การเลือกสถานที่ปลูกกุหลาบ

การวางทิศทางแปลงปลูก

มีข้อที่ควรพิจารณา 2 ประการ คือ

1. ทิศทางของแสงแดด

2. ทิศทางของลม

ทิศทางของแสงแดดที่เกี่ยวข้องกับแปลงปลูกก็คือ เกี่ยวกับสุขภาพของต้นกุหลาบที่ปลูกอยู่ในแปลง โดยเฉพาะในแปลงที่ทำการปลูกชิดกันมาก ๆ จะต้องพยายามให้ต้นกุหลาบได้รับแสงแดดให้มากที่สุด โดยจัดแปลงปลูกให้ ขวางแสง หรือหันหัวแปลงและท้ายแปลงไปทางทิศเหนือและใต้ ทั้งนี้เพื่อเหตุผล 2 ประการ คือ

ก) เพื่อให้ต้นกุหลาบได้ปรุงอาหารให้มาก

ที่สุด

ข) เพื่อให้โรครา (โรคใบจุด) มีโอกาสเกิดน้อยลง

ส่วนทิศทางของลมมีผลต่อต้านกุหลาบคือ การถ่ายเทอากาศในแปลงปลูก และอันตรายจากลมพายุในระยะเปลี่ยนฤดู วิธีที่จะช่วยลดอันตรายจากภัยธรรมชาติเช่นนี้ได้ ก็คือโดยการปลูกพืชบังลมในทิศทางที่มักมีพายุผ่าน เช่น ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ กล้วยน้ำว้ามีความเหมาะสมที่สุดในกรณีนี้

การเลือกสถานที่ปลูก

ก. จะต้องเป็นสถานที่ที่น้ำไม่ท่วม เพื่อมีน้ำมากที่สุดในรอบปี มีน้ำมากพอเมื่อถึงระยะที่มีน้ำน้อยหรือระยะฤดูแล้งของปี และสามารถลงทุนในการหาน้ำมาได้ในราคาที่ถูก

ข. มีลักษณะดินดี เนื่องจากในแหล่งปลูก แต่ละแห่งกับคุณสมบัติของดินปลูกแตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงควรพิจารณาคุณสมบัติของดินปลูกด้วยดังนี้

1. ต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำดี คือ เมื่อมีฝนตกหนัก น้ำไม่ท่วมขังอยู่เป็นเวลานาน นั่นก็หมายถึงพื้นที่ปลูกมีการลาดเทพอสมควร ไม่เป็นแอ่งขังน้ำ รวมทั้งเนื้อดินเองก็ต้องมีเปอร์เซนต์ของทรายปนอยู่มากพอที่จะช่วยการ ระบายน้ำให้แห้งได้โดยเร็ว

2. เป็นดินที่มีอินทรีย์วัตถุผุพังแล้ว สูงพอสมควร เพราะอินทรีย์วัตถุช่วยให้คุณสมบัติของดินดีขึ้น ดังนี้ :

* ช่วยดูดซับน้ำและปุ๋ยที่ให้กับต้นพืชไว้ แล้วปล่อยให้ต้นพืชอย่างช้า ๆ ตามที่ต้องการ เปรียบเสมือนแหล่งเก็บน้ำเก็บปุ๋ยของต้นพืช

* ช่วยในการเจริญของบักเตรีในดิน ซึ่งบักเตรีในดินจะช่วยย่อยอาหารในดินให้อยู่ นรูปที่พืชจะนำไปใช้ได้

* ช่วยทำให้ลักษณะของดิน เหมาะต่อการเจริญของรากพืชและง่ายต่อการปฏิบัติงานดิน

ด้วยเหตุนี้ อินทรีย์วัตถุจึงมีความจำเป็นมาก ในดินเหนียวจัดที่มักขาดคุณสมบัติการปฏิบัติงานดิน และดินทรายจัดซึ่งมักขาดคุณสมบัติในการดูดซับน้ำและปุ๋ยให้กับต้นพืช

3.  มีธาตุอาหารมากพอ ซึ่งหมายถึงเนื้อปุ๋ยที่มีอยู่ในดิน คือไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปแตสเซียม รวมทั้งธาตุแคลเซียมด้วยสัดส่วนของปุ๋ยเหล่านี้ควรมีอยู่ในดินปลูกเฉลี่ยจากหน้าดินถึงระดับปลายราก (ประมาณ 50 เซนติเมตร จากหน้าดิน) ดังนี้ ไนโตรเจน 50-100 กรัมใน 1 ต้นของดินปลูก ฟอสฟอรัส 5-10 กรัม ใน 1 ต้นของดินปลูก โปแตสเซี่ยม 20-40 กรัม ใน 1 ต้นของดินปลูก และแคลเซี่ยม 150-200 กรัม ใน 1 ต้นของดินปลูก

ค. ดินไม่เป็นกรดหรือเป็นด่างจัด คือมี ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 6-6.5 หรือไม่ควรต่ำกว่า 5 และไม่สูงกว่า 7.5 ซึ่ง สามารถจะปรับให้อยู่ใน pH 6-6.5 ได้ง่าย