ข้อมูลของชาแป้น


ชื่ออื่น ดับยาง มะเขือดง ผ่าแป้ง ฝ้าแป้ง สะแป้ง ฉับแป้ง (สุโขทัย) ฝ่าแป้ง (ภาคเหนือ) มั่งโพะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขาตาย ขากะอ้าย (ภาคใต้) หูควาย (ยะลา) สมแป้น (เพชรบุรี) เอี๋ยเอียงเฮียะ (แต้จิ๋ว) แหย่เยียนเยวียะ (จีนกลาง) Wild Tobacco, Potato Tree, Canary Night¬shade, Turkey-berry
ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum verbascifolium L.
(S. erianthum D. Don)
(S. mauritianum Blanco)
(S. pubescens Roxb.)

วงศ์ Solanaceae
ลักษณะต้น เป็นไม้พุ่มมีขนทั้งต้น ผลัดใบตามฤดูกาล สูง 1-3 เมตร เปลือกต้นสีเทาขาว ใบออกสลับกัน ยาว 6-15 ซม. กว้าง 4-14 ซม. ใบ อ่อนนุ่มมีขนปกคลุมหนาแน่น ขอบใบเรียบ หลังใบสีขาว ท้องใบสีดอกเลา ก้านใบยาว 3-6 ซม. ช่อดอกเกิดที่ยอดต้น แยกเป็น 2 แขนง ก้านช่อดอก ยาว 5-10 ซม. ดอกสีขาวออกค่อนข้างแน่น มี 5 กลีบ อับเรณูสีเหลือง เกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน มีดอกในฤดูร้อน มักขึ้นตามที่รกร้างทั่วๆ ไป
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น กิ่ง ใบ และราก (เก็บก่อนมีดอก)
สรรพคุณ
ทั้งต้น ลดการอักเสบจากแผลไฟไหม้
ใบ แก้อาการตัวบวม ฟกช้ำ ปวดหัว ปวดฟัน โรคเก๊าท์ วัณโรค ที่ต่อมน้ำเหลืองระยะแรกเริ่ม ฝี แผลเปื่อย แผลไฟไหม้ ผิวหนังอักเสบ แผลเปื่อยในปาก และใช้ห้ามเลือด
ราก แก้บิด แก้ท้องร่วง ขับระดูขาว
ตำรับยาและวิธีใช้
1. วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (บริเวณคอ) ในระยะเริ่มแรก ใช้ใบสด 15- 30 กรัม ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ไข่เป็ดเปลือกเขียว 1 ฟอง ใส่น้ำและเหล้าอย่างละเท่ากัน ต้มกิน 2-3 วันต่อครั้ง
2. โรคเก๊าท์ ใช้ใบสดจำนวนพอควร ตำให้ละเอียดคั่วกับเหล้า ทาถูนวดบริเวณที่เป็น
3. กลากเกลื้อน ฝี และแผลเปื่อย ใช้ใบสดจำนวนพอควรตำให้ละเอียดพอก หรือต้มน้ำให้เข้มข้นใช้ชะล้างบริเวณที่เป็น
ผลทางเภสัชวิทยา
1. ฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากใบและกิ่ง 0.013 กรัมต่อมล. มีผลทำให้ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูตะเภาที่ทดลองนอกร่างกายบีบตัว ฤทธิ์ในการบีบตัวเทียบเท่ากับ 65% ของการบีบตัวที่เกิดจากอะเซทิลโฆลีน (acetylcholine)
สารสกัดจากใบและกิ่งโดยการต้มด้วยน้ำไม่มีผลต่อลำไส้เล็กส่วน ปลายของหนูตะเภาที่ทดลองนอกร่างกาย แต่มีฤทธิ์ทำให้ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ของกระต่ายที่ทดลองนอกร่างกายคลายตัวในช่วงแรก และเกิดอาการเกร็งในเวลาต่อมา นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์กระตุ้นอย่างอ่อนต่อมดลูกหนูขาวที่กำลังท้องและกล้ามเนื้อลายหน้าท้องของคางคกที่ทดลองนอกร่างกาย
2. ฤทธิ์ต่อหัวใจ น้ำสกัดจากใบและกิ่ง มีผลทำให้หัวใจกระต่ายที่ทดลองนอกร่างกายเกิดการบีบตัว แต่ไม่เต็มที่ หลังจากนั้นบางส่วนจะ ค่อยๆ เข้าสู่ภาวะปกติทีละส่วน
3. ฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ฉีดน้ำสกัดจากช้าแป้น 5 กรัม ต่อกก.น้ำหนักตัว เข้าช่องท้องหนูถีบจักร มีผลช่วยเสริมฤทธิ์ของยา บาร์บิทูเรท (barbiturate) ทำให้ยืดเวลาการนอนของหนูถีบจักรอย่าง เห็นได้ชัด
4. สารโซลาโซนีน (solasonine), โซลามาร์จีน (solamargine), โซลาโซดีน (solasodine) และโทมาไทดีนอล (tomatidenol) มีฤทธิ์ยับ
ยั้งเชื้อราบางชนิด เช่น daviceps, Sderotinia, Piricularia, Rhizoctonia และ Polyporus
ความเป็นพิษ
น้ำสกัดจากใบและกิ่งขนาด 10 กรัมต่อกก.น้ำหนักตัว ฉีดเข้าช่อง ท้องหนูขาว 5 ตัว มีผลทำให้หายใจเร็วขึ้น การเคลื่อนไหวช้าลงและเสีย สมดุลย์ ภายหลัง 2 ชั่วโมงหนูขาวตายหมด ถ้าใช้ 2.5 กรัมต่อกก.น้ำหนักตัว ฉีดเข้าหลอดเลือดหนูขาว 5 ตัว พบว่าหนูขาว 2 ตัวเกิดอาการชักและตาย ส่วนที่เหลือ 3 ตัวฟื้นสู่สภาพปกติภายใน 24 ชั่วโมง
ทั้งต้นมีพิษ แต่ผลมีพิษมากที่สุด ถ้ากินมากทำให้คอเจ็บแสบร้อน ปวดท้อง อาเจียน หน้ามืดวิงเวียน ตัวเย็น อัมพาต ม่านตาหดก่อนแล้วจึงขยายกว้าง เกร็งชัก หมดสติ อาการมากถึงตายได้
วิธีแก้พิษ ล้างท้องโดยการทำให้อาเจียน หรือสวนทวารให้ถ่าย หรือให้กินไข่ขาว หรือให้กินยาเม็ดผงถ่านพิเศษ (activated charcoal) เพื่อดูดพิษแล้วส่งต่อแพทย์
สารเคมีที่พบ
กิ่งและใบ มี solasonine
กิ่ง ใบ และผล มี solasodine และ diosgenin นอกจากนี้ยังพบ tomatidenol ในใบด้วย
ใบและราก มี solasodine monoglucoside, solamargine และ solasoninef
ที่มา:สำลี  ใจดี, สุนทรี  วิทยานารถไพศาล, รพีพล  ภโววาท, จิราพร  ลิ้มปานานนท์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, วิทิต  วัณนาวิบูล