กาฬพฤกษ์

(Horse Cassia)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia grandis
ชื่อวงศ์ LEGUMIMOSAE – CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่น กัลปพฤกษ์ยอดแดง
ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อน
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 10-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 10-15 ม. กึ่งผลัดใบ ทรงพุ่มกลมหรือคล้ายรูปร่ม แผ่กว้าง กิ่งลู่ลง เปลือกต้นสีนํ้าตาลเข้มเกือบดำ แตกเป็นสะเก็ดหนา


ใบใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 15-30 ซม. ใบย่อย 10-20 คู่ เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1-2 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบมน มีติ่งหรือเว้าเล็กน้อย โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางแต่เหนียว สีเขียวเข้ม มีขนนุ่ม สีนํ้าตาลปกคลุม ใบอ่อนสีแดงคลั่ง
ดอก สีชมพูอมส้ม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะพร้อมใบอ่อนที่กิ่ง ช่อดอกตั้งยาว 10-20 ซม. ดอกย่อยรูปดอกหางนกยูงจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่กลับหรือเกือบกลม มีขนนุ่ม กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม เกสรเพศผู้ 10 อัน 3 อันยาวกว่าอันอื่นๆ เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3.5-5 ซม. ออกดอกเดือน ก.พ.-มี.ค.
ผล ผลแห้ง เป็นฝักทรงกระบอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 20-40 ซม. สีดำ ผิวมีรอยแตกและมีสันทั้งสองข้าง เมล็ดรูปรี หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน สีเหลือง มีกลิ่นเหม็น 20-40 เมล็ดต่อฝัก ติดผลเดือน มี.ค.-ก.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบตามป่าเบญจพรรณแล้งและปลูกเลี้ยงอยู่ทั่วไป
การใช้ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือกในฝัก ปรุงเป็นยาระบาย อ่อนๆ แก้พิษไข้เปลือกและเมล็ด ทำให้อาเจียน ถอนพิษไข้
หมายเหตุ ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย