การใช้หญ้าแฝกในกรณีอื่น ๆ

นอกจากความสำเร็จในฐานะที่เป็นระบบช่วยอนุรักษ์ดินและรักษาความชื้นได้แล้ว หญ้าแฝกยังได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในด้านอื่น ๆ อีก หลายอย่างด้วย ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ การช่วยเสริมความมั่นคงให้กับสภาพภูมิประเทศ รวมทั้งเขื่อน คูคลอง และถนนหนทาง ตัวอย่างรูปที่ 83 แสดงการใช้หญ้าแฝกในการเสริมความมั่นคงของแปลงนาข้าวที่อาศัยคันนาในการรักษาระดับนํ้าชลประทานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คันนาเหล่านี้ สามารถพังทลายลงจากการที่ถูกลมพัดพามาปะทะ (การพังทลายจากคลื่นซัด) และจากการที่หนู ปู และสัตว์อื่น ๆ ขุดรูอยู่ การพังทลายขนานใหญ่ในเวลาต่อมาอาจนำไปสู่การสูญเสียพืชผล ไม่นับการสูญเสียนํ้าชลประทานที่มีค่ามหาศาล และในบางกรณีไม่อาจนำกลับคืนมาใหม่ได้

รูปที่ 33 การเสริมความมั่นคงคันดิน

หญ้าแฝกสามารถปลูกบนพื้นที่คันนาเพื่อรักษาสภาพของคันนาเพื่อรักษาสภาพของคันนาไว้ หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตได้ดีภายใต้สภาวะเหล่านี้ และไม่เกิดความเสียหายอันเนื่องจากน้ำท่วมไหลบ่าในบางครั้ง นอกจากนี้รากของมันยังประกอบด้วยนํ้ามันที่สามารถขับไล่หนู ยิ่งกว่านันเนื่องจากรากของมันเจริญเติบโต หยั่งลึกตรงลงไปในดิน และไม่แผ่กระจายออกไปรบกวนพืชผลต่าง ๆ หญ้าแฝกจึงไม่มีผลต่อต้นข้าวหรือเมล็ดข้าวในแต่ละปี หญ้าแฝกจะสามารถตัดให้สั้นอยู่ในระดับเดียวกับพื้นดิน เพื่อป้องกันมิให้ไปบังพืชที่ปลูกได้

รูปที่ 34 การปกป้องตลิ่งของแม่น้ำ

ในทำนองเดียวกันหญ้าแฝกสามารถใช้เพื่อรักษาตลิ่งแม่น้ำมิให้ถูกเซาะพังทลายเข้าสู่ไร่นา (ดู3ปที่ 34) นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในพื้นที่แบนราบของก้นแม่น้ำเพื่อป้องกันมิให้ตะกอนถูกพัดพาจากนํ้า ไหลบ่าเข้าสู่แปลงนาบริเวณรอบ ๆ

