กาแฟลิเบอริก้า(Liberica Coffee)


กาแฟลิเบอริก้า Coffea liberica มีถิ่นกำเนิด เป็นไม้พื้นเมืองใกล้มอนโรเวีย ในลิเบอเรีย และถูกตั้งชื่อตามประเทศ ถูกนำไปปลูกแพร่หลายในที่นี้และในอาฟริกาตะวันตก เข้าสู่ซีลอนและชวา ในปี ค.ศ. ๑๘๗๓ และมาลายา ในปี ค.ศ. ๑๘๗๕ ใช้ปลูกแทนที่กาแฟอราบิก้า ซึ่งถูกทำลายโดยเชื้อราสนิมในที่ระดับต่ำ และต่อมาปลูกแทนด้วยพันธุ์ลูกผสมข้ามธรรมชาติระหว่าง C. liberica XC. arabica ซึ่งถูกพบครั้งแรก ในปี ค.ศ. ๑๘๘๕ และต่อมาถูกแทนที่ด้วยกาแฟโรบัสต้า ซึ่งถูกนำเข้ามา ในปี ค.ศ.๑๙๐๐ กาแฟลิเบอริก้าได้ถูกนำไปปลูกอย่างกว้างขวางทั่วทั้งเขตร้อนชื้นจาก Kew และแหล่งอื่นๆ แต่ไม่มีที่ใดที่มีความสำคัญอย่างจริงจัง เพราะคุณภาพไม่สูงเท่ามาตรฐาน มีรสขมกว่า ซึ่งดูเหมือนจะเป็นที่พอใจในมาลายาและทางตะวันออก ใช้เป็นตัวผสมในกาแฟชนิดอื่นๆ สำหรับในจังหวัดเชียงใหม่ มีปลูกมากที่หมู่บ้านมูเซอร์ ห้วยตาด เขตนิคมเชียงดาว
สภาพดินฟ้าอากาศ
กาแฟลิเบอริก้าเป็นพันธุ์ไม้ป่าที่ต่ำ เขตรัอนชื้น ต้องการปริมาณน้ำฝนมาก และอุฌหภูมิสูง ต้องการร่มเงาเล็กน้อย ปลูกได้ในดินชนิดต่างๆ จากดินร่วนจนถึงดินเหนียว และสามารถทนต่อดินเลวและการขาดการดูแลบำรุงรักษามากกว่า ๒ พันธุ์ที่กล่าวมาแล้ว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กาแฟลิเบอริก้า เป็นไม้พุ่มหรือเป็นต้นแข็งแรง เขียวตลอดปี สูง ๕- ๑๗ เมตร การแตกกิ่งแบบเดียวกับกาแฟอราบิก้า ใบใหญ่ เหนียวนุ่ม ลักษณะคล้ายหนัง สีเขียวเป็นมัน ขนาด ๑๕ – ๓๐ / ๕ – ๑๕ เซนติเมตร ดอกมีสีขาว คล้ายดาว กลิ่นหอม ดอกเกิดในระดับเดียวกัน และจะบานในช่วงเวลาต่างๆ กัน ทำให้ผลสุกไม่พร้อมกัน ใช้เวลา ๑ ปี หลังจากออกดอกจนถึงผลสุก เมื่อสุกผลไม่ร่วง สีแดงมีขีด เมื่อแห้งเป็นสีดำ ผลเป็นรูปไข่ ขนาด ๒- ๓/ ๒ – ๒.๕ เซนติเมตร เปลือกแข็ง ทำให้มีความต้านทานต่อแมลงเจาะผลได้ดี ขนาดเมล็ดยาวประมาณ ๑.๓ เซนติเมตร ดอกและผลใหญ่ที่สุด ในบรรดากาแฟที่ปลูกกันเป็นการค้า อัตราส่วนผลสุก : สารกาแฟ =๑๐ : ๑
การผสมเกสรต้องผสมข้าม ผสมตัวเองเป็นหมัน
การปลูกและการดูแลรักษา
ปลูกจากเมล็ดในเรือนเพาะชำ ใช้ระยะปลูก ๑๒ / ๑๒ ฟุต หรือ ๓.๖ / ๓.๖ ม. ขอบมีร่มเงารำไร ในฟิลิปปินส์ปลูกในไร่มะพร้าว ต้นอาจปลูกให้มีลำต้นเดียว หรือหลายลำต้นก็ได้ ในมาลายาปลูกแบบให้มีลำต้นเดียว และติดยอดให้สูง ๑.๕๐ – ๑.๘๐ เมตร และกิ่งแขนงชุดที่ ๒ ที่เกินความต้องการจะถูกตัดออก ผลสุกจะถูกปล่อยให้แห้งบนต้นก่อนเก็บเกี่ยว การผลิตสารกาแฟใช้วิธีตากแห้งทั้งผล
โรคและแมลงศัตรู
กาแฟลิเบอริก้ามีความแข็งแรงทนทานมาก แต่ในมาลายาก็ยังถูกทำลายโดยตัวหนอนของผีเสื้อเหยี่ยวปีกใส (Clear winged hawk moth) กัดกินใบและใน Guyana มีโรคที่ร้ายแรงที่สุด คือโรคที่เกิดจากเชื้อ Sclerotium coffeecolum stah
การปรับปรุงพันธุ์
ได้รับความสนใจน้อย ใช้ในการสร้างลูกผสม และใช้เป็นต้นตอ พันธุ์ Kawesurie และ Kalemas เป็นลูกผสมธรรมชาติในชวากับกาแฟอราบิก้า ลูกผสมเหล่านี้ แข็งแรง ต้านทานโรคราสนิม แต่ตัวเอง เป็นหมันและสร้างเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์มาก พันธุ์เหล่านี้ใช้ทาบกิ่งบนต้นตอ กาแฟโรบัสต้าที่ต้านทานไส้เดือนฝอย เพราะว่าไม่สามารถ เพาะจากเมล็ด
ที่มา:อนันต์  อิสระเสนีย์