ข่ามีสรรพคุณดังนี้


ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia nigra B.L. Burtt
Syn.    Languas galanga รพ.
Syn.    Alpinia galanga Stuntz.
ชื่ออื่นๆ กฎกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก ข่าหลวง (เหนือ) เสะเออเคย สะเอเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ข่าตาแดง (ทั่วไป)
ชื่ออังกฤษ Galangal, Greater Galangal, Chinese Ginger.
ลักษณะ ไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน ลำต้นบนดิน สูง 1-2 เมตร สืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ ใบเดี่ยวกว้าง 7-10 ซ.ม. ยาว 20-40 ซ.ม. รูปไข่ยาว ออกสลับกันรอบลำต้นบนดิน ลำต้นบนดินเป็นกาบของใบหุ้มกันจนแน่น ดอกออกปลายยอดเป็นดอกช่อ จัดกันอยู่อย่างหลวมๆ ทั้งช่อเมื่อยังอ่อนอยู่จะมีกาบสีเขียวอมเหลืองหุ้มมิด (spathe) ดอกสีขาวประสีม่วงแดง บานจากล่างขึ้นข้างบน ผลสีเขียวกลม ขนาดเล็กแก่แตกได้ เหง้าอ่อนจะมีแผ่นบางๆ สีแดงหุ้ม หน่ออ่อนมีสีแดงคลํ้า
ส่วนที่ใช้ เหง้าอ่อนและแก่
สารสำคัญ มี galangin, galangol ซึ่งเป็น sesquiterpene และเป็น acrid resin มีน้ำมันหอมระเหย 0.5-5% ประกอบด้วย cineol, eugenol, pinene, cadinene, methyl cinnamate, มี 1-acetoxychavicol acetate, และ dioxyflavonol
ประโยชน์ทางยา ข่าแก่ใช้รับประทานเป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้บิด ยาภายนอกใช้เหง้าแก่ตำให้ละเอียดทาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน หรือ ข่าตำใช้นํ้ากระสายเป็นเหล้าโรง ทาแก้คันในโรคลมพิษ ทาบ่อยๆ จนกว่า ลมพิษจะหาย
อื่นๆ เหง้าอ่อนและเหง้าแก่ใช้ปรุงอาหาร เพื่อช่วยดับคาว เช่นใช้ใส่ในลาบอีสาน หรือใช้เหง้าข่าแก่ป่นให้ละเอียดคั่วให้เหลืองใส่ข้าวต้มปลา เป็นเครื่องเทศผสม ในเครื่องปรุงนํ้าพริกแกง
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