รูปที่ 35 การดูแลรักษาต้นไม้

รูปที่ 36 การรักษาสภาพต้นผลไม้

อิทธิพลของหญ้าแฝกในการรักษาสภาพพื้นดิน มีประโยชน์อย่างยิ่งในบริเวณภูมิประเทศที่มีแนวลาดชันและสภาพดินที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำการควบคุมการกระจายความชื้นได้ยาก เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ไม่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชพรรณธัญญาหารหรือพืชผลทางการเกษตรประจำปีอื่น ๆ เราจึงสามารถปลูกต้นไม้จำพวกไม้ยืนต้นได้ผลดี เมื่อมีหญ้าแฝกปลูกล้อมตามแนวระดับเพื่อช่วยรักษาสภาพต้นไม้ไว้ ความพยายามในอันที่จะปลูกพืชผลทางการเกษตรประเภทไม้ยืนต้น บนไหล่เขาที่ชัน มักจะไม่ประสบผล เพราะการเจริญเติบโตที่ไม่สม่ำเสมอและผลผลิตที่ไม่ดี ทำให้ไม่คุ้มต่อการเสีย ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา รูปที่ 35-37 แสดงวิธีการปลูกพืชผลทางการเกษตรประเภทไม้ยืนต้นบนไหล่เขาดังกล่าวโดยใช้แนวรั้วหญ้าแฝกตามแนวระดับ ก่อนอื่นให้ตีวงตามแนวระดับรอบเขาแล้วจึงใช้มือหรือเครื่องปรับหน้าดิน และเลื่อยตัดไม้ ขุดคูรูปตัววีตื้น ๆ ไปตามแนวระดับปลูกต้นไม้เป็นแถวให้ชิดกับขอบคูแต่ละด้าน จากนั้นปลูกต้นหญ้าแฝกลงไปในคู (ดูรปที่ 35 แอะ 36) ด้วยลักษณะการปลูกแบบนทางนํ้าระหว่างต้นไม้แถวหนึ่งและแถวถัดไปไล่ลงมาตามแนวลาดชันของเขาจะถูกเก็บกักไว้ในคูที่เรียงรายด้วยต้นหญ้าแฝก (ปกติน้ำจะระบายลงทางแนวลาดชันทำให้น้ำไม่ขังเจิ่งนอง) จากผลของการอุ้มน้ำดังกล่าวนี่เอง ทำให้ไม่จำเป็นต้องปลูกต้นไม้แต่ละแถวให้ใกล้ชิดกันมากเหมือนเช่นต้นไม้ในแถวเดียวกัน เริ่มแรกทีเดียวคูรูปตัววี จะทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำในทางนํ้าไหล ซึ่งนั่นเท่ากับเพิ่มปริมาณความชื้นในดินเป็นเหตุให้ทั้งหญ้าแฝกและต้นไม้ที่ปลูกได้ประโยชน์ทั้งคู เมื่อถึงเวลาที่คูเริ่ม “ตีบตัน” หรือน้ำแห้งขอดหลังจากเวลาผ่านไปสองสามปี รั้วหญ้าแฝกจะเติบโตและทำหน้าที่เพิ่มการซึมซับน้ำ เพื่อหยุดยั้งการสูญเสียเนื้อดินและสารอาหารในดิน เสมือนหนึ่งสร้างปราการเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกัน

เนื่องจากการเก็บกักทางน้ำไหลไว้ในคูล้อมรอบมีผลต่อการเพิ่มปริมาณนํ้าฝนที่มีประสิทธิผลเป็นสองเท่าหรือสามเท่า ไม้ผลที่ปลูกด้วยวิธีนี้ จึงไม่ จำเป็นต้องใช้นํ้าชลประทานในสามปีแรกของการเจริญเติบโต ทั้งนี้เพราะแนวหญ้าแฝกจะรักษาระบบทั้งหมดให้อยู่ในสภาพที่มั่นคง

รูปที่ 37 ใบแฝกใช้เป็นหญ้าฟาง

หลังจากที่ได้วางแนวหญ้าแฝกอย่างถูกต้อง และหญ้าแฝกเจริญเติบโตดีแล้ว เราสามารถตัดให้สั้นลงอยู่ในระดับเดียวกับพื้นดินเมื่อถึงฤดูแล้ง และใบ ของมันสามารถใช้เป็นหญ้าฟางคลุมโคนของไม้ผล เพื่อช่วยรักษาความชื้นที่เก็บกักไว้ (ดูรูปที่ 37) ข้อดีของการใช้หญ้าแฝกตามวัตถุประสงค์นี้ ได้แก่ การที่ใบของมันเป็นที่อาศัยของแมลงเพียง 2-3 ชนิดเท่านั้น และการที่ใบของมันมีอายุยาวนานพอสมควรเมื่อใช้เป็นหญ้าฟาง แนวรั้วหญ้าแฝกยังช่วยป้องกันต้นไม้อ่อนในเดือนที่มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน ด้วยการให้ร่มเงาบางส่วนโดยทางอ้อม และทำหน้าที่ต้านลมในเดือนที่หนาวจัดในฤดูหนาว

ต้นไม้ในป่าควรปลูกด้วยวิธีอย่างเดียวกัน ในที่ซึ่งปลูกในลักษณะแบบนี้ ผลลัพธ์ที่ได้ค่อนข้างน่าทึ่ง กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ. 2530ในรัฐอันตรประเทศ ประเทศอินเดีย ร้อยละ 90 ของไม้ที่งอกจากเมล็ด (ไม่ใช่ไม้ตอน) ซึ่งปลูกด้วยการล้อมรั้วหญ้าแฝกนี้ ปรากฎว่ารอดพ้นจากภัยฝนแล้ง ขณะที่ร้อยละ 70 ของไม้ดังกล่าวที่ปลูกด้วยวิธีอื่นได้ตายไป

