กำยานมีสรรพคุณดังนี้


ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. Styrax benzoin Dry.
2. S. paralleloneurus Perkins
3. S. tonkinensis Craib
ชื่ออื่นๆ 1., 2. กำมะแย (มาเลย์ นราธิวาส) กำยานสุมาตรา
3. กำยานไทย
ชื่ออังกฤษ 1., 2. Sumatra Benzoin
3. Siam Benzoin
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดกลาง มีเปลือกต้นสีเทา ใบเดี่ยวจัดใบสลับกัน มีขน รูปไข่ยาว ดอกช่อออกเป็นกระจุกสีขาว หรือชมพู ผลค่อนข้างกลม เป็นชนิด drupe แข็งสีน้ำตาล มีปีก
ส่วนที่ใช้ balsamic resin
วิธีการทำให้ได้กำยาน ใช้ขวานฟันเปลือกของต้นที่มีอายุ 3-12 ปี เริ่มสับตั้งแต่หน้าร้อน และเก็บยางนี้ไปจนฤดูใบไม้ร่วง ยางออกใหม่ๆ จะมีสีขาวข้นเมื่อทิ้งไว้สองเดือนจะแห้งแข็ง เก็บออกมาจากต้นเรียกว่า “Tear” มีลักษณะเป็นก้อนๆ ใน 3 ปีแรกยางที่ออกมาจะขาวและมีกลิ่นหอมมาก จัดเป็นยางชั้นหนึ่ง เรียกว่า “head benzoin” เมื่อเก็บยางไปจนถึงปีที่ 7-9 ปี ยางที่ออกมามีสีนํ้าตาล เรียก “belly benzoin” เมื่อเลยปีที่ 9 แล้ว ต้นของกำยานเปลือกจะกระเทาะออกมา นํ้ายางที่ได้ในช่วงสุดท้ายนี้สกปรก สีจะเข้มออกนํ้าตาลดำ เรียก “foot benzoin” ก้อนกำยานสุมาตรา เรียก “Almond Tears” หรือ “Tear”
สารสำคัญ    กำยานสุมาตราส่วนใหญ่เป็น esters ของ cinnamic และ benzoic acids รวมอยู่กับกรดที่อยู่อย่างอิสระ มี 10% cinnamic acid และ 6%benzoic acid, มี triterpene acids ได้แก่ 19-hydroxyoleanolic และ 6-hydroxyoleanolic มีวานิลินเล็กน้อย และมี phenylpropyl cinnamate ฯลฯ กำยานไทยประกอบด้วย conifery benzoate 60-70%, มี benzoic acid 10%, triterpene siaresinol 6% มีวานิลินเล็กน้อย
ประโยชน์ทางยา กำยานสุมาตราใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ ขับเสมหะ อาการอักเสบของทางเดินหายใจ ส่วนบนมีคุณสมบัติขับปัสสาวะ ยาภายนอกใช้เตรียม Friar’s Blasam ใช้รักษาแผลสดและแผลเรื้อรังและป้องกันการติดเชื้อ

อื่นๆ กำยานไทยใช้ในเครื่องสำอาง เช่น ทำนํ้าหอม ทำธูป ทำนํ้าอบไทย ใช้ในการอบสิ่งต่างๆให้หอม หรือใช้เป็นยากันบูด
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