ข้อมูลของบัวบก


ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica Urb.
Syn.    Hydrocotyle asiatica Linn.
ชื่ออื่นๆ ผักหนอก (กลาง) ผักแว่น (เหนือ ตะวันออก) จำปาเครือ กะบังนอก (ลำปาง) มัณฑูกะบรรณี (สันสกฤต) เตียกำเช้า ฮัมคัก (จีน)
ชื่ออังกฤษ Tiger Herbal, Indian Hydrocotyle, Asiatic Pennywort, Hydrocotyle.
ลักษณะ เป็นไม้เล็กๆ ชอบเลื้อยแผ่ตามพื้นดินที่ชุ่มชื้นแฉะๆ มีรากฝังลงในดินและงอกปลายยอดใหม่ชูขึ้น รากจะออกตรงใบที่ชูสูงขึ้นทุกๆ ข้อ ใบเดี่ยวออกเป็นกระจุกตรงข้อ 2-6 ใบ ก้านใบยาวมากชูสูงตั้งฉากกับดินตรงทุกๆ ข้อ แผ่นใบรูปไต ขอบใบหยัก ใบกว้าง 1-5 ซ.ม. ยาว 2-4 ซ.ม. ดอกช่อเป็นกระจุก¬สีแดงอมเขียว ออกระหว่างซอกก้านใบกับลำต้นที่แผ่ติดดิน ผล ขนาดเล็กเป็นรูปเกือบกลมแบนๆ แตกได้
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสด
สารสำคัญ ต้นสดมีไกลโคไซด์ชื่อ asiaticoside 0.07-0.12% และ madecassoside เป็นสารพวก triterpenoid มีนํ้ามันหอมระเหยประกอบด้วย ß-caryophyllene มีสารแทนนินและพวก resinous มีสารที่มีรสขมชื่อ vellarine และวิตามินซี พบอัลคาลอยด์ hydrocotyline สกัดได้จากต้นแห้ง
ประโยชน์ทางยา ในอินเดีย ใช้ต้นสดแก้โรคปวดศีรษะข้างเดียว (migrain) asiaticoside ใช้รักษา โรคเรื้อน วัณโรค และโรคผิวหนังบางชนิด นํ้าร้อนลวก vellarine เป็นตัวรักษาโรคซิฟิลิส โรคเรื้อน เป็นยาลดความดัน ฝรั่งเศสเตรียมเป็นยาแผนปัจจุบันออกมาจำหน่ายหลายรูปแบบ เช่น เป็นเม็ด ผง ขี้ผึ้ง และยาฉีด สรรพคุณ เป็นยาฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว รักษาแผลไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก และทำให้แผลเป็นไม่ปูด มีชื่อทางการค้าว่า “Madecassol” ซึ่งสารที่ออกฤทธิ์คือ asiaticoside, madecassoside
ยาไทย ใช้เป็นยาแก้ชํ้าใน ทำให้จิตใจชุ่มชื้น ฟิลิปปินส์ ใช้เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะในโรคหนองใน
จีน ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย แก้ตับอักเสบ
เมล็ด ใช้แก้บิด แก้ไข้และแก้ปวดศีรษะ
อื่นๆ ใช้เป็นอาหาร นํ้าคั้นจากต้นสดใช้ทำเครื่องดื่ม
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