รูปที่ 38 ไหล่เขาก่ออิฐ

ปัจจุบันในแถบภูเขาหิมาลัย ซึ่งมีการเพาะปลูกบนไหล่เขา หญ้าแฝกได้ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาสภาพ เนินอิฐที่ก่อขึ้นมาเป็นเวลากว่าหลายศตวรรษ หากไม่มีการช่วยเหลือที่อาศัยรูปแบบต้นพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นตัวรองรับโครงสร้างโบร่ำโบราณเหล่านี้คงต้องการ การดูแลบำรุงรักษาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หากชั้นอิฐชั้นหนึ่งถูกชะล้างพังทลายไประหว่างที่มีพายุหิมะแรงจัด ระดับชั้นอื่น ๆ ที่ไล่ตามลงมาตามแนวลาดชัน ก็มักจะต้องพบกับความเสียหายใหญ่หลวงอันเนื่องจากผลกระทบที่เป็นลูกโซ่ (โดมิโน) รูปที่ 38 ซึ่งแสดง สภาพระบบระดับชั้นหินโดยทั่วไปบนไหล่เขา แสดงให้เห็นถึงประเภทของความเสียหายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพื่อให้มีการระบายนํ้าระหว่างชั้นหินต่าง ๆ ชั้นอิฐทุกชั้นไม่โบกปูนให้เกาะติดกัน ถ้าผนังเป็นอิฐแข็ง แทนที่ส่วนเพียงเล็ก ๆ จะตกหลุดออกมา ผนังทั้งหมดอาจพังทลายลงและเป็นผลให้พื้นดินถึงกับแตกแยก ซึ่งจะทำให้พื้นที่นาทั้งหมดถูกทำลาย แม้ว่าจะให้ผลผลิตที่ดีมากตลอดทั้งปี ระดับชั้นหินเหล่านี้ก็ยังก่อให้เกิดการสูญเสียอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ในรูปของความเสียหายของผลิตผล และจำเป็นต้องอาศัยงานหนักจำนวนมหาศาลในอันที่จะฟื้นฟูให้กลับคืนสภาพเดิม

เมื่อได้มีการอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับการรักษาสภาพความมั่นคงของระบบหญ้าแฝกให้กับเกษตรกรที่ปลูกข้าวบนไหล่เขาได้รู้จัก เกษตรกรก็ต้องการที่จะปลูกให้มีบริเวณพื้นที่มากที่สุดเท่าที่จะปลูกได้ ในโครงการธนาคารโลกเมื่อปี พ.ศ. 2529 ได้มีการนำเอาหญ้าแฝกไปปลูกตามขอบของระดับชั้นต่าง ๆ ระหว่างฤดูฝนด้วยความหวังที่ว่าระบบรากอันแข็งแรงจะ สามารถเสริมความมั่นคงให้กับเนินอิฐนั้นได้

รูปที่ 39 การปกป้องระดับชั้นก่ออิฐ

รูปที่ 39 แสดงให้เห็นว่า ระดับชั้นเพาะปลูกที่มีหญ้าแฝกเป็นตัวปกป้องนี้ควรมีหน้าตาเป็นอย่างไร เมื่อจัดวางแนวและปลูกเสร็จเรียบร้อยแล้ว หญ้าแฝกจะปลูกเฉพาะบริเวณขอบรอบนอกสุดของแต่ละชั้น เพื่อไม่ให้กีดขวางระบบระบายน้ำที่จำเป็นระหว่างชั้นหิน จากคำบอกเล่าของเกษตรกร สิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดระหว่างเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง คือ นํ้าที่ไหลอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายลงมาตามไหล่เขา และเหนือชั้นอิฐแต่ละชั้น เฉพาะอย่างยิ่งหากนํ้านั้นมีโอกาสรวมตัวจนกลายเป็นกระแสธาร อย่างไรก็ตามเมื่อจัดระบบแนวรั้วหญ้าแฝกขึ้นมาแล้ว ต้นแฝกเหล่านี้จะทำหน้าที่ชะลอการไหลบ่าของกระแสนํ้าที่มีอำนาจกัดเซาะนี้ไว้พร้อม ๆ กับป้องกันริมชั้นเพาะปลูกต่าง ๆ ด้วย

