาพดินเลวของบ้านเรา นอกจากนี้มะม่วงเบาก็ขึ้นได้ในสภาพดินเลว และถ้าดินมีลูกรัง ก็อาจปลูกพวกมะขามป้อมก็ได้ผลดี และการที่จะตัดสินใจปลูกพืชอะไรนั้น ก็ควรจะดูว่าพืชอะไรเจริญเติบโดได้ดีในท้องถิ่นนั้น หรือไม่ก็ทดลองปลูกพืชหลาย ๆ ชนิด พืชอะไรเจริญเติบโตได้ดี ก็ปลูกพืชชนิดนั้น ๆ ต่อไป

3. ใกล้การคมนาคมและขนส่ง เนื่องจากผลิตผลเกษตรมักจะเน่าเสียง่าย ดังนั้น สถานที่ที่ตั้งฟาร์มควรจะอยู่ใกล้ตลาดและมีการคมนาคมสะดวก

4. พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เช่น ใกล้ไฟฟ้า และประปาเพียงใด เพราะอาจจะมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องไฟฟ้าทุ่นแรงบางชนิด และนอกจากนั้นอาจจะพิจารณาสังคมและหมู่บ้านว่ามีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด อยู่ใกล้วัด โรงเรียน หรือแหล่งวิชาการและการบริการของรัฐมากน้อยเพียงใด

ปัจจัยของความสำเร็จในการทำฟาร์ม

นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้พิจารณาในการเลือกที่ทำฟาร์มดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะทำให้เกษตรกรบรรลุผลสำเร็จในการทำฟาร์มอีกหลายประการ ซึ่งอาจจะสรุปเป็นข้อควรจำได้ 12 ประการคือ

1. น้ำดี กล่าวคือ น้ำจะต้องเป็นน้ำอ่อน ไม่เป็นกรดหรือด่าง ไม่กระด้าง และมีปริมาณมากเพียงพอ

2. ดินดี กล่าวคือ เขาจะต้องเลือกดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี ดินไม่เป็นกรดหรือด่างจัด ไม่เป็นหินหรือลูกรัง แต่เป็นดินที่ร่วนซุยมีการระบายนํ้าดีและดินมีขนาดกว้างขวางพอสำหรับการขยายกิจการในอนาคต

3. พันธ์ดี กล่าวคือพันธุ์พืชหรือสัตว์ที่เขาใช้จะต้องเป็นพันธุ์ที่ดี โตเร็วแข็งแรงให้ผลผลิตสูง

4. ทุนดี กล่าวคือเกษตรกรควรจะมีเงินทุนเพียงพอที่จะทำฟาร์ม และขยายกิจการให้ใหญ่โตขึ้น และหากว่าเขามีทุนไม่พอเขาก็จะต้องติดต่อแหล่ง เงินทุน เช่น ธนาคารต่าง ๆ เพื่อกู้เงินมาลงทุนได้

5. คนดี กล่าวคือ ตัวเกษตรกรเองจะต้องเป็นคนที่ขยันขันแข็ง มีมานะอดทน และเป็นนักต่อสู้อย่างแท้จริง เพราะงานเกษตรเห็นผลช้า ดังนั้น เขาจะต้อง เป็นคนทำจริง ไม่ท้อถอย

6. จังหวะดี กล่าวคือ เกษตรกรจะต้องรู้จักเลือกจังหวะการผลิตให้ถูกต้อง เช่น ในหน้าที่ตลาดไม่มีเห็ดบริโภค ถ้าเขาหาวิธีเพาะเห็ดมาขายก็ย่อมได้กำไรดี

7. ความรู้ดี กล่าวคือ เกษตรกรจะต้องเสาะแสวงหาความรู้แผนใหม่ทาง เกษตรมาใช้อยู่เสมอเพื่อพัฒนาการผลิตทางพืชและสัตว์ของเขา

8. การบำรุงรักษาดี กล่าวคือเกษตรกรจะต้องปฏิบัติเลี้ยงดูพืชและสัตว์ ของเขา ด้วยความเอาใจใส่ เช่นมีการพรวนดิน ใส่ปุ๋ย รดน้ำ ฉีดยาฆ่าแมลงเป็นประจำและถ้าหากว่าดินไม่ดีนัก เขาก็ต้องปรับปรุงบำรุงดินอยู่เสมอ

9. การคมนาคมดี กล่าวคือ เกษตรกรควรเลือกสถานที่ผลิตซึ่งอยู่ใกล้ทางคมนาคมขนส่ง เพราะผลิตผลเกษตรส่วนมากเน่าเสียได้ง่าย แหล่งผลิตจึงควรมีอยู่ใกล้ตลาดพอควร

10. ตลาดดี เนื่องจากตลาดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเกษตร ดังนั้นเกษตรกรควรเตรียมการเรื่องตลาดให้ดี เช่น การจัดตั้งเป็นกลุ่มขายยาง หรือสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

11. ความปลอดภัยดี การผลิตทางเกษตรควรตั้งอยู่ในแหล่งที่มีความปลอดภัย จากโจรผู้ร้ายและภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่นน้ำท่วม ลมพายุ ฝน ฯลฯ

12. เลือกอาชีพได้เหมาะกับดิน เกษตรกรพึงระลึกไว้เสมอว่า การปรับปรุงดินก็ดี การแก้ไขความเป็นกรดเป็นด่างเหล่านี้ ล้วนจะต้องใช้เงินทุนมาก ดังนั้น เกษตรกรควรจะเลือกพืชให้เหมาะกับดิน (อย่าเลือกดินให้เหมาะกับพืช)