รูปที่ 40 ภาพที่มองเห็นได้ในระยะใกล้

ดังที่แสดงไว้ในภาพระยะใกล้ ในรูปที่ 40 ระดับชั้นอิฐที่สูงขึ้นไปมีโอกาสที่จะพังทลายได้มาก เนื่องจากชั้นพวกนี้ประกอบด้วยก้อนหินที่เพียงแต่ นำมาวางซ้อน ๆ กัน และปกติจะมีความสูง 2-3 เมตร เนื่องจากระบบรากที่แข็งแกร่งของมันสามารถทะลุทะลวงเข้าสู่ส่วนล่างของเนินอิฐได้ง่าย ๆ หญ้าแฝกจึงสามารถนำมาใช้ป้องกันพื้นผิวหน้าของหินตลอดทุกชั้น

ในอีกโครงการหนึ่งแถบเทือกเขาหิมาลัยในบริเวณพื้นที่ที่ปราศจากชั้นหินเพื่อช่วยหยุดยั้งการพังทลายของหน้าดินจำนวนมาก มีการปลูกแนวรั้วหญ้าแฝกขึ้น เพื่อพิจารณาดูว่าระดับชั้นตามธรรมชาติที่ก่อตัวขึ้น หลังแนวรั้วต่าง ๆ จะสลายเป็นฐานดินที่แข็งแรง มั่นคงสำหรับการปลูกไม้ทำเชื้อเพลิงและพืชจำพวกฟางหรือหญ้าแห้งสำหรับทำเป็นอาหารสัตว์ได้หรือไม่ ในประเทศจีนมณฑลเซี่ยงไฮ้และฟูเจียน ได้นำแนวรั้วหญ้าแฝกมาใช้เพื่อปกป้องขอบริมของชั้นหินที่ปลูกพืชจำพวกมะนาวและชา

รูปที่ 41 การปกป้องด้านข้างของถนน

หญ้าแฝกยังใช้สำหรับป้องกันการกัดเซาะถนน ดังแสดงในรูปที่ 41 ในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก (เวสต์อินดิส) ได้นำต้นหญ้าจำพวกนี้มาใช้กันอย่าง กว้างขวางเพื่อรักษาสภาพของไหล่ถนนและป้องกันการกัดเซาะได้อย่างดียิ่งเป็นเวลาหลายปีแล้ว ผู้คนในเซนต์วินเซนต์ใช้พืชชนิดนี้เพื่อปลูกเรียงรายนับแต่ขอบรอบนอกของทางเดินเข้าไปจนถึงในตัวบ้าน หญ้านี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถอันเด่นชัดในอันที่จะเจริญเติบโตในดินที่มีคุณสมบัติใด ๆ ก็ได้ เป็นต้นว่า ในอันตรประเทศ ประเทศอินเดีย ต้นหญ้าชนิดนี้ได้มีการทดลองแล้วพบว่ากำลังเติบโตด้วยดีที่สถานีวิจัยทางด้านยาและกลิ่นหอมซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่โล่งเตียน แม้ว่าดินที่นั่นแทบจะไม่มี แต่หินแกรนิตก้อนใหญ่ ๆ ที่ตกจากภูเขาจำเป็นจะต้องใช้รถไถเกลี่ยออกเพื่อให้มีพื้นที่ปลูกหญ้า หินเหล่านั้นไม่สามารถเก็บกักเอาความอุดมสมบูรณ์จากน้ำฝนไว้ได้ (เนื่องจากหินเหล่านี้ไปรวมอยู่ตรงยอดสูงสุดของภูเขา) และไม่สนับสนุนการเจริญเติบโตของพืชใด ๆ ใน เวลานั้นเลย ในขณะที่หญ้าแฝกไม่แสดงอาการย่อท้อ ต่อสภาวะบีบคั้นนั้นแต่อย่างใด ดังนั้นต้นไม้ที่สามารถยืนหยัดต่อสู้ภายใต้สภาวะเลวร้ายอย่างยิ่งเช่นนี้ควรจะสามารถให้ผลประโยชน์อย่างดีเยี่ยมในการรักษาสภาพเพื่อเสริมความมั่นคงในเกือบทุกแห่งหน

รูปที่ 42 การเสริมความมั่นคงแก่พื้นที่

รูปที่ 43 การเสริมความมั่นคงให้กับลำห้วยทางน้ำไหล

เมื่อไม่นานมานี้ การใช้หญ้าแฝกในการพัฒนาพื้นที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ได้ผ่านการตรวจสอบ และพิสูจน์ให้เห็นว่าหญ้าแฝกมีประสิทธิภาพในฐานะ เป็นพืชที่ช่วยเสริมสภาพให้มั่นคงขั้นต้น กล่าวคือ ภายใต้สภาวะเลวร้ายที่เกิดเพลิงไหม้และภัยแล้งอยู่เสมอ Vetiveria Nigritana ในย่านทะเลทรายซาเฮลของทวีป อัฟริกา (มณรัฐคาโนในไนจีเรีย) และ Vetiveria Zizanioides ในพระรัตบูรี ในประเทศอินเดีย ตอนกลางมีชีวิตรอดอยู่ได้ในฐานะพฤกษชาติที่สำคัญที่สุดเป็นเวลาหลายร้อยปี เมื่อปลูกเป็นแนวรั้วล้อมรอบ ในพื้นที่ที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นขั้นตอนแรก ในการเสริมสภาพความมั่นคงของพื้นที่ดังกล่าว V. zizanioides จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ของสายน้ำส่วนเกิน และรับเอาอินทรียสารเข้าไว้ขณะกรองนํ้าที่ไหลผ่านแนวรั้ว เนื่องจากเชิงเขาหิมาลัยในประเทศอินเดียมีอายุน้อยมากในทางธรณีวิทยา จึงมีโอกาสถูกกัดเซาะได้สูง เพราะฉะนั้นการปลูกแนวรั้วหญ้าแฝกรอบ ๆ เนินแล้วตัดข้ามหุบเขาสั้น ๆ ที่ถูกกัดกร่อน จะช่วยรักษาสภาพพื้นที่เหล่านี้ให้มั่นคง หินอุดที่ท้ายของระบบจะช่วยให้ตะกอนก่อตัวขึ้นและเป็นรากฐาน สำหรับการเจริญเติบโตของหญ้าแฝก (ดูรูปที่ 42) การปลูกลักษณะเดียวกันนี้ใช้ได้กับร่องน้ำธรรมดาดังแสดงในรูปที่ 43 เมื่อต้นหญ้าฝึงรากเจริญเติบโตดีแล้ว ก็จะกลายเป็นกำแพงกั้นร่องนํ้าได้

รูปที่ 44 การปกป้องสะพาน

รูปที่ 45 การปกป้องคลอชลประทาน

การใช้หญ้าแฝกเพื่อเสริมความมั่นคงริมฝั่งแม่นํ้า และผนังช่องแคบเป็นแนวทางปฏิบัติอีกอย่างหนึ่งที่แนะนำให้ทำในการทดลองที่ทันซาเนีย ซึ่งทำบนถนนมุ่งสู่โดโดมา วิศวกรก่อสร้างถนนใช้หญ้าแฝกเพื่อปกป้องปีกผนังของสะพานด้านหนึ่งข้ามแม่นํ้าและสร้างผนังปีกคอนกรีตธรรมดาบนอีกด้าน สามสิบถึงสี่สิบปีต่อมาพบว่าผนังคอนกรีตได้พังทลายลงสู่แม่นํ้าเสียแล้ว และริมตลิ่งซึ่งเคยมีผนังช่วยป้องกันการพังทลายก็ผุกร่อนไปด้วย แต่อีกด้านหนึ่งของสะพาน หญ้าแฝกยังคงยึดริมตลิ่งไว้ได้ โดยมีรูปร่างลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ รูปที่ 44 แสดงการใช้หญ้าแฝก เพื่อป้องกันแม่น้ำที่ไหลมาปะทะสะพาน

รูปที่ 46 การปกป้องสะพานท่อน้ำ

สะพานท่อนํ้ารอบเขื่อนชลประทานที่เดินย้อนกลับจากคลองชลประทานหลักรอบ ๆ เชิงเขาไปยังตอนบนของพื้นที่สั่งจ่ายนํ้าต้องประสบปัญหาการอุดตันของตะกอนและการสึกกร่อนขณะที่วนรอบเนินลาดชัน ปัญหาทั่วไปแสดงให้เห็นดังในภาพ รูปที่ 46 กล่าวคือ ท่อคอนกรีตถูกตัดจากด้านล่าง เนื่องจากการผุกร่อนที่จุด A และการสะสมของตะกอน ที่จุด B

ในการแก้ปัญหานี้ ควรปลูกหญ้าแฝกขนานไปกับด้านข้างตอนบนและตอนล่างของท่อคอนกรีต ดังแสดงในรูปภาพล่างแนวรั้วตอนบนจะป้องกันไม่ให้ตะกอนไหลเข้าสู่คลอง ขณะที่แนวรั้วตอนล่างทั้งสองจะป้องกันการสึกหรอซึ่งเท่ากับเป็นการรักษาโครงสร้างคอนกรีตไว้ไม่ให้ถูกเซาะทำลายโดยลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลรินหรือลำห้วยทางนํ้าไหล

รูปที่ 47 การปกป้องเขื่อน

วิธีการทำนองเดียวกันสามารถนำมาใช้ในการป้องกันเขื่อน เขื่อนขนาดเล็กจะสะสมตะกอนให้พอกพูนขึ้นจนถึงอัตราที่น่าตกใจ เมื่อไรก็ตามที่เต็มไปด้วยตะกอน เขื่อนนั้นก็จะไร้ประโยชน์ต่อการใช้งานอีกต่อไป และในหลายกรณีนั้นย่อมหมายถึง ไม่มีสถานที่ตั้งเขื่อนอื่นใดอีกที่จะเหมาะสมสำหรับการ สร้างเขื่อนใหม่ ถ้านำหญ้าแฝกมาปลูกรอบ ๆ บริเวณด้านข้างของเขื่อนดังแสดงในรูปบนของรูปที่ 47 ตะกอนที่ถูกพัดพาโดยทางนํ้าจากบริเวณรอบ ๆ เขา จะถูกกักไว้ก่อนไหลมาถึงเขื่อน และแนวรั้วหญ้าแฝกที่ปลูกคร่อมทางเข้า (A)ของเขื่อนขนาดเล็กบนกระแสนํ้าที่ไหลเป็นระลอก ๆ จะป้องกันเขื่อนจากการตกตะกอน เมื่อเวลาผ่านไปแนวรั้วเหล่านี้จะก่อตัวเป็นพื้นที่เรียงระดับเป็นชั้น ๆ ที่แข็งแรงมั่นคง ซึ่งจะสามารถใช้สำหรับปลูกพืชหรือต้นไม้ได้ ในภาพล่าง ได้นำหญ้าแฝกมาปลูกบนผนังของเขื่อนเพื่อป้องกันผนังมิให้ถูกซัดพังทลายโดยการกัดเซาะของลำธารขนาดเล็ก ซึ่งการกัดเซาะนี้เป็นปัญหาที่สร้างความยุ่งยากลำบากให้กับเขื่อนดินที่ไม่มีหญ้าแฝกปกป้อง หลายแห่งทั่วโลก เพื่อเป็นการสะดวกในการค้นหารูรั่วของนํ้าในบริเวณเชิงกำแพงตอนล่างหรือส่วนล่างสุดของผนังเขื่อนและฝั่งคลองส่งน้ำเราจึงไม่ควรปลูกหญ้าแฝกในบริเวณดังกล่าว

หญ้าแฝกพืชอเนกประสงค์นี้มีการประยุกต์ใช้งานที่ธรรมดาหลายสิ่งหลายอย่างมากมายนอกเหนือไปจากที่กล่าวมาแล้ว อาทิเช่น ทำหน้าที่เป็นหญ้าฟาง ปูพื้นคอกปศุสัตว์ที่ดี เพราะมีคุณสมบัติในการดูดซับนํ้าปัสสาวะและคงอยู่ในสภาพที่แห้งได้ยาวนาน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การนำมาทำเป็นใบไม้หมักเพื่อใช้เป็นปุ๋ยในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศลมพัดแรงจัด แนวรั้วหญ้าแฝกทำหน้าที่ต้านลมได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยป้องกันผลไม้อ่อนและต้นไม้ใหญ่ นอกจากนี้ หญ้ายังช่วยป้องกันไฟเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งหญ้าแฝกยังใช้เป็นจากมุงหลังคาบ้าน เป็นร่มเงาและแหล่งพักพิง ตลอดจนเป็นฟางคลุมต้นไม้ที่ให้พืชผล ต้นหญ้า สามารถถักให้เป็นตะกร้า และเส้นกระดูกกลางของใบแฝก รวมทั้งก้านดอกสามารถนำมาทำไม้กวาดได้อย่างดีทีเดียว